นับเวลาถอยหลัง เหลืออีกวันเดียว พรุ่งนี้ (13 กรกฎาคม) ก็จะถึงวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
ชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นตัวเต็งในฐานะแคนดิเดตและหัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนเป็นอันดับหนึ่ง คือรายชื่อแรกที่ควรเสนอ และได้รับตำแหน่ง
แต่ถึงนาทีนี้ ด้วยกติกา ส.ว. ร่วมโหวตเลือกนายกฯ และปมหุ้นสื่อ iTV ที่ยังไม่มีบทสรุป การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของพิธาจึงยังไม่อาจการันตีได้
ทว่าพิธาเชื่อมั่นว่า นี่คือเก้าอี้ที่คนที่ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด มีสิทธิอันชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย
ชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นตัวเต็งในฐานะแคนดิเดตและหัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนเป็นอันดับหนึ่ง คือรายชื่อแรกที่ควรเสนอ และได้รับตำแหน่ง
แต่ถึงนาทีนี้ ด้วยกติกา ส.ว. ร่วมโหวตเลือกนายกฯ และปมหุ้นสื่อ iTV ที่ยังไม่มีบทสรุป การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของพิธาจึงยังไม่อาจการันตีได้
ทว่าพิธาเชื่อมั่นว่า นี่คือเก้าอี้ที่คนที่ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด มีสิทธิอันชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

“ผมขอส่งสารไปถึงประชาชน เราพิสูจน์แล้วว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ ถ้าพวกเราร่วมมือกัน วันที่ 13 กรกฎาคม ผมพร้อมเป็นนายกฯ ของทุกคน ขอให้พิธาได้รับใช้ประชาชนทุกคน”
พิธา ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เมื่อช่วงสายวันจันทร์ที่ผ่านมา (10 กรกฎาคม) ด้วยน้ำเสียงของความเชื่อมั่นและความหวัง “ถ้าเราตัดสินใจถูกต้อง ให้โอกาสประเทศไทยอยู่กับอนาคต ประเทศไทยจะเจริญไม่เป็นสองรองใคร แต่ถ้าเราฝืนมติประชาชน ทำให้ความไม่ปกติของการเมืองไทยคงอยู่ต่อไป ผมไม่รู้ว่าโอกาสทองแบบนี้จะมาอีกครั้งเมื่อไร”
พิธา ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เมื่อช่วงสายวันจันทร์ที่ผ่านมา (10 กรกฎาคม) ด้วยน้ำเสียงของความเชื่อมั่นและความหวัง “ถ้าเราตัดสินใจถูกต้อง ให้โอกาสประเทศไทยอยู่กับอนาคต ประเทศไทยจะเจริญไม่เป็นสองรองใคร แต่ถ้าเราฝืนมติประชาชน ทำให้ความไม่ปกติของการเมืองไทยคงอยู่ต่อไป ผมไม่รู้ว่าโอกาสทองแบบนี้จะมาอีกครั้งเมื่อไร”

กติกาการโหวตเลือกนายกฯ จะต้องมีเสียงโหวตเกินกึ่งหนึ่งของเสียง ส.ส. และ ส.ว. รวมกัน หรือ 376 เสียง
ตอนนี้พรรคก้าวไกลและ 8 พรรคร่วมฯ มัดรวมได้ 312 เสียง
ยังขาดอีก 64 เสียง ซึ่งคาดว่าต้องอาศัยเสียงจาก ส.ว. เพื่อให้พิธาถึงเส้นชัยในการเป็นนายกรัฐมนตรี (ถ้าปมหุ้น iTV ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ‘พิธาไม่ผิด’)
สมมติว่ามีอุบัติเหตุให้พิธาไม่ได้เป็นนายกฯ และก้าวไกลไม่ได้ตั้งรัฐบาล ชัยธวัช ตุลาธน กุนซือพรรคก้าวไกลพูดเป็นนัยทำนองว่า ถ้าเกิดขึ้นจริง ก้าวไกลยังรอได้
ตอนนี้พรรคก้าวไกลและ 8 พรรคร่วมฯ มัดรวมได้ 312 เสียง
ยังขาดอีก 64 เสียง ซึ่งคาดว่าต้องอาศัยเสียงจาก ส.ว. เพื่อให้พิธาถึงเส้นชัยในการเป็นนายกรัฐมนตรี (ถ้าปมหุ้น iTV ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ‘พิธาไม่ผิด’)
สมมติว่ามีอุบัติเหตุให้พิธาไม่ได้เป็นนายกฯ และก้าวไกลไม่ได้ตั้งรัฐบาล ชัยธวัช ตุลาธน กุนซือพรรคก้าวไกลพูดเป็นนัยทำนองว่า ถ้าเกิดขึ้นจริง ก้าวไกลยังรอได้

“คงไม่แลกหรือทำอะไรทุกอย่าง เพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล ไม่ได้อยู่ในความคิดของเรา เราทำพรรคอนาคตใหม่มาถึงพรรคก้าวไกลไม่ได้เพื่อชนะเลือกตั้งมาแชร์อำนาจ พรรคเหล่านี้มีเยอะพออยู่แล้ว ...ถ้าเช่นนั้นไม่ต้องมีพรรคก้าวไกลดีกว่า”
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น เดือนมีนาคม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล เคยให้สัมภาษณ์กับ ปรัชญา นงนุช เหยี่ยวสาวการเมือง SPACEBAR ในรายการ คุยฟ้าฝ่า Spotlight ว่าการทำงานการเมืองสร้างพรรคการเมืองต้องใช้เวลา
ปรัชญา: เล่นเกมยาว?
ธนาธร: ใช่
ปรัชญา: แม้ว่ารอบนี้จะไม่ได้เป็นรัฐบาล
ธนาธร: คุณคิดว่าสร้างพรรคการเมืองใช้เวลากี่ปี?
ปรัชญา: เป็นสิบยี่สิบปีในการสร้าง
ธนาธร: (พยักหน้า) ผมพูดตั้งแต่ตั้งพรรคมาแรกๆ (ชูสามนิ้ว) 3 สมัย 3 การเลือกตั้ง
การมาถึงของพรรคก้าวไกล (อดีตพรรคอนาคตใหม่) ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้การเมืองไทยมหาศาล ตั้งแต่การนำเสนอประเด็นที่แหลมคม การทำลายสถิติพรรคไร้พ่ายของเพื่อไทย จนมาถึงการครองใจคนรุ่นใหม่ โดยมี "ด้อมส้ม" เป็นฐานเสียงกลุ่มใหญ่
สมมติว่า ในพ.ศ.2566 พิธาไม่ได้เป็นนายกฯ และก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล (ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดในระบอบประชาธิปไตย) แล้วรออีกสมัย (เหมือนที่ธนาธรให้สัมภาษณ์) หรือสองสมัย หรือมากกว่านั้น ความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะได้นำประเทศมีโอกาสแค่ไหน
SPACEBAR ได้ลองทำแบบจำลองอย่างง่ายๆ ด้วยการตั้งสมมติฐานว่า "ด้อมส้ม" ส่วนใหญ่เป็นคน GEN Y (เกิด พ.ศ.2524-2539: อายุระหว่าง 26-41 ปี) และ GEN Z (เกิด พ.ศ.2540-2555: อายุระหว่าง 10-25 ปี) และคาดว่าตัวแปรต่างๆ ยังเหมือนเดิม ไม่ว่าอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล และยังไม่มีพรรคการเมืองก้าวขึ้นมาเสนอแนวคิดใหม่ท้าชิง ทุกอย่างยังคงเป็นเช่นตอนนี้ราวกับเข็มนาฬิกาที่เดินหน้าอย่างซื่อสัตย์
มาลองดูกันว่า ‘ด้อมส้ม’ หรือฐานแฟนของพรรคก้าวไกลจะมีขนาดเท่าไหร่ เมื่อคนแต่ละรุ่นถึงคราวผลัดเปลี่ยนไปตามสายธารกาลเวลา
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น เดือนมีนาคม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล เคยให้สัมภาษณ์กับ ปรัชญา นงนุช เหยี่ยวสาวการเมือง SPACEBAR ในรายการ คุยฟ้าฝ่า Spotlight ว่าการทำงานการเมืองสร้างพรรคการเมืองต้องใช้เวลา
ปรัชญา: เล่นเกมยาว?
ธนาธร: ใช่
ปรัชญา: แม้ว่ารอบนี้จะไม่ได้เป็นรัฐบาล
ธนาธร: คุณคิดว่าสร้างพรรคการเมืองใช้เวลากี่ปี?
ปรัชญา: เป็นสิบยี่สิบปีในการสร้าง
ธนาธร: (พยักหน้า) ผมพูดตั้งแต่ตั้งพรรคมาแรกๆ (ชูสามนิ้ว) 3 สมัย 3 การเลือกตั้ง
การมาถึงของพรรคก้าวไกล (อดีตพรรคอนาคตใหม่) ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้การเมืองไทยมหาศาล ตั้งแต่การนำเสนอประเด็นที่แหลมคม การทำลายสถิติพรรคไร้พ่ายของเพื่อไทย จนมาถึงการครองใจคนรุ่นใหม่ โดยมี "ด้อมส้ม" เป็นฐานเสียงกลุ่มใหญ่
สมมติว่า ในพ.ศ.2566 พิธาไม่ได้เป็นนายกฯ และก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล (ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดในระบอบประชาธิปไตย) แล้วรออีกสมัย (เหมือนที่ธนาธรให้สัมภาษณ์) หรือสองสมัย หรือมากกว่านั้น ความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะได้นำประเทศมีโอกาสแค่ไหน
SPACEBAR ได้ลองทำแบบจำลองอย่างง่ายๆ ด้วยการตั้งสมมติฐานว่า "ด้อมส้ม" ส่วนใหญ่เป็นคน GEN Y (เกิด พ.ศ.2524-2539: อายุระหว่าง 26-41 ปี) และ GEN Z (เกิด พ.ศ.2540-2555: อายุระหว่าง 10-25 ปี) และคาดว่าตัวแปรต่างๆ ยังเหมือนเดิม ไม่ว่าอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล และยังไม่มีพรรคการเมืองก้าวขึ้นมาเสนอแนวคิดใหม่ท้าชิง ทุกอย่างยังคงเป็นเช่นตอนนี้ราวกับเข็มนาฬิกาที่เดินหน้าอย่างซื่อสัตย์
มาลองดูกันว่า ‘ด้อมส้ม’ หรือฐานแฟนของพรรคก้าวไกลจะมีขนาดเท่าไหร่ เมื่อคนแต่ละรุ่นถึงคราวผลัดเปลี่ยนไปตามสายธารกาลเวลา

จากแบบจำลอง SPACEBAR ได้วางฉากทัศน์ถึงการเลือกตั้งในอนาคตอีก 3 สมัย (พ.ศ.2570, 2574, 2578) ‘ด้อมส้ม’ ที่เป็นฐานเสียงของพรรคก้าวไกลที่เราตั้งสมมติฐานว่าเป็นคนรุ่นใหม่ จะเพิ่มขึ้นแค่ไหน โดยคิดจากสถิติประชากรไทย พ.ศ.2565 และจำนวนคนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 75% (สถิติคนมาเลือกตั้ง พ.ศ.2566) แล้วหักลบค่าความแปรปรวนที่หมายถึงคนบางส่วนอาจไม่ได้เป็นด้อมส้มออกอีก 5%

ผลลัพธ์จากแบบจำลองจะเห็นว่า จำนวน ‘ด้อมส้ม’ จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งผ่านไปนานเท่าไหร่ จำนวนจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ภายใต้เงื่อนไขว่าพรรคก้าวไกลยังเป็นพรรคในใจของคนรุ่นใหม่
กลับมาที่ พ.ศ.2566 อนาคตของพิธาและพรรคก้าวไกลจะออกหัวหรือก้อย ยังยากจะคาดเดา พวกเขาจะได้ขึ้นมานำหรือไม่ หรือต้องรออีกหนึ่งสมัยเพื่อนั่งนายกฯ และเป็นรัฐบาล คงต้องติดตามกันต่อไป
กลับมาที่ พ.ศ.2566 อนาคตของพิธาและพรรคก้าวไกลจะออกหัวหรือก้อย ยังยากจะคาดเดา พวกเขาจะได้ขึ้นมานำหรือไม่ หรือต้องรออีกหนึ่งสมัยเพื่อนั่งนายกฯ และเป็นรัฐบาล คงต้องติดตามกันต่อไป