อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ว่าช่วงที่ต้องจับตามากที่สุดหลังวันเลือกตั้ง คือศึกการโหวตนายกรัฐมนตรี โดยรัฐสภาทั้งหมด 750 คน ซึ่งรอบแรกผ่านไปเป็นดั่งที่ทายทัก ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แคนดิเดตนายกฯ ‘พรรคก้าวไกล’ และพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ได้เสียง ‘เห็นชอบ’ เพียง 324 เสียง จากทั้ง 2 สภา ยังขาดอีก 52 เสียง ชวดเก้าอี้เบอร์ 1 ทำเนียบฯ ตั้งแต่หนแรก
13 ส.ว. ที่เห็นชอบ น้อยกว่าจำนวนวุฒิสมาชิกที่สื่อมวลชนประเมินไว้ก่อนหน้านี้ไม่มาก (แต่เดิมประเมินไว้ประมาณ 20 เสียง) ตอกย้ำว่าการเดินเกมของเครื่องจักรสีส้มในการเจรจาสภาสูง ยังไม่ประสบผลสำเร็จ กลายเป็นข้อส่อเสียด แต่เดิมมั่นใจว่าจะเกิน 376 แน่ ๆ ที่ไหนได้ยังพร่องไปหลายขุม ทำเอาต้องฟอร์มทีมส่งทูตอีกระลอก
อย่างไรเสีย การโหวตรอบ 2 ในวันที่ 19 ก.ค. ที่จะถึงนี้ คาดว่าจะแตกต่างกับการโหวตรอบแรก (13 ก.ค. 66) อย่างชัดเจน หากเปิดฉากทัศน์วิเคราะห์ตามสถานการณ์ มิติในห้องประชุมร่วมจะออกมาได้หลายหน้า ยิ่งประมวลภาพจากเสียง ส.ว. ที่โหวต ‘ไม่เห็นชอบ’ 34 เสียง และ ‘งดออกเสียง’ 159 เสียง มีความเป็นไปได้สูง ที่พรรครัฐบาลเก่าที่ ‘นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว’ มาระยะหนึ่ง อาจจะเสนอชื่อแคนดิเดตเข้าแข่งขันกับ ‘พิธา’ โดยรายชื่อที่คาดว่ามีโอกาสสูงสุดหนีไม่พ้น ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ แห่งพลังประชารัฐ
แต่เชื่อเถิดในส่วนของก้าวไกล คงไม่ยอมถอย จะสู้จนหลังชนฝา ขอโอกาสอีกสักครั้งเพื่อเป็น ‘นายกฯ ของประชาชน’ แม้สถานการณ์จะดูย่ำแย่ยิ่งกว่า ‘ลูกผีลูกคน’ เพราะไม่รู้ว่าจะมี ส.ว.สนับสนุนเพิ่มหรือไม่ และยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ‘พรรคพันธมิตร’ จะส่งชื่อ ‘หนุ่มทิม’ ลงสนามอีกครั้งหรือเปล่า แต่ดูท่าทีคงต้องสู้ให้ตายไปข้างหนึ่ง อย่างน้อยในวันที่ ‘แพแตก’ การถอยเป็น ‘ฝ่ายค้าน’ เสียเอง อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เสมือน ‘พระเอก’ ในละครจอแก้ว ‘ดุดันจริงใจ’ เข้าทางแฟนคลับไม่น้อย
ยิ่งดูจากการปล่อยคลิป ‘พิธา’ ขอบคุณคุณประชาชน - รัฐสภา ที่สนับสนุนในรอบแรก ช่วงหนึ่งมีการเปิดประเด็น ‘สองสมรภูมิ’ ที่น่าสนใจ เป็นแผนการยุทธ์ที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา สมรภูมิแรก คือการต่อสู้ในวันที่ 19 ก.ค. 66 และสมรภูมิที่สอง คือการยื่นเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ถาวรตลอดกาล
“ทั้งสองสมรภูมิจะไม่มีวันชนะได้ หากเราไม่สามารถเปลี่ยนใจ ส.ว. ให้อยู่ข้างประชาชน”
มุมนึงมองได้ว่า เป็นการพลิกเกมสู้ของพรรคคนหนุ่มสาว ที่เชื่อว่าท้ายที่สุดจะกลายเป็นผู้เสียเปรียบ แต่อีกนัยหนึ่งการประกาศสงครามคราวนี้ถูกมองว่า อาจ ‘เพิ่มความเสี่ยง’ ให้พรรคส้ม เพราะทั้งสองสมรภูมิ ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ ‘เสียงวุฒิสภา’
ในศึกชิงนายกฯ รอบสองหากเสนอชื่อ ‘พิธา’ ซ้ำต้องหา ส.ว. จำนวนกว่า 52 เสียงเพื่อเติมน้ำให้เต็มตุ่ม ส่วนกรณีการเสนอ ‘ปิดสวิซต์ ส.ว.’ ไม่ให้ ‘โหวตนายกฯ’ ตลอดชาติ จำเป็นต้องได้เสียงวุฒิสภาเกิน 1 ใน 3 หรือ 84 คน อีกทั้งต้องพึ่งเสียง ‘ส.ส.ฝ่ายค้าน’ ร้อยละ 20 ในการเห็นชอบด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการจัดตั้งรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด
หากกังวลเรื่องข้อครหา ‘รัฐบาลเสียงข้างน้อย’ ตามแนวคิดเชื่อว่า จะมีเสียงสนับจาก ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ จำนวน 62 เสียง ที่ ‘แจกกล้วย - เลี้ยงงู’ มาเติมเต็มเสียงพรรครัฐบาลเก่า ที่แต่เดิมมีแต้มอยู่ในกระเป๋า 188 เสียง ให้เกินครึ่งสภาล่าง 250 เสียง เพียงพอต่อการขึ้น ‘เบอร์ 1’ ในฐานะ ‘รัฐบาลเสียงข้างมาก’ ได้ไม่ยาก
พรรคที่ถูกจับตาความเคลื่อนไหวระลอก 2 คือ ‘เพื่อไทย’ เพราะแต่เดิมปัจจัยภายในระหว่าง 8 พรรคร่วมฯ ยังไม่ตกผลึกเรื่อง ‘เสนอชื่อ’ ว่าสรุปแล้วจะเป็น ‘พิธา’ หรือไม่ ท่ามกลางกระแสข่าวที่สุมไฟช่วงสุดสัปดาห์ มีแผนจะดัน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ เจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นแท่นประลองยุทธ์ แทนแม่ทัพผู้ปราชัยในสนามรบรอบที่ผ่านมา
ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่จะแก้สมการทางการเมืองยังคงเป็น ‘พรรคเพื่อไทย’ ดังเดิม ซึ่งหลายฝ่ายฟันธงว่าได้ว่า เขาจำเป็นต้องเป็น ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ เพราะภารกิจสำคัญคือการ ‘กลับบ้าน’ ของ ‘คนแดนไกล’
นี่จึงเป็นช่วง ‘หัวเลี้ยวหัวต่อ’ ของบ้านเมืองที่สำคัญ วัดใจทั้ง ‘ก้าวไกล’ และ ‘เพื่อไทย’ ซึ่งอาตมาทำนายไม่ถูกว่าเหตุการณ์จะออกมาหน้าไหนกันแน่
13 ส.ว. ที่เห็นชอบ น้อยกว่าจำนวนวุฒิสมาชิกที่สื่อมวลชนประเมินไว้ก่อนหน้านี้ไม่มาก (แต่เดิมประเมินไว้ประมาณ 20 เสียง) ตอกย้ำว่าการเดินเกมของเครื่องจักรสีส้มในการเจรจาสภาสูง ยังไม่ประสบผลสำเร็จ กลายเป็นข้อส่อเสียด แต่เดิมมั่นใจว่าจะเกิน 376 แน่ ๆ ที่ไหนได้ยังพร่องไปหลายขุม ทำเอาต้องฟอร์มทีมส่งทูตอีกระลอก
อย่างไรเสีย การโหวตรอบ 2 ในวันที่ 19 ก.ค. ที่จะถึงนี้ คาดว่าจะแตกต่างกับการโหวตรอบแรก (13 ก.ค. 66) อย่างชัดเจน หากเปิดฉากทัศน์วิเคราะห์ตามสถานการณ์ มิติในห้องประชุมร่วมจะออกมาได้หลายหน้า ยิ่งประมวลภาพจากเสียง ส.ว. ที่โหวต ‘ไม่เห็นชอบ’ 34 เสียง และ ‘งดออกเสียง’ 159 เสียง มีความเป็นไปได้สูง ที่พรรครัฐบาลเก่าที่ ‘นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว’ มาระยะหนึ่ง อาจจะเสนอชื่อแคนดิเดตเข้าแข่งขันกับ ‘พิธา’ โดยรายชื่อที่คาดว่ามีโอกาสสูงสุดหนีไม่พ้น ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ แห่งพลังประชารัฐ
แต่เชื่อเถิดในส่วนของก้าวไกล คงไม่ยอมถอย จะสู้จนหลังชนฝา ขอโอกาสอีกสักครั้งเพื่อเป็น ‘นายกฯ ของประชาชน’ แม้สถานการณ์จะดูย่ำแย่ยิ่งกว่า ‘ลูกผีลูกคน’ เพราะไม่รู้ว่าจะมี ส.ว.สนับสนุนเพิ่มหรือไม่ และยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ‘พรรคพันธมิตร’ จะส่งชื่อ ‘หนุ่มทิม’ ลงสนามอีกครั้งหรือเปล่า แต่ดูท่าทีคงต้องสู้ให้ตายไปข้างหนึ่ง อย่างน้อยในวันที่ ‘แพแตก’ การถอยเป็น ‘ฝ่ายค้าน’ เสียเอง อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เสมือน ‘พระเอก’ ในละครจอแก้ว ‘ดุดันจริงใจ’ เข้าทางแฟนคลับไม่น้อย
ยิ่งดูจากการปล่อยคลิป ‘พิธา’ ขอบคุณคุณประชาชน - รัฐสภา ที่สนับสนุนในรอบแรก ช่วงหนึ่งมีการเปิดประเด็น ‘สองสมรภูมิ’ ที่น่าสนใจ เป็นแผนการยุทธ์ที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา สมรภูมิแรก คือการต่อสู้ในวันที่ 19 ก.ค. 66 และสมรภูมิที่สอง คือการยื่นเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ถาวรตลอดกาล
“ทั้งสองสมรภูมิจะไม่มีวันชนะได้ หากเราไม่สามารถเปลี่ยนใจ ส.ว. ให้อยู่ข้างประชาชน”
มุมนึงมองได้ว่า เป็นการพลิกเกมสู้ของพรรคคนหนุ่มสาว ที่เชื่อว่าท้ายที่สุดจะกลายเป็นผู้เสียเปรียบ แต่อีกนัยหนึ่งการประกาศสงครามคราวนี้ถูกมองว่า อาจ ‘เพิ่มความเสี่ยง’ ให้พรรคส้ม เพราะทั้งสองสมรภูมิ ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ ‘เสียงวุฒิสภา’
ในศึกชิงนายกฯ รอบสองหากเสนอชื่อ ‘พิธา’ ซ้ำต้องหา ส.ว. จำนวนกว่า 52 เสียงเพื่อเติมน้ำให้เต็มตุ่ม ส่วนกรณีการเสนอ ‘ปิดสวิซต์ ส.ว.’ ไม่ให้ ‘โหวตนายกฯ’ ตลอดชาติ จำเป็นต้องได้เสียงวุฒิสภาเกิน 1 ใน 3 หรือ 84 คน อีกทั้งต้องพึ่งเสียง ‘ส.ส.ฝ่ายค้าน’ ร้อยละ 20 ในการเห็นชอบด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการจัดตั้งรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด
ยังไม่รู้ใครคือ ‘รัฐบาลตัวจริง’
แต่หากสภามีการเสนอชื่อ ‘บิ๊กป้อม’ เข้าชิงดำด้วยแล้วไซร้ มีหรือ ‘รัฐบาลในฝัน’ จะจัดตั้งได้ง่าย ๆ วิเคราะห์กันตามเนื้อผ้า ‘พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์’ เคยเป็นหัวเรือกรรมการสรรหา ส.ว. จึงอนุมานได้ว่ามี ‘วุฒิสภา’ ในสังกัดจำนวนไม่น้อย บางสื่อเคยรายงานว่ามีถึง 80 คน ยิ่งผสมโรงกับ ส.ว. ฝ่าย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ที่ก่อนหน้านี้ประกาศ ‘อำลาวงการเมือง’ อย่างมีนัยตามต่อ ‘ถอยเพื่อใคร’ จำนวนตัวเลขวุฒิสภาที่จะสนับสนุน ‘ประวิตร’ คงมีล้นเหลือหากกังวลเรื่องข้อครหา ‘รัฐบาลเสียงข้างน้อย’ ตามแนวคิดเชื่อว่า จะมีเสียงสนับจาก ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ จำนวน 62 เสียง ที่ ‘แจกกล้วย - เลี้ยงงู’ มาเติมเต็มเสียงพรรครัฐบาลเก่า ที่แต่เดิมมีแต้มอยู่ในกระเป๋า 188 เสียง ให้เกินครึ่งสภาล่าง 250 เสียง เพียงพอต่อการขึ้น ‘เบอร์ 1’ ในฐานะ ‘รัฐบาลเสียงข้างมาก’ ได้ไม่ยาก
พรรคที่ถูกจับตาความเคลื่อนไหวระลอก 2 คือ ‘เพื่อไทย’ เพราะแต่เดิมปัจจัยภายในระหว่าง 8 พรรคร่วมฯ ยังไม่ตกผลึกเรื่อง ‘เสนอชื่อ’ ว่าสรุปแล้วจะเป็น ‘พิธา’ หรือไม่ ท่ามกลางกระแสข่าวที่สุมไฟช่วงสุดสัปดาห์ มีแผนจะดัน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ เจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นแท่นประลองยุทธ์ แทนแม่ทัพผู้ปราชัยในสนามรบรอบที่ผ่านมา
ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่จะแก้สมการทางการเมืองยังคงเป็น ‘พรรคเพื่อไทย’ ดังเดิม ซึ่งหลายฝ่ายฟันธงว่าได้ว่า เขาจำเป็นต้องเป็น ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ เพราะภารกิจสำคัญคือการ ‘กลับบ้าน’ ของ ‘คนแดนไกล’
นี่จึงเป็นช่วง ‘หัวเลี้ยวหัวต่อ’ ของบ้านเมืองที่สำคัญ วัดใจทั้ง ‘ก้าวไกล’ และ ‘เพื่อไทย’ ซึ่งอาตมาทำนายไม่ถูกว่าเหตุการณ์จะออกมาหน้าไหนกันแน่