มิติทางการเมืองเริ่มเห็นชัดขึ้น มีหลายพรรคการเมืองทยอยเผยแพร่ ‘พิมพ์เขียว’ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อออกมา ซึ่งแน่นอนพรรคบิ๊กเน ล้วนส่งว่าที่ผู้สมัครฯ สู้ศึกครบ 100 รายชื่อไม่ฟันหลอ แต่หากมองผ่านมุมมองแบบฮาร์ตคอการเมืองอาจมีนัยซ่อนอยู่ 2 ปัจจัย
หนึ่ง ตามธรรมเนียม ‘ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1’ จะต้องเป็นชื่อของ ‘แคนดิเดตนายกฯ’ ซึ่งพรรคส่วนใหญ่ ก็ล้วนลง ‘หัวเรือ’ นั่งเบอร์หนึ่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อาทิ ‘พลังประชารัฐ’ ส่ง ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’, ‘ภูมิใจไทย’ ส่ง ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’, ‘ประชาธิปัตย์’ ส่ง ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์’ และ ‘ก้าวไกล’ ส่ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ลงฟาดแข้ง แต่มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 สังกัดไม่ได้ส่งแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเข้าเล่นในสนามนั่นก็คือ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ และ ‘เพื่อไทย’
มีการตีความเรื่องนี้จากทั้งคนบ้าการเมืองและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หลายคน ที่ให้เหตุผลแทน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ว่าอาจเป็นเพราะธรรมชาติของ ‘ประยุทธ์’ ที่ไม่อยากเข้ามาวนเวียนในแวดวงการเมือง ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้ตั้งแต่เป็นผู้บัญชาการทหาร พลเอกประยุทธ์ แสดงตัวตนชัดว่า ‘ไม่ชอบนักการเมือง’ ดังนั้นหากไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ‘ลุงตู่’ อาจตัดสินใจ ‘ลงหลังเสือ’ แบบที่หลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ กระนั้นพลเอกเอกประยุทธ์เองมักจะตอบคำถามสื่อมวลชน เวลาถูกถามประเด็นนี้ ว่าไม่ลงสมัคร ส.ส. เพราะ ‘รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้กำหนด’ ดังนั้นหากไม่เข้าวิน ก็พร้อมสละเรือทุกเมื่อ
เรื่องนี้ ‘รังสิมันต์ โรม’ จากพรรคก้าวไกล เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่า พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับการที่นายกรัฐมนตรี ที่ต้องมาจาก ส.ส.มาโดยตลอด เพราะเป็นหลักการที่มาจากการต่อสู้ของประชาชนในเหตุกาณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ที่สละชีวิตของคนจำนวนมาก เพื่อยืนยันหลักการเรื่องนี้ จนได้ถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญ 2540
แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่มาจากคณะรัฐประหาร ได้ทำลายการต่อสู้ของวีรชนและทำลายหลักการ เหลือเพียงให้แต่ละพรรคเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้ 3 คน โดยไม่ต้องเป็น ส.ส. ดังนั้นเพื่อให้สังคมกลับมายืนอยู่บนความถูกต้องตามครรลอง จำเป็นที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทุกคน ควรต้องเป็น ส.ส.ด้วย
ขณะที่ ‘อุ๊งอิ๊ง - แพทองธาร ชินวัตร’ แคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 1 และ ‘เสี่ยนิด - เศรษฐา ทวีสิน’ แคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 2 ของพรรคเพื่อไทย ให้ความเห็นคล้ายคลึงกับพลเอกประยุทธ์ โดยอ้างจากกฎหมายสูงสุดไม่ได้บังคับ
‘จตุพร พรหมพันธุ์’ แกนนำกลุ่มคณะหลอมรวมประชาชน อดีตแกนนำกลุ่มเสื้อ นปช. ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ผ่านการไลฟ์ ว่าเป็นเพราะทั้งคู่มีปูมหลังเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ หากเป็น ส.ส. อาจถูกรื้อค้นข้อมูลมาตรวจสอบ และอาจมีบางส่วนเข้าข่ายผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง อธิบายง่ายๆ คือการไม่ลงสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพราะเป็นการ ‘ตัดความเสี่ยง’ และการยกเรื่องกรอบของรัฐธรรมนูญมาเป็นข้ออ้างก็ฟังไม่ขึ้น
“ไม่เกี่ยวเลย อ้างว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้แคนดิเดตนายกฯ ต้องเป็น ส.ส. แต่เมื่อชูหลักการประชาธิปไตยเข้มข้น คุณหนีการลง ส.ส.ไปได้อย่างไร เอาเป็นว่า จะอธิบายอย่างไรก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงคุณกลัวเรื่องจริยธรรม ถ้าไม่ได้เป็น ส.ส. ก็ปลอดภัย” จตุพร พรหมพันธ กล่าว
นัยที่ 2 คือเกมการเมืองภายในพรรคการเมือง ซึ่งเราจะเห็นได้จากข้อมูลรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ล้วนแอบแฝงเรื่อง ‘อำนาจ’ และ ‘ผลประโยชน์’ ของว่าที่ผู้แทนฯ ทั้งสิ้น อย่างกรณี พรรคพลังประชารัฐ มี ‘เด็กใหม่’ เข้าเสียบในอันดับ ‘เซฟโซน’ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ‘มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์’ อดีตนักการเมืองที่เคยประกาศตนว่าจะไม่เข้าร่วมกับพลังประชารัฐ รวมถึง ‘อุตตม สาวนายน - สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์’ 2 กุมารคนเก่าหน้าคุ้น และ ‘สกลธี ภัททิยกุล’ ขาด ‘อาจารย์แหม่ม - นฤมล ภิญโญสินวัฒน์’ ที่ไม่ได้อยู่ในอันดับ ท็อป 15 จนเจ้าตัวออกมาแถลงข่าวแสดงความน้อยใจในเวลาต่อมา
เรื่องนี้หลายคนเชื่อว่า เป็น ‘ดีล’ หรือ ‘ข้อตกลง‘ ที่ ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ ให้คำมั่นสัญญา - เสนอเป็นข้อแลกเปลี่ยน กับ ‘เด็กใหม่’ ให้เข้าร่วมทัพ
เฉกเช่นเดียวกับฝากฝั่ง ‘ประชาธิปัตย์’ ที่กำลังมีกระแสดราม่า ไร้ชื่อ ‘ตั้น - จิตภัสร์ กฤดากร’ รองเลขาธิการพรรค ที่ออกมาตัดพ้อผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า “อยู่ที่ไหนก็ได้ ที่เค้าเห็นคุณค่าและผลงานของเรา 13 ปี กับพรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งสื่อมวลชนเชื่อ ว่าเป็นเอฟเฟกต์ย้อนหลังจากการที่ไม่มีรายชื่อในลิสต์เซฟโซน 15 อันดับ และคาดการว่า เกิดจาก ส.ส.หญิงที่เพิ่มเข้ามาใหม่ เบียดแย่งพื้นที่ ส่งผลให้จิตภัสร์ตกอันดับความหวังไป
‘นางพญา’ ที่ว่าไม่ใช่ใคร คือ ‘มาดามเดียร์ - วทันยา บุนนาค’ ที่คอการเมืองเชื่อว่า มีการทำข้อตกลงกับผู้ใหญ่ใน ปชป. ว่าต้องอยู่ในอันดับเซฟโซนเท่านั้น ห้ามตกร่องแผ่นเสียงเด็ดขาด
อย่างไรก็ดีสำหรับ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ อาจเป็นอีกพรรคการเมืองที่น่าจะไม่มีปัญหาตรงนี้มากนัก เพราะเชื่อว่าจะมีการจัดสรรองคาพยพ ‘2 ต.’ อย่างลงตัวตามทฤษฎี ‘สลับฟันปลา’ แบ่งลำดับสลับกันระหว่าาง ‘กลุ่มว่าที่ผู้สมัครฯ ฝ่ายตุ๋ย - พีระพันธุ์’ และ ‘กลุ่มรัฐมนตรีคู่บารมีของ ตู่ - ประยุทธ์’
2 นัยที่ผู้เขียนยกขึ้นมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึง ‘เกมการเมือง’ ที่นอกจากแต่ละพรรคจะสู้กันในสนามเลือกตั้งแล้ว ยังต้อง ‘รบกันเอง’ และนี่การเป็นการวอร์มเครื่องก่อนเข้าสู่สนามจริงก็เป็นได้...
หนึ่ง ตามธรรมเนียม ‘ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1’ จะต้องเป็นชื่อของ ‘แคนดิเดตนายกฯ’ ซึ่งพรรคส่วนใหญ่ ก็ล้วนลง ‘หัวเรือ’ นั่งเบอร์หนึ่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อาทิ ‘พลังประชารัฐ’ ส่ง ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’, ‘ภูมิใจไทย’ ส่ง ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’, ‘ประชาธิปัตย์’ ส่ง ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์’ และ ‘ก้าวไกล’ ส่ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ลงฟาดแข้ง แต่มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 สังกัดไม่ได้ส่งแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเข้าเล่นในสนามนั่นก็คือ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ และ ‘เพื่อไทย’
มีการตีความเรื่องนี้จากทั้งคนบ้าการเมืองและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หลายคน ที่ให้เหตุผลแทน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ว่าอาจเป็นเพราะธรรมชาติของ ‘ประยุทธ์’ ที่ไม่อยากเข้ามาวนเวียนในแวดวงการเมือง ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้ตั้งแต่เป็นผู้บัญชาการทหาร พลเอกประยุทธ์ แสดงตัวตนชัดว่า ‘ไม่ชอบนักการเมือง’ ดังนั้นหากไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ‘ลุงตู่’ อาจตัดสินใจ ‘ลงหลังเสือ’ แบบที่หลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ กระนั้นพลเอกเอกประยุทธ์เองมักจะตอบคำถามสื่อมวลชน เวลาถูกถามประเด็นนี้ ว่าไม่ลงสมัคร ส.ส. เพราะ ‘รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้กำหนด’ ดังนั้นหากไม่เข้าวิน ก็พร้อมสละเรือทุกเมื่อ
เรื่องนี้ ‘รังสิมันต์ โรม’ จากพรรคก้าวไกล เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่า พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับการที่นายกรัฐมนตรี ที่ต้องมาจาก ส.ส.มาโดยตลอด เพราะเป็นหลักการที่มาจากการต่อสู้ของประชาชนในเหตุกาณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ที่สละชีวิตของคนจำนวนมาก เพื่อยืนยันหลักการเรื่องนี้ จนได้ถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญ 2540
แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่มาจากคณะรัฐประหาร ได้ทำลายการต่อสู้ของวีรชนและทำลายหลักการ เหลือเพียงให้แต่ละพรรคเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้ 3 คน โดยไม่ต้องเป็น ส.ส. ดังนั้นเพื่อให้สังคมกลับมายืนอยู่บนความถูกต้องตามครรลอง จำเป็นที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทุกคน ควรต้องเป็น ส.ส.ด้วย
ขณะที่ ‘อุ๊งอิ๊ง - แพทองธาร ชินวัตร’ แคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 1 และ ‘เสี่ยนิด - เศรษฐา ทวีสิน’ แคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 2 ของพรรคเพื่อไทย ให้ความเห็นคล้ายคลึงกับพลเอกประยุทธ์ โดยอ้างจากกฎหมายสูงสุดไม่ได้บังคับ
‘จตุพร พรหมพันธุ์’ แกนนำกลุ่มคณะหลอมรวมประชาชน อดีตแกนนำกลุ่มเสื้อ นปช. ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ผ่านการไลฟ์ ว่าเป็นเพราะทั้งคู่มีปูมหลังเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ หากเป็น ส.ส. อาจถูกรื้อค้นข้อมูลมาตรวจสอบ และอาจมีบางส่วนเข้าข่ายผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง อธิบายง่ายๆ คือการไม่ลงสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพราะเป็นการ ‘ตัดความเสี่ยง’ และการยกเรื่องกรอบของรัฐธรรมนูญมาเป็นข้ออ้างก็ฟังไม่ขึ้น
“ไม่เกี่ยวเลย อ้างว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้แคนดิเดตนายกฯ ต้องเป็น ส.ส. แต่เมื่อชูหลักการประชาธิปไตยเข้มข้น คุณหนีการลง ส.ส.ไปได้อย่างไร เอาเป็นว่า จะอธิบายอย่างไรก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงคุณกลัวเรื่องจริยธรรม ถ้าไม่ได้เป็น ส.ส. ก็ปลอดภัย” จตุพร พรหมพันธ กล่าว
นัยที่ 2 คือเกมการเมืองภายในพรรคการเมือง ซึ่งเราจะเห็นได้จากข้อมูลรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ล้วนแอบแฝงเรื่อง ‘อำนาจ’ และ ‘ผลประโยชน์’ ของว่าที่ผู้แทนฯ ทั้งสิ้น อย่างกรณี พรรคพลังประชารัฐ มี ‘เด็กใหม่’ เข้าเสียบในอันดับ ‘เซฟโซน’ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ‘มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์’ อดีตนักการเมืองที่เคยประกาศตนว่าจะไม่เข้าร่วมกับพลังประชารัฐ รวมถึง ‘อุตตม สาวนายน - สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์’ 2 กุมารคนเก่าหน้าคุ้น และ ‘สกลธี ภัททิยกุล’ ขาด ‘อาจารย์แหม่ม - นฤมล ภิญโญสินวัฒน์’ ที่ไม่ได้อยู่ในอันดับ ท็อป 15 จนเจ้าตัวออกมาแถลงข่าวแสดงความน้อยใจในเวลาต่อมา
เรื่องนี้หลายคนเชื่อว่า เป็น ‘ดีล’ หรือ ‘ข้อตกลง‘ ที่ ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ ให้คำมั่นสัญญา - เสนอเป็นข้อแลกเปลี่ยน กับ ‘เด็กใหม่’ ให้เข้าร่วมทัพ
เฉกเช่นเดียวกับฝากฝั่ง ‘ประชาธิปัตย์’ ที่กำลังมีกระแสดราม่า ไร้ชื่อ ‘ตั้น - จิตภัสร์ กฤดากร’ รองเลขาธิการพรรค ที่ออกมาตัดพ้อผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า “อยู่ที่ไหนก็ได้ ที่เค้าเห็นคุณค่าและผลงานของเรา 13 ปี กับพรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งสื่อมวลชนเชื่อ ว่าเป็นเอฟเฟกต์ย้อนหลังจากการที่ไม่มีรายชื่อในลิสต์เซฟโซน 15 อันดับ และคาดการว่า เกิดจาก ส.ส.หญิงที่เพิ่มเข้ามาใหม่ เบียดแย่งพื้นที่ ส่งผลให้จิตภัสร์ตกอันดับความหวังไป
‘นางพญา’ ที่ว่าไม่ใช่ใคร คือ ‘มาดามเดียร์ - วทันยา บุนนาค’ ที่คอการเมืองเชื่อว่า มีการทำข้อตกลงกับผู้ใหญ่ใน ปชป. ว่าต้องอยู่ในอันดับเซฟโซนเท่านั้น ห้ามตกร่องแผ่นเสียงเด็ดขาด
อย่างไรก็ดีสำหรับ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ อาจเป็นอีกพรรคการเมืองที่น่าจะไม่มีปัญหาตรงนี้มากนัก เพราะเชื่อว่าจะมีการจัดสรรองคาพยพ ‘2 ต.’ อย่างลงตัวตามทฤษฎี ‘สลับฟันปลา’ แบ่งลำดับสลับกันระหว่าาง ‘กลุ่มว่าที่ผู้สมัครฯ ฝ่ายตุ๋ย - พีระพันธุ์’ และ ‘กลุ่มรัฐมนตรีคู่บารมีของ ตู่ - ประยุทธ์’
2 นัยที่ผู้เขียนยกขึ้นมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึง ‘เกมการเมือง’ ที่นอกจากแต่ละพรรคจะสู้กันในสนามเลือกตั้งแล้ว ยังต้อง ‘รบกันเอง’ และนี่การเป็นการวอร์มเครื่องก่อนเข้าสู่สนามจริงก็เป็นได้...