จับกระแส ‘สุดารัตน์’ กับ ‘ไทยสร้างไทย’ หมากตัวสำคัญที่มองข้ามไม่ได้

3 พ.ค. 2566 - 05:18

  • กระแสของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หนึ่งในนักการเมืองหญิงที่มากประสบการณ์ที่สุดคนหนึ่ง

  • เคยเป็นถึงแคนดิเดตนายกฯ หญิงของพรรคเพื่อไทย ในเวลานี้คุณหญิงหน่อยมีพรรคของตัวเอง

TAGCLOUD-social-listening-SPACEBAR-Thumbnail
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์และไทยสร้างไทย เป็นพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงมากระดับหนึ่ง แม้จะไม่มากเท่ากับพรรคตัวเต็ง แต่ก็มากพอที่จะถูกจับตาในฐานะตัวแปรสำคัญ 

เส้นทางของไทยสร้างไทยอาจจะเพิ่งเริ่มต้น แต่การเดินทางบนถนนการเมืองของ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานถึง 3 ทศวรรษ  

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ การเอ่ยถึง ‘คุณหญิงหน่อย’ ไม่ได้คึกคักเท่ากับการเลือกตั้งคราวที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นคุณหญิงหน่อยได้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ต่อมาแยกตัวออกมาตั้งพรรคของตัวเองในชื่อไทยสร้างไทย ด้วยสถานะพรรคหน้าใหม่และสถานะใหม่ของคุณหญิงหน่อยที่แบ็คอัพไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนก่อน ทำให้สเกลของการรณรงค์หาเสียงอาจไม่เท่าเมื่อครั้งอยู่เพื่อไทย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7l56qvF63flwyfSzjoGohc/bb6b1f7851f0fe96d23e9848a6b2815b/TAGCLOUD-social-listening-SPACEBAR-Photo01
Photo: คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ถูกเอ่ยถึงไม่มากนักเมื่อเทียบกับแคนดิเดตระดับตัวท็อป แต่ชื่อของคุณหญิงหน่อยถูกเอ่ยถึงมากเป็นพิเศษ ในวันที่ให้สัมภาษณ์กับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ในรายการ ‘กรรมกรข่าว เปิดอกคุย’ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566

เส้นทางของ ‘หญิงหน่อย’ 

ยุคพลังธรรม 
  • คุณหญิงสุดารัตน์ เริ่มต้นเส้นทางการเมืองในฐานะ ส.ส. ของพรรคพลังธรรม ในปี  2535  หรือการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยหลังการยึดอำนาจของ รสช. และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 
  • ระหว่างรัฐบาลชวนและรัฐบาลบรรหาร สุดารัตน์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.มหาดไทย รมช. 
  • หลังจากได้เป็น ส.ส. ชองพลังธรรม ในการเลือกตั้งปี 2538 ในการเลือกตั้งปี 2539 พรรคพลังธรรมมาถึงจุดดิ่ง โดยได้ ส.ส. แค่คนเดียว คือ สุดารัตน์  
  • ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรมไม่ลงสมัครครั้งนั้น หลังจาก พล.ต. จำลอง ศรีเมือง ผู้ก่อตั้งพรรคหารือกับคนทั้งสองแล้ว ทักษิณตัดสินใจแยกทาง และต่อมาไปตั้งพรรคไทยรักไทย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5TveIWGpOtJWwchK31dxg1/90a901087bbc2a1b2b4c6f5e49bd59e7/TAGCLOUD-social-listening-SPACEBAR-Photo02
Photo: เมื่อเทียบกับแคนดิเดตตัวท็อปที่มักถูกเอ่ยถึงมากเป็นอันดับต้นๆ อย่าง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และแพทองธาร ชินวัตร ชื่อของคุณหญิงสุดารัตน์ มีอัตราการเอ่ยถึงที่ต่ำมาก จากข้อมูลวันที่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่ชื่อของคุณหญิงสุดารัตน์ถูกเอ่ยถึงโซเชียลมีเดียมากที่สุดวันหนึ่งในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
ยุคไทยรักไทย 
  • สุดารัตน์ ออกจากพลังธรรมมาเข้าร่วมกับใหม่ที่ชื่อ ไทยรักไทย และได้เป็น ส.ส. ผู้มีส่วนในชัยชนะอย่างถล่มทลายของพรรคหน้าใหม่ในการเลือกตั้งปี 2544  
  • ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 สุดารัตน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในเวลานั้นเกิดการระบาดของโรคซาร์สและไข้หวัดนก 
  • หลังชนะเลือกตังปี 2548 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  แต่หลังจากนั้นรัฐบาลทักษิณ 2 เผชิญการประท้วงต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ  
  • เกิดรัฐประหารในปี 2549 ตามด้วยคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ไทยรักไทยถูกยุบ สุดารัตน์ ถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี  
หลังจากพ้นจากระยะตัดสิทธิ์ 5 ปี สุดารัตน์ ไมได้เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างหนักหน่วงเหมือนสมาชิกไทยรักไทยคนอื่นๆ ที่หากไม่เข้าร่วมรัฐบาลก็เป็นกำลังให้กับกลุ่มคนเสื้อแดง คุณหญิงหน่อยจะกลับมาชิงความสำคัญทางการเมืองอีกครั้ง ในการเลือกตั้งปี 2562 ถึงขนาดได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย พรรคที่เป็นทายาทสายตรงของไทยรักไทยและเครือข่ายทักษิณ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6fY7ayegTUATVWM4Z8UNWE/8a6e4ef67c4c2388c7ffbda76f04235b/TAGCLOUD-social-listening-SPACEBAR-Photo03
Photo: ในขณะที่พรรคไทยสร้างไทยถูกเอ่ยถึงมากตามชื่อของคุณหญิงสุดารัตน์ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 แต่หนึ่งในวันที่พรรคนี้ถูกเอ่ยถึงมากคือวันที่ 26 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่ผู้สมัครของพรรคไทยสร้างไทยตำหนิคณะกรรมการเลือกตั้งว่าให้ข้อมูลชื่อพรรคที่เขาสังกัดผิดจากไทยสร้างไทย เป็น ‘ไทยสร้างชาติ’

แยกกันตีเวอร์ชัน 2 

แม้คุณหญิงหน่อยจะได้เป็นผู้นำของเพื่อไทย แต่กลับมีการให้กำเนิด ‘พรรคพี่น้อง’ ของเพื่อไทยขึ้นมาที่ชื่อ ไทยรักษาชาติ ซึ่งแทนที่จะช่วยกันเก็บคะแนน กลับประสบอุบัติเหตุไม่คาดฝันทำให้ถูกยุบพรรคก่อนที่จะโลดแล่นทางการเมือง 

เมื่อเหลือเพื่อไทยพรรคเดียว โอกาสที่จะตั้งรัฐบาลก็น้อยลงไป อีกทั้งในการเลือกตั้งปี 2562 แม้เพื่อไทยจะได้คะแนนเสียงากมายพอจะตั้งรัฐบาลได้ ก็มีเหตุเป็นไปทำให้ไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้ 

ในปี 2563 สุดารัตน์ ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย แต่เหยี่ยวการเมืองที่มีสายตาแหลมคมย่อมมองออกว่าการลาออกของคุณหญิงหน่อยไม่ใช่เพราะ ‘หมดสภาพ’ แต่น่าจะเป็นการใช้ยุทธศาสตร์ ‘แยกกันตี’ เหมือนที่เพื่อไทยเคยคิดทำกับไทยรักษาชาติ  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7vACW1quSNtJoyqPDKCrr9/68f53e0a5ebca71a0e461b207b50122f/TAGCLOUD-social-listening-SPACEBAR-Photo04
Photo: เมื่อเทียบกับพรรคระดับตัวท็อปที่มักแย่งตำแหน่งการถูกเอ่ยถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ก้าวไกล, เพื่อไทย และรวมไทยมสร้างชาติ การถูกเอ่ยถึงของพรรคไทยสร้างไทยมีน้อยมาก

ทำไมไทยสร้างไทยถูกพูดถึงแบบแผ่วๆ? 

ตั้งแต่ในยุคเพื่อไทย+ไทยรักษาชาติแล้วที่มีข้อสงสัยถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง 2 พรรคนี้ ซึ่ง สุดารัตน์ กล่าวว่าทั้งสองไม่มีความเกี่ยวข้องกัน หลังจากที่ออกมาตั้งไทยสร้างไทย สุดารัตน์ก็ยังเจอคำถามเดิมๆ ประเภทนี่คือการแยกกันเดิม ร่วมกันตีในสูตร ‘เพื่อไทย+ไทยสร้างชาติ’ หรือเปล่า? 

ด้วยความเข้าใจแบบนี้ล่ะมั้งที่ทำให้การรับรู้ (Brand perception) ของผู้คนต่อพรรคไทยสร้างไทยมีอยู่น้อยนิด เพราะถูกบดบังด้วยรัศมีของพรรคเพื่อไทย  

ยังไม่นับการที่ชื่อของพรรคไทยสร้างไทยยังไปคล้ายกับพรรคไทยสร้างชาติของ ‘ลุงตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยิ่งทำให้การรับรู้ของผู้คนถูกบดบังเช้าไปอีก และยังมีปัญหาความคล้ายกันที่ถึงขนาดทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ใส่ชื่อพรรคให้ผู้สมัครผิด  

เช่น กรณีของณัฐวุฒิ กองจันทร์ดี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 หมายเลข 3 จ.หนองบัวลำภู พรรคไทยสร้างไทยพบว่า  กกต. ใส่ข้อมูลชื่อพรรคที่เข้าสังกัดผิดพลาด จากพรรค ‘ไทยสร้างไทย’ เป็น ‘ไทยสร้างชาติ’ 

ด้วยการ Positioning ตัวเองที่ไม่โดดเด่น และยังมีปัญหาเรื่อง Brand perception ทำให้ไทยสร้างไทยจึงถูกเอ่ยถึงเพียงแผ่วเบา 

เช่นเดียวกับอนาคตทางการเมืองของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ไม่รู้จะยังฉายแสงได้ต่อไปอีกนานแค่ไหน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์