ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งใหญ่ สนามการเมืองมิต่างอะไรกับ ‘เวทีประลองยุทธ์’ ที่ต่างฝ่ายต่างหาช่องทางสร้างโอกาส ‘เรียกคะแนนเสียง’ ให้กับตนเองเสมอ โดยเฉพาะพรรคการเมืองหรือแกนนำต้อง ‘ล็อกเป้า’ ยิงกระสุนความนิยมเข้ากลางใจประชาชนให้ได้มากที่สุด เพื่อกอบโกยแต้มต่อก่อนเดตไลน์หาเสียงสิ้นสุด
จำแนกให้เห็นชัด อย่าง ผู้สมัคร ส.ส.แบ่งเขต ที่ใช้ยุทธ์วิธี ‘เคาะประตูบ้าน’ เดินแจกใบปลิวตามซอกซอย รวมถึงการใช้ ‘เบอร์ใหญ่’ เดินเคียงคู่ช่วยสร้างจุดสนใจ ซึ่งยุทธวิธีดังกล่าว จะได้แต้มต่อ 2 เด้ง คือ เพิ่มคะแนนนิยมให้พรรคและพื้นที่
อย่างไรก็ดี การหาเสียงแบบ ‘ออฟไลน์’ ที่ใช้พละกำลังเข้าสู่สนามท้องถิ่น อาจไม่ใช่แนวทางเดียวในการเข้าปักธงในใจผูู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากยังมีการแสดงวิสัยทัศน์ผ่าน ‘เวทีดีเบต’ ที่บรรดาสำนักข่าวต่างๆ จัดขึ้น ซึ่งมี้เห็นแทบทุกวัน กลายเป็นเกมวัดกึ๋นว่าที่ผู้สมัครและแกนนำพรรค ที่จะได้โชว์ศักยภาพ และทรรศนะ ผ่าน ‘โทรทัศน์’ และ ‘โลกออนไลน์’ เปรียบเป็นมวยก็ต้องเฝ้าระวัง จะย่างสามขุมทีต้องไว้เชิง ใครเฉียบแหลม - มีสติ ก็พร้อมทุ่มทับจำหัก ออกหมัดน็อกเอาต์คู่แข่งคาเวทีได้
จำแนกให้เห็นชัด อย่าง ผู้สมัคร ส.ส.แบ่งเขต ที่ใช้ยุทธ์วิธี ‘เคาะประตูบ้าน’ เดินแจกใบปลิวตามซอกซอย รวมถึงการใช้ ‘เบอร์ใหญ่’ เดินเคียงคู่ช่วยสร้างจุดสนใจ ซึ่งยุทธวิธีดังกล่าว จะได้แต้มต่อ 2 เด้ง คือ เพิ่มคะแนนนิยมให้พรรคและพื้นที่
อย่างไรก็ดี การหาเสียงแบบ ‘ออฟไลน์’ ที่ใช้พละกำลังเข้าสู่สนามท้องถิ่น อาจไม่ใช่แนวทางเดียวในการเข้าปักธงในใจผูู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากยังมีการแสดงวิสัยทัศน์ผ่าน ‘เวทีดีเบต’ ที่บรรดาสำนักข่าวต่างๆ จัดขึ้น ซึ่งมี้เห็นแทบทุกวัน กลายเป็นเกมวัดกึ๋นว่าที่ผู้สมัครและแกนนำพรรค ที่จะได้โชว์ศักยภาพ และทรรศนะ ผ่าน ‘โทรทัศน์’ และ ‘โลกออนไลน์’ เปรียบเป็นมวยก็ต้องเฝ้าระวัง จะย่างสามขุมทีต้องไว้เชิง ใครเฉียบแหลม - มีสติ ก็พร้อมทุ่มทับจำหัก ออกหมัดน็อกเอาต์คู่แข่งคาเวทีได้

การออกจังหวะแบบ ‘หมัดฮุก’ ส่วนใหญ่ล้วนมาจาก ‘ก๊วนประชาธิปไตย’ เพราะอยู่ในมุม ‘ฝ่ายค้าน’ ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบรัฐบาลมาตลอด 4 ปี ย่อมหาจุดบอดได้ง่าย จนหลายคนเชื่อว่า ผลสำรวจจากโพลต่างๆ ส่อแววคะแนนนิยมพรรคประชาธิปไตยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ล้วนมาจากกระแสการดีเบต และการทำโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น
ผลสำรวจ ‘มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง 66 ครั้งที่ 2’ ที่คลอดออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา มีนัยสนับสนุนกระแส ‘ชนะน็อก’ บนเวทีดีเบตของขั้วเสรีนิยม อย่าง หัวข้อจะเลือกสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี มีข้อมูลตัวเลขออกมาว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยเสียงโหวตร้อยละ 49.17 ตามมาด้วย แคนดิเดตสองคนจาก ‘พรรคเพื่อไทย’ นำโดย ‘แพทองธาร ชินวัตร’ ได้รับเสียงโหวตร้อยละ 19.59 และ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ร้อยละ 15.54 ทิ้งห่างคู่แข่งฝาก ‘อนุรักษ์นิยม’ แบบก้าวกระโดด เพราะอันดับถัดไปเรื่อยๆ มีคะแนนโหวแต่ไม่ถึงเลข 2 หลัก
ผลสำรวจ ‘มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง 66 ครั้งที่ 2’ ที่คลอดออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา มีนัยสนับสนุนกระแส ‘ชนะน็อก’ บนเวทีดีเบตของขั้วเสรีนิยม อย่าง หัวข้อจะเลือกสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี มีข้อมูลตัวเลขออกมาว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยเสียงโหวตร้อยละ 49.17 ตามมาด้วย แคนดิเดตสองคนจาก ‘พรรคเพื่อไทย’ นำโดย ‘แพทองธาร ชินวัตร’ ได้รับเสียงโหวตร้อยละ 19.59 และ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ร้อยละ 15.54 ทิ้งห่างคู่แข่งฝาก ‘อนุรักษ์นิยม’ แบบก้าวกระโดด เพราะอันดับถัดไปเรื่อยๆ มีคะแนนโหวแต่ไม่ถึงเลข 2 หลัก

อย่างไรก็ดี ‘รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส’ คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ให้ข้อมูลกับ SPACEBAR กรณีผลโพลช่วงสุดท้ายที่แสดงให้เห็นชัดเจน ว่าการประชันวิสัยทัศน์ของพรรคฝ่ายค้านได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนอย่างล้มหลาม โดยแต่ละพรรคล้วนใช้วิธีการหยิบยกปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการบริหารของ ‘รัฐบาลประยุทธ์’ มานำเสนอวิธีแก้ไข เป็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้องแนวคิดกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ไม่สนับสนุน ‘ขั้วรัฐบาล 3 ป.’ ทำให้กระแสดีวันดีขึ้น และเชื่อว่ากระแสจากผลสำรวจจะไม่ต่ำลงไปจนถึงวันเลือกตั้ง ที่โดดเด่นคงไม่พ้นกระแส ‘พิธาเอฟเฟกต์’ และองคาพยพ ที่นับวันความนิยมยิ่งดีขึ้น เพราะมี ‘หัวคะแนนออแกนนิค’ คอยตามเชียร์ในทุกๆ เวที เป็นผลสืบจากประเด็นความชัดเจน ‘มีเราไม่มีลุง มีลุงไม่มีเรา’
ในส่วนภาพรวมพรรคอื่นๆ นักสื่อสารการเมืองมองว่า สำหรับ ‘เพื่อไทย’ ใช้กลยุทธ์ ‘ถนอม’ แคนดิเดตนายกฯ ไม่ให้พกช้ำจากการตอบคำถามบนเวที กรณี ‘อุ๊งอิิ๊ง’ สังคมเข้าใจได้ เพราะอยู่ในช่วงการคลอดบุตรชาย แก่การที่ไม่ส่ง ‘เศรษฐา’ และ ‘ชัยเกษม’ ลงสนามดีเบต ย่อ้มถูกเปรียบเทียบกับ ‘ก้าวไกล’ ที่ส่ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ กลายเป็นกระแสครหาเรื่อง ‘ความสดใหม่’ และ ‘ความชัดเจน’ ทำให้ช่วงหลังพรรคก้าวไกล มาเหนือเรื่องคะแนนนิยม
ในส่วนภาพรวมพรรคอื่นๆ นักสื่อสารการเมืองมองว่า สำหรับ ‘เพื่อไทย’ ใช้กลยุทธ์ ‘ถนอม’ แคนดิเดตนายกฯ ไม่ให้พกช้ำจากการตอบคำถามบนเวที กรณี ‘อุ๊งอิิ๊ง’ สังคมเข้าใจได้ เพราะอยู่ในช่วงการคลอดบุตรชาย แก่การที่ไม่ส่ง ‘เศรษฐา’ และ ‘ชัยเกษม’ ลงสนามดีเบต ย่อ้มถูกเปรียบเทียบกับ ‘ก้าวไกล’ ที่ส่ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ กลายเป็นกระแสครหาเรื่อง ‘ความสดใหม่’ และ ‘ความชัดเจน’ ทำให้ช่วงหลังพรรคก้าวไกล มาเหนือเรื่องคะแนนนิยม

ขณะที่พรรคฝ่ายรัฐบาล อย่าง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เป็นที่ทราบกันดีว่า ‘พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา’ แคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 1 จะไม่มีวันขึ้นเวทีดีเบต จึงต้องส่ง ‘ตัวแทน’ ไปประชันความคิดแทน แต่จุดนี้อาจเป็นความบกพร่องของพรรค ที่ส่งแกนนำอย่าง ‘ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ’ อดีต ส.ส. อุตรดิตถ์ อดีตแกนนำฝ่ายค้าน และ ‘บุญรอด สุขถิ่นไทย’ อดีต ส.ส. ประชาธิปัตย์ขึ้นเวที เพราะนอกจากไม่ได้เรียกกระแสให้กับ ‘บิ๊กตู่’ ได้แล้ว ยังอาจสร้างภาพจำแง่ลบให้กับกองเชียร์ด้วย
ส่วน ‘พลังประชารัฐ’ ที่มีทิศทางคล้ายกัน ก็เลือกให้ ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ อดีต ส.ส. สิงห์บุรี เข้าประชันฝีปากซึ่งเขามักปะทะคารมกับตัวแทนของพรรคอื่นๆ บนเวทีให้สังคมเห็น
“การพูดแบบโอเวอร์แอ็กฯ และโปรไฟล์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือของศรัณย์วุฒิ ที่มาอวยลุงตู่บนเวที ทำให้คนดูเข้าใจว่าเขาไม่ใช่ของจริง และอาจไม่มีผลต่อคะแนน ในส่วนของคุณบุญยอดบนเวทีพิษณุโลกที่ดูมีปัญหากับมวลชนที่นั่งฟังอยู่ด้านล่าง ในแง่ของการดีเบตอาจส่งผลต่อคะแนนนิยมพอสมควร ขณะที่ลุงป้อมก็เลือกส่งคุณชัยวุฒิ ที่ชอบมีวิวาทะกับคนอื่นๆ บนเวที ประหนึ่งเป็นปราศรัยมากกว่า เพราะมักพูดแง่ลบกับพรรคอื่นๆ ลักษณะแบบนี้มันไม่ก้าวข้ามความขัดแย้งนะคะ แต่มันทำให้คะแนนไม่ขึ้น” รศ.ดร.นันทนา กล่าว
ส่วน ‘พลังประชารัฐ’ ที่มีทิศทางคล้ายกัน ก็เลือกให้ ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ อดีต ส.ส. สิงห์บุรี เข้าประชันฝีปากซึ่งเขามักปะทะคารมกับตัวแทนของพรรคอื่นๆ บนเวทีให้สังคมเห็น
“การพูดแบบโอเวอร์แอ็กฯ และโปรไฟล์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือของศรัณย์วุฒิ ที่มาอวยลุงตู่บนเวที ทำให้คนดูเข้าใจว่าเขาไม่ใช่ของจริง และอาจไม่มีผลต่อคะแนน ในส่วนของคุณบุญยอดบนเวทีพิษณุโลกที่ดูมีปัญหากับมวลชนที่นั่งฟังอยู่ด้านล่าง ในแง่ของการดีเบตอาจส่งผลต่อคะแนนนิยมพอสมควร ขณะที่ลุงป้อมก็เลือกส่งคุณชัยวุฒิ ที่ชอบมีวิวาทะกับคนอื่นๆ บนเวที ประหนึ่งเป็นปราศรัยมากกว่า เพราะมักพูดแง่ลบกับพรรคอื่นๆ ลักษณะแบบนี้มันไม่ก้าวข้ามความขัดแย้งนะคะ แต่มันทำให้คะแนนไม่ขึ้น” รศ.ดร.นันทนา กล่าว

สำหรับ ‘ภูมิใจไทย’ ที่แรกๆ จะเห็นภาพ ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ เป็นหัวหอก แต่หลังๆ ก็ไม่ขึ้นดีเบตอีกเลยนั้น อาจารย์นันทนา เชื่อว่ากระแสนิยมจากการประชันวิสัยทัศน์ได้มาน้อย ส่งผลให้ ‘เสี่ยหนู’ เลือกลงพื้นที่หาเสียงแบบออฟไลน์ตัดปัญหาไป ซึ่งสิ่งที่ทำให้แคนดิเดตนายกฯ พรรคภูมิใจไทยพลาดในเวทีก่อนหน้านี้ คือเรื่อง ‘นโยบายกัญชา’ ที่ไม่ชัดเจน รวมถึงการสื่อสารแบบเดิมๆ ที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้รับสารอยากรับฟัง
“จริงๆ แล้วบนเวทีดีเบตส่วนใหญ่จะใช้คนรุ่นใหม่ ที่มีศิลปะในการสื่อสาร มีสติสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ต้องรู้ว่าจะเล่นกับมวลชนอย่างไร ทำให้คนที่มีอายุมากและไร้ซึ่งทักษะการสื่อสารสาธารณะจะเสียเปรียบ คุณอนุทินอยู่ในกลุ่มดังกล่าวที่เสียเปรียบ ฉะนั้นเขาเลยคิดว่า ลุงตู่ก็ไม่ขึ้น ลุงป้อมก็ไม่ขึ้น เศรษฐาก็ไม่ขึ้น เราก็ไม่จำเป็นต้องขึ้น เพราะคงไม่ได้คะแนนเพิ่ม อาจเป็นการเสียคะแนนมากกว่า และใช้ผลโพลมาพูดแทน”
เมื่อถามว่าแล้วเวทีดีเบตมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในช่วงโค้งสุดท้ายหรือไม่ นักวิชาการด้านการสื่อสารทางการเมือง ระบุว่า มี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่อง หนึ่งตัดสินใจจากการรณรงค์หาเสียง ซึ่งทุกอย่างเป็นออฟไลน์ ดังนั้นปัจจัยที่สองที่สำคัญกว่า คือการดีเบต ซึ่งเป็นเวทีที่ถูกจัดตั้งอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะไปจัดกิจกรรมที่ตรงไหนก็ได้ และสามารถจัดทำในรูปแบบสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เป็นแพ็คเกจเสริม ที่สำคัญคือการ ‘เปรียบเทียบ’ ทำให้เห็นว่าใครพูดดีกว่า หรือนโยบายดีกว่า ดังนั้นเวทีดีเบตจะเป็นปัจจัยหลักให้ประชาชนตัดสินใจได้
“การดีเบตเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเปรียบเทียบ ฉะนั้นคนที่จะขึ้นดีเบตไม่ใช่สักแต่ว่าอยู่พรรคนั้นแล้วขึ้นไป หากไม่เตรียมข้อมูล หรือไม่เข้าใจแนวคิดอุดมการณ์ ไม่มีวิสัยทัศน์ ขึ้นไปก็ไม่ได้คะแนน เพราะคนอื่นเขาทำเหนือกว่ามันสามารถเปรียบกันได้ ดังนั้นต้องเข้มงวดเรื่องนี้ เพราะการขึ้นเวทีดีเบตคือการโน้มน้าวใจให้คนเลือก ไม่ใช่ขึ้นไปปะทะ จนทำให้เสียคะแนนเสียงเอง พรรคก็จะเสียหายด้วย ส่วนประชาชนก็ต้องกลับไปทำการบ้านต่อว่าแนวทางที่เสนอมันยังยืนหรือไม่ ซึ่งวิจารณญาณเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะตัดสินใจเลือก เพราะเราต้องอยู่กับเขาไปอีก 4 ปี” รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส กล่าวทิ้งท้าย
“จริงๆ แล้วบนเวทีดีเบตส่วนใหญ่จะใช้คนรุ่นใหม่ ที่มีศิลปะในการสื่อสาร มีสติสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ต้องรู้ว่าจะเล่นกับมวลชนอย่างไร ทำให้คนที่มีอายุมากและไร้ซึ่งทักษะการสื่อสารสาธารณะจะเสียเปรียบ คุณอนุทินอยู่ในกลุ่มดังกล่าวที่เสียเปรียบ ฉะนั้นเขาเลยคิดว่า ลุงตู่ก็ไม่ขึ้น ลุงป้อมก็ไม่ขึ้น เศรษฐาก็ไม่ขึ้น เราก็ไม่จำเป็นต้องขึ้น เพราะคงไม่ได้คะแนนเพิ่ม อาจเป็นการเสียคะแนนมากกว่า และใช้ผลโพลมาพูดแทน”
เมื่อถามว่าแล้วเวทีดีเบตมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในช่วงโค้งสุดท้ายหรือไม่ นักวิชาการด้านการสื่อสารทางการเมือง ระบุว่า มี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่อง หนึ่งตัดสินใจจากการรณรงค์หาเสียง ซึ่งทุกอย่างเป็นออฟไลน์ ดังนั้นปัจจัยที่สองที่สำคัญกว่า คือการดีเบต ซึ่งเป็นเวทีที่ถูกจัดตั้งอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะไปจัดกิจกรรมที่ตรงไหนก็ได้ และสามารถจัดทำในรูปแบบสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เป็นแพ็คเกจเสริม ที่สำคัญคือการ ‘เปรียบเทียบ’ ทำให้เห็นว่าใครพูดดีกว่า หรือนโยบายดีกว่า ดังนั้นเวทีดีเบตจะเป็นปัจจัยหลักให้ประชาชนตัดสินใจได้
“การดีเบตเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเปรียบเทียบ ฉะนั้นคนที่จะขึ้นดีเบตไม่ใช่สักแต่ว่าอยู่พรรคนั้นแล้วขึ้นไป หากไม่เตรียมข้อมูล หรือไม่เข้าใจแนวคิดอุดมการณ์ ไม่มีวิสัยทัศน์ ขึ้นไปก็ไม่ได้คะแนน เพราะคนอื่นเขาทำเหนือกว่ามันสามารถเปรียบกันได้ ดังนั้นต้องเข้มงวดเรื่องนี้ เพราะการขึ้นเวทีดีเบตคือการโน้มน้าวใจให้คนเลือก ไม่ใช่ขึ้นไปปะทะ จนทำให้เสียคะแนนเสียงเอง พรรคก็จะเสียหายด้วย ส่วนประชาชนก็ต้องกลับไปทำการบ้านต่อว่าแนวทางที่เสนอมันยังยืนหรือไม่ ซึ่งวิจารณญาณเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะตัดสินใจเลือก เพราะเราต้องอยู่กับเขาไปอีก 4 ปี” รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส กล่าวทิ้งท้าย