เรียกว่ายัง ‘เคลียร์ไม่ลงตัว’ สำหรับการ ‘ผ่องถ่ายอำนาจ’ จากมือ ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปสู่ ‘เสี่ยนิด’ เศรษฐา ทวีสิน ในการจัดเก้าอี้ ‘นายพลตำรวจ’ ในระดับ รอง ผบ.ตร. ไปจนถึง ‘ผู้บังคับการ’ ที่สุดท้าย พล.อ.ประยุทธ์ เลือกใช้วิธี ‘โยนระเบิด-ยื้อเวลา’ ให้ ‘รัฐบาลใหม่-นายกฯ คนใหม่’ พิจารณา ซึ่งแตกต่างจาก ‘โผทหารนายพล’ ที่ลงตัว ทำให้ ‘บิ๊กตู่’ ชิงใช้เวลาช่วงก่อนที่จะมีการโปรดเกล้าฯ ‘เศรษฐา’ เป็นนายกฯ ไม่กี่ชั่วโมง ประชุม ‘บอร์ด 7 เสือกลาโหม’
สำหรับประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่งคือ นายกฯ ซึ่งเชื่อว่า ‘เพื่อไทย’ จะยึดเก้าอี้ตัวนี้ไว้เอง ที่เปรียบเป็น ‘ขุมกำลังสำคัญ’ แม้ในบางรัฐบาล ก็มอบให้ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นั่งเป็น ประธาน ก.ตร. เช่นในยุค คสช. ที่ ‘บิ๊กตู่’ มอบให้ ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ คุมตำรวจแทน จึงต้องจับตาว่า ‘ครม.เศรษฐา 1’ ทางพรรคเพื่อไทย จะมอบให้ ‘รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง’ จากพรรคร่วมรัฐบาล คุมตำรวจหรือไม่ แต่ก็เท่ากับว่า ‘เพื่อไทย’ จะเสียอำนาจส่วนนี้ไป และเท่ากับเป็นการ ‘ยื่นดาบ’ ให้คนอื่นแทน
แต่การที่ ‘บิ๊กตู่’ โยนให้ ‘นายกฯคนใหม่’ มาพิจารณา โดยอ้างเรื่อง ‘ธรรมาภิบาล’ แต่โดนเหตุผลลึกๆ แล้ว คือ พล.อ.ประยุทธ์ เกรงจะโดนฟ้องตามหลังมา ที่ย่อมมี ‘คนผิดหวัง’ ในการแต่งตั้งโยกย้าย เพราะเมื่อปี 2565 เคยมีการฟ้อง ก.ตร. และ นายกฯ กับ ‘ศาลปกครองกลาง’ มาแล้ว ที่ในขณะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ระหว่างถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ชั่วคราว จึงเป็น ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นผู้รักษาราชการแทน ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ก.ตร.
ที่สุดท้าย ‘ศาลปกครองกลาง’ สั่งเพิกถอนประกาศสำนักนายกฯ แต่งตั้งโยกย้ายตำรวจปี 2565 เหตุมติ ก.ตร. โยกย้ายแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมสั่งให้ ก.ตร. ประชุมพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ลงมาถึง ผบก. ประจำปี 2565 ใหม่
นอกจากนี้เบื้องหลังที่ ‘บิ๊กตู่’ ไม่พิจารณาโผนายพล ตร. ครั้งนี้ ว่ากันว่ามีการ ‘สอดไส้’ เข้ามา ทำให้ ‘บิ๊กตู่’ ไม่อยากโดนฟ้องร้อง หลังลงจากตำแหน่งนายกฯ ไปแล้ว นั่นคือ ‘บิ๊กตู่’ ไม่ขอรับบท ‘นางแบก’ นั่นเอง เพราะภายหลังพรรคเพื่อไทยมาเป็น ‘แกนนำตั้งรัฐบาล’ และได้อำนาจคุม ตร. ทำให้ ‘ดุลอำนาจ’ ภายในวงการ ตร. เปลี่ยนไปในรอบ 8 ปี ทำให้ในเวลานี้ สตช. ยังฝุ่นตลบ
อีกทั้ง ‘บิ๊กตู่’ โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบให้ใครมา ‘บีบ’ ด้วย เพราะมีการ ‘บีบ’ ในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการประชุมสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า ‘บอร์ดย่อย’ ใหม่ และประชุมบอร์ ก.ตร. ที่เป็น ‘บอร์ดใหญ่’ เพื่อเคาะโผนายพล ตร. อีกครั้ง ภายในเดือน ก.ย.นี้
ล่าสุดหนึ่งใน ก.ตร. นั่นคือ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ โพสต์เฟซบุ๊กความตอนหนึ่งถึงผู้มีอำนาจในหารแต่งตั้งโยกยย้ายว่า “อย่าได้ดำเนินการในลักษณะที่อาจถูกล่าวหาได้ว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีการแทรกแซง ไม่มีการประชุมถกแถลง เปรียบเทียบคุณสมบัติผลการปฏิบัติงานของผู้เหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล จัดประชุมพอเป็นพิธี ลงชื่อไว้ในกระดาษใบสุดท้ายรายงานการประชุมก่อนล่วงหน้า หรือตกแต่งจัดเรียงบัญชีลำดับผู้เหมาะสมตามใบสั่งหน่วยเหนือ ผมต้องการให้มีการพิจารณาผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน มีอาวุโส และมีความรู้ความสามารถ ต้องได้รับการพิจารณาเลื่อนตำรวจสูงขึ้นในหน่วยที่ดำรงตำแหน่งอยู่หรือในหน่วยที่มีความเหมาะสม”
สำหรับแคนดิเดต ผบ.ตร. มี 4 คน เรียงตามอาวุโส ได้แก่ ‘บิ๊กรอย’ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เกษียณฯปี 2567 ‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2574 ‘บิ๊กต่าย’ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2569 และ ‘บิ๊กต่อ’ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2567
สำหรับประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่งคือ นายกฯ ซึ่งเชื่อว่า ‘เพื่อไทย’ จะยึดเก้าอี้ตัวนี้ไว้เอง ที่เปรียบเป็น ‘ขุมกำลังสำคัญ’ แม้ในบางรัฐบาล ก็มอบให้ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นั่งเป็น ประธาน ก.ตร. เช่นในยุค คสช. ที่ ‘บิ๊กตู่’ มอบให้ ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ คุมตำรวจแทน จึงต้องจับตาว่า ‘ครม.เศรษฐา 1’ ทางพรรคเพื่อไทย จะมอบให้ ‘รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง’ จากพรรคร่วมรัฐบาล คุมตำรวจหรือไม่ แต่ก็เท่ากับว่า ‘เพื่อไทย’ จะเสียอำนาจส่วนนี้ไป และเท่ากับเป็นการ ‘ยื่นดาบ’ ให้คนอื่นแทน
แต่การที่ ‘บิ๊กตู่’ โยนให้ ‘นายกฯคนใหม่’ มาพิจารณา โดยอ้างเรื่อง ‘ธรรมาภิบาล’ แต่โดนเหตุผลลึกๆ แล้ว คือ พล.อ.ประยุทธ์ เกรงจะโดนฟ้องตามหลังมา ที่ย่อมมี ‘คนผิดหวัง’ ในการแต่งตั้งโยกย้าย เพราะเมื่อปี 2565 เคยมีการฟ้อง ก.ตร. และ นายกฯ กับ ‘ศาลปกครองกลาง’ มาแล้ว ที่ในขณะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ระหว่างถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ชั่วคราว จึงเป็น ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นผู้รักษาราชการแทน ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ก.ตร.
ที่สุดท้าย ‘ศาลปกครองกลาง’ สั่งเพิกถอนประกาศสำนักนายกฯ แต่งตั้งโยกย้ายตำรวจปี 2565 เหตุมติ ก.ตร. โยกย้ายแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมสั่งให้ ก.ตร. ประชุมพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ลงมาถึง ผบก. ประจำปี 2565 ใหม่
นอกจากนี้เบื้องหลังที่ ‘บิ๊กตู่’ ไม่พิจารณาโผนายพล ตร. ครั้งนี้ ว่ากันว่ามีการ ‘สอดไส้’ เข้ามา ทำให้ ‘บิ๊กตู่’ ไม่อยากโดนฟ้องร้อง หลังลงจากตำแหน่งนายกฯ ไปแล้ว นั่นคือ ‘บิ๊กตู่’ ไม่ขอรับบท ‘นางแบก’ นั่นเอง เพราะภายหลังพรรคเพื่อไทยมาเป็น ‘แกนนำตั้งรัฐบาล’ และได้อำนาจคุม ตร. ทำให้ ‘ดุลอำนาจ’ ภายในวงการ ตร. เปลี่ยนไปในรอบ 8 ปี ทำให้ในเวลานี้ สตช. ยังฝุ่นตลบ
อีกทั้ง ‘บิ๊กตู่’ โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบให้ใครมา ‘บีบ’ ด้วย เพราะมีการ ‘บีบ’ ในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการประชุมสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า ‘บอร์ดย่อย’ ใหม่ และประชุมบอร์ ก.ตร. ที่เป็น ‘บอร์ดใหญ่’ เพื่อเคาะโผนายพล ตร. อีกครั้ง ภายในเดือน ก.ย.นี้
ล่าสุดหนึ่งใน ก.ตร. นั่นคือ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ โพสต์เฟซบุ๊กความตอนหนึ่งถึงผู้มีอำนาจในหารแต่งตั้งโยกยย้ายว่า “อย่าได้ดำเนินการในลักษณะที่อาจถูกล่าวหาได้ว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีการแทรกแซง ไม่มีการประชุมถกแถลง เปรียบเทียบคุณสมบัติผลการปฏิบัติงานของผู้เหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล จัดประชุมพอเป็นพิธี ลงชื่อไว้ในกระดาษใบสุดท้ายรายงานการประชุมก่อนล่วงหน้า หรือตกแต่งจัดเรียงบัญชีลำดับผู้เหมาะสมตามใบสั่งหน่วยเหนือ ผมต้องการให้มีการพิจารณาผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน มีอาวุโส และมีความรู้ความสามารถ ต้องได้รับการพิจารณาเลื่อนตำรวจสูงขึ้นในหน่วยที่ดำรงตำแหน่งอยู่หรือในหน่วยที่มีความเหมาะสม”
สำหรับแคนดิเดต ผบ.ตร. มี 4 คน เรียงตามอาวุโส ได้แก่ ‘บิ๊กรอย’ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เกษียณฯปี 2567 ‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2574 ‘บิ๊กต่าย’ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2569 และ ‘บิ๊กต่อ’ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. เกษียณฯ ปี 2567