เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 91 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร ถนนทางการเมืองไทยก็เข้าสู่สนามการแข่งขันอย่างเท่าเทียมเยี่ยงสากลโลก การต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองขับเคี่ยวต่างๆ ดุเดือดเลือดพร่านมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะฤดู ‘เลือกตั้ง’ ที่ต่างฝ่ายต่างงัดกลเม็ดเพื่อชิงชัย ตั้งแต่ไก่โห่
สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ วันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ถือเป็นชี้ชะตากรรมประเทศไทยครั้งใหญ่ มีการทำนายทายทักถึงผลการเลือกตั้งออกมากันอย่างโจ๋งครึ่ม ถึงสถานะหลังการนับคะแนนของพรรคต่างๆ
โฟกัสมากหน่อยคงเป็น แกนนำขั้วอำนาจจัดตั้งรัฐบาลอย่าง ‘พลังประชารัฐ’ ที่รอบนี้ส่ง ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ เป็นแคนดิเดตชิงเบอร์หนึ่งไทยคู่ฟ้า แทน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ที่ปัจจุบันเลือกเดินต่อ ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ที่รอบนี้มีแวว ‘แบ่งแต้ม’ กันเองไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขณะที่ฝ่ายค้านในอดีตกลับมีกระแสนิยมจากประชาชนอย่างล้นหลาม จากผลสำรวจสำนักต่างๆ
คอการเมืองหลายคนจึงฟันธง ว่าการตอบรับของของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงต่อ พรรคพลังประชารัฐที่ขาดทั้งกระแส ‘บิ๊กตู่’ และ ‘บ้านใหญ่’ มุ้งต่างๆ ที่ทยอยลาออกไป อาจถึงคราวล่มสลายลงตามทฤษฎี ‘พรรคชั่วคราว’ ล้วน ‘ไม่ยั่งยืน’
ว่ากันด้วยประวัติศาสตร์การเมืองสักหนึ่งถึงสองย่อหน้าสั้นๆ ถึงปรากฏการณ์การจัดตั้งพรรคทหารจำแลงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 5 ครั้งใหญ่ๆ ผู้เขียนขอหยิบยกการเข้าสืบทอดอำนาจยุคปฐมฤกษ์ สมัย ‘จอมพล ป.พิบูลสงคราม’ ที่ก่อตั้ง ‘พรรคเสรีมนังคสิลา’ เข้าสู้ศึกเลือกตั้งหลังเป็นนายกฯ ด้วยการรัฐประหารต่อเนื่องมาหลายปี เและได้รับเลือกเลือกตั้งเป็นรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500
ให้หลังไม่กี่วัน นิสิตนักศึกษาก็ออกมาชุมนุม เนื่องจากมีการทุจริตระหว่างเลือกตั้ง ทำให้ ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลา และผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ทำการเข้ายึดอำนาจจอมพล ป. ซึ่งต่อมา พรรสหภูมิ-พรรคชาติสังคมของจอมพลสฤษดิ์ ที่เข้ามาหลังการเลือกตั้งใหม่ก็ล่มสลาย ด้วยปัญหาต่างๆ นานา ความอลม่านในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น อีก 2-3 ครั้งใหญ่ ครั้งสุดท้ายเป็นการล่มสลายของ ‘พรรคสามัคคีธรรม’ ของ ‘พลเอกสุจินดา คราประยูร’ เจ้าของวลีเสียสัตย์เพื่อชาติ หลังการต่อต้านครั้งใหญ่ของประชาชนในเหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ (2535)
อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2562 ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ก็เข้ามาในรูปแบบการสืบทอดอำนาจ ‘รัฐบาล คสช.’ ชูพลเอกประยุทธ์ ขึ้นเป็นนายกฯ ต่อ จนเกิดกระบวนการทางการเมืองที่พิสดาร ทั้งจากรัฐธรรมนูญฉบ้บปี 2560 ที่ให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และกระบวนการ 8 ทิศ ใช้องค์กรอิสระเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ทำให้ ‘ประยุทธ์’ กลับมาเป็นนายกฯ ผ่านระบบการคัดเลือกตามกฎหมาย
แต่ความจีรังไม่มีจริง เมื่อ ‘บิ๊กตู่’ ประกาศเปิดศึกทางการเมืองกับ ‘บิ๊กป้อม’ แยกตัวฉายเดียวไปเป็น ‘ลุงตู่’ ของ ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ ผนวกกับ ‘บ้านใหญ่’ หลายมุ้งทยอยโบกมืออำลา พปชร. ‘บ้านป่ารอยต่อ’ ย่อมระส่ำ
ผู้เขียนได้พูดคุยกับ ‘รศ.ดร.โคทม อารียา’ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ซึ่งในฐานะคอลัมส์นิสต์การเมืองสื่อหลายฉบับ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า สำหรับพรรคพลังประชารัฐก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อยู่ เพราะด้วยทั้งอำนาจพิเศษของ ‘ส.ว.’ ที่แบ่งกันคนละครึ่งกับพลเอกประยุทธ์ และวิธีการจับมือร่วมดีลต่างๆ ที่พรรคพยายามสร้างภาพ ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ จะเป็นการต่อชีวิตไปได้ระดับนึง ซึ่งนักวิชาการอาวุโส ระบุเพิ่มว่า พรรคเฉพาะกิจตอนนี้ไม่ได้มีแค่ ‘พปชร.’ ของบิ๊กป้อม เพียงพรรคเดียวที่ไม่มั่นคง แต่คือ ‘รทสช.’ ของบิ๊กตู่ ที่ตกอยู่ในความลำบากด้วย
“ความจริงพรรคเฉพาะกิจ คือพรรคที่ยึดโยงกับแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม มีฐานเสียงข้าราชการและกองทัพเป็นหลัก อย่าง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เองก็เหมือน ‘พลังประชารัฐ’ ที่ในอดีตทหวังกระแสสจากพลเอกประยุทธ์อย่างเดียว ซึ่งกระแสดังกล่าวก็ไม่ได้ยั่งยืนอะไร ยิ่งโลกเปลี่ยนแปลง พลเอกประยุทธ์ยังยึดติดกับแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ผู้นำตกรุ่นคนก็ไม่เลือกพรรค”
เมื่อถามว่าทั้งสองพรรคจะสามารถแปรเปลี่ยนจากพรรคเฉพาะกิจเป็นสถาบันทางการเมืองได้หรือไม่ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่า ส่วนตัวมองว่าไม่มีพรรคไหนในประเทศไทยเป็นสถาบันการเมือง อย่าง ‘ประชาธิปัตย์’ ก็แค่พรรคที่อยู่มานานเท่านั้น ในส่วนี่พรรคพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ ต่างพยายามพูดว่าตนเป็นสถาบันทางการเมืองก็เพื่อปิดจุดบอดความเป็น ‘ของชั่วคราว’ เท่านั้น
“การที่ทั้งพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติพยายามบอกว่าตัวเองเป็นสถาบันทางการเมือง มันเหมือนกับเขาพยายามสร้างธงการเป็นผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมอยู่ เพราะฐานเสียงทั้งสองเป็นคนกลุ่มเดียวกันเหมือนกัน ซึ่งคำว่าสถาบันทางการเมืองเป็นแค่วาทะกรรมที่ใช้ในการหาเสียงเท่านั้นไม่ได้ยั่งยืนอะไร”
ในส่วนประเด็น 2 พรรคเฉพาะกิจจะมีโอกาสกลับมาได้ไหม รศ.ดร.โคทม มองว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมการตัวเลข ถ้าพลังประชารัฐกับรวมไทยสร้างชาติได้คะแนนจากการเลือกตั้งทั่วไป ประมาณ 250 เก้าอี้และใช้อำนาจ ส.ว. เข้าช่วยก็อาจได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ต้องตกลงกันเองว่าใครจะเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ แต่พลเอกประวิตรอาจมีโอกาสมากกว่า เพราะมีขั้วให้จับมือมากกว่าพลเอกประยุทธ์
ท้ายที่สุด รศ.ดร.โคทม กล่าวทิ้งท้ายบทสนทนา ว่าสำหรับการเลือกตั้งยุคใหม่ ประชาชนไม่ได้ใส่ใจเรื่องศัพท์เทคนิค ว่า ‘พรรคเฉพาะกิจ’ หรือ ‘สถาบันทางการเมือง’ ทุกคนล้วนมีปัจจัยการเลือกตามความเชื่อของตัวเอง ไม่ได้คิดว่าใครจะอยู่ยาวแค่ไหน เลือกตั้งครั้งนี้คือการตัดสินเฉพาะหน้าคราวปัจจุบันเท่านั้น...ทุกสิ่งล้วนเป็น ‘อนิจจัง’
ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ทุกอย่างอยู่ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขอให้ใช้ดุลพินิจคิดสะระตะกันเอาเอง
สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ วันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ถือเป็นชี้ชะตากรรมประเทศไทยครั้งใหญ่ มีการทำนายทายทักถึงผลการเลือกตั้งออกมากันอย่างโจ๋งครึ่ม ถึงสถานะหลังการนับคะแนนของพรรคต่างๆ
โฟกัสมากหน่อยคงเป็น แกนนำขั้วอำนาจจัดตั้งรัฐบาลอย่าง ‘พลังประชารัฐ’ ที่รอบนี้ส่ง ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ เป็นแคนดิเดตชิงเบอร์หนึ่งไทยคู่ฟ้า แทน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ที่ปัจจุบันเลือกเดินต่อ ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ที่รอบนี้มีแวว ‘แบ่งแต้ม’ กันเองไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขณะที่ฝ่ายค้านในอดีตกลับมีกระแสนิยมจากประชาชนอย่างล้นหลาม จากผลสำรวจสำนักต่างๆ
คอการเมืองหลายคนจึงฟันธง ว่าการตอบรับของของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงต่อ พรรคพลังประชารัฐที่ขาดทั้งกระแส ‘บิ๊กตู่’ และ ‘บ้านใหญ่’ มุ้งต่างๆ ที่ทยอยลาออกไป อาจถึงคราวล่มสลายลงตามทฤษฎี ‘พรรคชั่วคราว’ ล้วน ‘ไม่ยั่งยืน’
ว่ากันด้วยประวัติศาสตร์การเมืองสักหนึ่งถึงสองย่อหน้าสั้นๆ ถึงปรากฏการณ์การจัดตั้งพรรคทหารจำแลงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 5 ครั้งใหญ่ๆ ผู้เขียนขอหยิบยกการเข้าสืบทอดอำนาจยุคปฐมฤกษ์ สมัย ‘จอมพล ป.พิบูลสงคราม’ ที่ก่อตั้ง ‘พรรคเสรีมนังคสิลา’ เข้าสู้ศึกเลือกตั้งหลังเป็นนายกฯ ด้วยการรัฐประหารต่อเนื่องมาหลายปี เและได้รับเลือกเลือกตั้งเป็นรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500
ให้หลังไม่กี่วัน นิสิตนักศึกษาก็ออกมาชุมนุม เนื่องจากมีการทุจริตระหว่างเลือกตั้ง ทำให้ ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลา และผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ทำการเข้ายึดอำนาจจอมพล ป. ซึ่งต่อมา พรรสหภูมิ-พรรคชาติสังคมของจอมพลสฤษดิ์ ที่เข้ามาหลังการเลือกตั้งใหม่ก็ล่มสลาย ด้วยปัญหาต่างๆ นานา ความอลม่านในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น อีก 2-3 ครั้งใหญ่ ครั้งสุดท้ายเป็นการล่มสลายของ ‘พรรคสามัคคีธรรม’ ของ ‘พลเอกสุจินดา คราประยูร’ เจ้าของวลีเสียสัตย์เพื่อชาติ หลังการต่อต้านครั้งใหญ่ของประชาชนในเหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ (2535)
อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2562 ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ก็เข้ามาในรูปแบบการสืบทอดอำนาจ ‘รัฐบาล คสช.’ ชูพลเอกประยุทธ์ ขึ้นเป็นนายกฯ ต่อ จนเกิดกระบวนการทางการเมืองที่พิสดาร ทั้งจากรัฐธรรมนูญฉบ้บปี 2560 ที่ให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และกระบวนการ 8 ทิศ ใช้องค์กรอิสระเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ทำให้ ‘ประยุทธ์’ กลับมาเป็นนายกฯ ผ่านระบบการคัดเลือกตามกฎหมาย
แต่ความจีรังไม่มีจริง เมื่อ ‘บิ๊กตู่’ ประกาศเปิดศึกทางการเมืองกับ ‘บิ๊กป้อม’ แยกตัวฉายเดียวไปเป็น ‘ลุงตู่’ ของ ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ ผนวกกับ ‘บ้านใหญ่’ หลายมุ้งทยอยโบกมืออำลา พปชร. ‘บ้านป่ารอยต่อ’ ย่อมระส่ำ
ผู้เขียนได้พูดคุยกับ ‘รศ.ดร.โคทม อารียา’ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ซึ่งในฐานะคอลัมส์นิสต์การเมืองสื่อหลายฉบับ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า สำหรับพรรคพลังประชารัฐก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อยู่ เพราะด้วยทั้งอำนาจพิเศษของ ‘ส.ว.’ ที่แบ่งกันคนละครึ่งกับพลเอกประยุทธ์ และวิธีการจับมือร่วมดีลต่างๆ ที่พรรคพยายามสร้างภาพ ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ จะเป็นการต่อชีวิตไปได้ระดับนึง ซึ่งนักวิชาการอาวุโส ระบุเพิ่มว่า พรรคเฉพาะกิจตอนนี้ไม่ได้มีแค่ ‘พปชร.’ ของบิ๊กป้อม เพียงพรรคเดียวที่ไม่มั่นคง แต่คือ ‘รทสช.’ ของบิ๊กตู่ ที่ตกอยู่ในความลำบากด้วย
“ความจริงพรรคเฉพาะกิจ คือพรรคที่ยึดโยงกับแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม มีฐานเสียงข้าราชการและกองทัพเป็นหลัก อย่าง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เองก็เหมือน ‘พลังประชารัฐ’ ที่ในอดีตทหวังกระแสสจากพลเอกประยุทธ์อย่างเดียว ซึ่งกระแสดังกล่าวก็ไม่ได้ยั่งยืนอะไร ยิ่งโลกเปลี่ยนแปลง พลเอกประยุทธ์ยังยึดติดกับแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ผู้นำตกรุ่นคนก็ไม่เลือกพรรค”
เมื่อถามว่าทั้งสองพรรคจะสามารถแปรเปลี่ยนจากพรรคเฉพาะกิจเป็นสถาบันทางการเมืองได้หรือไม่ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่า ส่วนตัวมองว่าไม่มีพรรคไหนในประเทศไทยเป็นสถาบันการเมือง อย่าง ‘ประชาธิปัตย์’ ก็แค่พรรคที่อยู่มานานเท่านั้น ในส่วนี่พรรคพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ ต่างพยายามพูดว่าตนเป็นสถาบันทางการเมืองก็เพื่อปิดจุดบอดความเป็น ‘ของชั่วคราว’ เท่านั้น
“การที่ทั้งพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติพยายามบอกว่าตัวเองเป็นสถาบันทางการเมือง มันเหมือนกับเขาพยายามสร้างธงการเป็นผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมอยู่ เพราะฐานเสียงทั้งสองเป็นคนกลุ่มเดียวกันเหมือนกัน ซึ่งคำว่าสถาบันทางการเมืองเป็นแค่วาทะกรรมที่ใช้ในการหาเสียงเท่านั้นไม่ได้ยั่งยืนอะไร”
ในส่วนประเด็น 2 พรรคเฉพาะกิจจะมีโอกาสกลับมาได้ไหม รศ.ดร.โคทม มองว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมการตัวเลข ถ้าพลังประชารัฐกับรวมไทยสร้างชาติได้คะแนนจากการเลือกตั้งทั่วไป ประมาณ 250 เก้าอี้และใช้อำนาจ ส.ว. เข้าช่วยก็อาจได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ต้องตกลงกันเองว่าใครจะเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ แต่พลเอกประวิตรอาจมีโอกาสมากกว่า เพราะมีขั้วให้จับมือมากกว่าพลเอกประยุทธ์
ท้ายที่สุด รศ.ดร.โคทม กล่าวทิ้งท้ายบทสนทนา ว่าสำหรับการเลือกตั้งยุคใหม่ ประชาชนไม่ได้ใส่ใจเรื่องศัพท์เทคนิค ว่า ‘พรรคเฉพาะกิจ’ หรือ ‘สถาบันทางการเมือง’ ทุกคนล้วนมีปัจจัยการเลือกตามความเชื่อของตัวเอง ไม่ได้คิดว่าใครจะอยู่ยาวแค่ไหน เลือกตั้งครั้งนี้คือการตัดสินเฉพาะหน้าคราวปัจจุบันเท่านั้น...ทุกสิ่งล้วนเป็น ‘อนิจจัง’
ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ทุกอย่างอยู่ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขอให้ใช้ดุลพินิจคิดสะระตะกันเอาเอง