ประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในการโหวตนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง ว่า กรณีชื่อของ พิธา นั้นจบแล้ว เพราะเจ้าตัวได้เสียงเห็นชอบเป็นนายกฯ ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของสองสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 จึงทำให้ญัตติดังกล่าวเป็นอันตกไป ดังนั้น กรณีจะเสนอชื่อ พิธา ให้โหวตอีกครั้งนั้น ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาถือว่าทำไม่ได้
“ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 กำหนดว่า ญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติที่มีหลักการเดียวกันเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ไม่มีการลงมติหรือประธานสภาอนุญาต เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหากจะนำญัตติเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกฯ กลับมาอีกในสมัยประชุมปัจจุบัน ต้องมีเหตุเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 272 วรรคสองเท่านั้น” ประพันธ์ ระบุ
ประพันธ์ ยังขยายความมาตรา 272 วรรคสอง ด้วยว่า ตามหลักการหากโหวตครั้งแรก ไม่สามารถได้บุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ว่าด้วยเหตุใด ประธานรัฐสภาไม่มีอำนาจที่จะเปิดให้มีการลงคะแนนใหม่เองได้ ต้องให้สมาชิกรัฐสภารวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ตามมาตรา 272 วรรคสอง เท่านั้น และต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสองสภาฯ หรือ 500 เสียง จึงจะทำให้ พิธา ฐานะผู้ที่เคยได้รับการเสนอชื่อให้โหวตเป็นนายกฯ กลับมาเสนอได้อีก หากดำเนินการใดๆ นอกจากแนวทางนี้ ย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
“เมื่อรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้เช่นนี้แล้ว จึงไม่เปิดช่องทางอื่นให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกเสนอชื่อกลับมาให้รัฐสภา โหวตโดยง่าย หรือโหวตเลือกนายพิธาฯ ซ้ำซากไปเรื่อยๆ เหมือนนักกฎหมาย หรือพวกกุนซือสมองทื่อเสนอให้โหวตไปเรื่อยๆ จนสิ้นวาระของวุฒิสภา ด้วยเหตุนี้ พรรคก้าวไกล และนายพิธา ควรให้การศึกษาพวกด้อมส้มให้โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย” ประพันธ์ ระบุ
ประพันธ์ ทิ้งท้ายด้วยว่า หากในระหว่างนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ พิธา หยุดปฎิบัติหน้าที่ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเสนอชื่อ พิธา ให้รัฐสภาพิจารณา ดังนั้น จึงไม่ควรไปปลุกให้ความหวังพวก ‘ด้อมส้ม’ แบบผิดๆ ควรยอมรับและเคารพมติโดยชอบของรัฐสภา หยุดปลุกมวลชนเพื่อสร้างปัญหาให้บ้านเมือง เพราะความดื้อรั้น มีแต่เกิดหายนะกับตนเอง
เช่นเดียวกับ เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่กล่าวไปในทิศทางเดียวกัน ถึงประเด็นการนำข้อบังคับที่ 41 มาใช้ในการลงมติเลือกนายกฯ ว่าเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา ซึ่งกำหนดไว้ว่าการเสนอญัตติ เมื่อมีการเสนอและตกไปแล้ว จะไม่ให้เสนอซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานรัฐสภา ด้วยเหตุว่ามีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง อาทิ ญัตติที่ผ่านมาคือเลือก พิธา เพียงคนเดียว แต่หากมีการเสนอเหมือนเดิมกลับเข้ามาอีกครั้ง ไม่สามารถทำได้ ส่วนหากเสนอชื่อ พิธา พร้อมกับรายชื่ออื่นสามารถทำได้หรือไม่นั้น เสรี มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ หากประธานรัฐสภาอนุญาต พร้อมยอมรับว่า แนวทางดังกล่าวมาจากการพูดคุยกันในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา
นอกจากนี้ เสรี ยืนยันว่าไม่มี ‘ใบสั่ง’ จากกรณีที่มีเอกสารหลุดออกมา เพื่อให้ ส.ว.ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว หากประชุมรัฐสภา ในครั้งที่ 2 ให้หยิบยกเรื่องข้อบังคับ 41 ขึ้นมาพิจารณา โดยอ้างเป็นเพียงการหารือกันในกลุ่ม เพราะเวลาเสนอความเห็น แต่ละคนก็จะมีแนวทางของตัวเอง เป็นข้อเสนอที่ต้องพิจารณาร่วมกัน ไม่มีใครสั่งใครได้ เพราะเป็นมุมมองในข้อกฎหมายที่มีการส่งกันในไลน์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนให้สมาชิกให้ได้ทราบ ไม่ได้เป็นเรื่องการสั่ง พร้อมยืนยัน ไม่มีความกังวลว่าจะมีหนอนบ่อนไส้นำข้อมูลไปให้พรรคก้าวไกล หลังมีข้อมูลหลุดมาจากไลน์ของ ส.ว.บ่อยครั้ง
“คนหมู่มากย่อมมีความเห็นต่าง และคนเห็นต่างก็นำไปส่ง ช่วงหลังจึงมีการระมัดระวังมากขึ้น ว่าหากอะไรเสนอความเห็นไปแล้ว และไปกระทบการทำงาน ก็ไม่ควรที่จะเสนอกันเข้ามาในไลน์ ไม่ต้องห่วงว่าถ้าก้าวไกล จะทราบในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะคนเป็นร้อยคน ก็ต้องมีคนรู้จักกันบ้าง ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว” เสรี ระบุ
ส่วนท่าทีของ ส.ว.หลังจากลงมติไปเมื่อวานนี้ จะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ต้องรอดูว่า ส.ส.จะเสนอชื่อใครเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส.ว.จะต้องพิจารณาต่อไป
“ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 กำหนดว่า ญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติที่มีหลักการเดียวกันเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ไม่มีการลงมติหรือประธานสภาอนุญาต เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหากจะนำญัตติเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกฯ กลับมาอีกในสมัยประชุมปัจจุบัน ต้องมีเหตุเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 272 วรรคสองเท่านั้น” ประพันธ์ ระบุ
ประพันธ์ ยังขยายความมาตรา 272 วรรคสอง ด้วยว่า ตามหลักการหากโหวตครั้งแรก ไม่สามารถได้บุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ว่าด้วยเหตุใด ประธานรัฐสภาไม่มีอำนาจที่จะเปิดให้มีการลงคะแนนใหม่เองได้ ต้องให้สมาชิกรัฐสภารวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ตามมาตรา 272 วรรคสอง เท่านั้น และต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสองสภาฯ หรือ 500 เสียง จึงจะทำให้ พิธา ฐานะผู้ที่เคยได้รับการเสนอชื่อให้โหวตเป็นนายกฯ กลับมาเสนอได้อีก หากดำเนินการใดๆ นอกจากแนวทางนี้ ย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
“เมื่อรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้เช่นนี้แล้ว จึงไม่เปิดช่องทางอื่นให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกเสนอชื่อกลับมาให้รัฐสภา โหวตโดยง่าย หรือโหวตเลือกนายพิธาฯ ซ้ำซากไปเรื่อยๆ เหมือนนักกฎหมาย หรือพวกกุนซือสมองทื่อเสนอให้โหวตไปเรื่อยๆ จนสิ้นวาระของวุฒิสภา ด้วยเหตุนี้ พรรคก้าวไกล และนายพิธา ควรให้การศึกษาพวกด้อมส้มให้โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย” ประพันธ์ ระบุ
ประพันธ์ ทิ้งท้ายด้วยว่า หากในระหว่างนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ พิธา หยุดปฎิบัติหน้าที่ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเสนอชื่อ พิธา ให้รัฐสภาพิจารณา ดังนั้น จึงไม่ควรไปปลุกให้ความหวังพวก ‘ด้อมส้ม’ แบบผิดๆ ควรยอมรับและเคารพมติโดยชอบของรัฐสภา หยุดปลุกมวลชนเพื่อสร้างปัญหาให้บ้านเมือง เพราะความดื้อรั้น มีแต่เกิดหายนะกับตนเอง
เช่นเดียวกับ เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่กล่าวไปในทิศทางเดียวกัน ถึงประเด็นการนำข้อบังคับที่ 41 มาใช้ในการลงมติเลือกนายกฯ ว่าเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา ซึ่งกำหนดไว้ว่าการเสนอญัตติ เมื่อมีการเสนอและตกไปแล้ว จะไม่ให้เสนอซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานรัฐสภา ด้วยเหตุว่ามีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง อาทิ ญัตติที่ผ่านมาคือเลือก พิธา เพียงคนเดียว แต่หากมีการเสนอเหมือนเดิมกลับเข้ามาอีกครั้ง ไม่สามารถทำได้ ส่วนหากเสนอชื่อ พิธา พร้อมกับรายชื่ออื่นสามารถทำได้หรือไม่นั้น เสรี มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ หากประธานรัฐสภาอนุญาต พร้อมยอมรับว่า แนวทางดังกล่าวมาจากการพูดคุยกันในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา
นอกจากนี้ เสรี ยืนยันว่าไม่มี ‘ใบสั่ง’ จากกรณีที่มีเอกสารหลุดออกมา เพื่อให้ ส.ว.ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว หากประชุมรัฐสภา ในครั้งที่ 2 ให้หยิบยกเรื่องข้อบังคับ 41 ขึ้นมาพิจารณา โดยอ้างเป็นเพียงการหารือกันในกลุ่ม เพราะเวลาเสนอความเห็น แต่ละคนก็จะมีแนวทางของตัวเอง เป็นข้อเสนอที่ต้องพิจารณาร่วมกัน ไม่มีใครสั่งใครได้ เพราะเป็นมุมมองในข้อกฎหมายที่มีการส่งกันในไลน์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนให้สมาชิกให้ได้ทราบ ไม่ได้เป็นเรื่องการสั่ง พร้อมยืนยัน ไม่มีความกังวลว่าจะมีหนอนบ่อนไส้นำข้อมูลไปให้พรรคก้าวไกล หลังมีข้อมูลหลุดมาจากไลน์ของ ส.ว.บ่อยครั้ง
“คนหมู่มากย่อมมีความเห็นต่าง และคนเห็นต่างก็นำไปส่ง ช่วงหลังจึงมีการระมัดระวังมากขึ้น ว่าหากอะไรเสนอความเห็นไปแล้ว และไปกระทบการทำงาน ก็ไม่ควรที่จะเสนอกันเข้ามาในไลน์ ไม่ต้องห่วงว่าถ้าก้าวไกล จะทราบในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะคนเป็นร้อยคน ก็ต้องมีคนรู้จักกันบ้าง ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว” เสรี ระบุ
ส่วนท่าทีของ ส.ว.หลังจากลงมติไปเมื่อวานนี้ จะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ต้องรอดูว่า ส.ส.จะเสนอชื่อใครเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส.ว.จะต้องพิจารณาต่อไป