การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เต็มไปด้วยสารพัดตัวแปรที่จะกำหนดอนาคตของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกระแสจากโลกออนไลน์ อัลกอริธึม กติกาการเลือกตั้ง หรือแม้แต่อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) อีก 250 เสียง
ปีนี้เราได้เห็นบรรยากาศและหัวข้อดีเบตที่แตกต่างและหลากหลายมากขึ้น เช่น ประเด็นยกเลิกการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูปกองทัพ นโยบายแจกเงินดิจิทัล การแก้ไขรัฐธรรมนูญและมาตรา 112
อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจับตามองก็คือ เจเนอเรชันเอ็กซ์ (Generation X) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่น
ปีนี้เราได้เห็นบรรยากาศและหัวข้อดีเบตที่แตกต่างและหลากหลายมากขึ้น เช่น ประเด็นยกเลิกการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูปกองทัพ นโยบายแจกเงินดิจิทัล การแก้ไขรัฐธรรมนูญและมาตรา 112
อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจับตามองก็คือ เจเนอเรชันเอ็กซ์ (Generation X) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่น

หรือคนเจนเอ็กซ์จะเป็นผู้พลิกเกมครั้งนี้?

จากข้อมูลของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยกรมการปกครอง เราสามารถแบ่งกลุ่มตามเจเนอเรชันได้ 5 กลุ่ม คือ
-
Silent Generation (77 ปีขึ้นไป) จำนวน 2,533,098 คน (4.84%)
-
Baby Boomer (58-76 ปี) จำนวน 11,844,939 คน (22.64%)
-
Generation X (42-57 ปี) จำนวน 16,151,442 คน (30.87%)
-
Generation Y (26-41 ปี) จำนวน 15,103,892 คน (28.87%)
-
Generation Z (18-25 ปี) จำนวน 6,689,453 คน (12.78%)
จากสถิติดังกล่าว สามารถตีความได้ว่า
- ในแง่ปริมาณ Generation X มีจำนวนมากที่สุด (30.87%) ขณะที่ Silent Generation มีจำนวนน้อยที่สุด (4.84%)
- หากมองว่าคนที่มีความคิดก้าวหน้าส่วนใหญ่เป็นเจนซีกับเจนวาย เท่ากับว่ากลุ่มนี้จะมีจำนวนสูงถึง 21,793,345 คน (41.65%)
- ส่วนกลุ่มสูงอายุที่มีอายุ 58 ปีขึ้นไป ซึ่งก็คือ Baby Boomer และ Silent Generation มีมากถึง 14,378,037 คน (27.48%)
- Generation X (30.87%) จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
- แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าวัยกลางคนที่มีอายุประมาณ 40-60 ปี และคนสูงวัยจะเลือกพรรคอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายขวาเสมอไป เช่น
- อดีตแกนนำของพรรคอนาคตใหม่อย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล หรือแม้แต่ทิม พิธา หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ต่างก็เป็นคนเจนเอ็กซ์ที่มีความคิดก้าวหน้า (Progressive)

มองเจนเอ็กซ์ผ่านดาต้าและไทม์ไลน์สำคัญทางประวัติศาสตร์
- เจนเอ็กซ์เกิดในช่วงปี 2508-2523 ปัจจุบันมีอายุ 42-57 ปี
- เจนเอ็กซ์รุ่นแรกๆ เกิดในยุคการครองอำนาจของจอมพล ถนอม กิติขจร
- ผ่านยุคการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไทยทั้งหมด 20 คน
- เผชิญกับการรัฐประหารในไทยมาแล้ว 7 ครั้ง
- เกิดและเติบโตในช่วงเหตุการณ์สำคัญ เช่น
- เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา 6 ตุลาคม 2519
- เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านการสืบอำนาจของรสช.
- วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540
- กล่าวได้ว่าเจนเอ็กซ์เป็นคนรุ่นแรกที่ได้สัมผัสกับการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ หลังการสิ้นอำนาจของพลเอกสุจินดา คราประยูร

เลือกตั้ง 66: ศึกของคนต่างวัย?
การเลือกตั้งปี 62 เรียกได้ว่าเป็นศึกระหว่างฝ่ายต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช. และไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป กับฝ่ายขั้วตรงข้าม แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายพรรคที่ไม่ได้แสดงจุดยืนชัดเจนหรือกระทั่งเปลี่ยนมาสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ในภายหลัง จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ในที่สุดปี 62 ยังเป็นปีที่กลุ่ม First Voters หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก (อายุ 18-22 ปี) ถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยห่างหายจากการเลือกตั้งไปนานนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2557 โดยมีจำนวนสูงถึง 7,368,589 คน อย่างไรก็ตามในปี 2563 กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวเรียกร้องและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงกลุ่ม First Jobber ที่เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น การยุบพรรคอนาคตใหม่ การเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ การเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษา การต่อต้านการใช้ความรุนแรงของภาครัฐ รวมไปถึงการรวมตัวของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของรัฐบาล
สื่อมวลชนและนักวิชาการบางส่วนจึงมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการปะทะกันระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ แต่ทุกวันนี้เราคงไม่สามารถแปะป้ายคำนิยามของคนแต่ละรุ่นว่าเป็นอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยมแบบตีขลุมได้ง่ายๆ อีกต่อไป อาจเพราะเทคโนโลยีดิจิทัล โซเชียลมีเดีย หรือสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในวันนี้ ทำให้คนไทยมีมุมมองความคิดเห็นทางการเมืองหลากหลายเฉดมากยิ่งขึ้น ยิ่งการเลือกตั้งใกล้เข้ามา การประกาศจุดยืนของพรรคการเมืองก็เริ่มชัดเจนขึ้นว่าจะอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง เช่น ก้าวไกลและเพื่อไทยประกาศไม่จับมือกับ 2 ป. หรือพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ กับ ฝ่ายรัฐบาลที่ยืนหยัดว่าจะไม่จับมือกับพรรคที่มีนโยบายสุดโต่ง
การเลือกตั้งครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่อยากเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสให้พรรคอื่นเข้ามาบริหารประเทศบ้าง กับคนที่ยึดโยงกับอดีตและพึงพอใจในรัฐบาลปัจจุบัน
กลุ่ม Vote No และคนที่ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งอาจเป็นผู้ตัดสินที่แท้จริง
เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติการเลือกตั้งปี 2562 ที่ผ่านมา เราพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้- จำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 38,341,644 คน คิดเป็น 74.87% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 51,214,120 คน
- มีบัตรเสีย 2,137,762 ใบ
- มีบัตร Vote No 607,133 ใบ
อ้างอิง:
- ข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง
- หนังสือ “สงครามเย็น (ใน) ระหว่าง โบว์ขาว” โดย กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
- สถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562