การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 มีเรื่องราวต้องบอกเล่ามากมาย ตั้งแต่หน้าโถงทางเข้า จนถึงความเป็นไปในห้องประชุมสุริยันอันทรงเกียรติ เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าก่อน ‘เลือกประธานสภาฯ’ บุคคลที่ถูกจับจ้องจากบรรดานักข่าว หนีไม่พ้นแกนนำแต่ละพรรคการเมือง
โดยเฉพาะพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ สองหัวหน้าพรรคการเมือง ‘ส้ม - แดง’ ที่เมื่อคืนวานซืนได้ร่วมกันแถลงข่าว ดัน ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ หัวหน้าพรรคประชาชาติ ขึ้นเป็น ‘ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ’ ถูกผู้สื่อข่าวรุมถาม ประหนึ่งแพทย์ถามซักอาการคนไข้ เพื่อขยายท่าทีก่อนทุกอย่างจะดำเนินการไปตามวาระ
ผมเป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าว ที่ไม่สามารถแหวก ‘กองทัพสื่อ’ เข้าไปฟังคำให้สัมภาษณ์จากแหล่งข่าวทั้งสองท่านอย่างถนัดหู ทำได้้แค่ยื่นสมาร์ตโฟนและบันทึกเสียงจากวงนอก ใช้ถอดความเอาหลังตลาดวาย
เสียงที่ได้จากมือถือสับปะรังเค (ของข้าพเจ้า) ไม่ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะคำถามแต่ละข้อที่ผู้สื่อข่าวยิงถามแหล่งข่าว แต่พอจะจับคีย์เวิร์ดสำคัญของทั้งคู่ที่เหมือนกันได้ คือ ความเชื่อที่มีอยู่เต็มอก ว่าพรรคพันธมิตรทั้ง 8 จะไม่มีใครแตกแถว โดยเฉพาะ ‘หมอชลน่าน’ ที่ออกมาให้ความมั่นใจ จะสามารถควบคุมเสียง ‘คนเพื่อไทย’ ให้ลงขันโหวต ‘วันนอร์’ นั่งบัลลังก์หินอ่อนเพียงผู้เดียว ความหมายไม่ได้ผิดแผกจากคำสัญญาที่ให้ไว้ ณ โรงแรมแลงคลัสเตอร์ เลย
โดยเฉพาะพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ สองหัวหน้าพรรคการเมือง ‘ส้ม - แดง’ ที่เมื่อคืนวานซืนได้ร่วมกันแถลงข่าว ดัน ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ หัวหน้าพรรคประชาชาติ ขึ้นเป็น ‘ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ’ ถูกผู้สื่อข่าวรุมถาม ประหนึ่งแพทย์ถามซักอาการคนไข้ เพื่อขยายท่าทีก่อนทุกอย่างจะดำเนินการไปตามวาระ
ผมเป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าว ที่ไม่สามารถแหวก ‘กองทัพสื่อ’ เข้าไปฟังคำให้สัมภาษณ์จากแหล่งข่าวทั้งสองท่านอย่างถนัดหู ทำได้้แค่ยื่นสมาร์ตโฟนและบันทึกเสียงจากวงนอก ใช้ถอดความเอาหลังตลาดวาย
เสียงที่ได้จากมือถือสับปะรังเค (ของข้าพเจ้า) ไม่ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะคำถามแต่ละข้อที่ผู้สื่อข่าวยิงถามแหล่งข่าว แต่พอจะจับคีย์เวิร์ดสำคัญของทั้งคู่ที่เหมือนกันได้ คือ ความเชื่อที่มีอยู่เต็มอก ว่าพรรคพันธมิตรทั้ง 8 จะไม่มีใครแตกแถว โดยเฉพาะ ‘หมอชลน่าน’ ที่ออกมาให้ความมั่นใจ จะสามารถควบคุมเสียง ‘คนเพื่อไทย’ ให้ลงขันโหวต ‘วันนอร์’ นั่งบัลลังก์หินอ่อนเพียงผู้เดียว ความหมายไม่ได้ผิดแผกจากคำสัญญาที่ให้ไว้ ณ โรงแรมแลงคลัสเตอร์ เลย

ในส่วน ‘หนุ่มทิม’ มีใจความโดดเด่นอยู่ที่ ‘ผู้นำที่ดี ต้องรุกได้ถอยเป็น’ แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล ในช่วงบั่นปลายศึกชิงตำแหน่งประธานสภาฯ ที่เริ่ม ‘สุกงอม’ ทุกขณะจิต ประโยคดังกล่าวแสดงให้ถึง การพยายามรักษาเอกภาพและพวกพ้อง ‘การถอย’ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ให้กระบวนทัพแตกเป็นเสี่ยงๆ ชะลอความสัมพันธ์ให้ยาวจนกว่าจะได้เป็นรัฐบาล ตรงตามแก๊ป ‘รักษาจุดร่วม สงวนจุดต่าง’ แม้จะไม่รู้ว่าในอนาคตจาก ‘มิตร’ จะเปลี่ยนเป็น ‘ศัตรู’ วันไหน ยิ่งรู้ทั้งรู้ว่า หัวหน้าพรรคประชาชาติ กับ ‘นายใหญ่ทักษิณ’ มีความสัมพันธ์อันดีมาแต่ไหนแต่ไร...เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องถอยเพื่อการใหญ่
ในคัมภีร์มหาพิชัยสงคราม ได้ถอด 36 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์การถอยเพื่อชนะ ปราชญ์โบราณตั้งชื่อไว้ ‘ถอยทัพยอดยุทธ์’ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นศึกที่ใช้กำลังเข้าสู้ หรือสงครามจิตวิทยา ‘การถอย’ ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะรักษา ‘ไพร่พล’ เพราะกรณีของ ‘ก้าวไกล’ กับ ‘เพื่อไทย’ ต่อให้ไม่ต้องอ่านสามก๊ก ก็ย่อมรู้ว่า ‘เสียเปรียบ’ ในหลายด้าน การมองข้ามช็อตถึงภาพ ‘รัฐบาลในฝัน’ อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วค่อยคิดแผนสำรองแก้เกมต่อไป
แต่กรณีมีการเสนอชื่อมากกว่า 1 คน ต้องลงคะแนนลับ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน เริ่มจากการขานหมายเลขประจำตัว ส.ส. รับบัตรลงคะแนน ระบุชื่อประธานที่พึงประสงค์ ก่อนใส่ซองปิดผนึก - หย่อนลงหีบ จากนั้นที่ประชุมจะตั้งคณะกรรมการตรวจนับคะแนน และประกาศผล
การ ‘โหวตเลือก’ ตำแหน่งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ คนที่ 2 เป็นไปอย่างราบรื่น ทุกอย่างไล่เรียงตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดย ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เป็นผู้ยกมือเสนอชื่อ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ขณะที่ ‘พลตำรวจเอกทวี สอดส่อง’ เสนอชื่อ ‘พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน’ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ทั้ง 2 ตำแหน่ง มี ส.ส. ให้การรับรองถูกต้อง และไม่มี ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นเสนอรายชื่อบุคคลอื่นเข้าชิง ทุกขั้นตอนจึงใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ก็เสร็จสิ้น
แต่ที่ใช้เวลานานกว่าคือ การชิงตำแหน่ง ‘รองประธานสภาฯ คนที่ 1’ เพราะให้หลังที่ ‘ประเสริฐ จันทรรวงทอง’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ลุกเสนอชื่อ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ‘อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็แทงสวนเสนอชื่อ ‘วิทยา แก้วภราดัย’ เข้าแข่งขันตามกลไกของสภาฯ ประเด็นนี้ไม่ผิดเพี้ยนคำให้สัมภาษณ์ของ ‘ธนกร วังบุญคงชนะ’ ที่ยืนยันนอนยันมาโดยตลอดว่า จะขัดขวางเครื่องจักรสีส้ม และจะไม่ร่วมโหวตลงคะแนนให้กับบุคคลของพรรคก้าวไกล ที่ลงแข่งขันในทุกตำแหน่ง
ในคัมภีร์มหาพิชัยสงคราม ได้ถอด 36 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์การถอยเพื่อชนะ ปราชญ์โบราณตั้งชื่อไว้ ‘ถอยทัพยอดยุทธ์’ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นศึกที่ใช้กำลังเข้าสู้ หรือสงครามจิตวิทยา ‘การถอย’ ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะรักษา ‘ไพร่พล’ เพราะกรณีของ ‘ก้าวไกล’ กับ ‘เพื่อไทย’ ต่อให้ไม่ต้องอ่านสามก๊ก ก็ย่อมรู้ว่า ‘เสียเปรียบ’ ในหลายด้าน การมองข้ามช็อตถึงภาพ ‘รัฐบาลในฝัน’ อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วค่อยคิดแผนสำรองแก้เกมต่อไป
เอกภาพของ 8 พรรคพันธมิตร จบศึก ‘ชิงประธานสภาฯ’
เล่าต่อถึงสถานการณ์ในห้องประชุม การโหวตเลือก ‘ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ’ ทั้ง ประธานและรองประธาน 2 ลำดับ ถูกดำเนินตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ถ้ามีการเสนอชื่อเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ได้รับเลือกแต่กรณีมีการเสนอชื่อมากกว่า 1 คน ต้องลงคะแนนลับ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน เริ่มจากการขานหมายเลขประจำตัว ส.ส. รับบัตรลงคะแนน ระบุชื่อประธานที่พึงประสงค์ ก่อนใส่ซองปิดผนึก - หย่อนลงหีบ จากนั้นที่ประชุมจะตั้งคณะกรรมการตรวจนับคะแนน และประกาศผล
การ ‘โหวตเลือก’ ตำแหน่งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ คนที่ 2 เป็นไปอย่างราบรื่น ทุกอย่างไล่เรียงตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดย ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เป็นผู้ยกมือเสนอชื่อ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ขณะที่ ‘พลตำรวจเอกทวี สอดส่อง’ เสนอชื่อ ‘พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน’ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ทั้ง 2 ตำแหน่ง มี ส.ส. ให้การรับรองถูกต้อง และไม่มี ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นเสนอรายชื่อบุคคลอื่นเข้าชิง ทุกขั้นตอนจึงใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ก็เสร็จสิ้น
แต่ที่ใช้เวลานานกว่าคือ การชิงตำแหน่ง ‘รองประธานสภาฯ คนที่ 1’ เพราะให้หลังที่ ‘ประเสริฐ จันทรรวงทอง’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ลุกเสนอชื่อ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ‘อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็แทงสวนเสนอชื่อ ‘วิทยา แก้วภราดัย’ เข้าแข่งขันตามกลไกของสภาฯ ประเด็นนี้ไม่ผิดเพี้ยนคำให้สัมภาษณ์ของ ‘ธนกร วังบุญคงชนะ’ ที่ยืนยันนอนยันมาโดยตลอดว่า จะขัดขวางเครื่องจักรสีส้ม และจะไม่ร่วมโหวตลงคะแนนให้กับบุคคลของพรรคก้าวไกล ที่ลงแข่งขันในทุกตำแหน่ง

จนเกิดการลงคะแนนชิงดำ ซึ่งกระบวนการใช้เวลาร่วม 4 ชั่วโมง ก่อนไผลนับคะแนนจะเป็นที่ประจักษ์ ‘หมออ๋อง’ คว้าชัยได้เก้าอี้รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ด้วยผลโหวต 312 เสียง ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 76 เสียง บัตรเสีย 2 ใบ (ไม่เขียนชื่อใคร)
‘คะแนนเต็มตุ่ม’ แบบนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครใน 8 พรรคพันธมิตรแตกแถวเลยแม้แต่เสียงเดียว
คนแรกเป็นลูกหม้อเก่าเคยกินข้าวก้นบาตร ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ตั้งแต่คราวก่อตั้ง ‘ไทยรักไทย’ อีกคนเป็น ส.ส. ตัวตึงร่วมสังฆกรรมทำงานให้ ‘บ้านชินวัตร’ มาหลายสิบปี ตรงกันข้ามกับการประลองยุทธ์ระหว่าง ‘หมออ๋อง’ กับ ‘วิทยา’ ที่ต้องขับเคี่ยวกัน
หากวิแคะ (วิเคราะห์) กันเล่นๆ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกมาทั้งหมด 500 คน (ซอยย่อยเป็นพรรคๆ ก็อย่างที่ผู้อ่านพอจะทราบแล้ว) สำหรับ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ มีอยู่ในมือทั้งหมดเพียง 36 เสียง เหตุไฉนถึงกล้าส่งอดีต ‘ส.ส.กลุ่มนกนางแอ่นลุ่มน้ำปากพนัง’ ลงสนาม ทั้งที่บวกเลขรวมเสียงกับพรรครัฐบาลเก่าก็ยังไม่ได้ลุ้น
‘คะแนนเต็มตุ่ม’ แบบนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครใน 8 พรรคพันธมิตรแตกแถวเลยแม้แต่เสียงเดียว
นัยซ่อนเร้น ‘โหวตหมออ๋อง’
กรณีการโหวตเลือก ‘วันนอร์’ และ ‘พิเชษฐ์’ ไม่ต้องเสียกระดาษลงคะแนนสักแผ่นเพราะไร้คู่แข่ง ส่งเข้าเส้นชัยอย่างสะดวกโยธิน เป็นเหตุให้นักข่าวที่นั่งอยู่ภายนอกห้องซุบซิบวิเคราะห์กันว่า เป็นผลมาจากที่ทั้งคู่ล้วนมีความสัมพันธ์อันแน่แฟ้นกับ ‘เพื่อไทย’คนแรกเป็นลูกหม้อเก่าเคยกินข้าวก้นบาตร ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ตั้งแต่คราวก่อตั้ง ‘ไทยรักไทย’ อีกคนเป็น ส.ส. ตัวตึงร่วมสังฆกรรมทำงานให้ ‘บ้านชินวัตร’ มาหลายสิบปี ตรงกันข้ามกับการประลองยุทธ์ระหว่าง ‘หมออ๋อง’ กับ ‘วิทยา’ ที่ต้องขับเคี่ยวกัน
หากวิแคะ (วิเคราะห์) กันเล่นๆ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกมาทั้งหมด 500 คน (ซอยย่อยเป็นพรรคๆ ก็อย่างที่ผู้อ่านพอจะทราบแล้ว) สำหรับ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ มีอยู่ในมือทั้งหมดเพียง 36 เสียง เหตุไฉนถึงกล้าส่งอดีต ‘ส.ส.กลุ่มนกนางแอ่นลุ่มน้ำปากพนัง’ ลงสนาม ทั้งที่บวกเลขรวมเสียงกับพรรครัฐบาลเก่าก็ยังไม่ได้ลุ้น

ข้อนี้ตี๊ต่างได้ว่า ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ อาจกำลังส่งสัญญาณอะไรบางอย่างถึง ‘พรรคเพื่อไทย’ แยกสาแหรกทางความคิด มีหนึ่งแนวทางพุดขึ้นมา อาจเป็นการสื่อสารเชิงนัย ‘หากให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น’ เหมือนกับที่ไม่มีใครขวาง ‘วันนอร์’ และ ‘พิเชษฐ์’ ต้องถีบส่ง ‘ก้าวไกล’ ให้ออกจาก ‘ดรีมทีม’ ทันที
มิเช่นนั้น ในวันประชุมร่วมสองสภาเพื่อ ‘โหวตนายกฯ’ อาจมีเกม ‘เสนอชื่อ’ ประกบ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เยี่ยงในวันโหวตประธานสภาฯ ก็เป็นได้...
เกมการเมืองยังอีกยาวไกล ไม่รู้ว่า ‘การถอย’ ของ ‘พิธา’ ในวันนี้จะคว้าชัยในวันหน้าได้หรือไม่ ต่อให้ ‘ซุนวู’ ปราชญ์นักวางกลับมาเกิดใหม่ คงยากที่จะทำนายการเมืองไทย...
มิเช่นนั้น ในวันประชุมร่วมสองสภาเพื่อ ‘โหวตนายกฯ’ อาจมีเกม ‘เสนอชื่อ’ ประกบ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เยี่ยงในวันโหวตประธานสภาฯ ก็เป็นได้...
เกมการเมืองยังอีกยาวไกล ไม่รู้ว่า ‘การถอย’ ของ ‘พิธา’ ในวันนี้จะคว้าชัยในวันหน้าได้หรือไม่ ต่อให้ ‘ซุนวู’ ปราชญ์นักวางกลับมาเกิดใหม่ คงยากที่จะทำนายการเมืองไทย...
