หากดูตามหน้าตักที่แต่ละพรรคเผยตัวคนที่จะเป็น ‘แคนดิเดต’ เวลานี้ (15 มีนาคม) ถ้าคิดบนสมมติฐานที่ว่า ‘อายุไม่เป็นเพียงตัวเลข’
ช่วงวัยมีผลต่อความคิด ความเชื่อ และทัศนคติทางการเมือง รวมถึงคนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน มักจะโอบรับความคิดเห็นของคนวัยเดียวกัน เพราะเชื่อและชอบในสิ่งเดียวกัน มากกว่าจะยอมรับความแตกต่างของคนต่างเจเนอเรชั่น
จะพบข้อมูลที่เกี่ยวพันกับ ‘อายุ’ ที่น่าสนใจหลายประเด็น ซึ่งอาจส่งผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้ง ปี 66 ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ช่วงวัยมีผลต่อความคิด ความเชื่อ และทัศนคติทางการเมือง รวมถึงคนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน มักจะโอบรับความคิดเห็นของคนวัยเดียวกัน เพราะเชื่อและชอบในสิ่งเดียวกัน มากกว่าจะยอมรับความแตกต่างของคนต่างเจเนอเรชั่น
จะพบข้อมูลที่เกี่ยวพันกับ ‘อายุ’ ที่น่าสนใจหลายประเด็น ซึ่งอาจส่งผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้ง ปี 66 ที่กำลังจะเกิดขึ้น

‘อุ๊งอิ๊ง’ แคนดิเดตอายุน้อยที่สุด (ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย)
หากย้อนกลับไป เมื่อครั้งเลือกตั้ง พ.ศ.2562 สถิติ ‘แคนดิเดตอายุน้อยที่สุด’ เป็นของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่มาพร้อมอุดมการณ์เปลี่ยนแปลงประเทศไทย ด้วยการปรับภูมิทัศน์โครงสร้างระบบเก่าอันอยุติธรรม เพื่อสร้างสังคมที่ทุกคนเท่าเทียมเวลานั้น ธนาธรอายุ 40 ปี เดินเข้าสู่ถนนการเมืองด้วยความ ‘สด’ และ ‘ใส’ ภายใต้อุดมการณ์ นโยบาย และบุคลิกที่ได้ใจ ‘คนรุ่นใหม่’

องค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลให้พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 3 สูงถึง 4,786,320 คะแนน โดยฐานเสียงส่วนใหญ่มาจากคนรุ่นใหม่และชาวคณะ #ฟ้ารักพ่อ ที่ต้องการเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลง
ทว่าสถิติ ‘แคนดิเดตอายุน้อย’ ก็ถูกทำลายลง เมื่อฤดูกาลเลือกตั้ง พ.ศ.2566 มาถึง
พรรคเพื่อไทยหงายไพ่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ เปิดตัว แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ที่นับถึงปัจจุบัน เธอมีอายุ 36 ปี
ทว่าสถิติ ‘แคนดิเดตอายุน้อย’ ก็ถูกทำลายลง เมื่อฤดูกาลเลือกตั้ง พ.ศ.2566 มาถึง
พรรคเพื่อไทยหงายไพ่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ เปิดตัว แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ที่นับถึงปัจจุบัน เธอมีอายุ 36 ปี

ถึงแม้ว่าตั้งแต่เปิดตัว (20 มีนาคม 2565) จนถึงตอนนี้ เกือบหนึ่งปี ทางพรรคจะไม่เคยยืนยันว่า “อุ๊งอิ๊งเป็นแคนดิเดต” หรือไม่ แต่คอการเมืองก็คาดการณ์และวิเคราะห์กันว่า นี่อาจเป็นการปูทางในการเสนอชื่อเธอเป็นนายกรัฐมนตรี
“…เรื่องของการที่เสียงเชียร์เป็นนายกฯ มันเป็นอีกเรื่องที่ต้องผ่านกระบวนการอีกมากมาย สถานการณ์ ความเหมาะสม เวลา อิ๊งว่ามันต้องประกอบด้วยทุกอย่าง ไม่ใช่ว่า คนหนึ่งคนคิดจะอยากเป็นนายกฯ ขึ้นมา จะสามารถทำได้ มันเป็นเรื่องใหญ่”
แพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ Voice TV เผยแพร่บนยูทูบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565
การมาของอุ๊งอิ๊งในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้ ‘แบรนด์’ ของเพื่อไทยชัดเจนจนไม่ต้องเดา ว่าใครคือเจ้าของพรรคที่แท้จริง
เพราะเมื่อเห็นหน้าของเธอ ใบหน้าของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะผุดปรากฏขึ้นมาเสมอ
“…เรื่องของการที่เสียงเชียร์เป็นนายกฯ มันเป็นอีกเรื่องที่ต้องผ่านกระบวนการอีกมากมาย สถานการณ์ ความเหมาะสม เวลา อิ๊งว่ามันต้องประกอบด้วยทุกอย่าง ไม่ใช่ว่า คนหนึ่งคนคิดจะอยากเป็นนายกฯ ขึ้นมา จะสามารถทำได้ มันเป็นเรื่องใหญ่”
แพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ Voice TV เผยแพร่บนยูทูบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565
การมาของอุ๊งอิ๊งในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้ ‘แบรนด์’ ของเพื่อไทยชัดเจนจนไม่ต้องเดา ว่าใครคือเจ้าของพรรคที่แท้จริง
เพราะเมื่อเห็นหน้าของเธอ ใบหน้าของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะผุดปรากฏขึ้นมาเสมอ

เพื่อไทย = ทักษิณ
นี่คือสมการที่ทรงพลังในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ ‘แลนด์สไลด์’ อย่างที่หวังหรือไม่
ถ้าดูจากสถิติที่ผ่านมา จาก ‘ไทยรักไทย’ - ‘พลังประชาชน’ - ‘เพื่อไทย’ พรรคภายใต้เงาของทักษิณ คือพรรค “ไร้พ่าย”
ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งใด พรรคนี้ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่งมาทุกสมัย
นี่คือสมการที่ทรงพลังในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ ‘แลนด์สไลด์’ อย่างที่หวังหรือไม่
ถ้าดูจากสถิติที่ผ่านมา จาก ‘ไทยรักไทย’ - ‘พลังประชาชน’ - ‘เพื่อไทย’ พรรคภายใต้เงาของทักษิณ คือพรรค “ไร้พ่าย”
ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งใด พรรคนี้ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่งมาทุกสมัย

จุดที่น่าสนใจในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 ที่จะถึง คือการรีแบรนด์จากทักษิณสู่ “พี่โทนี่” และการส่ง “อุ๊งอิ๊ง” เป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ซึ่งช่วยให้พรรคดูเด็กลง จะดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่ม New Voter มาเป็นฐานเสียงได้มากน้อยแค่ไหน
พรรคเพื่อไทยจะแลนด์สไลด์ รักษาสถิติไร้พ่ายได้หรือไม่ คำตอบน่าจะชัดขึ้นในวันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจ ‘เปิดหน้า’ แคนดิเดตตัวจริง
พรรคเพื่อไทยจะแลนด์สไลด์ รักษาสถิติไร้พ่ายได้หรือไม่ คำตอบน่าจะชัดขึ้นในวันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจ ‘เปิดหน้า’ แคนดิเดตตัวจริง

‘ลุงป้อม’ แคนดิเดตเจน Silent รุ่นเก๋าผู้โดดเดี่ยว
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือ ‘ลุงป้อม’ เกิดปี พ.ศ.2488 ปัจจุบันอายุ 77 ปีหากนับรุ่นตามปีเกิด (อ้างอิงตาม Pew Research Center) ลุงป้อมจะอยู่ในเจน Silent พร้อมกับพ่วงตำแหน่งแคนดิเดตที่มีอายุมากที่สุดในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566

คนเจน Silent คือคนที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (เกิดในช่วง พ.ศ.2471 - 2488) ยุคนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก คนรุ่นนี้จึงมีบุคลิกร่วมกัน คือทำงานหนัก มีความภักดีต่อเจ้านายและประเทศชาติสูง
หากมองด้วยสายตาของปัจจุบัน คนรุ่นนี้จะเป็น ‘อนุรักษ์นิยม’ ที่ซาบซึ้งและโหยหาสิ่งที่ตนเห็นว่าดีงามที่มีมาแต่อดีต
พลเอกประวิตรก็เป็นคนหนึ่งที่มีบุคลิกคนเจน Silent อย่างชัดเจน
หากมองด้วยสายตาของปัจจุบัน คนรุ่นนี้จะเป็น ‘อนุรักษ์นิยม’ ที่ซาบซึ้งและโหยหาสิ่งที่ตนเห็นว่าดีงามที่มีมาแต่อดีต
พลเอกประวิตรก็เป็นคนหนึ่งที่มีบุคลิกคนเจน Silent อย่างชัดเจน

“...ความจงรักภักดีที่มีต่อ ‘ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์’ เป็นสภาวะที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของผม จนเป็นกระแสจิตที่ส่งให้ทุกคนสัมผัสถึง และรับรู้ได้โดยไม่ต้องเอ่ยอ้าง
“ชีวิตผมดำเนินอยู่ด้วยจิตวิญญาณนี้ตลอดมา และแน่นอนว่าจะตลอดไป...”
พลเอกประวิตรเขียนเล่าไว้ในโพสต์ ‘จิตวิญญาณในความจงรักภักดี จาก อดีต ถึง ปัจจุบัน’ ในเพจเฟซบุ๊ก เมื่อ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา
ลุงป้อมรู้ดีว่า วันเวลาในชีวิต เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
จุดแข็งคือมีคนในวัย ‘ลุงๆ ป้าๆ’ จำนวนไม่น้อยที่เชื่อในคุณค่าเดียวกันกับเขา และพร้อมจะโหวตให้ลุงป้อมเป็นผู้นำพาประเทศ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” และ “เป็นทางออกของชาติบ้านเมือง”
“ชีวิตผมดำเนินอยู่ด้วยจิตวิญญาณนี้ตลอดมา และแน่นอนว่าจะตลอดไป...”
พลเอกประวิตรเขียนเล่าไว้ในโพสต์ ‘จิตวิญญาณในความจงรักภักดี จาก อดีต ถึง ปัจจุบัน’ ในเพจเฟซบุ๊ก เมื่อ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา
ลุงป้อมรู้ดีว่า วันเวลาในชีวิต เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
จุดแข็งคือมีคนในวัย ‘ลุงๆ ป้าๆ’ จำนวนไม่น้อยที่เชื่อในคุณค่าเดียวกันกับเขา และพร้อมจะโหวตให้ลุงป้อมเป็นผู้นำพาประเทศ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” และ “เป็นทางออกของชาติบ้านเมือง”

แต่ในขณะเดียวกัน ความลุง ความ “ไม่รู้ๆ” ของลุงป้อม และที่มาของเก้าอี้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กลับเป็นอุปสรรคต่อการได้ใจคนรุ่นใหม่
ลุงป้อมจึงเผยสิ่งที่อยู่ในใจไว้ในจดหมายออนไลน์ว่า “...จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านการเห็น การรู้ การฟังทั้งชีวิต อย่างเข้าถึง ‘จิตวิญญาณอนุรักษ์นิยม’ และเข้าใจ ‘ประชาธิปไตยเสรีนิยม’...” ตอนนี้ลุงป้อมเข้าใจความต้องการทั้งของสองฝ่าย และรู้ดีว่าในการบริหารประเทศ ‘ประชาธิปไตย’ คือถนนสายเดียวที่จะต้องไป
หากจะไปต่อ ต้องก้าวข้ามความขัดแย้งที่มีอยู่ให้ได้ ซึ่งลุงป้อมเชื่อมั่นว่า “ผมทำได้และจะทำได้ดีกว่าใคร””
นอกจากแนวคิดที่พร้อมโอบรับ ‘กลุ่มเป้าหมาย’ แบบ ‘ไร้ขั้ว’ ทางการเมือง ที่มีจุดโฟกัสในการหวังเสียงจากกลุ่มเสรีนิยม ลุงป้อมยังปรับลุค แต่งตัวกระชากวัย ให้ดูทันสมัย สอดรับกับแนวคิดที่พร้อมยื่นมือเข้าหาคนรุ่นเก่าและใหม่ไปพร้อมกัน
ลุงป้อมจึงเผยสิ่งที่อยู่ในใจไว้ในจดหมายออนไลน์ว่า “...จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านการเห็น การรู้ การฟังทั้งชีวิต อย่างเข้าถึง ‘จิตวิญญาณอนุรักษ์นิยม’ และเข้าใจ ‘ประชาธิปไตยเสรีนิยม’...” ตอนนี้ลุงป้อมเข้าใจความต้องการทั้งของสองฝ่าย และรู้ดีว่าในการบริหารประเทศ ‘ประชาธิปไตย’ คือถนนสายเดียวที่จะต้องไป
หากจะไปต่อ ต้องก้าวข้ามความขัดแย้งที่มีอยู่ให้ได้ ซึ่งลุงป้อมเชื่อมั่นว่า “ผมทำได้และจะทำได้ดีกว่าใคร””
นอกจากแนวคิดที่พร้อมโอบรับ ‘กลุ่มเป้าหมาย’ แบบ ‘ไร้ขั้ว’ ทางการเมือง ที่มีจุดโฟกัสในการหวังเสียงจากกลุ่มเสรีนิยม ลุงป้อมยังปรับลุค แต่งตัวกระชากวัย ให้ดูทันสมัย สอดรับกับแนวคิดที่พร้อมยื่นมือเข้าหาคนรุ่นเก่าและใหม่ไปพร้อมกัน

เมื่อดูตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พ.ศ.2566 คนเจน Silent ที่อยู่ในรุ่นเดียวกับลุงป้อมมีเพียง 4.84% (2,533,098 คน) เท่านั้น
หากไม่ปรับลุคและเสนอแนวคิดที่โอบรับคนทุกเจนทุกฝ่าย คงยากที่แคนดิเดตเจน Silent เพียงหนึ่งเดียวอย่างเขาจะชนะในเกมนี้
นี่คือเรื่องที่ลุงป้อมน่าจะ “รู้” ดีเกินกว่าจะตอบว่า “ไม่รู้ๆ” เหมือนที่ผ่านมา
โดยเฉพาะ ทิม-พิธา ที่มีเฉดทางแนวคิดชัดเจนว่า ไม่เอารัฐประหาร และต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในระดับโครงสร้าง
ขณะที่อีกสองคน วราวุธ-อนุทิน อาจชัดเจนในการเร่ขายนโยบาย ส่วนแนวคิดอุดมการณ์เน้นการประสานประโยชน์ และพร้อมจับมือทำงานในฐานะรัฐบาล
หากไม่ปรับลุคและเสนอแนวคิดที่โอบรับคนทุกเจนทุกฝ่าย คงยากที่แคนดิเดตเจน Silent เพียงหนึ่งเดียวอย่างเขาจะชนะในเกมนี้
นี่คือเรื่องที่ลุงป้อมน่าจะ “รู้” ดีเกินกว่าจะตอบว่า “ไม่รู้ๆ” เหมือนที่ผ่านมา
พิธา-วราวุธ-อนุทิน แคนดิเดตเจน X ทางแยกของความคิด
เห็นชื่อชายหนุ่ม 3 คนข้างต้น แม้จะมีอายุอยู่ในเจน X เดียวกัน (มีอายุระหว่าง 42-57 ปี) แต่เฉดทางความคิดของพวกเขานั้นต่างกันโดยเฉพาะ ทิม-พิธา ที่มีเฉดทางแนวคิดชัดเจนว่า ไม่เอารัฐประหาร และต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในระดับโครงสร้าง
ขณะที่อีกสองคน วราวุธ-อนุทิน อาจชัดเจนในการเร่ขายนโยบาย ส่วนแนวคิดอุดมการณ์เน้นการประสานประโยชน์ และพร้อมจับมือทำงานในฐานะรัฐบาล



ความแตกต่างทางความคิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่ดูเหมือนว่า เจน X ซึ่งเกิดมาในยุคแห่งความมั่งคั่ง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมป๊อป (พ.ศ.2508-2522) จะเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดเปิดกว้าง หลากหลาย และยืดหยุ่นในการปรับตัว
เฉดสีทางความคิดจึงหลากหลาย และยากจะชี้ชัดว่า จะเทคะแนนให้กับฟากฝ่ายใด
ความน่าสนใจในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 คือ เจน X เป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งใหญ่ที่สุด อยู่ที่ 30.87% (16,151,442 คน)
รองลงมาคือเจน Y (26-41 ปี) อีก 28.87% (15,103,892 คน)
จากการสำรวจคนใกล้ตัวจำนวนหนึ่งพบว่า คนเจน X มีแนวคิดที่หลากหลาย เป็นส่วนผสมของอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมในอัตราที่พอๆ กัน ผิดกับคนเจน Y ที่ส่วนใหญ่เอนเอียงไปทางเสรีนิยม และ #ไม่เอาลุงตู่
เฉดสีทางความคิดจึงหลากหลาย และยากจะชี้ชัดว่า จะเทคะแนนให้กับฟากฝ่ายใด
ความน่าสนใจในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 คือ เจน X เป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งใหญ่ที่สุด อยู่ที่ 30.87% (16,151,442 คน)
รองลงมาคือเจน Y (26-41 ปี) อีก 28.87% (15,103,892 คน)
จากการสำรวจคนใกล้ตัวจำนวนหนึ่งพบว่า คนเจน X มีแนวคิดที่หลากหลาย เป็นส่วนผสมของอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมในอัตราที่พอๆ กัน ผิดกับคนเจน Y ที่ส่วนใหญ่เอนเอียงไปทางเสรีนิยม และ #ไม่เอาลุงตู่

หากมองสัดส่วนของผู้สิทธิเลือกตั้ง พ.ศ.2566 บนสมมติฐานที่ว่า
พิธา-วราวุธ-อนุทิน ชายหนุ่มสามคนนี้ คือภาพสะท้อนความหลากหลายของคนเจน X ได้เป็นอย่างดี
ว่าแต่...ถ้าคุณเป็นคนเจน X คุณจะเลือกใครใน 3 คนนี้ เป็นนายกฯ?
ถ้าคิดลงรายละเอียดไปอีกนิด โดยนำช่วงเวลาของประชาธิปไตยไทยแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ช่วง จะพบว่าอายุคนที่ได้เป็นนายกฯ ในยุคหลังสูงกว่ายุคแรก
ยุคแรก พ.ศ.2475-2520 อายุเฉลี่ยของนายกรัฐมนตรี คือ 51 ปี
ยุคหลัง พ.ศ.2521-ปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของนายกรัฐมนตรี คือ 59 ปี
ทีนี้ ลองมาดูอายุคนที่เป็น (และคาดว่าเป็น) แคนดิเดตนายกฯ ในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 กันดูอีกที
- เจน Z และ Y ส่วนใหญ่ = เสรีนิยม
- เจน X = อนุรักษ์นิยม หรือ เสรีนิยม
- เจน Baby Boomer และ Silent = อนุรักษ์นิยม
พิธา-วราวุธ-อนุทิน ชายหนุ่มสามคนนี้ คือภาพสะท้อนความหลากหลายของคนเจน X ได้เป็นอย่างดี
ว่าแต่...ถ้าคุณเป็นคนเจน X คุณจะเลือกใครใน 3 คนนี้ เป็นนายกฯ?
คาดการณ์นายกฯ คนใหม่ จากอายุแคนดิเดต
54 ปี คือ อายุเฉลี่ยคนที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย จากการนำอายุคนที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน) เมื่อครั้งรับตำแหน่งมาหาค่าเฉลี่ยถ้าคิดลงรายละเอียดไปอีกนิด โดยนำช่วงเวลาของประชาธิปไตยไทยแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ช่วง จะพบว่าอายุคนที่ได้เป็นนายกฯ ในยุคหลังสูงกว่ายุคแรก
ยุคแรก พ.ศ.2475-2520 อายุเฉลี่ยของนายกรัฐมนตรี คือ 51 ปี
ยุคหลัง พ.ศ.2521-ปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของนายกรัฐมนตรี คือ 59 ปี
ทีนี้ ลองมาดูอายุคนที่เป็น (และคาดว่าเป็น) แคนดิเดตนายกฯ ในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 กันดูอีกที

59 ปี คืออายุเฉลี่ยของแคนดิเดตทั้งหมด (ในลิสต์) ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยอายุของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีในยุคหลัง
หากเทียบรุ่นตามช่วงวัย จะพบว่า 59 ปี อยู่ในเจน Baby Boomer ซึ่งเป็นช่วงวัยที่แคนดิเดตอยู่มากที่สุด คือ 7 จาก 13 คน ได้แก่
คำอธิบายเกี่ยวกับ Baby Boomer ที่น่าสนใจคือ มักจะเป็น ‘อนุรักษ์นิยม’
ซึ่งแคนดิเดตที่มีอายุ 59 ปีพอดี คือ กรณ์ จาติกวณิช
แคนดิเดตที่มีอายุใกล้กับค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เศรษฐา ทวีสิน (60 ปี)
และอาจนับรวม คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชลน่าน ศรีแก้ว ที่มีอายุ 61 ปี ซึ่งไม่ห่างจากค่าเฉลี่ยมากนัก
หากคาดการณ์ผลคนที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 มากที่สุด โดยวัดจากค่าเฉลี่ยของอายุ จะได้คำตอบ ดังนี้
หากเทียบรุ่นตามช่วงวัย จะพบว่า 59 ปี อยู่ในเจน Baby Boomer ซึ่งเป็นช่วงวัยที่แคนดิเดตอยู่มากที่สุด คือ 7 จาก 13 คน ได้แก่
- กรณ์ จาติกวณิช (59 ปี)
- เศรษฐา ทวีสิน (60 ปี)
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (61 ปี)
- ชลน่าน ศรีแก้ว (61 ปี)
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (67 ปี)
- สุวัจน์ ลิปตพัลลภ (68 ปี)
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (69 ปี)
คำอธิบายเกี่ยวกับ Baby Boomer ที่น่าสนใจคือ มักจะเป็น ‘อนุรักษ์นิยม’
ซึ่งแคนดิเดตที่มีอายุ 59 ปีพอดี คือ กรณ์ จาติกวณิช
แคนดิเดตที่มีอายุใกล้กับค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เศรษฐา ทวีสิน (60 ปี)
และอาจนับรวม คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชลน่าน ศรีแก้ว ที่มีอายุ 61 ปี ซึ่งไม่ห่างจากค่าเฉลี่ยมากนัก
หากคาดการณ์ผลคนที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 มากที่สุด โดยวัดจากค่าเฉลี่ยของอายุ จะได้คำตอบ ดังนี้
- กรณ์ จาติกวณิช มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด
- รองลงมาคือ เศรษฐา ทวีสิน
- ลำดับต่อมาคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชลน่าน ศรีแก้ว

ข้างต้นเป็นการคาดการณ์จากสถิติข้อมูลอายุเฉลี่ยเพียงมิติเดียว กรุณา don't take it serious หรือนำไปอ้างอิงแต่อย่างใด
เพราะการที่ ‘ใคร’ จะชนะได้นั่งเก้าอี้นายกฯ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกมากมายนับไม่ถ้วน
อีกอย่างขึ้นชื่อว่าเรื่อง ‘การเมือง’ แล้ว ล้วนเกี่ยวพันกับเรื่อง ‘ตัณหา’ (ความทะยานอยาก) อย่างแยกกันไม่ออก เหมือนชื่อหนังสือ ‘การเมืองเรื่องตัณหา’ ของ สมัคร สุนทรเวช อดีตรัฐมนตรีคนที่ 25 และนักการเมืองฝีปากกล้าผู้ล่วงลับ ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2521
เพราะการที่ ‘ใคร’ จะชนะได้นั่งเก้าอี้นายกฯ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกมากมายนับไม่ถ้วน
อีกอย่างขึ้นชื่อว่าเรื่อง ‘การเมือง’ แล้ว ล้วนเกี่ยวพันกับเรื่อง ‘ตัณหา’ (ความทะยานอยาก) อย่างแยกกันไม่ออก เหมือนชื่อหนังสือ ‘การเมืองเรื่องตัณหา’ ของ สมัคร สุนทรเวช อดีตรัฐมนตรีคนที่ 25 และนักการเมืองฝีปากกล้าผู้ล่วงลับ ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2521

มนุษย์ เมื่ออยากได้สิ่งใดมากๆ มักจะยอมทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นการเมืองเป็นเกมที่พลิกได้ทุกเมื่อ
ถ้าจะมีคนที่รู้คำตอบว่า แคนดิเดตคนไหนจะได้เป็นนายกฯ ก็คงจะมีแต่พระเจ้าเท่านั้น
ส่วนเราในฐานะประชาชน สิ่งที่ทำได้คือการพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า ใครคือ 'คนที่ใช่' สำหรับเรา แล้วออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
เพื่อจะร่วมกำหนดอนาคตของคุณและประเทศต่อไปอีก 4 ปี
ถ้าจะมีคนที่รู้คำตอบว่า แคนดิเดตคนไหนจะได้เป็นนายกฯ ก็คงจะมีแต่พระเจ้าเท่านั้น
ส่วนเราในฐานะประชาชน สิ่งที่ทำได้คือการพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า ใครคือ 'คนที่ใช่' สำหรับเรา แล้วออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
เพื่อจะร่วมกำหนดอนาคตของคุณและประเทศต่อไปอีก 4 ปี
