‘รัฐธรรมนูญ 2560’ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่กลับแก้ไขได้ยาก ด้วยบทบัญญัติที่ ‘มีชัย ฤชุพันธุ์’ วางล็อกไว้หลายชั้น แม้รัฐสภาจะช่วยกันขับเคลื่อนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายต่อหลายฉบับ แต่ก็ถูกตีตกเกือบทั้งหมด มีเพียงฉบับเดียวที่แก้ไขเรื่องบัตรเลือกตั้งเท่านั้นที่สามารถผ่านด่านมาได้
แม้จะยุ่งยากซับซ้อน แต่ไม่มีใครท้อ ‘พรรคเพื่อไทย’ ว่าที่ ครม.ในอนาคต ประกาศชัด พร้อมร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทันทีในการประชุม ครม.นัดแรก ขณะที่กลุ่ม ‘ประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ’ เปิดแคมเปญล่า 50,000 รายชื่อเสนอทำประชามติเพื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่มาจากประชาชน คู่ขนานไปกับ ‘พรรคก้าวไกล’ ที่เสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ ครม.ดำเนินการให้ออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
‘ไอติม’ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ย้ำขั้นตอนการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ประชาชนต้องเข้าคูหาทั้งหมด 4 ครั้ง ประกอบด้วย
แม้ว่า แนวทางของเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลในอนาคต ดูเหมือนจะสอดคล้องกับพรรคก้าวไกลที่ต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. แต่สิ่งที่แตกต่างคือ พรรคการเมืองอื่นจะไม่แตะต้อง หมวด 1-2
เช่นนี้แล้ว การเดินหน้าของก้าวไกล จะผ่านด่านได้หรือไม่?
‘พริษฐ์’ มองข้อกังวลนี้ว่า เกิดจากความเข้าใจว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ หากจะแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ แต่ยืนยันว่า ‘ไม่เป็นเช่นนั้น’ เพราะมาตรา 255 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบรัฐ เป็นรัฐเดี่ยวได้
“เพื่อเพิ่มความสบายใจ ขอชี้แจงว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่ละครั้งที่ผ่านมา มีการแก้ไขบางถ้อยคำในหมวด 1-2 ตลอด แต่ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง แม้รัฐธรรมนูญ 2560 ก็เปิดให้สามารถแก้ไขหมวด 1-2 ได้ หากไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและรูปแบบรัฐ เพียงแต่กำหนดว่า รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ ถ้าแก้ไขหมวด 1-2 แล้ว ต้องจัดทำประชามติเพื่อถามความเห็นชอบจากประชาชนอีกรอบหนึ่ง”
นอกจากนี้ เมื่อปี 2565 มีญัตติด่วนเกี่ยวกับการจัดทำประชามติที่ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎร เพียงแค่ไม่ผ่านด่าน ‘วุฒิสภา’ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นญัตติที่ขอให้จัดทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง จึงกังวลเรื่องกรอบเวลาที่กระชั้นชิด แต่ขณะนี้ ล่วงเลยการเลือกตั้งมาแล้ว จึงเชื่อว่า ญัตตินี้ จะ ‘ผ่านด่าน’ ทั้ง 2 สภาฯ จนนำไปสู่ ครม. โดยที่ไม่ใช่การส่งเพื่อผ่านอีกหนึ่งด่าน แต่เป็นการแจ้งต่อ ครม.เท่านั้น
“หากยึดตาม กม.ประชามติ จะเขียนไว้ว่า รัฐสภาพิจารณาแล้วมีมติแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้แจ้งเรื่องให้ ครม.ดำเนินการ จะเห็นว่า ไม่ได้เขียนว่า เป็นการไปขอความเห็นชอบจาก ครม. ดังนั้น ในมุมมองของผม ถ้าสภาโหวตเห็นชอบ ก็เป็นการแจ้งให้ ครม.ดำเนินการ ไม่ได้ขอให้พิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่”
เมื่อถนน 2 สาย ทั้งพรรคก้าวไกลและกลุ่มประชาชนเดินหน้ากระบวนการจัดทำประชามติแบบเต็มสูบ ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า นี่เป็นการกดดัน ครม.ในอนาคตแบบสองทางหรือไม่ แต่พริษฐ์ ย้ำว่า เดินหน้าตามนโยบาย เพราะก้าวไกลเห็นถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่พรรคก้าวไกลที่พูด พรรคการเมืองอื่นก็สื่อสารออกมาเช่นกัน
แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก้าวไกลนี้ จะกลายเป็น ‘รัฐธรรมนูญฉบับพิมพ์ส้ม’ หรือไม่?
พริษฐ์ ยืนยันว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่สะท้อนฉันทามติของสังคมไทย เป็นฉันทามติที่โอบรัดความฝัน และชุดความคิดที่แตกต่างหลากหลายของสังคม ดังนั้น จึงไม่ควรเป็น ‘รัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง’
แต่สุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้การผลักดันของ ‘ก้าวไกล’ จะไปถึงฝั่งฝันหรือไม่? คงต้องลุ้นกันอีกสักตั้ง
แม้จะยุ่งยากซับซ้อน แต่ไม่มีใครท้อ ‘พรรคเพื่อไทย’ ว่าที่ ครม.ในอนาคต ประกาศชัด พร้อมร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทันทีในการประชุม ครม.นัดแรก ขณะที่กลุ่ม ‘ประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ’ เปิดแคมเปญล่า 50,000 รายชื่อเสนอทำประชามติเพื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่มาจากประชาชน คู่ขนานไปกับ ‘พรรคก้าวไกล’ ที่เสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ ครม.ดำเนินการให้ออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
‘ไอติม’ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ย้ำขั้นตอนการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ประชาชนต้องเข้าคูหาทั้งหมด 4 ครั้ง ประกอบด้วย
- ครั้งที่ 1 ทำประชามติว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะเสนอร่างใดๆ เข้ารัฐสภา แม้ไม่จำเป็นในแง่กฎหมาย แต่จะขัดเจตนารมณ์ของประชาชนไม่ได้
- ครั้งที่ 2 ทำประชามติว่า เห็นด้วยหรือไม่กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การมี สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยจัดทำหลังผ่านการเห็นชอบ 3 วาระของรัฐสภา
- ครั้งที่ 3 การเลือกตั้ง สสร. เพื่อเป็นตัวแทนประชาชนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ครั้งที่ 4 ทำประชามติว่า เห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างโดย สสร.
แม้ว่า แนวทางของเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลในอนาคต ดูเหมือนจะสอดคล้องกับพรรคก้าวไกลที่ต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. แต่สิ่งที่แตกต่างคือ พรรคการเมืองอื่นจะไม่แตะต้อง หมวด 1-2
เช่นนี้แล้ว การเดินหน้าของก้าวไกล จะผ่านด่านได้หรือไม่?
‘พริษฐ์’ มองข้อกังวลนี้ว่า เกิดจากความเข้าใจว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ หากจะแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ แต่ยืนยันว่า ‘ไม่เป็นเช่นนั้น’ เพราะมาตรา 255 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบรัฐ เป็นรัฐเดี่ยวได้
“เพื่อเพิ่มความสบายใจ ขอชี้แจงว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่ละครั้งที่ผ่านมา มีการแก้ไขบางถ้อยคำในหมวด 1-2 ตลอด แต่ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง แม้รัฐธรรมนูญ 2560 ก็เปิดให้สามารถแก้ไขหมวด 1-2 ได้ หากไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและรูปแบบรัฐ เพียงแต่กำหนดว่า รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ ถ้าแก้ไขหมวด 1-2 แล้ว ต้องจัดทำประชามติเพื่อถามความเห็นชอบจากประชาชนอีกรอบหนึ่ง”
นอกจากนี้ เมื่อปี 2565 มีญัตติด่วนเกี่ยวกับการจัดทำประชามติที่ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎร เพียงแค่ไม่ผ่านด่าน ‘วุฒิสภา’ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นญัตติที่ขอให้จัดทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง จึงกังวลเรื่องกรอบเวลาที่กระชั้นชิด แต่ขณะนี้ ล่วงเลยการเลือกตั้งมาแล้ว จึงเชื่อว่า ญัตตินี้ จะ ‘ผ่านด่าน’ ทั้ง 2 สภาฯ จนนำไปสู่ ครม. โดยที่ไม่ใช่การส่งเพื่อผ่านอีกหนึ่งด่าน แต่เป็นการแจ้งต่อ ครม.เท่านั้น
“หากยึดตาม กม.ประชามติ จะเขียนไว้ว่า รัฐสภาพิจารณาแล้วมีมติแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้แจ้งเรื่องให้ ครม.ดำเนินการ จะเห็นว่า ไม่ได้เขียนว่า เป็นการไปขอความเห็นชอบจาก ครม. ดังนั้น ในมุมมองของผม ถ้าสภาโหวตเห็นชอบ ก็เป็นการแจ้งให้ ครม.ดำเนินการ ไม่ได้ขอให้พิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่”
เมื่อถนน 2 สาย ทั้งพรรคก้าวไกลและกลุ่มประชาชนเดินหน้ากระบวนการจัดทำประชามติแบบเต็มสูบ ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า นี่เป็นการกดดัน ครม.ในอนาคตแบบสองทางหรือไม่ แต่พริษฐ์ ย้ำว่า เดินหน้าตามนโยบาย เพราะก้าวไกลเห็นถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่พรรคก้าวไกลที่พูด พรรคการเมืองอื่นก็สื่อสารออกมาเช่นกัน
แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก้าวไกลนี้ จะกลายเป็น ‘รัฐธรรมนูญฉบับพิมพ์ส้ม’ หรือไม่?
พริษฐ์ ยืนยันว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่สะท้อนฉันทามติของสังคมไทย เป็นฉันทามติที่โอบรัดความฝัน และชุดความคิดที่แตกต่างหลากหลายของสังคม ดังนั้น จึงไม่ควรเป็น ‘รัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง’
แต่สุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้การผลักดันของ ‘ก้าวไกล’ จะไปถึงฝั่งฝันหรือไม่? คงต้องลุ้นกันอีกสักตั้ง