ภายหลัง ‘เพื่อไทย’ สะบัดมัดข้าวต้มขาดสะบั้น ถีบส่ง ‘ก้าวไกล’ ไปเป็นฝ่ายค้านอย่างไม่จำยอม หลายคนคาดหวังว่าการจัดตั้งรัฐบาล จะดำเนินการเสร็จสิ้น ‘ม้วนเดียวจบ’ แต่อนิจจาการเมืองไทยไม่สิ้นคลาบวังวน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ มือวางอันดับสองจากเพื่อไทย ถูกห้อยเต่งรอโหวตรอบใหม่ เพราะ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภา สั่งยุติโปรแกรมการประชุมโหวตนายกฯ ในวันที่ 4 สิงหาคม ให้เลื่อนออกไปก่อน
รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยประเด็นพิจารณารับคำร้อง ปมรัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ซ้ำหลังญัตติถูกตีตกไป ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นวันที่ 16 สิงหาคม สอดคล้องกับการเลื่อน แถลงข่าวการจัดตั้งรัฐบาลแบบ ‘ไร้ก้าวไกล’ ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย
รูปการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับการล้มตัวของ ‘โดมิโน่’ นักข่าวคาดการณ์ว่า เป็นผลพวงมาจากกรณี ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ประกาศเลื่อนกลับไทย จาก 10 สิงหาคม ออกไปอีก 2 อาทิตย์ โดยให้เหตุผลขอรับการรักษาตัวก่อน
คิดสะระตะเอาเองว่า ‘โรคเลื่อน’ ที่เกิดขึ้นอาจมีนัยซ่อนอยู่ โดยเฉพาะสถานการณ์ของพรรคยักษ์ใหญ่ค่ายชินวัตร หากมองเป็นเรื่อง ‘ดี’ ก็คิดได้ เพราะทำให้มีเวลาพูดคุยเจรจา รีบหาเสียงให้ครบก่อนระฆังยกใหม่จะดังขึ้น
แต่หากคิดว่า กำลังเผยไต๋ ‘เสียเปรียบ’ ก็มองได้ เพราะ ‘ดีลช็อกมินต์’ ไม่ได้ง่ายแบบลัดนิ้วมือ ข้อต่อรองต่างๆ นานา มีราคาสูงขึ้น แม้แกนนำหลายคนจะพยายามให้ข่าวว่า ‘ทุกอย่างพร้อมแล้ว’ แต่หาก ‘พร้อม’ ดังคำที่ ‘เสี่ยอ้วน’ ภูมิธรรม เวชยชัย บอกกับสื่อมวลชน มีหรือพรรคเพื่อไทย จะไม่รีบชิงตั้งโต๊ะแถลงฟอร์มทีมรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ตามกำหนดเดิม
สอดคล้องกับการประกาศเลื่อนกลับบ้านเลี้ยงหลานของ ‘ปู่แม้ว’ ที่ระบุว่า จะมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นห้วงระหว่างที่ศาล รธน. จะฟันธงปมข้อบังคับที่ 41 หลายฝ่ายคาดว่า ‘นายห้างเพื่อไทย’ คงรอรัฐบาลตั้งไข่เสียก่อน จึงเริ่มซื้อตั๋วแลนดิ้งสู่แผ่นดินแม่
นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนเชื่อว่า การหย่าร้างกับพรรคก้าวไกล ส่งผลให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลเองได้ลำบาก ตัวเลข 151 ที่ขาดหายไปไม่ใช่จะเขียนขึ้นมาง่ายๆ จำเป็นต้องหาเสียงทดแทนอย่างรัดกุม
ลำพังถ้าไม่เอาพรรค 2 ลุง โดยผสมขั้วระหว่างพรรคพันธมิตร (บางพรรค) กับพรรครัฐบาลเดิมอย่าง ทีมงานเซาะกราว ‘ภูมิใจไทย’ และมังกรสุพรรณ ‘ชาติไทยพัฒนา’ รวมถึงพรรคเล็กอื่นๆ เต็มที่คงได้แค่ 241 เสียง ขาดอีกตั้ง 135 เสียง ถึงจะปิดสวิซต์สภาสูงแบบไม่ต้องลุ้น
ในส่วน ‘ประชาธิปัตย์’ คู่แค้นตลอดกาลก็ยังไม่รู้ว่าจะออกหน้าไหน เดิมที่เรื่องขุ่นหมองในอดีต ก็แทบจะถมน้ำลายรดหัวกันอยู่แล้ว ยิ่งแกนนำลายครามพรรคสีฟ้าน้ำทะเล ออกโรง ‘กรีด’ เตือนสติคนใน ‘ไมให้่ร่วม’ ระบอบทักษิณ ยิ่งดูแล้วจะยากเข้าไปใหญ่ แม้ก๊ก ‘เสี่ยต่อ’ เฉลิมชัย ศรีอ่อน จะดูมีท่าทีโอนอ่อนอยากร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วยก็ตาม แต่พรรคเก่าแก่มีจารีตที่เข้มแข็ง คงต้องได้มติส่วนรวมเสียก่อนจึงจะทราบแนวทาง
หรือต่อให้จะกลืนวันวานที่แสนเจ็บปวด ยอมอุดตันกลางคอหอย หลงลืมเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อสิบปีก่อน ก็ได้เสียงมาเพียงปริ่มน้ำเท่านั้น ต้องลุ้นหักด่าน ‘สว.’ 250 เซียน ตายดาบหน้าแบบอีหลอบเดิม
ดังนั้นแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่พรรคเพื่อไทย จะจัดตั้งรัฐบาลแบบไม่เอา ‘พรรคสองลุง’ เพราะตามสมการ ‘พลิกขั้วพันธุ์ผสม’ แบบ ‘รัฐบาลต้องห้าม’ นอกจากจะได้เสียง สส. เข้าเติมเต็มแล้ว ยังจะได้แพคเกตเสริมของ ‘สว.’เข้าช่วยหนุนให้สะดวกโยธินหมดห่วงทุกประการ
ขอหยิบยกแนวคิดจาก ‘รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต’ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ได้โพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัว ในประเด็นสถานการณ์ 4 ที่จะเกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทย (เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เนื้อหา)
หนทางที่พรรคเพื่อไทยไม่เอาสองลุงนับวันยิ่งตีบตัน อีกนัยหนึ่ง หากเพื่อไทยยังมีเป้าหมายตั้งรัฐบาล ก็จำเป็นต้องเอาสองลุงมาร่วมรัฐบาล มิฉะนั้นเสียงไม่พอ
การมีสองลุง หรือ แม้แต่ลุงเดียวมาร่วมรัฐบาล ใครบ้างในเพื่อไทยที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง น่าจะมีอย่างน้อย 3 คน คือ เศรษฐา ชลน่าน และ แพทองธาร เพราะทั้งสามคนเคยประกาศชัดก่อนการเลือกตั้งว่า ไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ
แต่ทั้งสามคนจะแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเองหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ตามดูกันต่อไป เป็นไปได้ว่า ชลน่าน อาจจะรับผิดชอบโดยการลาออกจากหัวหน้าพรรค ส่วนเศรษฐากับ แพทองธาร ยังไม่มีใครทราบว่าจะรับผิดชอบอย่างไร
ผลอีกอย่างที่ตามมาจากการนำพรรค พปชร. และ รทสช. เข้าร่วมรัฐบาล คือ ทำให้ความน่าเชื่อถือและอนาคตทางการเมืองของเศรษฐาและแพทองธารมีปัญหา และกลายเป็นนักการเมืองทีมีตำหนิเรื่องการเสียสัจจะต่อประชาชน
เมื่อเกมการเมืองออกหน้านี้ ‘ลุงบ้านป่ารอยต่อ’ คงยิ้มแฉ่ง เพราะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง ไหนจะได้เป็นรัฐบาลต่ออีกยก และลุ้นเก้าอี้ ‘นายกฯ’ แบบ ‘ส้มหล่น’ หากแคนดิเดตของเพื่อไทยไปต่อไม่ได้
ถามว่าทำไมไม่พูดถึง ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ แห่งค่ายเซาะกราว ที่มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 3 กูรูการเมืองมองออกเป็น 2 ประเด็น คือหนึ่ง สว. จะไม่โหวตสนับสนุนให้ และสอง ‘เสี่ยหนู’ จะยอมสละพังงาเรือให้ ‘บิ๊กป้อม’ เป็นนายกฯ คนที่ 30 ตามใจปรารถนา
เงื่อนไขที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวล เป็นผลพวงมาจากการ ‘ตัดสายสะดือ’ ก้าวไกล ทำให้ต้อง ‘เข้าตาจน’ นักวิชาการบางท่านตีความว่า ‘เพื่อไทยกำลังถูกพรรคอำนาจนิยมเข้าคุมเกม’ ส่งผลระยะยาวถึงการเลือกตั้งในปี 2570 โดยเฉพาะซุ่มเสียงจากภาคประชาชนปีกประชาธิปไตย ที่ยากจะให้ความ ‘เชื่อมั่น’
เชื่อเถิดมีหรือเพื่อไทยจะไม่คิดถึงเรื่องนี้ แต่คงทำอะไรไม่ถนัดนอกจากหาเหตุผล และทำหน้าที่ในฐานะรัฐบาลให้เข้าตาประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องหลังการโหวตเลือกนายกฯ จบบริบูรณ์ ส่วนตอนนี้จะขยับเดินหน้าก็ติดหล่ม ครั้นจะถอยกลับก็ใช่เรื่อง แม้พรรคส้มจะยินดีอ้าแขนต้อนรับอย่างเปิดกว้าง
แต่เมื่อยอมสละ ‘เรือแจว’ กระโดดเข้า ‘เรือยนต์’ แล้ว คงต้องให้สายธารการเมืองแบบไทยๆ นำไปเรื่อยๆ เติมเชื้อเพลิงเข้าไป แล้วรอดูทิศทางลมว่าสุดท้าย ‘กัปตันเรือตัวจริง’ จะเป็นใคร…
ทิ้งท้ายอีกนิด เพราะมีรายงานล่าสุดระบุว่า เย็นนี้ (7 สิงหาคม 2566) พรรคเพื่อไทยจะร่วมแถลงจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทย ขอให้ผู้อ่านติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด และประมวลกับเนื้อหาที่ได้อ่าน และช่วยกันวิเคราะห์ต่อว่า ‘ทิศทางลม’ ต่อจากนี้จะพัดไปถึง ‘ลุงป้อม’ หรือไม่
ที่แน่ๆ ‘กำไร’ หรือ ‘ขาดทุน’ ทุกอย่างล้วนมี ‘ราคาที่ต้องจ่าย’ พิจารณากันเอาเองว่า ‘คุ้มไหม’
รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยประเด็นพิจารณารับคำร้อง ปมรัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ซ้ำหลังญัตติถูกตีตกไป ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นวันที่ 16 สิงหาคม สอดคล้องกับการเลื่อน แถลงข่าวการจัดตั้งรัฐบาลแบบ ‘ไร้ก้าวไกล’ ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย
รูปการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับการล้มตัวของ ‘โดมิโน่’ นักข่าวคาดการณ์ว่า เป็นผลพวงมาจากกรณี ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ประกาศเลื่อนกลับไทย จาก 10 สิงหาคม ออกไปอีก 2 อาทิตย์ โดยให้เหตุผลขอรับการรักษาตัวก่อน
คิดสะระตะเอาเองว่า ‘โรคเลื่อน’ ที่เกิดขึ้นอาจมีนัยซ่อนอยู่ โดยเฉพาะสถานการณ์ของพรรคยักษ์ใหญ่ค่ายชินวัตร หากมองเป็นเรื่อง ‘ดี’ ก็คิดได้ เพราะทำให้มีเวลาพูดคุยเจรจา รีบหาเสียงให้ครบก่อนระฆังยกใหม่จะดังขึ้น
แต่หากคิดว่า กำลังเผยไต๋ ‘เสียเปรียบ’ ก็มองได้ เพราะ ‘ดีลช็อกมินต์’ ไม่ได้ง่ายแบบลัดนิ้วมือ ข้อต่อรองต่างๆ นานา มีราคาสูงขึ้น แม้แกนนำหลายคนจะพยายามให้ข่าวว่า ‘ทุกอย่างพร้อมแล้ว’ แต่หาก ‘พร้อม’ ดังคำที่ ‘เสี่ยอ้วน’ ภูมิธรรม เวชยชัย บอกกับสื่อมวลชน มีหรือพรรคเพื่อไทย จะไม่รีบชิงตั้งโต๊ะแถลงฟอร์มทีมรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ตามกำหนดเดิม
สอดคล้องกับการประกาศเลื่อนกลับบ้านเลี้ยงหลานของ ‘ปู่แม้ว’ ที่ระบุว่า จะมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นห้วงระหว่างที่ศาล รธน. จะฟันธงปมข้อบังคับที่ 41 หลายฝ่ายคาดว่า ‘นายห้างเพื่อไทย’ คงรอรัฐบาลตั้งไข่เสียก่อน จึงเริ่มซื้อตั๋วแลนดิ้งสู่แผ่นดินแม่
นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนเชื่อว่า การหย่าร้างกับพรรคก้าวไกล ส่งผลให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลเองได้ลำบาก ตัวเลข 151 ที่ขาดหายไปไม่ใช่จะเขียนขึ้นมาง่ายๆ จำเป็นต้องหาเสียงทดแทนอย่างรัดกุม
ลำพังถ้าไม่เอาพรรค 2 ลุง โดยผสมขั้วระหว่างพรรคพันธมิตร (บางพรรค) กับพรรครัฐบาลเดิมอย่าง ทีมงานเซาะกราว ‘ภูมิใจไทย’ และมังกรสุพรรณ ‘ชาติไทยพัฒนา’ รวมถึงพรรคเล็กอื่นๆ เต็มที่คงได้แค่ 241 เสียง ขาดอีกตั้ง 135 เสียง ถึงจะปิดสวิซต์สภาสูงแบบไม่ต้องลุ้น
ในส่วน ‘ประชาธิปัตย์’ คู่แค้นตลอดกาลก็ยังไม่รู้ว่าจะออกหน้าไหน เดิมที่เรื่องขุ่นหมองในอดีต ก็แทบจะถมน้ำลายรดหัวกันอยู่แล้ว ยิ่งแกนนำลายครามพรรคสีฟ้าน้ำทะเล ออกโรง ‘กรีด’ เตือนสติคนใน ‘ไมให้่ร่วม’ ระบอบทักษิณ ยิ่งดูแล้วจะยากเข้าไปใหญ่ แม้ก๊ก ‘เสี่ยต่อ’ เฉลิมชัย ศรีอ่อน จะดูมีท่าทีโอนอ่อนอยากร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วยก็ตาม แต่พรรคเก่าแก่มีจารีตที่เข้มแข็ง คงต้องได้มติส่วนรวมเสียก่อนจึงจะทราบแนวทาง
หรือต่อให้จะกลืนวันวานที่แสนเจ็บปวด ยอมอุดตันกลางคอหอย หลงลืมเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อสิบปีก่อน ก็ได้เสียงมาเพียงปริ่มน้ำเท่านั้น ต้องลุ้นหักด่าน ‘สว.’ 250 เซียน ตายดาบหน้าแบบอีหลอบเดิม
ดังนั้นแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่พรรคเพื่อไทย จะจัดตั้งรัฐบาลแบบไม่เอา ‘พรรคสองลุง’ เพราะตามสมการ ‘พลิกขั้วพันธุ์ผสม’ แบบ ‘รัฐบาลต้องห้าม’ นอกจากจะได้เสียง สส. เข้าเติมเต็มแล้ว ยังจะได้แพคเกตเสริมของ ‘สว.’เข้าช่วยหนุนให้สะดวกโยธินหมดห่วงทุกประการ
ขอหยิบยกแนวคิดจาก ‘รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต’ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ได้โพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัว ในประเด็นสถานการณ์ 4 ที่จะเกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทย (เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เนื้อหา)
หนทางที่พรรคเพื่อไทยไม่เอาสองลุงนับวันยิ่งตีบตัน อีกนัยหนึ่ง หากเพื่อไทยยังมีเป้าหมายตั้งรัฐบาล ก็จำเป็นต้องเอาสองลุงมาร่วมรัฐบาล มิฉะนั้นเสียงไม่พอ
การมีสองลุง หรือ แม้แต่ลุงเดียวมาร่วมรัฐบาล ใครบ้างในเพื่อไทยที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง น่าจะมีอย่างน้อย 3 คน คือ เศรษฐา ชลน่าน และ แพทองธาร เพราะทั้งสามคนเคยประกาศชัดก่อนการเลือกตั้งว่า ไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ
แต่ทั้งสามคนจะแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเองหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ตามดูกันต่อไป เป็นไปได้ว่า ชลน่าน อาจจะรับผิดชอบโดยการลาออกจากหัวหน้าพรรค ส่วนเศรษฐากับ แพทองธาร ยังไม่มีใครทราบว่าจะรับผิดชอบอย่างไร
ผลอีกอย่างที่ตามมาจากการนำพรรค พปชร. และ รทสช. เข้าร่วมรัฐบาล คือ ทำให้ความน่าเชื่อถือและอนาคตทางการเมืองของเศรษฐาและแพทองธารมีปัญหา และกลายเป็นนักการเมืองทีมีตำหนิเรื่องการเสียสัจจะต่อประชาชน
เมื่อเกมการเมืองออกหน้านี้ ‘ลุงบ้านป่ารอยต่อ’ คงยิ้มแฉ่ง เพราะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง ไหนจะได้เป็นรัฐบาลต่ออีกยก และลุ้นเก้าอี้ ‘นายกฯ’ แบบ ‘ส้มหล่น’ หากแคนดิเดตของเพื่อไทยไปต่อไม่ได้
ถามว่าทำไมไม่พูดถึง ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ แห่งค่ายเซาะกราว ที่มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 3 กูรูการเมืองมองออกเป็น 2 ประเด็น คือหนึ่ง สว. จะไม่โหวตสนับสนุนให้ และสอง ‘เสี่ยหนู’ จะยอมสละพังงาเรือให้ ‘บิ๊กป้อม’ เป็นนายกฯ คนที่ 30 ตามใจปรารถนา
เงื่อนไขที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวล เป็นผลพวงมาจากการ ‘ตัดสายสะดือ’ ก้าวไกล ทำให้ต้อง ‘เข้าตาจน’ นักวิชาการบางท่านตีความว่า ‘เพื่อไทยกำลังถูกพรรคอำนาจนิยมเข้าคุมเกม’ ส่งผลระยะยาวถึงการเลือกตั้งในปี 2570 โดยเฉพาะซุ่มเสียงจากภาคประชาชนปีกประชาธิปไตย ที่ยากจะให้ความ ‘เชื่อมั่น’
เชื่อเถิดมีหรือเพื่อไทยจะไม่คิดถึงเรื่องนี้ แต่คงทำอะไรไม่ถนัดนอกจากหาเหตุผล และทำหน้าที่ในฐานะรัฐบาลให้เข้าตาประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องหลังการโหวตเลือกนายกฯ จบบริบูรณ์ ส่วนตอนนี้จะขยับเดินหน้าก็ติดหล่ม ครั้นจะถอยกลับก็ใช่เรื่อง แม้พรรคส้มจะยินดีอ้าแขนต้อนรับอย่างเปิดกว้าง
แต่เมื่อยอมสละ ‘เรือแจว’ กระโดดเข้า ‘เรือยนต์’ แล้ว คงต้องให้สายธารการเมืองแบบไทยๆ นำไปเรื่อยๆ เติมเชื้อเพลิงเข้าไป แล้วรอดูทิศทางลมว่าสุดท้าย ‘กัปตันเรือตัวจริง’ จะเป็นใคร…
ทิ้งท้ายอีกนิด เพราะมีรายงานล่าสุดระบุว่า เย็นนี้ (7 สิงหาคม 2566) พรรคเพื่อไทยจะร่วมแถลงจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทย ขอให้ผู้อ่านติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด และประมวลกับเนื้อหาที่ได้อ่าน และช่วยกันวิเคราะห์ต่อว่า ‘ทิศทางลม’ ต่อจากนี้จะพัดไปถึง ‘ลุงป้อม’ หรือไม่
ที่แน่ๆ ‘กำไร’ หรือ ‘ขาดทุน’ ทุกอย่างล้วนมี ‘ราคาที่ต้องจ่าย’ พิจารณากันเอาเองว่า ‘คุ้มไหม’