ที่มาของ Social Listening ฟังเสียงคนไทย เลือกตั้ง 2566

18 เม.ย. 2566 - 08:13

  • SPACEBAR ร่วมกับ SPACEBAR Dataops ได้จัดทำและรวบรวมคอนเทนต์เลือกตั้งในแคมเปญ SPACEBAR DATA VOTERS ฟังเสียงคนไทย เลือกตั้ง 66 ออกมาเป็น Microsite แคมเปญ www.datavoters2023.spacebar.th

Tagcloud_101-Social-Listening-SPACEBAR-Thumbnail
SPACEBAR ร่วมกับ SPACEBAR Dataops ได้จัดทำและรวบรวมคอนเทนต์เลือกตั้งในแคมเปญ SPACEBAR DATA VOTERS ฟังเสียงคนไทย เลือกตั้ง 66 ออกมาเป็น Microsite แคมเปญ www.datavoters2023.spacebar.th 

โดยในส่วนของ Social Listening ทีม SPACEBAR Dataops ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย ด้วยเครื่องมือ Social Listening ที่สามารถเก็บข้อมูลได้นับหลายล้านเสียงจากทุกแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, ยูทูป, อินสตาแกรม, เว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ โดยระบบ Social Listening นั้นอัพเดทข้อมูลตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทำให้ทราบทุกความเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดียได้อย่างทันท่วงที
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2K6gZ4ppoPIvkSGyeJOUat/414fca5f34f6f2e34072149d066fff50/INFO-Tagcloud_101-Social-Listening
การดึงข้อมูลของ Microsite:  Datavoter2023 ของ SPACEBAR นั้น ทีมจะใช้วิธีการดึงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ‘การเลือกตั้ง’ ได้แก่  
  • ชื่อพรรคการเมืองทั้งหมด 9 พรรค ที่น่าจับตามอง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคก้าวไกล, พรรคภูมิใจไทย, พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาธิปัตย์ 
  • รายชื่อแคนดิเดต  (ผู้สมัคร)  
  • นโยบายของแต่ละพรรค  
  • รวมไปถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมากที่สุด  
ทีมเริ่มทำการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศยุบสภา และเก็บเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่ยังมีการหาเสียงเลือกตั้งอยู่ โดยแสดงผลเป็น 7 วันย้อนหลังกับวันปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าเป็นการเก็บข้อมูลการพูดถึงและมีส่วนร่วมจากโซเชียลมีเดียโดยรวมไม่ใช่ในลักษณะของโพลสำรวจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น 

โดยข้อมูลที่ได้จากระบบ Social Listening ทางทีม SPACEBAR Dataops จะนำมากรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งออก โดยผ่านกระบวนการทางการจัดการข้อมูลของระบบและทีมงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด แล้วจึงนำมาแสดงผลที่หน้าเว็บไซต์
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3cj0VvNZ7rjCk7mXkQiVRg/2587f010f5be23105d1508675001851d/Screenshot_2566-04-17_at_16.33.18

การแสดงผลของข้อมูลทำออกมาเป็นลักษณะของกราฟ 

กราฟแนวตั้ง: แสดงจำนวนของ ข้อความ (Mention) และการมีส่วนร่วมต่อโพสต์ (Engagement)  
กราฟแนวนอน: แสดงวันที่ 

โดยมีปุ่ม (Button) ฟิลเตอร์ตามชื่อพรรคที่ต้องการดูข้อมูลแยกตามแต่ละพรรค และสามารถเปลี่ยนจากดูข้อมูลจากพรรคเป็นดูข้อมูลจากผู้สมัครได้ทันทีจากปุ่มด้านขวาบน  

โดยเมื่อเอาเมาส์ชี้ที่เส้นกราฟจะแสดงผลชื่อและยอดข้อความ , การมีส่วนร่วม ได้อีกทาง 

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทีม SPACEBAR Dataops สามารถวิเคราะห์ได้ตั้งแต่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย และ ทัศนคติและความคิดเห็นต่างๆ ทั้งเชิงบวก (Positive) และ เชิงลบ (Negative) ของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้  

โดยท่านสามารถอ่านบทวิเคราะห์ของ Data Listening เพิ่มเติมได้ที่: ฟังเสียงคนไทย แคนดิเดตนายกฯ ที่ถูกพูดถึงมากสุดช่วงสงกรานต์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์