“เดือด!” น่าจะเป็นคำจำกัดความบรรยากาศการเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ทั้งในและนอกสภา
เมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะแคนดิเดตและหัวหน้าของพรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจากประชาชน ที่ตามครรลองของระบบ ควรได้ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกฯ ยังคงไม่ถึงเส้นชัย
เกมการเมืองเป็นไปเพื่อสกัดกั้นการขึ้นสู่ตำแหน่งของพิธาอย่างชัดเจน จนหลายคนที่ไม่เห็นด้วย ตั้งคำถามเสียงดังๆ ว่า “จะเลือกตั้งกันไปทำไม?”
ด้าน ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการและ ส.ส. พรรคก้าวไกลถามในสภาวันโหวตนายกฯ (13 กรกฎาคม) ว่า “ตกลงประชาชนอยู่ตรงไหนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเรา” ถ้านายกฯ ไม่เป็นไปตามผลเลือกตั้ง
ขณะที่ ส.ส. และ ส.ว. ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม หยิบประเด็นการแก้ไข ม.112 เป็นเหตุและผลในการไม่โหวต รวมถึงงดออกเสียงให้พิธาเป็นนายกรัฐมนตรี
นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่า พิธาจะไม่มีทางได้นั่งเก้าอี้นายกฯ แบบไม่ต้องลุ้น นี่คือชะตากรรมที่เกมการเมืองได้วางเอาไว้
หากมองด้วยสายตาของประชาธิปไตย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือการเล่นเกม ‘นอกกติกา’
แต่ถ้ามองย้อนกลับไปที่นายกรัฐมนตรีคนที่แล้วๆ มา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่การเมืองประเทศไทย เดินหน้าสู่ยุครัฐบาลเสียงข้างมาก สมัยทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย เราจะพบว่า นี่คือชะตากรรมของนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกมา
เมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะแคนดิเดตและหัวหน้าของพรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจากประชาชน ที่ตามครรลองของระบบ ควรได้ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกฯ ยังคงไม่ถึงเส้นชัย
เกมการเมืองเป็นไปเพื่อสกัดกั้นการขึ้นสู่ตำแหน่งของพิธาอย่างชัดเจน จนหลายคนที่ไม่เห็นด้วย ตั้งคำถามเสียงดังๆ ว่า “จะเลือกตั้งกันไปทำไม?”
ด้าน ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการและ ส.ส. พรรคก้าวไกลถามในสภาวันโหวตนายกฯ (13 กรกฎาคม) ว่า “ตกลงประชาชนอยู่ตรงไหนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเรา” ถ้านายกฯ ไม่เป็นไปตามผลเลือกตั้ง
ขณะที่ ส.ส. และ ส.ว. ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม หยิบประเด็นการแก้ไข ม.112 เป็นเหตุและผลในการไม่โหวต รวมถึงงดออกเสียงให้พิธาเป็นนายกรัฐมนตรี
นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่า พิธาจะไม่มีทางได้นั่งเก้าอี้นายกฯ แบบไม่ต้องลุ้น นี่คือชะตากรรมที่เกมการเมืองได้วางเอาไว้
หากมองด้วยสายตาของประชาธิปไตย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือการเล่นเกม ‘นอกกติกา’
แต่ถ้ามองย้อนกลับไปที่นายกรัฐมนตรีคนที่แล้วๆ มา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่การเมืองประเทศไทย เดินหน้าสู่ยุครัฐบาลเสียงข้างมาก สมัยทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย เราจะพบว่า นี่คือชะตากรรมของนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกมา

นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ล้วนเจอกับ ‘อุบัติเหตุทางการเมือง’ ทั้งสิ้น
ส่วนนายกรัฐมนตรีอีก 2 คนในไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์ช่วงนั้น ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ได้แก่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีชะตากรรมที่ต่างออกไป
คนแรกยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ก่อนปราชัยให้กับพรรคเพื่อไทย
คนหลังอยู่ในอำนาจยาวนาน 8 ปี 321 วัน ก่อนประกาศวางมือหลังอยู่จนครบวาระ
ข้อมูลข้างต้น ชวนให้ตั้งคำถามว่า ‘ประชาชน’ อยู่ตรงไหนในสมการการเมืองไทย
- 2 คน ถูกรัฐประหาร คือ ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ.2549) และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พ.ศ.2557)
- 1 คน ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง คือ สมัคร สุนทรเวช (พ.ศ.2551)
- 1 คน ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี คือ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พ.ศ.2551)
ส่วนนายกรัฐมนตรีอีก 2 คนในไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์ช่วงนั้น ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ได้แก่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีชะตากรรมที่ต่างออกไป
คนแรกยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ก่อนปราชัยให้กับพรรคเพื่อไทย
คนหลังอยู่ในอำนาจยาวนาน 8 ปี 321 วัน ก่อนประกาศวางมือหลังอยู่จนครบวาระ
ข้อมูลข้างต้น ชวนให้ตั้งคำถามว่า ‘ประชาชน’ อยู่ตรงไหนในสมการการเมืองไทย