
การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (9 กรกฎาคม) ล่ม เพราะองค์ประชุมไม่ครบ
เหตุการณ์นี้เปิดให้เห็นแผล ‘ความไม่เป็นหนึ่งเดียว’ ของพรรค
ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคให้สัมภาษณ์ว่า เหตุเพราะยังหารือกันไม่เสร็จ หลังจากนี้คงต้องมีการพูดคุยกันในกรรมการบริหารพรรค
มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ หนึ่งในคนเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่ง บอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่นอกเหนือแผน
นราพัฒน์ แก้วทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคที่เข้าชิงตำแหน่งอีกคน และเป็นตัวเต็ง พูดว่าจะต้องมีการปรับการสื่อสารใหม่ทั้งภายในและภายนอก เชื่อว่าหากมีการพูดคุยปรับความเข้าใจ พรรคจะเดินต่อไปได้ "หากได้รับโอกาสจากสมาชิก สนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ก็ยินดีที่จะมาเป็นคนขับเคลื่อนกฎและร่างกติกาให้มีความทันสมัยต่อโลก"
ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ที่คนในพรรคบางส่วนสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร มีเพียงสมาชิกที่สนับสนุนพยายามเสนอชื่อและดันให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง
ว่ากันว่าสาเหตุที่การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคล่ม เป็นเพราะการเล่นเกมกันระหว่างสองขั้วในพรรคในการกำหนดคนที่จะขับเคลื่อนพรรคไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
พรรคประชาธิปัตย์เดินทางบนถนนการเมืองไทยมายาวนานกว่า 77 ปี ถือเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อย แต่ในระยะหลายสิบปีให้หลัง พรรคดูจะร่วงหล่นจากความนิยมในใจของประชาชน จนนำมาสู่การพ่ายแพ้เลือกตั้ง พ.ศ.2566 ที่พรรคได้คะแนนตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์พรรค
“ผมขอแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง ด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค...”
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่งข้อความผ่านไลน์กลุ่มของพรรคประชาธิปัตย์ในคืนวันเลือกตั้งปี 66 (14 พ.ค.) หลังรู้ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ
25 จาก 500 ที่นั่ง คิดเป็น 5% ของ ส.ส.ทั้งหมด คือจำนวน ส.ส. ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับจากคะแนนเสียงประชาชน
หากเทียบกับจำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งปี 62 ที่ได้ 53 ที่นั่ง จะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. ลดลงเกิน 50%
ถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้า พ.ศ.2562 จะพบว่า ประชาธิปัตย์ภายใต้หัวหน้าพรรคชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุด (เทียบอัตราส่วนที่นั่ง ส.ส. ในสภา) ตั้งแต่ก่อตั้งพรรค
ในเว็บไซต์ประชาธิปัตย์ที่หน้าประวัติพรรค มีข้อความเขียนไว้ว่า
คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” -- ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ความนิยมของพรรคที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เป็นเพราะชะตากรรมร่วมของบรรดาองค์กรเก่าแก่ที่ต้องเผชิญ เมื่อโลกเปลี่ยน และในฐานะพรรคการเมือง หากไม่จริงใจในอุดมการณ์ที่ประกาศไว้
สุดท้าย ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องตายไปจากหัวใจของประชาชน คำถามคือ ประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสกลับมาทวงบัลลังก์อีกครั้งหรือไม่
การเลือกตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งเป็นคนที่ 9 ของพรรค จะเป็นคำตอบว่า พรรคประชาธิปัตย์จะ 'ก้าวไปข้างหน้า' หรือ 'ก้าวถอยหลัง'
เหตุการณ์นี้เปิดให้เห็นแผล ‘ความไม่เป็นหนึ่งเดียว’ ของพรรค
ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคให้สัมภาษณ์ว่า เหตุเพราะยังหารือกันไม่เสร็จ หลังจากนี้คงต้องมีการพูดคุยกันในกรรมการบริหารพรรค
มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ หนึ่งในคนเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่ง บอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่นอกเหนือแผน
นราพัฒน์ แก้วทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคที่เข้าชิงตำแหน่งอีกคน และเป็นตัวเต็ง พูดว่าจะต้องมีการปรับการสื่อสารใหม่ทั้งภายในและภายนอก เชื่อว่าหากมีการพูดคุยปรับความเข้าใจ พรรคจะเดินต่อไปได้ "หากได้รับโอกาสจากสมาชิก สนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ก็ยินดีที่จะมาเป็นคนขับเคลื่อนกฎและร่างกติกาให้มีความทันสมัยต่อโลก"
ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ที่คนในพรรคบางส่วนสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร มีเพียงสมาชิกที่สนับสนุนพยายามเสนอชื่อและดันให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง
ว่ากันว่าสาเหตุที่การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคล่ม เป็นเพราะการเล่นเกมกันระหว่างสองขั้วในพรรคในการกำหนดคนที่จะขับเคลื่อนพรรคไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
พรรคประชาธิปัตย์เดินทางบนถนนการเมืองไทยมายาวนานกว่า 77 ปี ถือเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อย แต่ในระยะหลายสิบปีให้หลัง พรรคดูจะร่วงหล่นจากความนิยมในใจของประชาชน จนนำมาสู่การพ่ายแพ้เลือกตั้ง พ.ศ.2566 ที่พรรคได้คะแนนตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์พรรค
“ผมขอแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง ด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค...”
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่งข้อความผ่านไลน์กลุ่มของพรรคประชาธิปัตย์ในคืนวันเลือกตั้งปี 66 (14 พ.ค.) หลังรู้ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ
25 จาก 500 ที่นั่ง คิดเป็น 5% ของ ส.ส.ทั้งหมด คือจำนวน ส.ส. ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับจากคะแนนเสียงประชาชน
หากเทียบกับจำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งปี 62 ที่ได้ 53 ที่นั่ง จะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. ลดลงเกิน 50%
ถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้า พ.ศ.2562 จะพบว่า ประชาธิปัตย์ภายใต้หัวหน้าพรรคชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุด (เทียบอัตราส่วนที่นั่ง ส.ส. ในสภา) ตั้งแต่ก่อตั้งพรรค
ในเว็บไซต์ประชาธิปัตย์ที่หน้าประวัติพรรค มีข้อความเขียนไว้ว่า
คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” -- ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ความนิยมของพรรคที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เป็นเพราะชะตากรรมร่วมของบรรดาองค์กรเก่าแก่ที่ต้องเผชิญ เมื่อโลกเปลี่ยน และในฐานะพรรคการเมือง หากไม่จริงใจในอุดมการณ์ที่ประกาศไว้
สุดท้าย ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องตายไปจากหัวใจของประชาชน คำถามคือ ประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสกลับมาทวงบัลลังก์อีกครั้งหรือไม่
การเลือกตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งเป็นคนที่ 9 ของพรรค จะเป็นคำตอบว่า พรรคประชาธิปัตย์จะ 'ก้าวไปข้างหน้า' หรือ 'ก้าวถอยหลัง'