ฟังเสียงโซเชียล พรรคการเมืองที่คนไทยเอ่ยถึงมากที่สุดในยกแรกของศึกเลือกตั้ง

12 เม.ย. 2566 - 05:53

  • การวิเคราะห์ทิศทางเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะเราจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้านลึก

  • เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของพรรคการเมืองต่างๆ ว่าจะมีโอกาสแค่ไหนในการเลือกตั้ง หรือว่าพวกเขามีผลงานดีแค่ไหน

TAGCLOUD-which-party-was-mentioned-the-most-in-early-april-SPACEBAR-Thumbnail
นี่คือการวิเคราะห์จากการทำ  Social listening โดยทีม Spacebar•Dataops เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 9 เมษายน เพื่อดูว่าข้อความที่พูดถึงเรื่องการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่มีการเปิดรับสมัคร สส.แบ่งเขต และ สส.บัญชีรายชื่อ ในวันที่ 3-4 เมษายน 2566 เป็นอย่างไร
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/kXdVhIOprfQL994FZ8iW2/042f5dbb1184754a1c50724821bc20f3/TAGCLOUD-which-party-was-mentioned-the-most-in-early-april-SPACEBAR-Photo01

สิ่งที่เราพบ 

• สมาชิกโซเชียลเน็ตเวิร์กส่วนใหญ่พูดถึงพรรคการเมืองต่างๆ บนช่องทาง Twitter มากถึง 85.3% ใน Facebook จำนวน 10.4% และทาง YouTube น้อยที่สุด 2.4% 
• พรรคที่มีการพูดถึง (Mentions) ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากที่สุดในช่วงที่มีการเปิดรับสมัคร สส. แบบแบ่งเขต และ สส.บัญชีรายชื่อ ในช่วงวันที่ 1-9 กันยายน 2566 คือ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคประชารัฐ 
• เมื่อดูข้อมูลเป็นรายพรรคจะเห็นว่า พรรคที่ได้รับการมีส่วนร่วม (Interactions) ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากที่สุด 5 อันดับ คือ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย ตามลำดับ 
• พรรคที่ถูกเอ่ยถึงน้อยมาก (ตามลำดับน้อยที่สุดไปหามากที่สุด) คือ ชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างไทย และพรรคภูมิใจไทย 
• คำที่ถูกเอ่ยถึงมาก (Top Keywords) เมื่อสมาชิกโซเชียลมีเดียพูดถึงพรรคการเมืองต่างๆ ล้วนแต่เป็นคำที่เอ่ยถึงพรรคการเมืองใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ‘เพื่อไทย’ ‘ก้าวไกล’ ‘พรรคเพื่อไทย’ ‘พปชร’ ทั้งหมดนี้ตามลำดับการถูกเอ่ยถึงมากที่สุด 
• อีโมจิที่ถูกใช้แทนการเอ่ยถึงพรรคมากที่สุด (Top Emoji) คืออีโมจิรูปหัวใจสีส้ม ซึ่งสีส้มเป็นสีประตำพรรคก้าวไกล รองลงมาคืออีโมจิรูปผลส้ม ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นพรรคก้าวไกลอีกเช่นกัน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6Q3KXnnYCezdRZMEdxh0RQ/fe7636f6f63a67ad1a6aa0cbe04d3c09/TAGCLOUD-which-party-was-mentioned-the-most-in-early-april-SPACEBAR-Photo02

ทำไมต้องก้าวไกล? 

• พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่มีการมีส่วนร่วมของสมาชิกโซเชียลมีเดียมากที่สุด ถึง 6,524,245 ครั้ง 
• แต่เราต้องตระหนักว่าอัตราการถูกพูดถึง (Mentions) ในโซเชียลมีเดียเกิดขึ้นมากที่สุดใน Twitter มากถึง 85.3% ซึ่ง Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกใช้มากที่สุดในบรรดาคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมือง และแฮชแท็กและเทรนดิ้งที่มีจำนวนมากที่สุดใน Twitter มักประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของพรรคก้าวไกล เช่น ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112 ประเด็นเลิกเกณฑ์ทหาร เป็นต้น   
• สอดคล้องกับประเด็นที่เราพบเกี่ยวกับข้อความที่ถูกเอ่ยถึงควบคู่กับพรรคการเมืองต่างๆ เราพบว่า ข้อความที่พูดถึงพรรคก้าวไกล ส่วนใหญ่กล่าวถึงตอนที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขึ้นเวทีดีเบตที่จัดโดยเครือ Nation และเรื่องการที่พรรคก้าวไกลประกาศเจตนารมณ์เกี่ยวกับมาตรา 112 ที่ชี้แจงว่าถ้าก้าวไกลยกเลิกหรือแก้มาตรา 112 ไปแล้วจะได้อะไรกลับมา 
• พรรคอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ข้อความที่ถูกเอ่ยถึงมากเวลาเอ่ยถึงพรรคหลักๆ เช่น พรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐก็เกี่ยวข้องมาตรา 112 เช่นกัน แต่เป็นการเอ่ยถึงที่เกี่ยวโยงกับท่าทีของพรรคก้าวไกลอย่างชัดเจน เช่น พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าจะไม่ยกเลิกมาตรา 112 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/DTA5WoY2e9o2zmcNGNz3A/b292473e7157d54dd39f83229e772029/TAGCLOUD-which-party-was-mentioned-the-most-in-early-april-SPACEBAR-Photo03

สิ่งที่เราเห็น

• เราพบว่าพรรค ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่อยู่ในความสนใจของผู้คนอย่างมาก คือพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย มีการมีส่วนร่วมของสมาชิกโซเชียลมีเดียมากที่สุด รวมกันแล้วมีมากถึง 12,109,393 คร้ัง 
• ในขณะที่พรรค ‘ฝ่ายรัฐบาล’ คือพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ มีการมีส่วนร่วมรวมกัน ครั้ง 6,296,750 ครั้ง จะเห็นว่าหากวัดกันที่ปฏิกิริยาของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก อัตราส่วนของพรรคทั้ง 2 ฝ่ายห่างกันครึ่งต่อครึ่ง 
• แต่ต้องตระหนักว่า การมีส่วนร่วมมากกว่าไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสัญญาณของความนิยมมากกว่า เพียงแต่มันสามารถสะท้อนได้ว่าพรรคการเมืองไหนที่อยู่ในสปอตไลต์หรืออยู่ในความสนใจของผู้คน ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ถึงความสนใจของผู้คนต่อพรรคนั้นๆ 
• เราจึงเห็นว่า Top Keywords จากการสำรวจครั้งนี้โยงกับมาตรา 112 ไม่ว่าจะสนับสนุนให้แก้ไขหรือยืนยันจะไม่แก้ไขก็ตาม และพรรคที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มากที่สุดคือพรรคก้าวไกล ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 112 ขณะที่พรรค ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ เช่นเดียวกันคือพรรคเพื่อไทย กลับมีท่าทีตรงกันข้าม ทำให้เกิดวิวาทะในหมู่ ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ ด้วยกัน เรื่องท่าทีของใครที่แข็งแกร้าวกว่ากัน ฝ่ายไหนที่เป็นพรรคประชาธิปไตยตัวจริง และฝ่ายไหนที่ประนีประนอมจนเกินไปในเรื่องการปฏิรูปการเมือง 

และนี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุให้พรรค ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ ถูกเอ่ยถึงมากกว่าพรรคสายอื่น 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์