หลัง 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลฝ่าด่าน ‘ทดสอบจิตใจ’ ในศึกชิงเก้าอี้ ‘ประธานสภาฯ’ วาระสำคัญที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ คือ ‘การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี’ กางไทม์ไลน์คาดว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 13 ก.ค. 66 โฉมหน้าแคนดิเดตนายกฯ ที่ต้องถูกเสนอเข้าชิงตำแหน่งแน่ๆ ไม่พ้นชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ พรรคก้าวไกล จากแต้มบุญจากประชาชน ที่มีในกระเป๋ามากที่สุด 151 คะแนน ภารกิจหลักที่ต้องลุ้นต่อไป คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ‘หักด่าน ส.ว.’ ที่มี 250 อรหันต์ยืนตระหง่านเป็นทวารบาลกั้นประตูสู่เก้าอี้ ‘สร.1’
แม้จะมีรายงานการต่อรองเจรจา จนเกิดการปล่อยข่าวว่า จำนวนวุฒิสภาที่สนับสนุน ‘รัฐบาลในฝัน’ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จะได้ถึงหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ‘ยังอีกยาวไกล’ เพราะสภาสูงผู้ทรงเกียรติ (ส่วนใหญ่) ยังตั้งแง่กับเงื่อนไขประการสำคัญอย่างการแก้ไข มาตรา 112 ของพรรคส้ม
ตัวแปรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัจจัยให้เกิดการเขียน ‘ฉากทัศน์’ ขึ้นมากมาย ซึ่งสามารถฉายภาพให้เห็นหลายกรณี ทุกสิ่งล้วนสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะป็อก 9 หรือบอดกิน
ผู้เขียนชวน ‘ดร.สุริยะใส กตะศิลา’ คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต มาวิเคราะห์ทิศทางลม หลังปรากฏการณ์ชิงเจ้าสภาจบสิ้น...มีหลายอย่างที่ต้องมองข้ามช็อตเพื่อความเข้าใจ
อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง (กลุ่ม กปปส.) ผู้ช่ำชอง ที่ปัจจุบันมองบ้านเมืองผ่านเลนส์นักวิชาการคิดว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันโหวตเลือกนายกฯ (นับหลังการโหวตเลือกประธานสภาฯ) จะออกมาได้ 4 ฉากทัศน์
“มันอยู่ที่การชิงไหวพริบหลังคุณพิธาไม่ผ่านในรอบแรก ถึงตอนนั้นจะเป็นบทพิสูจน์ว่า เอ็มโอยูจะเหนียวแน่นไปได้กี่น้ำ จะโหวตให้ก้าวไกลต่ออีกกี่ครั้ง หรือใครจะเป็นคนตัดสินจำนวนครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่า ถ้าไม่ได้พิธารอบแรกอาจแพแตก หรืออาจจะเกิดการทบทวนจุดยืนใหม่ สมการการเมืองอาจจะเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได้”
เมื่อถามว่า ฉากทัศน์แบบไหนที่มีความเป็นไปได้ และเป็นทางออกให้กับประเทศได้มากที่สุด สุริยะใสมองว่า ส่วนตัวอยากเห็นฉากทัศน์ที่ 3 คือ การที่พรรคก้าวไกล สามารถทำงานร่วมกับพรรคขั้วอนุรักษ์นิยม (บางพรรค) แม้จะไม่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้บริหารกระทรวงสำคัญ เพื่อทำการเมืองแบบใหม่ ผ่านการพิสูจน์ผลงานในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งแนวทางนี้จะดีกว่า ‘คิดแบบสุดโต่ง’ ถอนตัวไปเป็นฝ่ายค้าน แล้วหวังแลนด์สไลด์ในอีก 4 ปีข้างหน้า
เหตุผลที่หยิบยกมา เป็นไปตามแนวคิดการเมืองไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน ที่มิอาจมองไกลได้เนื่องจากสถานการณ์ที่ผันผวนแปรเปลี่ยนได้ทุกวัน แต่ความท้าทายที่พรรคก้าวไกลต้อง ‘เคลียร์ล็อก’ คือการประกาศตัว ‘มีลุงไม่มีเรา’ อย่างไรก็ดี ระยะหลังในการร่วมสัญญาใจกับพรรคพันธมิตร ก้าวไกลได้แสดงให้เห็นถึงความพยายาม การมีวุฒิภาวะทางการเมืองที่โดดเด่น ‘มีรุกมีรับ’ เพราะ ‘ยิ่งรุกมากแรงต้านยิ่งเยอะ’
“ก้าวไกลต้องเรียนรู้ที่จะทำงานกับคนเห็นต่าง คุณพูดเองว่าจะเป็นรัฐบาลของทุกคน บางสิ่งที่ล่อแหลมก็ต้องเอาออกเพื่อให้ทุกอย่างไปข้างหน้าต่อ้ ซึ่งการเมืองมันตกลงกันได้ ไม่ว่าจะออกสูตรไหนก็แล้วแต่ สิ่งที่ผมอยากเห็น คือสภาต้องหยุดการลงถนน เพราะทุกพรรคต่างสร้างเงื่อนไขล็อกตัวเอง บ้านเมืองจะวุ่นวายหากต่างฝ่ายคลายล็อก” กล่าวทิ้งท้าย
ชวนคิด อะไรคือจุดเริ่มต้นหายนะทางการเมือง ระหว่างโลกกำลังเข้าสู่ยุคดิสรัปชัน หรือรัฐธรรมนูญถูกออกแบบให้เป็ ‘กับดัก’ นักเลือกตั้ง ผู้อ่านตอบในใจดังๆ ได้เลย...เพราะผู้ใหญ่เขาไม่ได้ยิน
แม้จะมีรายงานการต่อรองเจรจา จนเกิดการปล่อยข่าวว่า จำนวนวุฒิสภาที่สนับสนุน ‘รัฐบาลในฝัน’ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จะได้ถึงหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ‘ยังอีกยาวไกล’ เพราะสภาสูงผู้ทรงเกียรติ (ส่วนใหญ่) ยังตั้งแง่กับเงื่อนไขประการสำคัญอย่างการแก้ไข มาตรา 112 ของพรรคส้ม
ตัวแปรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัจจัยให้เกิดการเขียน ‘ฉากทัศน์’ ขึ้นมากมาย ซึ่งสามารถฉายภาพให้เห็นหลายกรณี ทุกสิ่งล้วนสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะป็อก 9 หรือบอดกิน
ผู้เขียนชวน ‘ดร.สุริยะใส กตะศิลา’ คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต มาวิเคราะห์ทิศทางลม หลังปรากฏการณ์ชิงเจ้าสภาจบสิ้น...มีหลายอย่างที่ต้องมองข้ามช็อตเพื่อความเข้าใจ
อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง (กลุ่ม กปปส.) ผู้ช่ำชอง ที่ปัจจุบันมองบ้านเมืองผ่านเลนส์นักวิชาการคิดว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันโหวตเลือกนายกฯ (นับหลังการโหวตเลือกประธานสภาฯ) จะออกมาได้ 4 ฉากทัศน์
- การประชุมร่วม 2 สภาฯ (นัดแรก) จะเป็นการต่อสู้ระหว่าง ‘พิธา’ กับ ‘รัฐสภา’ โดยไม่มีพรรคการเมืองใดส่งคู่แข่งเข้าประลองเชิง ถ้าได้รับเสียงโหวตจาก ส.ส. - ส.ว. รวมกันได้มากกว่า 375 เสียงก็รั้งตำแหน่ง ‘เบอร์หนึ่งไทยคู่ฟ้า’ ทันที
- หากไม่ถึงฝั่งฝันตามฉากทัศน์แรก มี 2 จังหวะที่ต้องคิดต่อ หนึ่งเปิดโอกาสให้ ‘พิธา’ สู้ต่อ หรือสองพรรคพันธมิตรจะเสนอแคนดิเดตนายกฯ จาก ‘พรรคเพื่อไทย’ เข้าแข่งขันในฐานะพรรคลำดับที่สอง
- หากแคนดิเดตนายกฯ ของ ‘ก้าวไกล’ และ ‘เพื่อไทย’ ยังไม่สามารถฝ่าด่านสภาสูงได้ พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลอาจจำเป็นต้องจับมือกับ ‘ฝ่ายค้าน’ หรือขั้วรัฐบาลเดิม (บางส่วน) เพื่อปิดสวิสซ์ ส.ว.
- ฝ่ายค้าน (ขั้วรัฐบาลเดิม) เสนอแข่ง โดยมี ‘เพื่อไทย’ หรือพรรคในพรรคร่วมจัดตั้งรัฐ ร่วมจับมือภายใต้การเสนอชื่อ ‘พลเอกประวิตร’ ส่งผลให้ ‘ก้าวไกล’ ถูกผลักเป็นฝ่านค้านทันที แต่หากเกิดกรณีที่ไม่จับ ก็อาจจะออกสมการ ‘รัฐบาลเสียงข้างน้อย’
“มันอยู่ที่การชิงไหวพริบหลังคุณพิธาไม่ผ่านในรอบแรก ถึงตอนนั้นจะเป็นบทพิสูจน์ว่า เอ็มโอยูจะเหนียวแน่นไปได้กี่น้ำ จะโหวตให้ก้าวไกลต่ออีกกี่ครั้ง หรือใครจะเป็นคนตัดสินจำนวนครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่า ถ้าไม่ได้พิธารอบแรกอาจแพแตก หรืออาจจะเกิดการทบทวนจุดยืนใหม่ สมการการเมืองอาจจะเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได้”
เมื่อถามว่า ฉากทัศน์แบบไหนที่มีความเป็นไปได้ และเป็นทางออกให้กับประเทศได้มากที่สุด สุริยะใสมองว่า ส่วนตัวอยากเห็นฉากทัศน์ที่ 3 คือ การที่พรรคก้าวไกล สามารถทำงานร่วมกับพรรคขั้วอนุรักษ์นิยม (บางพรรค) แม้จะไม่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้บริหารกระทรวงสำคัญ เพื่อทำการเมืองแบบใหม่ ผ่านการพิสูจน์ผลงานในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งแนวทางนี้จะดีกว่า ‘คิดแบบสุดโต่ง’ ถอนตัวไปเป็นฝ่ายค้าน แล้วหวังแลนด์สไลด์ในอีก 4 ปีข้างหน้า
เหตุผลที่หยิบยกมา เป็นไปตามแนวคิดการเมืองไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน ที่มิอาจมองไกลได้เนื่องจากสถานการณ์ที่ผันผวนแปรเปลี่ยนได้ทุกวัน แต่ความท้าทายที่พรรคก้าวไกลต้อง ‘เคลียร์ล็อก’ คือการประกาศตัว ‘มีลุงไม่มีเรา’ อย่างไรก็ดี ระยะหลังในการร่วมสัญญาใจกับพรรคพันธมิตร ก้าวไกลได้แสดงให้เห็นถึงความพยายาม การมีวุฒิภาวะทางการเมืองที่โดดเด่น ‘มีรุกมีรับ’ เพราะ ‘ยิ่งรุกมากแรงต้านยิ่งเยอะ’
“ก้าวไกลต้องเรียนรู้ที่จะทำงานกับคนเห็นต่าง คุณพูดเองว่าจะเป็นรัฐบาลของทุกคน บางสิ่งที่ล่อแหลมก็ต้องเอาออกเพื่อให้ทุกอย่างไปข้างหน้าต่อ้ ซึ่งการเมืองมันตกลงกันได้ ไม่ว่าจะออกสูตรไหนก็แล้วแต่ สิ่งที่ผมอยากเห็น คือสภาต้องหยุดการลงถนน เพราะทุกพรรคต่างสร้างเงื่อนไขล็อกตัวเอง บ้านเมืองจะวุ่นวายหากต่างฝ่ายคลายล็อก” กล่าวทิ้งท้าย
ชวนคิด อะไรคือจุดเริ่มต้นหายนะทางการเมือง ระหว่างโลกกำลังเข้าสู่ยุคดิสรัปชัน หรือรัฐธรรมนูญถูกออกแบบให้เป็ ‘กับดัก’ นักเลือกตั้ง ผู้อ่านตอบในใจดังๆ ได้เลย...เพราะผู้ใหญ่เขาไม่ได้ยิน