หากจัดอันดับสถิติโลก ประเทศไทยมีการรัฐประหาร 13 ครั้ง มากที่สุดเป็นอันดับที่ 4
รองจากประเทศโบลิเวีย (17 ครั้ง) ปารากวัย (17 ครั้ง) และเฮติ (16 ครั้ง)
แต่ถ้านับเฉพาะช่วงหลังของประวัติศาสตร์ ปักหมุดที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศไทยจะครองตำแหน่งแชมป์โลกทำรัฐประหาร แซงหน้าทั้งสามประเทศข้างต้น
หากนับเวลาบนเข็มนาฬิกา ประเทศไทยคือประเทศจาก Top 4 ที่ทำรัฐประหารเป็นประเทศล่าสุด คือเมื่อ พ.ศ.2557 (ปี 2014)
หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ ที่เพิ่งทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2564 (ปี 2021) ก็มีสถิติรัฐประหารเพียง 3 ครั้ง (แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าดีใจ เพราะสะท้อนว่าคณะทหารที่รัฐประหารรักษาอำนาจได้ยาวนาน)
กลับมาที่ประเทศไทย รัฐประหารทั้ง 13 ครั้ง หากมองในภาพกว้างคือการช่วงชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำ โดยมีเหตุผลที่ใช้อ้างในการทำรัฐประหารแต่ละครั้ง เช่น เพื่อจัดระเบียบรัฐบาล ขจัดภัยคอมมิวนิสต์ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง
ซึ่งเหตุผลในการรัฐประหาร 3 ครั้งล่าสุดใน พ.ศ.2534, พ.ศ.2549, พ.ศ.2557 หนึ่งในข้ออ้างที่คณะรัฐประหารใช้ก่อเหตุมาจากตัวนักการเมืองที่บกพร่องด้านจริยธรรม
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์นักข่าวจาก 'ข่าวสด' เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ถึงประเด็นโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารอีกครั้งว่า
“รัฐบาลใหม่ฝ่ายประชาธิปไตยอย่าพลาดแล้วกัน ยกตัวอย่างเช่น อย่าทุจริตคอร์รัปชัน อย่าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้กลับเข้ามา ให้เขาไปสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของประชาธิปไตยได้ ต้องร่วมช่วยกันปกป้อง”
หากย้อนไปดูเหตุผลการรัฐประหารครั้งล่าสุด จากเอกสารใบปลิวที่ทหารแจกให้ประชาชน ถึง 10 เหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจ จะพบว่าหนึ่งในเหตุผลนั้นคือ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
ทุกๆ ครั้งที่เกิดการรัฐประหาร ประวัติศาสตร์บอกเราว่า คณะผู้ก่อการมีเหตุผลในการก่อเหตุเสมอ โดยมีหัวใจสำคัญที่การรักษาความสงบเรียบร้อย จัดระเบียบและปฏิรูปสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ส่วนการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ช่วยก่อร่างสร้างสังคมให้ดีขึ้นหรือไม่ เวลา 8 ปีกว่าที่ คสช. และรัฐบาลที่มีผู้นำและสมาชิกจาก คสช. เข้ามาบริหารประเทศ คงจะเป็นคำตอบ
และเหนืออื่นใด ผลการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม จะตอบเองว่า คนไทยส่วนใหญ่โอเคกับการรัฐประหาร และผลพวงหลังจากนั้นหรือไม่
วันนั้นประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจจะส่งเสียง และนักการเมืองที่ชอบโมเมเข้าข้างตัวเองไปวันๆ จะต้องเงี่ยหูฟัง
รองจากประเทศโบลิเวีย (17 ครั้ง) ปารากวัย (17 ครั้ง) และเฮติ (16 ครั้ง)
แต่ถ้านับเฉพาะช่วงหลังของประวัติศาสตร์ ปักหมุดที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศไทยจะครองตำแหน่งแชมป์โลกทำรัฐประหาร แซงหน้าทั้งสามประเทศข้างต้น
หากนับเวลาบนเข็มนาฬิกา ประเทศไทยคือประเทศจาก Top 4 ที่ทำรัฐประหารเป็นประเทศล่าสุด คือเมื่อ พ.ศ.2557 (ปี 2014)
หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ ที่เพิ่งทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2564 (ปี 2021) ก็มีสถิติรัฐประหารเพียง 3 ครั้ง (แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าดีใจ เพราะสะท้อนว่าคณะทหารที่รัฐประหารรักษาอำนาจได้ยาวนาน)
กลับมาที่ประเทศไทย รัฐประหารทั้ง 13 ครั้ง หากมองในภาพกว้างคือการช่วงชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำ โดยมีเหตุผลที่ใช้อ้างในการทำรัฐประหารแต่ละครั้ง เช่น เพื่อจัดระเบียบรัฐบาล ขจัดภัยคอมมิวนิสต์ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง
ซึ่งเหตุผลในการรัฐประหาร 3 ครั้งล่าสุดใน พ.ศ.2534, พ.ศ.2549, พ.ศ.2557 หนึ่งในข้ออ้างที่คณะรัฐประหารใช้ก่อเหตุมาจากตัวนักการเมืองที่บกพร่องด้านจริยธรรม
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์นักข่าวจาก 'ข่าวสด' เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ถึงประเด็นโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารอีกครั้งว่า
“รัฐบาลใหม่ฝ่ายประชาธิปไตยอย่าพลาดแล้วกัน ยกตัวอย่างเช่น อย่าทุจริตคอร์รัปชัน อย่าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้กลับเข้ามา ให้เขาไปสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของประชาธิปไตยได้ ต้องร่วมช่วยกันปกป้อง”
หากย้อนไปดูเหตุผลการรัฐประหารครั้งล่าสุด จากเอกสารใบปลิวที่ทหารแจกให้ประชาชน ถึง 10 เหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจ จะพบว่าหนึ่งในเหตุผลนั้นคือ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
ทุกๆ ครั้งที่เกิดการรัฐประหาร ประวัติศาสตร์บอกเราว่า คณะผู้ก่อการมีเหตุผลในการก่อเหตุเสมอ โดยมีหัวใจสำคัญที่การรักษาความสงบเรียบร้อย จัดระเบียบและปฏิรูปสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ส่วนการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ช่วยก่อร่างสร้างสังคมให้ดีขึ้นหรือไม่ เวลา 8 ปีกว่าที่ คสช. และรัฐบาลที่มีผู้นำและสมาชิกจาก คสช. เข้ามาบริหารประเทศ คงจะเป็นคำตอบ
และเหนืออื่นใด ผลการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม จะตอบเองว่า คนไทยส่วนใหญ่โอเคกับการรัฐประหาร และผลพวงหลังจากนั้นหรือไม่
วันนั้นประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจจะส่งเสียง และนักการเมืองที่ชอบโมเมเข้าข้างตัวเองไปวันๆ จะต้องเงี่ยหูฟัง
