“ผมขอแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง ด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค...”
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่งข้อความผ่านไลน์กลุ่มของพรรคประชาธิปัตย์ในคืนวันเลือกตั้งปี 66 (14 พ.ค.) หลังรู้ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ
25 จาก 500 ที่นั่ง คิดเป็น 5% ของ ส.ส.ทั้งหมด คือจำนวน ส.ส. ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับจากคะแนนเสียงประชาชน แบ่งเป็น
- สมบัติ ยะสินธุ์, เขต 2
อุบลราชธานี
- วุฒิพงษ์ นามบุตร, เขต 2
สกลนคร
- ชาตรี หล้าพรหม, เขต 2
พัทลุง
- สุพัชรี ธรรมเพชร, เขต 1
- ร่มธรรม ขำนุรักษ์, เขต 3
นครศรีธรรมราช
- ราชิต สุดพุ่ม, เขต 1
- ทรงศักดิ์ มุสิกอง, เขต 2
- พิทักษ์เดช เดชเดโช, เขต 3
- ว่าที่ร้อยโทยุทธการ รัตนมาศ, เขต 4
- ชัยชนะ เดชเดโช, เขต 5
- อวยพรศรี เชาวลิต, เขต 9
ประจวบคีรีขันธ์
- จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์, เขต 2
- ประมวล พงศ์ถาวราเดช, เขต 3
สงขลา
- สรรเพชญ บุญญามณี, เขต 1
- สมยศ พลายด้วง, เขต 3
- เดชอิศม์ ทองขาว, เขต 5
- สุภาพร กำเนิดผล, เขต 6
- พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่, เขต 8
- ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง, เขต 9
ตรัง
- สุณัฐชา โล่สภาพรพิพิธ, เขต 3
- กาญจน์ ตั้งปอง, เขต 4
ปัตตานี
- ยูนัยดี วาบา, เขต 4
หากเทียบกับจำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งปี 62 ที่ได้ 53 ที่นั่ง จะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. ลดลงเกิน 50%
ถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้า พ.ศ.2562 จะพบว่า ประชาธิปัตย์ภายใต้หัวหน้าพรรคชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุด (เทียบอัตราส่วนที่นั่ง ส.ส. ในสภาฯ) ตั้งแต่ก่อตั้งพรรค
ประชาธิปัตย์ก่อตั้งพรรคเมื่อ พ.ศ.2489 ปัจจุบันมีอายุ 77 ปี ได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านคลื่นลมทางการเมืองมาหลายยุคสมัย เคยมี ส.ส. นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี 4 คน เคยชนะเลือกตั้ง 3 ครั้ง (พ.ศ.2519, พ.ศ.2529, กันยายน พ.ศ.2535) สร้างเกียรติประวัติไว้ไม่น้อย เช่นเดียวกับรอยตำหนิ ด่างพร้อย และน่ากังขาในจุดยืน
ในเว็บไซต์ประชาธิปัตย์ที่หน้าประวัติพรรค มีข้อความเขียนไว้ว่า
คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” -- ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ความนิยมของพรรคที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เป็นเพราะชะตากรรมร่วมที่บรรดาองค์กรเก่าแก่ต้องเผชิญ เมื่อโลกเปลี่ยน หากไม่ปรับตัวหรือปรับตัวไม่ทัน ก็ต้องถึงเวลาลงจากเวที
และในฐานะพรรคการเมือง หากไม่จริงใจและมั่นคงในอุดมการณ์ที่ประกาศไว้ว่า ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุด
สุดท้าย ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องตายไปจากหัวใจของประชาชน
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่งข้อความผ่านไลน์กลุ่มของพรรคประชาธิปัตย์ในคืนวันเลือกตั้งปี 66 (14 พ.ค.) หลังรู้ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ
25 จาก 500 ที่นั่ง คิดเป็น 5% ของ ส.ส.ทั้งหมด คือจำนวน ส.ส. ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับจากคะแนนเสียงประชาชน แบ่งเป็น
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
- ชวน หลีกภัย
- บัญญัติ บรรทัดฐาน
ส.ส.แบ่งเขต 22 คน
แม่ฮ่องสอน- สมบัติ ยะสินธุ์, เขต 2
อุบลราชธานี
- วุฒิพงษ์ นามบุตร, เขต 2
สกลนคร
- ชาตรี หล้าพรหม, เขต 2
พัทลุง
- สุพัชรี ธรรมเพชร, เขต 1
- ร่มธรรม ขำนุรักษ์, เขต 3
นครศรีธรรมราช
- ราชิต สุดพุ่ม, เขต 1
- ทรงศักดิ์ มุสิกอง, เขต 2
- พิทักษ์เดช เดชเดโช, เขต 3
- ว่าที่ร้อยโทยุทธการ รัตนมาศ, เขต 4
- ชัยชนะ เดชเดโช, เขต 5
- อวยพรศรี เชาวลิต, เขต 9
ประจวบคีรีขันธ์
- จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์, เขต 2
- ประมวล พงศ์ถาวราเดช, เขต 3
สงขลา
- สรรเพชญ บุญญามณี, เขต 1
- สมยศ พลายด้วง, เขต 3
- เดชอิศม์ ทองขาว, เขต 5
- สุภาพร กำเนิดผล, เขต 6
- พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่, เขต 8
- ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง, เขต 9
ตรัง
- สุณัฐชา โล่สภาพรพิพิธ, เขต 3
- กาญจน์ ตั้งปอง, เขต 4
ปัตตานี
- ยูนัยดี วาบา, เขต 4
หากเทียบกับจำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งปี 62 ที่ได้ 53 ที่นั่ง จะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. ลดลงเกิน 50%
ถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้า พ.ศ.2562 จะพบว่า ประชาธิปัตย์ภายใต้หัวหน้าพรรคชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุด (เทียบอัตราส่วนที่นั่ง ส.ส. ในสภาฯ) ตั้งแต่ก่อตั้งพรรค
ประชาธิปัตย์ก่อตั้งพรรคเมื่อ พ.ศ.2489 ปัจจุบันมีอายุ 77 ปี ได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านคลื่นลมทางการเมืองมาหลายยุคสมัย เคยมี ส.ส. นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี 4 คน เคยชนะเลือกตั้ง 3 ครั้ง (พ.ศ.2519, พ.ศ.2529, กันยายน พ.ศ.2535) สร้างเกียรติประวัติไว้ไม่น้อย เช่นเดียวกับรอยตำหนิ ด่างพร้อย และน่ากังขาในจุดยืน
ในเว็บไซต์ประชาธิปัตย์ที่หน้าประวัติพรรค มีข้อความเขียนไว้ว่า
คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” -- ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ความนิยมของพรรคที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เป็นเพราะชะตากรรมร่วมที่บรรดาองค์กรเก่าแก่ต้องเผชิญ เมื่อโลกเปลี่ยน หากไม่ปรับตัวหรือปรับตัวไม่ทัน ก็ต้องถึงเวลาลงจากเวที
และในฐานะพรรคการเมือง หากไม่จริงใจและมั่นคงในอุดมการณ์ที่ประกาศไว้ว่า ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุด
สุดท้าย ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องตายไปจากหัวใจของประชาชน
