เรียกว่า ‘จังหวะเวลา’ พอดี หลัง ‘สภากลาโหม’ แจงแผน ‘ปฏิรูปกองทัพ’ ระยะ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2566 - 70 หลังแผนเดิมสิ้นสุดพอดี ช่วงปี 2561 - 65 โดยครั้งนี้เป็น แต่งานนี้ก็มีการมอง 2 มุม ระหว่าง เป็น ‘สัญญาณ’ กองทัพในการปรับตัว หรือ ‘ถอย’ หรือไม่ แต่ในอีกแง่ก็ถูกมองว่าเป็นการ ‘สร้างปราการ’ เตรียมรับ ‘รัฐบาลใหม่’ หรือไม่ หลังผลการเลือกตั้งออกมา เกิดปรากฏการณ์ ‘ก้าวไกลฟีเวอร์’ ที่มีนโยบาย ‘ปฏิรูปกองทัพ’ ชัดเจน เรียกว่า ‘ถอนรากถอนโคน’
เช่น การยกเลิกเกณฑ์ทหาร โดยให้เป็นการสมัครใจแทน, ปรับลดงบประมาณกองทัพร้อยละ 10 จากโครงการทั้งหมด ปรับลด 50,000 ล้านบาท ในส่วนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม, ลดขนาดกองทัพ ลดจำนวนนายพล, การจัดหายุทโธปกรณ์ที่ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี, การยุบ กอ.รมน. ยกเลิกกฎอัยการศึก จ.ชายแดนภาคใต้, การย้ายหน่วยทหารออกจาก กทม., การจัดการเงินนอกงบประมาณของกองทัพ เป็นต้น
ทั้งนี้ภายหลังผลการเลือกตั้งออกมา ‘กองทัพ’ ได้ประเมินและจัดทำ ‘แผนตั้งรับ’ หากพรรคก้าวไกลหรือพรรคเพื่อไทยได้นำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งพรรคขั้วฝ่ายค้านเดิมมีนโยบายที่มีผลกระทบต่อกองทัพโดยตรง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลที่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะ ‘ฝ่ายรัฐบาล’ หรือ ‘ฝ่ายค้าน’ ย่อมเดินเครื่องเรื่องการปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ ดังนั้น ‘กองทัพ’ จึงจัดทำแผนตั้งรับโดยการ ‘ชี้แจง’ ถึงความเป็นไปได้ของแต่ละนโยบาย จะมีผลดี - ผลเสียอย่างไร หรือสิ่งใดที่กองทัพได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว ซึ่งแต่ละนโยบายได้มอบหมาย ‘หน่วยงานทหาร’ รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ไป
ผ่านมาประมาณ 2 สัปดาห์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมต.กลาโหม ได้พับกับ ผบ.เหล่าทัพ ครั้งแรก หลังการเลือกตั้ง ในวงประชุมสภากลาโหม โดยที่ประชุมมีมติให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ สร้างการรับรู้และความเข้าใจอันดีให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน ได้ทราบถึงภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบและการดำเนินการที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมกำลังการใช้กำลัง เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องตัว ทันสมัย
เช่น การยุติแผนการเสริมสร้าง กองพลทหารราบที่ 7 และ กองพลทหารม้าที่ 3 ของกองทัพบก การปรับลดกำลังทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,656 อัตรา ประหยัดได้ 600 ล้านบาท การปรับลดนายทหารชั้นยศสูงเพื่อลดงบประมาณด้านกาลังพล โดยในห้วงปี 2570 ให้เหลือ 50% ตามแผนที่กำหนด รวมถึงการปิดการบรรจุกำลังพลและลดกำลังพลในปี 2560 - 2564 ไปแล้วกว่า 8,000 นาย สามารถประหยัดงบประมาณได้ จำนวน 1,500 ล้านบาท และเมื่อถึงปี 2570 จะสามารถปรับลดกำลังลงได้ประมาณ 12,000 นาย และประหยัดงบกำลังพลลงได้ 2,900 ล้านบาทเศษ
สำหรับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการนั้น จำนวนที่ตรวจเลือกในแต่ละปี จะสอดคล้องกับโครงสร้างการจัดและภารกิจของกองทัพ โดยปัจจุบันมีความต้องการพลทหารปีละ ประมาณ 90,000 นาย และกำลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครใจเข้าเป็นทหาร ประมาณ 35,000 นาย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบการสมัครใจเข้าเป็นทหารได้ในอนาคต
นอกจากนั้น มีการนำกำลังพลสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตามสัญญาจ้างระยะ 4 ปี และการเตรียมการ บรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมในตาแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และการเตรียมการด้านกาลังพลสำรอง เพื่อรองรับสถานการณ์ยามวิกฤตและยามสงคราม เรื่องพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่องสาคัญๆ ดังนี้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพกองทัพและเสริมสร้างหน่วยให้มีความสมบูรณ์ พร้อมรบ ในห้วงระยะ 5 ปี เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ ซึ่งแผนพัฒนาขีดความสามารถฯ แบ่งกลุ่มการพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มดำรงสภาพความพร้อมรบ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในระดับความต้องการต่ำสุด และให้สิ่ง อุปกรณ์ของกองทัพสามารถใช้งานตามมาตรฐานของสิ่งอุปกรณ์นั้น รวมทั้งการจัดหาให้ครบตามอัตราการจัด ยุทโธปกรณ์และการจัดหาทดแทน
2. กลุ่มขยายขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถของสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. กลุ่มเสริมสร้างความทันสมัยโดย เพื่อให้มีสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและรูปแบบภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป
หากทำแผนปฏิรูปของกลาโหมมาเทียบกับนโยบายปฏิรูปของพรรคก้าวไกลมีความใกล้เคียงกัน แต่ที่นำเสนอผ่านสื่อของ ‘สภากลาโหม’ ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น เรื่องการคืนที่ดิน - ธุรกิจของกองทัพให้ประชาชน - รัฐบาล ที่พรรคก้าวไกลเสนอนั้น ในฝั่งกองทัพก็มีมาตรการรองรับ คือ การชี้แจงการใช้ที่ดินที่ขอใช้จาก ‘กรมธนารักษ์’ เพราะเป็นพื้นที่ราชพัสดุ, การชี้แจงรายได้จากกิจการต่างๆ ให้ชัดเจน สามารถตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ได้ ซึ่งรวมถึงรายได้จาก ‘สวัสดิการเชิงธุรกิจ’ ของกองทัพด้วย
การยุบ กอ.รมน. ยกเลิกกฎอัยการศึกใน จ.ชายแดนภาคใต้ ทางกองทัพจะต้องยืนยันว่าไม่ ‘ซ้ำซ้อน’ กับภารกิจเหล่าทัพหรือส่วนงานอื่นๆ ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกต้องชี้แจงความจำเป็น โดยไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือฝ่ายการเมืองที่ทำ ‘ประชานิยม’ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ในแง่หนึ่งก็มีการมองว่า ‘กองทัพ’ กำลังวาง ‘สมดุล’ ในเรื่องการปฏิรูปกองทัพกับ ‘ฝ่ายการเมือง’ ให้เห็นถึง ‘ความพยายาม’ ของฝั่งกองทัพเอง ซึ่งฝั่ง ‘พรรคก้าวไกล’ ก็ต่างออกมาพูดว่าเป็น ‘นิมิตรหมายที่ดี’ ที่กองทัพ ‘ปรับตัว’ แต่สิ่งที่คาดหวังจากกองทัพคือ ‘ความโปร่งใส’ ในการดำเนินนโยบายต่างๆ แต่ฝั่งพรรคก้าวไกลก็หวังให้การ ‘เกณฑ์ทหาร’ เหลือเพียง 60,000 คนเท่านั้น พร้อมเสนอให้ยุบ 2 กองพล พล.ร.7 กับ พล.ม.3 รวมทั้งการยกเลิก ‘ทหารรับใช้’ รวมถึง ‘บ้านพักหลวงอดีตนายทหาร’ ด้วย ดังนั้นการ ‘วัดพลัง’ ระหว่าง ‘กองทัพ - ก้าวไกล’ ยังคงมีต่อไป แต่ไม่ถึงกับ ‘เผชิญหน้า’ เฉกเช่นก่อนหน้านี้
แม้จะดูว่า ‘ถอย’ คนละก้าว แต่ก็มี ‘เส้นแบ่ง’ ชัดเจนว่า ‘อย่าล้ำเส้น’ กัน
เช่น การยกเลิกเกณฑ์ทหาร โดยให้เป็นการสมัครใจแทน, ปรับลดงบประมาณกองทัพร้อยละ 10 จากโครงการทั้งหมด ปรับลด 50,000 ล้านบาท ในส่วนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม, ลดขนาดกองทัพ ลดจำนวนนายพล, การจัดหายุทโธปกรณ์ที่ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี, การยุบ กอ.รมน. ยกเลิกกฎอัยการศึก จ.ชายแดนภาคใต้, การย้ายหน่วยทหารออกจาก กทม., การจัดการเงินนอกงบประมาณของกองทัพ เป็นต้น
ทั้งนี้ภายหลังผลการเลือกตั้งออกมา ‘กองทัพ’ ได้ประเมินและจัดทำ ‘แผนตั้งรับ’ หากพรรคก้าวไกลหรือพรรคเพื่อไทยได้นำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งพรรคขั้วฝ่ายค้านเดิมมีนโยบายที่มีผลกระทบต่อกองทัพโดยตรง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลที่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะ ‘ฝ่ายรัฐบาล’ หรือ ‘ฝ่ายค้าน’ ย่อมเดินเครื่องเรื่องการปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ ดังนั้น ‘กองทัพ’ จึงจัดทำแผนตั้งรับโดยการ ‘ชี้แจง’ ถึงความเป็นไปได้ของแต่ละนโยบาย จะมีผลดี - ผลเสียอย่างไร หรือสิ่งใดที่กองทัพได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว ซึ่งแต่ละนโยบายได้มอบหมาย ‘หน่วยงานทหาร’ รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ไป
ผ่านมาประมาณ 2 สัปดาห์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมต.กลาโหม ได้พับกับ ผบ.เหล่าทัพ ครั้งแรก หลังการเลือกตั้ง ในวงประชุมสภากลาโหม โดยที่ประชุมมีมติให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ สร้างการรับรู้และความเข้าใจอันดีให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน ได้ทราบถึงภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบและการดำเนินการที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมกำลังการใช้กำลัง เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องตัว ทันสมัย
เช่น การยุติแผนการเสริมสร้าง กองพลทหารราบที่ 7 และ กองพลทหารม้าที่ 3 ของกองทัพบก การปรับลดกำลังทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,656 อัตรา ประหยัดได้ 600 ล้านบาท การปรับลดนายทหารชั้นยศสูงเพื่อลดงบประมาณด้านกาลังพล โดยในห้วงปี 2570 ให้เหลือ 50% ตามแผนที่กำหนด รวมถึงการปิดการบรรจุกำลังพลและลดกำลังพลในปี 2560 - 2564 ไปแล้วกว่า 8,000 นาย สามารถประหยัดงบประมาณได้ จำนวน 1,500 ล้านบาท และเมื่อถึงปี 2570 จะสามารถปรับลดกำลังลงได้ประมาณ 12,000 นาย และประหยัดงบกำลังพลลงได้ 2,900 ล้านบาทเศษ
สำหรับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการนั้น จำนวนที่ตรวจเลือกในแต่ละปี จะสอดคล้องกับโครงสร้างการจัดและภารกิจของกองทัพ โดยปัจจุบันมีความต้องการพลทหารปีละ ประมาณ 90,000 นาย และกำลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครใจเข้าเป็นทหาร ประมาณ 35,000 นาย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบการสมัครใจเข้าเป็นทหารได้ในอนาคต
นอกจากนั้น มีการนำกำลังพลสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตามสัญญาจ้างระยะ 4 ปี และการเตรียมการ บรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมในตาแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และการเตรียมการด้านกาลังพลสำรอง เพื่อรองรับสถานการณ์ยามวิกฤตและยามสงคราม เรื่องพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่องสาคัญๆ ดังนี้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพกองทัพและเสริมสร้างหน่วยให้มีความสมบูรณ์ พร้อมรบ ในห้วงระยะ 5 ปี เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ ซึ่งแผนพัฒนาขีดความสามารถฯ แบ่งกลุ่มการพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มดำรงสภาพความพร้อมรบ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในระดับความต้องการต่ำสุด และให้สิ่ง อุปกรณ์ของกองทัพสามารถใช้งานตามมาตรฐานของสิ่งอุปกรณ์นั้น รวมทั้งการจัดหาให้ครบตามอัตราการจัด ยุทโธปกรณ์และการจัดหาทดแทน
2. กลุ่มขยายขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถของสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. กลุ่มเสริมสร้างความทันสมัยโดย เพื่อให้มีสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและรูปแบบภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป
หากทำแผนปฏิรูปของกลาโหมมาเทียบกับนโยบายปฏิรูปของพรรคก้าวไกลมีความใกล้เคียงกัน แต่ที่นำเสนอผ่านสื่อของ ‘สภากลาโหม’ ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น เรื่องการคืนที่ดิน - ธุรกิจของกองทัพให้ประชาชน - รัฐบาล ที่พรรคก้าวไกลเสนอนั้น ในฝั่งกองทัพก็มีมาตรการรองรับ คือ การชี้แจงการใช้ที่ดินที่ขอใช้จาก ‘กรมธนารักษ์’ เพราะเป็นพื้นที่ราชพัสดุ, การชี้แจงรายได้จากกิจการต่างๆ ให้ชัดเจน สามารถตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ได้ ซึ่งรวมถึงรายได้จาก ‘สวัสดิการเชิงธุรกิจ’ ของกองทัพด้วย
การยุบ กอ.รมน. ยกเลิกกฎอัยการศึกใน จ.ชายแดนภาคใต้ ทางกองทัพจะต้องยืนยันว่าไม่ ‘ซ้ำซ้อน’ กับภารกิจเหล่าทัพหรือส่วนงานอื่นๆ ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกต้องชี้แจงความจำเป็น โดยไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือฝ่ายการเมืองที่ทำ ‘ประชานิยม’ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ในแง่หนึ่งก็มีการมองว่า ‘กองทัพ’ กำลังวาง ‘สมดุล’ ในเรื่องการปฏิรูปกองทัพกับ ‘ฝ่ายการเมือง’ ให้เห็นถึง ‘ความพยายาม’ ของฝั่งกองทัพเอง ซึ่งฝั่ง ‘พรรคก้าวไกล’ ก็ต่างออกมาพูดว่าเป็น ‘นิมิตรหมายที่ดี’ ที่กองทัพ ‘ปรับตัว’ แต่สิ่งที่คาดหวังจากกองทัพคือ ‘ความโปร่งใส’ ในการดำเนินนโยบายต่างๆ แต่ฝั่งพรรคก้าวไกลก็หวังให้การ ‘เกณฑ์ทหาร’ เหลือเพียง 60,000 คนเท่านั้น พร้อมเสนอให้ยุบ 2 กองพล พล.ร.7 กับ พล.ม.3 รวมทั้งการยกเลิก ‘ทหารรับใช้’ รวมถึง ‘บ้านพักหลวงอดีตนายทหาร’ ด้วย ดังนั้นการ ‘วัดพลัง’ ระหว่าง ‘กองทัพ - ก้าวไกล’ ยังคงมีต่อไป แต่ไม่ถึงกับ ‘เผชิญหน้า’ เฉกเช่นก่อนหน้านี้
แม้จะดูว่า ‘ถอย’ คนละก้าว แต่ก็มี ‘เส้นแบ่ง’ ชัดเจนว่า ‘อย่าล้ำเส้น’ กัน