พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมต.กลาโหม ชี้แจงกรณีเรือหลวงสุโขทัย โดยยืนยันคำสั่งการของ รมต.กลาโหม ที่ให้กองทัพเรือดูแลกำลังพลให้ดีที่สุด ส่วนปัจจุบัน คณะกรรมการสอบสวนของกองทัพเรือ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงานภายนอก มาสอบสวนถึง 289 คน ปัจจุบันสามารถลำดับเหตุการณ์ให้เห็นภาพได้ แต่เนื่องจากต้องมีข้อมูลประกอบด้วย รมต.กลาโหม จึงสั่งการเร่งสรุปผลการดำเนินการ โดยกระทรวงกลาโหม จะดำเนินการสอบสวนด้วยอีกทาง
พร้อมยืนยันว่า เรือทุกลำมีแผนซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการใช้งาน และซ่อมเพื่อให้สามารถพร้อมใช้งานได้โดยไม่เกิดการชำรุด ทั้งนี้ การซ่อมมีสองส่วน คือกองทัพเรือดำเนินการเอง โดยกำลังพลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรจากบริษัทผู้ผลิต มีใบประกอบวิชาชีพ มีการควบคุมการงานตรวจสอบ อีกส่วนคือเอกชนภายนอก เข้ามาตรวจสอบคุณภาพ การดำเนินการทั้งหมด กองทัพดำเนินการอย่างมีมาตรฐานทุกขั้นตอน ส่วนประสิทธิภาพของเรือหลวงสุโขทัย หลังการซ่อมใหญ่เมื่อปี 61-63 และส่งมอบเรือใช้งานเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 หลังซ่อมได้ปฏิบัติภารกิจตามปกติอย่างมีขีดความสามารถ
“คณะกรรมการสอบสวนของกองทัพเรือให้ไปดูสาเหตุเรื่องการซ่อมด้วยว่ามีจุดบกพร่องหรือไม่ ซึ่ง รมต.กลาโหม สั่งการให้กองทัพเรือดำเนินการสอบสวนทั้งหมด แต่คงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เพราะเรือเป็นวัตถุพยานสำคัญ มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการกู้เรือ โดยมี 30 บริษัทเสนอเข้ามา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม โปร่งใส มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกู้เรือ” พล.อ.ชัยชาญ กล่าว
นอกจากนี้ รมต.กลาโหม ให้ดูแลกำลังพลเรื่องสวัสดิการเพื่อใช้ชีวิตปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข การจัดสวัสดิการให้อยู่ในธรรมาภิบาล โปร่งใส กรณีมีการร้องเรียน ต้องมีการดำเนินการตรวจสอบ หากใครดำเนินการไม่เป็นไปตามระเบียบ จะต้องถูกดำเนินการลงโทษทั้งทางวินัยและอาญา
อีกด้าน พล.ร.อ.ชลทิศ นาวานุเคราะห์ เสนาธิการทหารเรือ (เสธ.ทร.) และ พล.ร.ท.สุทธิศักดิ์ บุตรนาค เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยยืนยันกองทัพเรือพยายามประมวลหาสาเหตุที่สำคัญ เน้นย้ำว่า ไม่เคยเกิดเหตุลักษณะนี้มาก่อน และพยายามป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ โดยได้สอบพยานบุคคลไปแล้วครั้งหนึ่งราว 200 ปาก แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะต้องการความรอบคอบชัดเจนในทุกประเด็น เพื่อตอบคำถามต่อตัวเองและสังคมให้ได้ ขณะเดียวกัน ก็จะเร่งดำเนินการสอบเพิ่มเติมให้ถึงพร้อมทั้งคุณภาพและปริมาณของพยานบุคคล
ด้าน พล.ร.ท.สุทธิศักดิ์ ชี้แจงว่า กองทัพเรือดำเนินการศึกษาค้นคว้าและวิธีกู้เรือ และความคุ้มค่าต่องบประมาณที่จะเสียไป ส่วนซากเรือ อยู่ห่างไป 20 ไมล์ จากท่าเรือบางสะพาน อยู่ที่ความลึกประมาณ 50 เมตรใต้ทะเล ความสูงตัวเรือประมาณ 20 เมตร นับจากเสากระโดงจบ หรือใต้น้ำประมาณ 26 เมตร และไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือในภาวะปกติ
พร้อมยืนยันว่า เรือทุกลำมีแผนซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการใช้งาน และซ่อมเพื่อให้สามารถพร้อมใช้งานได้โดยไม่เกิดการชำรุด ทั้งนี้ การซ่อมมีสองส่วน คือกองทัพเรือดำเนินการเอง โดยกำลังพลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรจากบริษัทผู้ผลิต มีใบประกอบวิชาชีพ มีการควบคุมการงานตรวจสอบ อีกส่วนคือเอกชนภายนอก เข้ามาตรวจสอบคุณภาพ การดำเนินการทั้งหมด กองทัพดำเนินการอย่างมีมาตรฐานทุกขั้นตอน ส่วนประสิทธิภาพของเรือหลวงสุโขทัย หลังการซ่อมใหญ่เมื่อปี 61-63 และส่งมอบเรือใช้งานเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 หลังซ่อมได้ปฏิบัติภารกิจตามปกติอย่างมีขีดความสามารถ
“คณะกรรมการสอบสวนของกองทัพเรือให้ไปดูสาเหตุเรื่องการซ่อมด้วยว่ามีจุดบกพร่องหรือไม่ ซึ่ง รมต.กลาโหม สั่งการให้กองทัพเรือดำเนินการสอบสวนทั้งหมด แต่คงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เพราะเรือเป็นวัตถุพยานสำคัญ มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการกู้เรือ โดยมี 30 บริษัทเสนอเข้ามา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม โปร่งใส มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกู้เรือ” พล.อ.ชัยชาญ กล่าว
นอกจากนี้ รมต.กลาโหม ให้ดูแลกำลังพลเรื่องสวัสดิการเพื่อใช้ชีวิตปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข การจัดสวัสดิการให้อยู่ในธรรมาภิบาล โปร่งใส กรณีมีการร้องเรียน ต้องมีการดำเนินการตรวจสอบ หากใครดำเนินการไม่เป็นไปตามระเบียบ จะต้องถูกดำเนินการลงโทษทั้งทางวินัยและอาญา
อีกด้าน พล.ร.อ.ชลทิศ นาวานุเคราะห์ เสนาธิการทหารเรือ (เสธ.ทร.) และ พล.ร.ท.สุทธิศักดิ์ บุตรนาค เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยยืนยันกองทัพเรือพยายามประมวลหาสาเหตุที่สำคัญ เน้นย้ำว่า ไม่เคยเกิดเหตุลักษณะนี้มาก่อน และพยายามป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ โดยได้สอบพยานบุคคลไปแล้วครั้งหนึ่งราว 200 ปาก แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะต้องการความรอบคอบชัดเจนในทุกประเด็น เพื่อตอบคำถามต่อตัวเองและสังคมให้ได้ ขณะเดียวกัน ก็จะเร่งดำเนินการสอบเพิ่มเติมให้ถึงพร้อมทั้งคุณภาพและปริมาณของพยานบุคคล
ด้าน พล.ร.ท.สุทธิศักดิ์ ชี้แจงว่า กองทัพเรือดำเนินการศึกษาค้นคว้าและวิธีกู้เรือ และความคุ้มค่าต่องบประมาณที่จะเสียไป ส่วนซากเรือ อยู่ห่างไป 20 ไมล์ จากท่าเรือบางสะพาน อยู่ที่ความลึกประมาณ 50 เมตรใต้ทะเล ความสูงตัวเรือประมาณ 20 เมตร นับจากเสากระโดงจบ หรือใต้น้ำประมาณ 26 เมตร และไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือในภาวะปกติ