นับว่าแผนสกัดกั้น ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จากกลุ่มอำนาจนิยม - ทุนจารีต ได้ผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่การปิดกั้นเส้นทางสู่การเป็น ‘นายกฯ’ เพียงประการเดียว แต่ยังพ่วงถึงสถานภาพของ ‘พรรคก้าวไกล’ ในฐานะองคาพยพของ ‘พรรคจัดตั้งรัฐบาล’ ด้วย
แม้ในวันที่ ‘พรรคเพื่อไทย’ รับไม้ต่อเป็น ‘แกนนำ’ พรรคพันธมิตรทั้ง 8 จะดูสมบทบาท ‘เพื่อนรัก’ ในการเข้ามารักษา ‘เอ็มโอยู’ ให้มั่นคง เสมือนขับเคี่ยวให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลในฝันขึ้นมาให้ได้ แต่ปัจจัยแวดล้อมล้วนบีบรัด จำต้องทำอะไรสักอย่างให้ได้เสียงเกิน 376 เสียง การันตี ‘นายกฯ พท.’ ไม่ให้หลุดลอย
อนึ่งเปรียบเสมือน อ้อยสุกใกล้ปากช้าง เพราะเมื่อมองทุกอย่างเป็น ‘เกม’ (การเมือง) แล้วไซร้ ล้วนลงตัวไปเสียหมด การจัดวางเชิงอำนาจและโครงสร้างทางทัศนคติฝ่ายอนุรักษ์นิยม ดูมันช่างเอื้อต่อจัดตั้งรัฐบาลแบบพิศดาร ตามฉากทัศน์ ‘พลิกขั้วการเมือง’ ซะเหลือเกิน
ยิ่งดูพฤติกรรมของพรรคเพื่อไทย ที่พยายามตอกย้ำว่าต้องรีบจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้ได้ ‘เร็วที่สุด’ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน ดูมีความชอบธรรม ไม่จำเป็นต้อง ‘ยื้อเวลา’ ให้ สว. ‘หมดอายุ’ และการหาเสียงจากทั้งฝ่าย สส. และ สว. ให้เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา กลายเป็นคำยกอ้างที่มีเหตุผลในการ ‘ทอดสะพาน’
เริ่มจากการหารือกับ ‘วุฒิสมาชิก’ ที่ส่ง ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ เข้าพูดคุยอ้อนขอคะแนนจาก สว. เป็นรายบุคคล ขณะที่ภาคการเมือง เดินเกมเจรจากับ ‘ขั้วรัฐบาลเดิม’ เป็นรายพรรค ในช่วงวันที่ 22 - 23 กรกฎาคม ซึ่ง ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็พยายามบอกกับนักข่าวตลอดเวลาว่า เป็นการพูดคุยแนวทางแก้ปัญหาวิกฤติและทางออกของประเทศร่วมกัน หาใช่การเทียบเชิญเข้ามาร่วมเป็นรัฐบาลแต่อย่างใด
ประเด็นการเปิดบ้านดื่มมินต์ช็อกโกแลตของ ‘สามีคนใหม่’ กลายเป็นข้อครหาอย่างยิ่ง บ้างเปรียบเปรยเป็นละครหลังข่าวแสนน้ำเน่าว่า มิต่างอะไรกับการ ‘เปิดตัวเมียน้อย ขับเมียหลวง’ สร้างแรงกระเพื่อมให้กับ ‘สัญญาใจ’ 8 พรรคร่วมฯ ไม่น้อย
โดยเฉพาะลิสต์รายชื่อ 5 พรรคการเมืองที่เข้ามาหารือ อันประกอบไปด้วย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนากล้า พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ นักวิเคราะห์สามารถชำแหละปูมหลังที่น่าสนใจพอสังเขปได้หลายเรื่อง
ประการที่ 1 ในบรรดาทั้ง 5 พรรคการเมืองนี้ ล้วนมีอุดมคติทางการเมืองในแบบฉบับ ‘อนุรักษ์นิยม’ และ ‘ทุนจารีต’ พร้อมทั้งมีคู่ศัตรูเก่าแก่ของพรรคเพื่อไทย อย่าง ‘กลุ่ม กปปส.’ กระจัดกระจายไปเป็นแกนนำในแต่ละพรรค อาทิ ‘อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี’ จากชาติพัฒนากล้า และ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ - ‘เอกนัฏ พร้อมพันธุ์’ จากรวมไทยสร้างชาติ
ประการที่ 2 มีสังกัดการเมืองที่ถูกมองว่าเป็น ‘พรรคทหารจำแลง’ เข้าร่วมพูดคุย 2 พรรค ได้แก่ พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ พูดกันง่ายๆ คือ พรรคสองลุง ที่ก่อนหน้านี้ในช่วงใกล้เลือกตั้ง เพื่อไทยแสดงความชัดเจน (หลังกังวลว่าคะแนนจากผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์จะเทไปเลือกก้าวไกล) ไม่ขอจับมือกับ ‘พรรคทหาร’ หรือ ‘พรรคสืบทอดอำนาจ’ โดยเด็ดขาด
ประการที่ 3 พรรคเพื่อไทยหลงลืม (หรือตั้งใจลืม) ‘งูเห่าฝูงใหญ่’ เมื่อคราว ‘พลังประชาชน’ ถูกยุบพรรค ‘กลุ่มเนวิน’ แยกตัวจากพรรครัฐบาลเดิม จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้ง ‘รัฐบาลอภิสิทธ์’ ในค่ายทหาร จนเกิดประโยคสุดคลาสสิกจาก ‘เนวิน ชิดชอบ’ กินพื้นที่กรอบหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ‘มันจบแล้วครับนาย’
ประการที่ 4 การพูดคุยไม่มีการเชิญ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ เข้าร่วม ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ณ ตอนนี้ ประชาธิปัตย์อยู่ในช่วงการฟอร์มทีมเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารอยู่ ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะชวนออกความเห็นตัดสินใจ เรื่องนี้นักข่าวการเมืองวิเคราะห์กันเอาเอง ว่า พรรคเพื่อไทยยังฝังใจกับเหตุการณ์การสลายม็อบคนเสื้อแดง จนเกิดความสูญเสีย 99 ศพ ในช่วงรัฐบาล ‘เดอะมาร์ค’
ประการสุดท้าย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุด คือ พรรครัฐบาลเดิมทุกสังกัด มีมุมมองตรงกันว่าไม่สนับสนุน ‘การยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112’ และไม่พึงประสงค์ที่จะร่วมทำการเมืองกับพรรคที่สนับสนุน (อย่างพรรคก้าวไกล) เกิดข้อสังเกตต่อเนื่อง หากพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ที่นำโดย พรรคเพื่อไทย อยากได้เสียงสนับสนุนจาก สส. ขั้วรัฐบาลเดิมในการโหวตเลือกนายกฯ ต้อง ‘ตัดสายสะดือ’ พรรคก้าวไกล ให้หลุดไปเป็นฝ่ายค้านทันที บางคนตีความพฤติกรรมที่เกิดขึ้น อนุมานเท่ากับเพื่อไทยได้ ‘ฉีกเอ็มโอยู 8 พรรคร่วมรัฐบาล’ ไปแล้วโดยไม่ต้องประกาศ
มีอย่างหรือที่ ‘เครื่องจักรสีส้ม’ จะไม่ทราบความนัย เพราะเดาใจถูกมาตลอดตั้งแต่การให้สัมภาษณ์ของแกนนำพรรคคนสำคัญ โดยเฉพาะการออกตัวแรงของ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ ที่ยืนยันว่า พรรคก้าวไกลจะไม่ยอมถอยเป็นฝ่ายค้าน และประกาศฮาวทู ‘สู้กับคนหน้าด้าน เราต้องหน้าด้านกว่า’
เมื่อทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง การต่อสู้เพื่อหาเสียงโหวตจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปสำหรับพรรคก้าวไกล แต่กลับเลือกเดินเกมถนัด (ที่สุด) พุ่งตรงเข้าหาประชาชน ที่เปรียบดั่งกำแพงเหล็กของพรรคส้ม ตระเวนขึ้นเวทีดุจดั่งช่วงหาเสียง ระดมแกนนำปลุกเร้าผนังทองแดงให้เร่าร้อน เพื่อคอยเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญในวันข้างหน้า ประหนึ่งแนวคิดนักต่อสู้ฝ่ายซ้ายตาม ‘ทฤษฎีป่าล้อมเมือง’
เมื่อหยิบยกประเด็นข้างต้นทั้งหมดมาตกผลึก มองได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเกมของ ‘ฝ่ายอำมาตย์’ (ขออนุญาตใช้ถ้อยคำตามคำเรียกของผู้ชุมนุม) ในการบีบครั้นให้ ‘ผีก้าวไกล’ ต้องลงหลุมฝังกลบ ด้วยการใช้สมการตัวเลข และทัศนคติในการโหวต เข้ามาเป็นตัวแปร
ขณะเดียวกันอีกแง่หนึ่งอาจมองได้ว่า เพื่อไทยกำลังพยายามทำอะไรบางอย่าง ในการอำนายให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ เดินทางกลับบ้านได้อย่างสะดวกโยธินยิ่งขึ้น ย้ำนะครับ ว่าหากมองแบบคอการเมือง รอบนี้มิต่างอะไรกับกลยุทธ์โบราณ ‘ยื่นดาบฆ่าคน’ ที่กุนซือสมองเพชรหลายคนในสมัย สามก๊ก ใช้ทำลายล้าง ‘ศัตรู’ เพื่อรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง ดูจากการยืมคำประกาศจากพรรคต่างๆ ที่ซัดใส่ ‘ไม่เอาก้าวไกล’ แต่แน่นอนทุกอย่างย่อมมี ‘ราคาที่ต้องจ่าย’
ขออนุญาต หยิบยกความเห็นของ ‘มุกดา สุวรรณชาติ’ คอลัมส์หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว มติชนสุดสัปดาห์ มายกอ้าง “เกมของเพื่อไทยนั้น ถ้าเดินให้สะดวกก็ทำตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ ไม่จำเป็นต้องเร่งและไม่ควรก้าวสู่กับดักตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว คนที่ไล่ทำร้ายและทำลายเพื่อไทยมา 18 ปี ไม่มีทางจะมาหวังดีในวันนี้ ถ้าฝ่ายอำมาตย์ดึงเกมได้ ฝ่ายประชาธิปไตยก็ยึดได้ ถ้าเพื่อไม่หลงเข้ากับดัก ก็คือตระบัตสัตย์ ยิ่งกว่าปี 2535 ที่เกิดพฤษภาทมิฬ งานนี้ถ้าพลาด ก้าวไกลบาดเจ็บ…แต่เพื่อไทยพิการ”
มุกดา เชื่อว่า หากการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม สุดท้าย (อาจ) ต้องพึ่งประชาชนเลือนแสน เพื่อกดดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและโครงสร้าง ‘ร่างรัฐธรรมนูญใหม่’ โดยวิกฤติของบ้านเมืองตอนนี้อยู่ที่ 3 ตัวแปรสำคัญ 1) ผู้นำที่มีอำนาจในฝ่ายอำมาตยาธิปไตย 2) แกนนำพรรคเพื่อไทย และ 3) แกนนำพรรคก้าวไกล
เรื่องนี้ผู้เขียนพออนุมานเองได้ว่า วันใด ‘มัดข้าวต้ม’ ถูกคลายออก เกิดการจับมือร่วมขั้วกับพรรค 3 ป. การชุมนุมใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเทียบกับคะแนน 14 ล้านเสียง ผสมรวมกับมวลชนที่เชื่อในประชาธิปไตย และเกียจชังอำนาจนิยมเข้ากระดูกดำ จะเพิ่มกำลังทวีคูณกระจายไปทุกหัวระแหง
สัญญาณเริ่มบ่งชัดขึ้นเรื่อยๆ หลังการรวมตัวของกลุ่มม็อบตามพื้นที่สำคัญต่างๆ นับตั้งแต่การประชุมร่วมสองสภาฯ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีแววต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อทุกอย่างสะเด็ดน้ำสิ้นแล้ว พรรคก้าวไกล จะมีขุมกำลังภาคประชาชนที่พร้อมลงถนนแบบทันที โดยไม่ต้อง ‘เลี้ยงมวลชน’
ต่อจากนี้ไม่ว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ผมทำนายไปเองว่า ‘ประเทศชาติ’ มีราคาที่ต้องจ่ายสูงลิบ เพราะกับดักของรัฐธรรมนูญ 60 สมบัติชิ้นสุดท้ายของรัฐบาล คสช. ที่กำลังแผงฤทธิ์สกัดกันรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย จนยากจะโงหัวขึ้นในสภาฯ
แม้ในวันที่ ‘พรรคเพื่อไทย’ รับไม้ต่อเป็น ‘แกนนำ’ พรรคพันธมิตรทั้ง 8 จะดูสมบทบาท ‘เพื่อนรัก’ ในการเข้ามารักษา ‘เอ็มโอยู’ ให้มั่นคง เสมือนขับเคี่ยวให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลในฝันขึ้นมาให้ได้ แต่ปัจจัยแวดล้อมล้วนบีบรัด จำต้องทำอะไรสักอย่างให้ได้เสียงเกิน 376 เสียง การันตี ‘นายกฯ พท.’ ไม่ให้หลุดลอย
อนึ่งเปรียบเสมือน อ้อยสุกใกล้ปากช้าง เพราะเมื่อมองทุกอย่างเป็น ‘เกม’ (การเมือง) แล้วไซร้ ล้วนลงตัวไปเสียหมด การจัดวางเชิงอำนาจและโครงสร้างทางทัศนคติฝ่ายอนุรักษ์นิยม ดูมันช่างเอื้อต่อจัดตั้งรัฐบาลแบบพิศดาร ตามฉากทัศน์ ‘พลิกขั้วการเมือง’ ซะเหลือเกิน
ยิ่งดูพฤติกรรมของพรรคเพื่อไทย ที่พยายามตอกย้ำว่าต้องรีบจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้ได้ ‘เร็วที่สุด’ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน ดูมีความชอบธรรม ไม่จำเป็นต้อง ‘ยื้อเวลา’ ให้ สว. ‘หมดอายุ’ และการหาเสียงจากทั้งฝ่าย สส. และ สว. ให้เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา กลายเป็นคำยกอ้างที่มีเหตุผลในการ ‘ทอดสะพาน’
เริ่มจากการหารือกับ ‘วุฒิสมาชิก’ ที่ส่ง ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ เข้าพูดคุยอ้อนขอคะแนนจาก สว. เป็นรายบุคคล ขณะที่ภาคการเมือง เดินเกมเจรจากับ ‘ขั้วรัฐบาลเดิม’ เป็นรายพรรค ในช่วงวันที่ 22 - 23 กรกฎาคม ซึ่ง ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็พยายามบอกกับนักข่าวตลอดเวลาว่า เป็นการพูดคุยแนวทางแก้ปัญหาวิกฤติและทางออกของประเทศร่วมกัน หาใช่การเทียบเชิญเข้ามาร่วมเป็นรัฐบาลแต่อย่างใด
ประเด็นการเปิดบ้านดื่มมินต์ช็อกโกแลตของ ‘สามีคนใหม่’ กลายเป็นข้อครหาอย่างยิ่ง บ้างเปรียบเปรยเป็นละครหลังข่าวแสนน้ำเน่าว่า มิต่างอะไรกับการ ‘เปิดตัวเมียน้อย ขับเมียหลวง’ สร้างแรงกระเพื่อมให้กับ ‘สัญญาใจ’ 8 พรรคร่วมฯ ไม่น้อย
โดยเฉพาะลิสต์รายชื่อ 5 พรรคการเมืองที่เข้ามาหารือ อันประกอบไปด้วย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนากล้า พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ นักวิเคราะห์สามารถชำแหละปูมหลังที่น่าสนใจพอสังเขปได้หลายเรื่อง
ประการที่ 1 ในบรรดาทั้ง 5 พรรคการเมืองนี้ ล้วนมีอุดมคติทางการเมืองในแบบฉบับ ‘อนุรักษ์นิยม’ และ ‘ทุนจารีต’ พร้อมทั้งมีคู่ศัตรูเก่าแก่ของพรรคเพื่อไทย อย่าง ‘กลุ่ม กปปส.’ กระจัดกระจายไปเป็นแกนนำในแต่ละพรรค อาทิ ‘อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี’ จากชาติพัฒนากล้า และ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ - ‘เอกนัฏ พร้อมพันธุ์’ จากรวมไทยสร้างชาติ
ประการที่ 2 มีสังกัดการเมืองที่ถูกมองว่าเป็น ‘พรรคทหารจำแลง’ เข้าร่วมพูดคุย 2 พรรค ได้แก่ พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ พูดกันง่ายๆ คือ พรรคสองลุง ที่ก่อนหน้านี้ในช่วงใกล้เลือกตั้ง เพื่อไทยแสดงความชัดเจน (หลังกังวลว่าคะแนนจากผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์จะเทไปเลือกก้าวไกล) ไม่ขอจับมือกับ ‘พรรคทหาร’ หรือ ‘พรรคสืบทอดอำนาจ’ โดยเด็ดขาด
ประการที่ 3 พรรคเพื่อไทยหลงลืม (หรือตั้งใจลืม) ‘งูเห่าฝูงใหญ่’ เมื่อคราว ‘พลังประชาชน’ ถูกยุบพรรค ‘กลุ่มเนวิน’ แยกตัวจากพรรครัฐบาลเดิม จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้ง ‘รัฐบาลอภิสิทธ์’ ในค่ายทหาร จนเกิดประโยคสุดคลาสสิกจาก ‘เนวิน ชิดชอบ’ กินพื้นที่กรอบหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ‘มันจบแล้วครับนาย’
ประการที่ 4 การพูดคุยไม่มีการเชิญ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ เข้าร่วม ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ณ ตอนนี้ ประชาธิปัตย์อยู่ในช่วงการฟอร์มทีมเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารอยู่ ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะชวนออกความเห็นตัดสินใจ เรื่องนี้นักข่าวการเมืองวิเคราะห์กันเอาเอง ว่า พรรคเพื่อไทยยังฝังใจกับเหตุการณ์การสลายม็อบคนเสื้อแดง จนเกิดความสูญเสีย 99 ศพ ในช่วงรัฐบาล ‘เดอะมาร์ค’
ประการสุดท้าย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุด คือ พรรครัฐบาลเดิมทุกสังกัด มีมุมมองตรงกันว่าไม่สนับสนุน ‘การยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112’ และไม่พึงประสงค์ที่จะร่วมทำการเมืองกับพรรคที่สนับสนุน (อย่างพรรคก้าวไกล) เกิดข้อสังเกตต่อเนื่อง หากพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ที่นำโดย พรรคเพื่อไทย อยากได้เสียงสนับสนุนจาก สส. ขั้วรัฐบาลเดิมในการโหวตเลือกนายกฯ ต้อง ‘ตัดสายสะดือ’ พรรคก้าวไกล ให้หลุดไปเป็นฝ่ายค้านทันที บางคนตีความพฤติกรรมที่เกิดขึ้น อนุมานเท่ากับเพื่อไทยได้ ‘ฉีกเอ็มโอยู 8 พรรคร่วมรัฐบาล’ ไปแล้วโดยไม่ต้องประกาศ
มีอย่างหรือที่ ‘เครื่องจักรสีส้ม’ จะไม่ทราบความนัย เพราะเดาใจถูกมาตลอดตั้งแต่การให้สัมภาษณ์ของแกนนำพรรคคนสำคัญ โดยเฉพาะการออกตัวแรงของ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ ที่ยืนยันว่า พรรคก้าวไกลจะไม่ยอมถอยเป็นฝ่ายค้าน และประกาศฮาวทู ‘สู้กับคนหน้าด้าน เราต้องหน้าด้านกว่า’
เมื่อทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง การต่อสู้เพื่อหาเสียงโหวตจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปสำหรับพรรคก้าวไกล แต่กลับเลือกเดินเกมถนัด (ที่สุด) พุ่งตรงเข้าหาประชาชน ที่เปรียบดั่งกำแพงเหล็กของพรรคส้ม ตระเวนขึ้นเวทีดุจดั่งช่วงหาเสียง ระดมแกนนำปลุกเร้าผนังทองแดงให้เร่าร้อน เพื่อคอยเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญในวันข้างหน้า ประหนึ่งแนวคิดนักต่อสู้ฝ่ายซ้ายตาม ‘ทฤษฎีป่าล้อมเมือง’
เมื่อหยิบยกประเด็นข้างต้นทั้งหมดมาตกผลึก มองได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเกมของ ‘ฝ่ายอำมาตย์’ (ขออนุญาตใช้ถ้อยคำตามคำเรียกของผู้ชุมนุม) ในการบีบครั้นให้ ‘ผีก้าวไกล’ ต้องลงหลุมฝังกลบ ด้วยการใช้สมการตัวเลข และทัศนคติในการโหวต เข้ามาเป็นตัวแปร
ขณะเดียวกันอีกแง่หนึ่งอาจมองได้ว่า เพื่อไทยกำลังพยายามทำอะไรบางอย่าง ในการอำนายให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ เดินทางกลับบ้านได้อย่างสะดวกโยธินยิ่งขึ้น ย้ำนะครับ ว่าหากมองแบบคอการเมือง รอบนี้มิต่างอะไรกับกลยุทธ์โบราณ ‘ยื่นดาบฆ่าคน’ ที่กุนซือสมองเพชรหลายคนในสมัย สามก๊ก ใช้ทำลายล้าง ‘ศัตรู’ เพื่อรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง ดูจากการยืมคำประกาศจากพรรคต่างๆ ที่ซัดใส่ ‘ไม่เอาก้าวไกล’ แต่แน่นอนทุกอย่างย่อมมี ‘ราคาที่ต้องจ่าย’
ขออนุญาต หยิบยกความเห็นของ ‘มุกดา สุวรรณชาติ’ คอลัมส์หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว มติชนสุดสัปดาห์ มายกอ้าง “เกมของเพื่อไทยนั้น ถ้าเดินให้สะดวกก็ทำตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ ไม่จำเป็นต้องเร่งและไม่ควรก้าวสู่กับดักตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว คนที่ไล่ทำร้ายและทำลายเพื่อไทยมา 18 ปี ไม่มีทางจะมาหวังดีในวันนี้ ถ้าฝ่ายอำมาตย์ดึงเกมได้ ฝ่ายประชาธิปไตยก็ยึดได้ ถ้าเพื่อไม่หลงเข้ากับดัก ก็คือตระบัตสัตย์ ยิ่งกว่าปี 2535 ที่เกิดพฤษภาทมิฬ งานนี้ถ้าพลาด ก้าวไกลบาดเจ็บ…แต่เพื่อไทยพิการ”
มุกดา เชื่อว่า หากการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม สุดท้าย (อาจ) ต้องพึ่งประชาชนเลือนแสน เพื่อกดดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและโครงสร้าง ‘ร่างรัฐธรรมนูญใหม่’ โดยวิกฤติของบ้านเมืองตอนนี้อยู่ที่ 3 ตัวแปรสำคัญ 1) ผู้นำที่มีอำนาจในฝ่ายอำมาตยาธิปไตย 2) แกนนำพรรคเพื่อไทย และ 3) แกนนำพรรคก้าวไกล
เรื่องนี้ผู้เขียนพออนุมานเองได้ว่า วันใด ‘มัดข้าวต้ม’ ถูกคลายออก เกิดการจับมือร่วมขั้วกับพรรค 3 ป. การชุมนุมใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเทียบกับคะแนน 14 ล้านเสียง ผสมรวมกับมวลชนที่เชื่อในประชาธิปไตย และเกียจชังอำนาจนิยมเข้ากระดูกดำ จะเพิ่มกำลังทวีคูณกระจายไปทุกหัวระแหง
สัญญาณเริ่มบ่งชัดขึ้นเรื่อยๆ หลังการรวมตัวของกลุ่มม็อบตามพื้นที่สำคัญต่างๆ นับตั้งแต่การประชุมร่วมสองสภาฯ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีแววต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อทุกอย่างสะเด็ดน้ำสิ้นแล้ว พรรคก้าวไกล จะมีขุมกำลังภาคประชาชนที่พร้อมลงถนนแบบทันที โดยไม่ต้อง ‘เลี้ยงมวลชน’
ต่อจากนี้ไม่ว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ผมทำนายไปเองว่า ‘ประเทศชาติ’ มีราคาที่ต้องจ่ายสูงลิบ เพราะกับดักของรัฐธรรมนูญ 60 สมบัติชิ้นสุดท้ายของรัฐบาล คสช. ที่กำลังแผงฤทธิ์สกัดกันรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย จนยากจะโงหัวขึ้นในสภาฯ