(พระ) เนติวิทย์ : ผู้ผลักดัน ‘ยกเลิกเกณฑ์ทหาร’ กับวันชี้ชะตา 9 เมษาฯ จับใบดำ - ใบแดง

29 มี.ค. 2566 - 10:28

  • ประมวลภาพความเคลื่อนไหวของ (พระ) ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ กับเส้นทางนักขับเคลื่อน ผู้พลักดันประเด็นการยกเลิกทหารเกณฑ์

  • จับตาวันชี้ชะตา 9 เมษา ‘เนติวิทย์’ จับใบดำ - ใบแดง หลังหมดสิทธิ์ผ่อนผันเกณฑ์ทหาร

Netiwit-Social-Activist-Enlisted-soldier-Army-SPACEBAR-Thumbnail
นับตั้งแต่การเมืองไทยเริ่มเข้าสู่ยุคแบ่งแยกสีเสื้อ และอุดมการณ์อย่างชัดเจนในช่วงทศวรรษท่านมา มีบุคคลสำคัญที่ออกมาขับเคลื่อนความเห็นจำนวนมาก ทั้งฟากฝั่ง ‘อนุรักษ์นิยม’ และปีก ‘ประชาธิปไตย’ หากเจาะจงไปที่ ‘ฝ่ายซ้าย’ ชื่อ ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ นักขับเคลื่อนเชิงอุดมการณ์คนสำคัญ แทบจะเป็นบุคคลแรกที่พูดคนนึกหน้าออก ซึ่งปัจจุบันครองผ้าเหลืองอุปสมบทเป็นภิกษุใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของพระศาสนาอยู่ 

ณ 29 มีนาคม 2566 ผู้เขียนขอตั้งจิตกราบอนุญาต ‘พระเนติวิทย์’ ใช้คำเรียกสามัญว่า ‘เนติวิทย์’ หรือ ‘แฟร้ง’ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ และสามารถกลับมาอ่านความเรียงฉบับนี้ได้ใหม่ในวันหน้า ซึ่งผมขอย้อนเกร็ดเล็ก ๆ ในชีวิตของ ‘แฟร้ง’ นิสิตคณะรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวปัญหาทางโลกหลายด้าน ทั้งการขับเคลื่อนในประเด็นการเมือง วัฒนธรรม สังคม และศาสนา 

เนติวิทย์ เริ่มกลายเป็นรู้จักในฐานะ ‘นักเรียน’ คนแรก ๆ ที่ออกมาขับเคลื่อนปฏิรูประบบการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นที่รู้จักในวงกว้างขวางขึ้น เมื่อคราวออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกันการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ที่นำโดย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้ัน จนถูกควบคุมตัวระยะสั้น และเหตุการณ์ที่เป็นไวรอลในสื่ออินเทอร์เน็ต จนทำให้คนรู้จัก ‘เนติวิทย์’ ในฐานะนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่แสดงเชิงสัญลักษณ์ในพิธี ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2559 

ในฐานะนายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เขาได้เดินหน้าขับเคลื่อนแนวคิดด้วยการขึ้นเวทีปราศรัยและเดินขบวน แสดงเชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่่อผลักดันความทัดเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งรูปแบบกิจกรรมแบบ ‘หัวขบด’ และการเดินหน้าต่อสู้ของ ‘แฟร้ง’ ทำให้กลุ่มนักขับเคลื่อนหลายคนมองว่า เขาเปรียบดั่ง ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ นักอุดมการณ์ที่ถูกยกย่องว่าเป็นวีรชนแห่งการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนหนุ่มสาวยุคเดือนตุลาฯ 

กระนั้น อีกหนึ่งอัตลักษณ์เชิงความคิดของเนติวิทย์ คือการเป็นผู้จัดประกายพลักดันแนวความคิด ‘ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร' เขาแสดงความเห็นเรื่องนี้หลายครั้งผ่านการปราศัยบนท้องถนน หรือแม้กระทั่งภายในเขตรั้วทหาร  

ในฐานะชายไทย ตามกฎหมายระบุไว้ชัดว่าต้องมีการเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ ซึ่งเนติวิทย์ได้ทำการผ่อนผันมาแล้ว ถึง 6 ครั้ง และครั้งล่าสุดที่วัดบางนางเกรง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2565 ถือเป็นปีสุดท้ายตามสิทธิ์ ซึ่งการผ่อนผันในวันนั้น แฟร้งได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า ยังคงต้องต่อสู้กับเรื่องนี้ ส่วนตัวจะต้องสู้ให้ถึงสุด และไม่เห็นด้วยกันระบบเกณฑ์ทหาร เพราะคิดว่าไร้สาระ พร้อมระบุต่อว่า การเกณฑ์ทหารเป็นระบบที่ล้าหลัง ทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชีวิตบุคคลต่าง ๆ สูญเสีย พร้อมฝากประชาชนทุกคนทบทวนเรื่องนี้เป็นแม่นมั่น 

3 เดือนให้หลังเนติวิทย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่าตัดสินใจบวชอุปสมบท ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม โดยได้รับฉายา ‘จรณสมปนโน’ ซึ่งมีความหมายว่า (ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณธรรม)  โดย ‘พระเนติวิทย์ ญาณสมฺปนฺโน’ ได้ใช้ชีวิตศึกษาธรรมะและบำเพ็ญภาวนาเยี่ยงภิกษุชาวพุทธ และมีการแสดงความเห็นในเวทีวิชาการบ้าง 

ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง คือเมื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 ซึ่งมีการจัดเวที ครบรอบ 90 ปี ‘ส.ศิวรักษ์’ (สุลักษณ์ ศิวรักษ์) ซึ่งพระเนติวิทย์ในสมัยเป็นฆารวาส ถือเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของ ‘ปราชญ์ชาวสยาม’ ท่านนี้ โดย ‘พระเนติวิทย์’ ได้แสดงปาฐกถาธรรมในหัวข้อ ‘วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา - บุรุษพึงพยายามไปจนกว่าจะสำเร็จประโยชน์ : เกือบศตวรรษชีวิตปัญญาชนไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม’ 

อย่างไรก็ดี ตามที่กองทัพบก ประกาศแจ้งเตือนชายไทย เข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ ประจำปี 2566 ใน 1 ถึง 20 เมษายนนี้ โดยชายไทยที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารในปีนี้ ทำให้ชายไทยที่อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ กับผู้ที่มีอายุ 22-29 ปี (ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกหรือการตรวจเลือกยังไม่แล้วเสร็จ) ต้องเข้าเข้ารับการตรวจเลือกตามระเบียบราชการ  

นี่จึงเป็นคงเป็นช่วงชี้ชะตาของ (พระ) เนติวิทย์ ที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหาร หรือ จับใบดำ-ใบแดง ในวันที่ 9 เมษายน หลังหมดสิทธ์การผ่อนผันแล้ว เนื่องจากอายุครบ 27 ปี ซึ่งตาม พรบ.การเกณฑ์ทหารต้องเข้ารับการตรวจเลือก แม้จะยังศึกษาอยู่ก็ตาม ดังนั้นีการทำเรื่องผ่อนผันไปแล้ว 6 ครั้ง ซึ่งเมื่อปี 2565 ถือเป็นปีสุดท้าย 

ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตามองต่อจากนี้ คือบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 เมษาฯ และ (พระ) เนติวิทย์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแนวคิด ‘ยกเลิกเกณฑ์’ จะทำอย่างไรเมื่อการจับใบแดง - ใบดำมาถึง...ทั้งหมดก็ด้วยประการฉะนี้ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์