ส่องนโยบายสวัสดิการ 9 พรรค

20 เม.ย. 2566 - 11:08

  • ส่องนโยบายสวัสดิการ 9 พรรคใหญ่ ครอบคลุมใครบ้าง

TAGCLOUD-welfare-policies-SPACEBAR-Thumbnail

‘สวัสดิการ’ อีกหนึ่งนโยบายที่หลายพรรคการเมืองชูเป็นจุดเด่นในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ 

แม้ว่าประเด็นเรื่องสวัสดิการมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ‘นโยบายประชานิยม’ ที่เน้นการแจกเงินเป็นหลัก ถ้าหากมองในมุมกฎหมาย สวัสดิการถือเป็นสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก  

  1. สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เช่น การได้รับบริการสาธารณสุขพื้นฐานอย่างทั่วถึง การคุ้มครองและช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังคลอด  
  2. สิทธิสวัสดิการในการเจริญเติบโตและปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอหรือบุคคลยากไร้ การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง การคุ้มครองแรงงาน และการประกันรายได้ 
  3. สิทธิสวัสดิการในการได้รับการศึกษา 
สำหรับประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ รัฐจะพยายามจัดหาสวัสดิการให้กับประชาชนให้มากที่สุด ซึ่งก็คือ ประกันมาตรฐานขั้นต่ำของประชาชนให้มีการกินดีอยู่ดี ตั้งแต่การเลี้ยงดูบุตร การให้บริการด้านการศึกษา การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย และที่สำคัญ ให้ความช่วยเหลือเวลาไม่มีรายได้เนื่องจากไม่มีงานทำ เพราะฉะนั้น หมายความว่า ถ้าคุณเป็นคนที่พิการไร้ความสามารถ เป็นคนที่ไม่มีคนดูแล รัฐบาลจะเข้ามาช่วย แม้กระทั่ง single parent ที่หมายถึงแม่ที่ไม่มีสามีหรือพ่อที่ไม่มีภรรยาแต่ต้องเลี้ยงลูก รัฐบาลก็จะให้การช่วยเหลือในการแบ่งเบาภาระ  
 
อ้างอิง: อภิชัย พันธ์เสน, วัฒนชัย วินิจจะกูล (บ.ก), สมุดภาพเดือนตุลา (กรุงเทพมหานคร : สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและพรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531), หน้า 119-120 

ปัจจุบันสวัสดิการไทยยังมีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น ความล่าช้าของระบบราชการ และขาดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้ประชาชนไม่ได้รับสิทธิเหล่านี้อย่างทั่วถึง 

และนี่คือ ‘ไพ่เด็ด’ ของนโยบายด้านสวัสดิการจาก 9 พรรค

ส่องนโยบายสวัสดิการ 9 พรรค

รวมไทยสร้างชาติ
  • บัตรสวัสดิการพลัส 1,000 บาทต่อเดือน 
  • เบิกส่วนประกันตน 30% มาใช้ก่อนได้ 
  • ให้ทุนเรียนวิชาชีพ 100 ทุน/ อำเภอ 
  • ฟรีแลนซ์เข้าระบบประกันสังคม 
  • ปรับเบี้ยผู้สูงวัย ทุกช่วงอายุได้ 1,000 บาท/ เดือน  
  • สร้างศูนย์สันทนาการสำหรับดูแลผู้สูงวัย 
  • คืน 30% ของเงินสะสมชราภาพให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยไม่ต้องรอถึงอายุ 60 ปี 
  • ลดภาษีให้ผู้ประกอบการที่จ้างผู้สูงวัยทำงาน

พลังประชารัฐ

  • เพิ่มเงินบัตรประชารัฐเป็น 700 บาท/ เดือน
  • เบี้ยผู้สูงวัยแบบขั้นบันได 3,000-5,000 บาท
  • ผู้ตั้งครรภ์ 4-9 เดือน รับเดือนละ 10,000 บาท x 5 เดือน 
  • ค่าเลี้ยงดูลูก 3,000 บาท/ เดือน x 6 ปี
  • เพิ่มจำนวนและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ 

เพื่อไทย

  • ให้เครดิตถุงเงินกับผู้ตั้งครรภ์ครบ 8 เดือน สำหรับซื้อของจำเป็น 
  • พ่อมีสิทธิ์ลางานช่วยดูแลลูกหลังคลอด 
  • กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นร่วมดูแลเด็ก 
  • ยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ 
  • สร้างรายได้ให้ประเทศเพื่อจัดทำสวัสดิการที่เจาะกลุ่มและทั่วถึง 
  • ผู้สูงอายุและประชาชนใช้บริการรพ. ใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว ไม่มีค่าใช้จ่าย
ก้าวไกล 
สวัสดิการก้าวหน้า ดูแลตั้งแต่เกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต 
  • เกิด 
        - ของขวัญเด็กแรกเกิด 3,000 บาท  
        - เงินดูแลเด็กเล็ก 1,200 บาท/เดือน 
        - พ่อแม่มีสิทธิ์ลาคลอดรวมกัน 180 วัน 
  • เติบโต 
        - เรียนฟรี มีรถรับส่ง 
        - คูปองเปิดโลก เรียนรู้นอกห้องเรียน 
        - ผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน ไม่เก็บ VAT 
  • ทำงาน  
        - เข้าระบบประกันสังคมถ้วนหน้า 
        - เจ็บป่วยได้เงินชดเชย-ค่าเดินทาง 
        - เรียนเสริมทักษะ-เปลี่ยนอาชีพ ฟรีไม่จำกัด 
        - สัญญาจ้างเป็นธรรม ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ 
  • สูงวัย 
        - เงินผู้สูงวัย 3,000 บาท/เดือน 
        - สร้างระบบดูแลผู้ป่วยติดเตียง 
        - ค่าทำศพ 10,000 บาท รวมในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า 
  • ทุกวัย
        - บ้านตั้งตัว 350,000 หลัง 
        - น้ำประปาดื่มได้ทุกที่ 
        - เติมเงินให้ท้องถิ่น เพิ่มขนส่งสาธารณะ 
        - เติมเน็ตฟรี 1GB/เดือน 
        - เงินคนพิการ 3,000 บาท
ประชาธิปัตย์ 
  • ปรับระบบสวัสดิการให้ยั่งยืน 
  • ปฏิรูปการคลังเพื่อเติมกองทุนประกันสังคม 
  • ให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบประกันสังคมและได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 5,000 บาท  
  • เงินสมทบที่ลูกจ้างจ่ายเข้าประกันสังคม  
  • การออมโดยสมัครใจยามเกษียณ 
  • ชมรมผู้สูงอายุรับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน 
ชาติพัฒนากล้า 
  • จัดหางานให้ผู้สูงอายุ 5 แสนตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 5,000 บาท 
  • เงินปรับปรุงบ้านที่มีผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป 50,000 บาท 
  • เด็กแรกเกิด-6 ปี รับ 2,000 บาท/ปี 
  • เงินสนับสนุนศูนย์ดูแลเด็กเล็ก 
ไทยสร้างไทย 
  • สวัสดิการแม่และเด็ก  
  • เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี  
  • กองทุนคนตัวเล็ก สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน ลดการเป็นหนี้นอกระบบ 
  • บำนาญประชาชน 3,000 บาท/เดือน 
ภูมิใจไทย
  • พักหนี้ หยุดเงินต้นและพักดอกเบี้ย 3 ปี 
  • รักษามะเร็งและฟอกไตฟรี 
  • เข้าโครงการหลังคาโซลาร์เซลล์ฟรี 
  • ลดค่าไฟ 450 บาท/เดือน 
พรรคชาติไทยพัฒนา 
  • ค่าคลอดบุตร 5,000 บาท ค่าเลี้ยงดูบุตรปีละ 10,000 บาท 
  • อีก 10 ปี ถ้าไม่ป่วยหรือสุขภาพดี จะได้เงินคืน 3,000 บาท
  • สร้างงานสร้างรายได้ให้ผู้สูงวัย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1uSVGSYzSS4Y3oIc5LNLgD/5551497983b4b9869970b2253adc451f/___________________-9-____

รวมนโยบายสำหรับผู้สูงวัย 9 พรรค 

ปี 2022 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีจำนวนประชากรสูงวัยกว่า 12.1 ล้านคน หรือ 18.3% ของประชากรทั้งหมด 70 กว่าล้านคนโดยประมาณ อีกทั้งยังมีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าจำนวนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี 

ไม่เพียงเท่านั้น มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในปี 2030 โดยมีผู้สูงอายุมากกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ 
 
แล้วพรรคการเมืองไทยมีนโยบายรับมือกับความท้าทายนี้อย่างไรบ้าง 
รวมไทยสร้างชาติ 
  • ผู้สูงวัยทุกช่วงอายุรับ 1,000 บาท/ เดือน    
  • สร้างศูนย์สันทนาการสำหรับดูแลผู้สูงวัย  
  • ลดภาษีให้ผู้ประกอบการที่จ้างผู้สูงวัยทำงาน 
ก้าวไกล 
  • เงินผู้สูงวัย 3,000 บาท/เดือน 
  • สร้างระบบดูแลผู้ป่วยติดเตียง 
  • ค่าทำศพ 10,000 บาท รวมในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เพื่อไทย 
  • ยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคให้ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ 
  • ใช้บริการรพ. ใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว ไม่มีค่าใช้จ่าย 
  • พลังประชารัฐ 
  • เบี้ยผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นได้ 3,000 บาท 70 ปีขึ้นไป 4,000 บาท 80 ปีขึ้นไป 5,000 บาท 
  • ขยายอายุเกษียณจาก 60 ปี เป็น 63 ปี 
  • สร้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง จูงใจให้บริษัทต่างๆ จ้างงานผู้สูงอายุ 
ชาติพัฒนากล้า 
  • จัดหางานให้ผู้สูงอายุ 5 แสนตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 5,000 บาท 
  • เงินปรับปรุงบ้านที่มีผู้สูงอายุแบบอารยสถาปัตย์ 
ภูมิใจไทย 
  • 60 ปีขึ้นไปรับสิทธิกองทุนประกันชีวิต 60 ปี ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต 
  • กู้เงินได้ไม่เกิน 20,000 ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่เป็นภาระลูกหลาน 
  • เมื่อเสียชีวิตได้เงิน 100,000 บาท เป็นมรดกให้ลูกหลาน  
ประชาธิปัตย์ 
  • เข้าระบบประกันสังคม รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 5,000 บาท 
  • การออมโดยสมัครใจยามเกษียณ 
  • ชมรมผู้สูงอายุรับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน 
พรรคชาติไทยพัฒนา 
  • นโยบายสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 
อ้างอิง:  
  • งานเสวนา นโยบายสวัสดิการ "ของใคร แบบไหน โดนใจชาวบ้าน" 4 องค์กรประชาชน ถาม 9 พรรคตอบ 
  • งานเสวนาหัวข้อ “พรรคการเมือง : สวัสดิการเด็กเล็ก ถึงเวลาต้องถ้วนหน้า ได้หรือยัง” โดยคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/38Pzz4GFNpUujcLKd7htBQ/5259f7cd994bbbc1ce2fc914b27bf250/___________________-9-____-2

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์