#โหวตนายก แรงเบอร์ไหนในทวิตเตอร์ สะท้อนใจคนไทยคิดอะไร?

15 ก.ค. 2566 - 03:30

  • #โหวตนายก มาแรงบนทวิตเตอร์ นับถึง 14 กรกฎาคม มีการทวีตกว่า 5.7 ล้านข้อความ

  • #โหวตนายก เป็นแฮชแท็กที่มาแรงอันดับ 2 ในพ.ศ.2566 รองจาก #เลือกตั้ง66

TAGCLOUD-data-daily-trending-tweets-vote-pm-13-july-SPACEBAR-Hero
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3Al9CwtBvherHIJq9dA4Kw/0db5647a8a848931083e62acf9400151/SPB_Data-Daily__1_
กระแสการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เมื่อวาน (13 กรกฎาคม) เป็นประเด็นใหญ่ที่คนทั้งประเทศติดตาม ไม่ว่าจากฝั่งคนเชียร์พิธา และคนไม่เอาพิธา 

ทันทีที่เริ่มเปิดสภา อภิปราย ตอบข้อซักถาม จนกระทั่งโหวตเลือก และปิดสภา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นตัวสร้างแรงดันให้ #โหวตนายก ไต่ระดับความร้อนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ 

ถามว่าร้อนแรงแค่ไหน ถ้าวัดอุณหภูมิด้วยปรอทเทรนด์บนโลกทวิตเตอร์ในเว็บไซต์ getdaytrends.com จะพบว่า นี่คือเรื่องร้อนอันดับ 2 ของปี 2566 รองจาก #เลือกตั้ง66 

ข้อมูล (ณ วันที่ 14 กรกฎาคม) ระบุว่า ตั้งแต่เริ่มปี 2566 มีการทวีต 
  • #เลือกตั้ง66 ราว 9.2 ล้านข้อความ 
  • #โหวตนายก ราว 5.7 ล้านข้อความ 

หากดูจากจำนวนข้อความที่มีการทวีตจะพบว่า #เลือกตั้ง66 มากกว่า #โหวตนายก อย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าต้องการวัดว่าประเด็นไหนร้อนแรงกว่ากัน จะต้องดูไทม์ไลน์หรือช่วงเวลาที่เกิดขึ้นประกอบกับจำนวนข้อความที่ทวีต 

ลองมาดูความร้อนแรงระหว่าง #เลือกตั้ง66 และ #โหวตนายก กัน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2mUaicigK5Y3f4pql13OpP/e77f4cb4d4a3c6c15c1e91483ff94182/TAGCLOUD-data-daily-trending-tweets-vote-pm-13-july-SPACEBAR-Photo01
การทวีต #เลือกตั้ง66 เริ่มทวีตครั้งแรกราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์) ติดกระแสร้อนแรงสูงสุดวันที่ 16 พฤษภาคม (หลังวันเลือกตั้ง 14 พ.ค. สองวัน) ปัจจุบันยังมีการทวีตอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการติด # โดยสำนักข่าว 
  • 143 วัน คือจำนวนวันนับตั้งแต่ทวีต #เลือกตั้ง66 ครั้งแรก (20 กุมภาพันธ์ - 13 กรกฎาคม) 
  • 64,336 ข้อความต่อวัน คือค่าเฉลี่ยข้อความที่ทวีต #เลือกตั้ง66 ในหนึ่งวัน 
  • 45 ข้อความต่อนาที 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4NjmyryDPfiosuzi63Lmxo/468393081d54993064edc75867ecc687/TAGCLOUD-data-daily-trending-tweets-vote-pm-13-july-SPACEBAR-Photo02
การทวีต #โหวตนายก เริ่มทวีตครั้งแรกราววันที่ 7 กรกฎาคม หลังวันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าที่ประธานสภา (ในเวลานั้น--5 กรกฎาคม) เผยกำหนดการวันโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่าเป็นวันที่ 13 กรกฎาคม พอถึงวันโหวตนายกฯ กระแส #โหวตนายก ไต่ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และถึงจุดสูงสุดในวันที่ 14 กรกฎาคม ปัจจุบัน (14 กรกฎาคม, 16:45 น.) กระแสยังร้อนแรงไม่แผ่ว 
  • 8 วัน คือจำนวนวันนับตั้งแต่ทวีต #โหวตนายก ครั้งแรก (7-13 กรกฎาคม) 
  • 712,500 ข้อความต่อวัน คือค่าเฉลี่ยข้อความที่ทวีต #โหวตนายก ในหนึ่งวัน 
  • 495 ข้อความต่อนาที 
  • กระแส #โหวตนายก เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 13-14 กรกฎาคม 
  • คิดเป็นอัตราการทวีตราว 1,980 ข้อความต่อนาที 
  • หรือ 33 ข้อความต่อวินาที 
สรุปกระแส #โหวตนายก และ #เลือกตั้ง66 ที่เกิดขึ้น ทั้งสองข้อความล้วนเป็นกระแส # ที่มาแรงที่สุดสองอันดับแรกตั้งแต่เริ่ม พ.ศ.2566 ซึ่งอาจแปลความได้ว่า นี่คือเรื่องที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุดในปีนี้ 

แม้กระแสที่เกิดขึ้นจะมาจากทวิตเตอร์ ซึ่งมีประชากรเป็นคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เป็นคนเจน Z และเจน Y (อ้างอิง: สถิติ Twitter ปี 2022, คนไทยใช้ Twitter เก่ง!) แต่อย่างน้อยนี่คือกระจกที่สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ว่าพวกเขามีความคิดฝันต่ออนาคตและประเทศอย่างไร 

คำถามข้างต้น คนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองคงจะรู้คำตอบอยู่บ้าง ส่วนใครที่อยากรู้ แนะนำให้เข้าทวิตเตอร์แล้วตาม #โหวตนายก และ #เลือกตั้ง66 ดูครับ คำตอบรออยู่ตรงนั้น 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์