บ้านที่อยากกลับ แต่ (หลายคน) ไม่ได้กลับ นักการเมืองไทยต้องลี้ภัยนานแค่ไหน?

27 มิ.ย. 2566 - 10:00

  • ปรีดี พนมยงค์ เป็นนักการเมืองที่ลี้ภัยนานถึง 36 ปี

  • ทักษิณ ชินวัตร ลี้ภัยการเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2549 มาแล้ว 17 ปี เป็นระยะเวลาที่นาน แต่ก็ไม่ถึงครึ่งของปรีดี

  • จอมพลถนอม กิตติขจร ลี้ภัยเพียง 3 ปี ก็ได้กลับเมืองไทย

TAGCLOUD-how-many-year-political-asylum-SPACEBAR-Hero
ประวัติศาสตร์บอกเราว่า นักการเมืองที่ลี้ภัย (รวมถึงถูกเนรเทศ) มักไม่ได้กลับมา 

ส่วนบางคนที่ได้กลับ เช่น จอมพลถนอม กิตติขจร หรือทวี บุณยเกตุ ล้วนเป็นคนที่รัฐหรือผู้มีอำนาจนำในเวลานั้นมองว่าเป็น 'บุคคลไม่อันตราย' และ 'อนุญาต' ให้กลับ 

คนที่เหลือ ไม่ว่าเจ้า อำมาตย์ หรือสามัญชน ล้วนแต่ต้องระเหเร่ร่อนจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต ก่อนจะกลับมาในรูปของเถ้ากระดูก 

“...ผมตัดสินใจแล้วว่าจะกลับบ้านไปเลี้ยงหลานภายในเดือนกรกฎาคมนี้ก่อนวันเกิดผมครับ...” ทักษิณ ชินวัตร แสดงความปรารถนากลับบ้านผ่านทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม โดยเขาระบุว่า จะเดินทางกลับก่อนวันเกิดที่จะถึง (26 กรกฎาคม) 

ทักษิณจะกลับบ้านหรือไม่ ยังคงเป็นคำถาม แต่คำตอบตอนนี้คือ ทักษิณไม่ได้กลับบ้านมานานกว่า 17 ปีแล้ว 

17 ปี จะว่าไปก็เป็นเวลานานพอที่ทำให้ทักษิณกลายเป็นนักการเมืองที่ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนานเป็นอันดับต้นๆ ของไทย รองจากนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 - ปรีดี พนมยงค์ ที่ลี้ภัยอยู่ต่างแดนนานถึง 36 ปี จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต 

แม้ระยะเวลา 17 ปีจะไม่ถึงครึ่งของช่วงเวลาที่ปรีดีลี้ภัย แต่ก็นานพอให้ทักษิณเอ่ยปากผ่านการทวีตถึงสองครั้งว่า "ขออนุญาต" กลับบ้าน 

‘บ้าน’ ที่นักการเมืองผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนได้แต่คิดถึง ท่ามกลางสายธารกาลเวลาที่ไหลเรื่อยไป จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของชีวิต... 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1HTdMxvKFfw2ls3TbmLWkG/94ccb08fce10627a8b8e9fa7108febde/TAGCLOUD-how-many-year-political-asylum

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์