



ครบ 1 เดือน ที่ รล.ช้าง เข้าประจำการ ‘ราชนาวีไทย’ หลัง ทร. ส่งต่อเรือจากจีน โดย รล.ช้าง เป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดของ ทร. เป็นเรือ LPD ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ที่จะมาเป็น ‘เรือพี่เลี้ยง’ ให้กับเรือดำน้ำ ที่ไทยจัดหาจาก บริษัท CSOC รัฐวิสาหกิจจีนเช่นกัน แต่เมื่อ ทร. ยังไม่สามารถแก้ปัญหา ‘เครื่องยนต์’ เรือดำนำจีนได้ จึงต้อง ‘ปรับภารกิจ’ รล.ช้าง ที่มีพื้นฐานเป็นเรือเอนกประสงค์ไปทำภารกิจอื่นแทน จึงมีการฝึกเพื่อทดสอบสมรรถนะ รล.ช้าง ขึ้นมา โดยจะมีการฝึกยาวไปตลอด 1 ปี เพื่อทดสอบการจัดวางกำลังบนเรือ การฝึกกำลังพลส่วนต่างๆ บนเรือ
ทร. ได้จัดการฝึก รล.ช้าง ในรูปแบบ ‘น้ำ-ฟ้า-ฝั่ง’ ผสมกับการฝึกช่วยเหลือประชาชน โดยมีการฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยมีการปล่อยรถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก AAV สัญชาติสหรัฐฯ และ VN 16 สัญชาติจีน จากอู่ลอย ภายใน รล.ช้าง เข้าประชิดชายฝั่ง หาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
การใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้ป่วย-บาดเจ็บ มายัง รพ.สนาม บน รล.ช้าง ที่มีห้องพยายาลรองรับ รวมทั้งมีการใช้เรือระบายพลขนาดเล็ก-กลาง ควบคู่ด้วย ในการช่วยเหลือและอพยพประชาชน ตามแนวทางการใช้ รล.ช้าง เป็น ‘กองบัญชาการ’ กลางทะเล หรือ From The Sea ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน
ทั้งนี้ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำจากจีน ลำแรกว่า ภารกิจ รล.ช้าง ในด้านภารกิจสนับสนุนเรือดำน้ำ ต้องรอความชัดเจนในการจัดหาเรือดำน้ำจากประเทศจีนให้ได้ก่อน หลังจากนั้นก็จะเพิ่มขีดความสามารถในภายหลัง
ส่วนได้มีสอบถามทาง ทร.ปากีสถาน ที่สั่งต่อเรือดำน้ำจากจีน ในประเด็นเครื่องยนต์ว่าพร้อมจะเปลี่ยน เครื่องยนต์เป็น CHD620 ที่จีนผลิตหรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า กองทัพเรือได้ส่งคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ไปประเทศจีนเพื่อไปดูไลน์การผลิตเครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวที่ทางการจีนนำมาใช้แล้ว ปัจจุบันเครื่องยนต์รุ่นนี้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือผิวน้ำของจีนเป็นหลักและใช้อยู่กับเรือรบของจีนทั้งหมด การที่จะดัดแปลงมาใช้กับเรือดำน้ำก็จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมไม่กี่ส่วน
“เครื่องยนต์ที่ผลิตให้ปากีสถานได้มีการเริ่มไลน์การผลิตแล้ว นั่นหมายความว่า จีนได้ผลิตเครื่องยนต์ถ้า CHD 620 ให้เรือดำน้ำปากีสถาน ทางการจีนเองก็ต้องใช้เครื่องยนต์รุ่นนี้กับเรือดำน้ำจีนเช่นเดียวกัน ในการต่อเรือดำน้ำในอนาคต ซึ่งจีนก็ได้มีการผลิตเรือดำน้ำอยู่ทุกปีเพื่อใช้ในกองทัพเรือจีน” ผบ.ทร. กล่าว
ส่วนนี้จะเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจของกองทัพเรือหรือไม่ พล.ร.อ.เชิงชาย กล่าวว่า ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่จะดูในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ความปลอดภัยของเครื่องยนต์ และขั้นสุดท้ายคือขีดความสามารถในการปฎิบัติการทางยุทธวิธีที่จะใช้กับเรือดำน้ำ ซึ่งเราได้พิจารณาทั้ง 3 หัวข้อ เพื่อมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าเราจะรับเครื่องยนต์ดังกล่าวติดตั้งกับเรือดำน้ำที่เราสั่งต่อจากจีนหรือไม่
“เรื่องทั้งหมดนี้ได้มีการนำเสนอรัฐบาลผ่านกระทรวงกลาโหมอย่างต่อเนื่อง เป็นการรายงานให้กระทรวงกลาโหมรับทราบข้อมูลและความคืบหน้าในการเจรจาและแนวทางการตัดสินใจเพื่อเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย” ผบ.ทร. กล่าว
พล.ร.อ.เชิงชาย ยังกล่าวถึงแผนรองรับ ว่า ทร. ได้ชะลอโครงการเรือดำน้ำ ลำที่ 2-3 ออกไปอยู่แล้ว โดยนำโครงการเรือฟริเกต ลำที่ 2 มาทดแทน ในช่วงที่เรามีปัญหาเรือดำน้ำลำที่ 1 ได้ข้อสรุปว่าเราจะต่อในประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับส่วนต่อเรือในประเทศไทย
“เราอยู่ระหว่างการตัดสินใจระหว่างเดินหน้าต่อไปหรือยกเลิกสัญญาเรือดำน้ำ และยังไม่ได้ข้อสรุปซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับจีนทั้งเรื่องการจ่ายค่าชดเชยหลังจากที่โครงการล่าช้าไป ไม่ว่าจะเป็นการให้รับประกันการใช้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวหรืออะไหล่ชดเชย สิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะมาชดเชยให้ ทร. ไทย” ผบ.ทร. กล่าว
ผบ.ทร. ย้ำว่า กำหนดการที่จะได้ข้อสรุปทั้งหมดยังเป็นช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.2566 เหมือนเดิม ที่ทางการจีนจะรวบรวมข้อมูลมาให้เรา เพื่อจะได้ตรวจสอบขั้นสุดท้ายแล้วนำเสนอรัฐบาลต่อไป จะเปลี่ยนแปลงจากที่เสนอหรือไม่ขึ้นอยู่อยู่กับ ครม. พิจารณาเพราะเป็นอำนาจของ ครม. ส่วนถ้ายกเลิกแล้วทางการจีนจะคืนเงินให้เราหรือไม่นั้น ผบ.ทร. ระบุว่า ในส่วนนี้เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนที่ต้องพูดจากัน
อย่างไรก็ตามขณะที่ รล.ช้าง แล่นออกไปยังอ่าวสัตหีบ ได้แล่นสวนกับเรือ Qi Jiguang - Hull 83 ของจีน ที่กำลังแล่นเข้าจอดท่าเรือจุกเสม็ดเพื่อแวะเยือนไทยร่วมกิจกรรมสานความสัมพันธ์ระหว่าง ทร. ไทย กับ ทร. จีน โดยระหว่างเดินเรือสวนทางกันกลางทะเล เรือได้ส่งอาณัติสัญญาณในการทักทายโดยมี นอ.ธีรสาร มั่นคง ผู้บังคับการ รล.ช้าง ได้มายืนแสดงสัญลักษณ์ต้อนรับตามธรรมเนียมปฏิบัติชาวเรือ
สำหรับ เรือ Qi Jiguang - Hull 83 ของจีนได้นำ 476 นักเรียนนายเรือจีนออกฝึกทางทะเลนาน 40 วัน แวะ เวียดนาม-ไทย-บรูไน-ฟิลิปปินส์ และจะมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-1 มิ.ย. 2566 โดยจะส่ง 6 นักเรียนนายเรือจีน มาแลกเปลี่ยนการอบรมและฝึกที่โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ
ปัจจุบันกองทัพเรือไทยยังมีการฝึกร่วม ระดับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) ภายใต้รหัส ‘บลู สไตรค์’ ตามห้วงเวลาที่กำหนด ขณะที่ ทอ.ไทย- จีน เตรียมการฝึกภายใต้รหัส ‘ฟัลคอน สไตร์ค’ ซึ่งจะจัดการฝึกในเดือน ส.ค.นี้
ทั้งหมดนี้สะท้อนสัมพันธ์ระหว่าง ‘ทร.ไทย-จีน’ ที่แนบแน่น ในอีกแง่ก็สะท้อนภาพ ‘อำนาจทางทะเล’ ของประเทศจีน ที่แผ่อิทธิพลลงมาถึง ‘ทะเลจีนใต้’ มากขึ้น เพราะได้ชื่อว่าเป็น ‘หลังบ้านจีน’ ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่าภูมิภาค ‘อินโด-แปซิฟิก’ ที่กินอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียไปถึงฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ซึ่งในพื้นที่ภาคพื้น-ภาคทะเลนั้น ประเทศไทยมี ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ อยู่ใจกลาง 2 ฝั่งมหาสมุทร
โดยเมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. 2566 เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ CVN 68 ของสหรัฐฯ สังกัดกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 ได้มาเยือนไทย จอดที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ 190 ปี หลังได้ล่องเข้ามายังภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จากเมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไป ตั้งแต่ พ.ย. 2565 ล่าสุดก่อนเยือนไทย คือ การฝึกร่วมทางทะเลไตรภาคี กับเรือรบของ Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) และเกาหลีใต้ จากนั้นได้ล่องมาทางใต้ เข้าสู่พื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยมีปลายทางคือประเทศไทย
ทร. ได้จัดการฝึก รล.ช้าง ในรูปแบบ ‘น้ำ-ฟ้า-ฝั่ง’ ผสมกับการฝึกช่วยเหลือประชาชน โดยมีการฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยมีการปล่อยรถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก AAV สัญชาติสหรัฐฯ และ VN 16 สัญชาติจีน จากอู่ลอย ภายใน รล.ช้าง เข้าประชิดชายฝั่ง หาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
การใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้ป่วย-บาดเจ็บ มายัง รพ.สนาม บน รล.ช้าง ที่มีห้องพยายาลรองรับ รวมทั้งมีการใช้เรือระบายพลขนาดเล็ก-กลาง ควบคู่ด้วย ในการช่วยเหลือและอพยพประชาชน ตามแนวทางการใช้ รล.ช้าง เป็น ‘กองบัญชาการ’ กลางทะเล หรือ From The Sea ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน
ทั้งนี้ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำจากจีน ลำแรกว่า ภารกิจ รล.ช้าง ในด้านภารกิจสนับสนุนเรือดำน้ำ ต้องรอความชัดเจนในการจัดหาเรือดำน้ำจากประเทศจีนให้ได้ก่อน หลังจากนั้นก็จะเพิ่มขีดความสามารถในภายหลัง
ส่วนได้มีสอบถามทาง ทร.ปากีสถาน ที่สั่งต่อเรือดำน้ำจากจีน ในประเด็นเครื่องยนต์ว่าพร้อมจะเปลี่ยน เครื่องยนต์เป็น CHD620 ที่จีนผลิตหรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า กองทัพเรือได้ส่งคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ไปประเทศจีนเพื่อไปดูไลน์การผลิตเครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวที่ทางการจีนนำมาใช้แล้ว ปัจจุบันเครื่องยนต์รุ่นนี้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือผิวน้ำของจีนเป็นหลักและใช้อยู่กับเรือรบของจีนทั้งหมด การที่จะดัดแปลงมาใช้กับเรือดำน้ำก็จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมไม่กี่ส่วน
“เครื่องยนต์ที่ผลิตให้ปากีสถานได้มีการเริ่มไลน์การผลิตแล้ว นั่นหมายความว่า จีนได้ผลิตเครื่องยนต์ถ้า CHD 620 ให้เรือดำน้ำปากีสถาน ทางการจีนเองก็ต้องใช้เครื่องยนต์รุ่นนี้กับเรือดำน้ำจีนเช่นเดียวกัน ในการต่อเรือดำน้ำในอนาคต ซึ่งจีนก็ได้มีการผลิตเรือดำน้ำอยู่ทุกปีเพื่อใช้ในกองทัพเรือจีน” ผบ.ทร. กล่าว
ส่วนนี้จะเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจของกองทัพเรือหรือไม่ พล.ร.อ.เชิงชาย กล่าวว่า ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่จะดูในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ความปลอดภัยของเครื่องยนต์ และขั้นสุดท้ายคือขีดความสามารถในการปฎิบัติการทางยุทธวิธีที่จะใช้กับเรือดำน้ำ ซึ่งเราได้พิจารณาทั้ง 3 หัวข้อ เพื่อมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าเราจะรับเครื่องยนต์ดังกล่าวติดตั้งกับเรือดำน้ำที่เราสั่งต่อจากจีนหรือไม่
“เรื่องทั้งหมดนี้ได้มีการนำเสนอรัฐบาลผ่านกระทรวงกลาโหมอย่างต่อเนื่อง เป็นการรายงานให้กระทรวงกลาโหมรับทราบข้อมูลและความคืบหน้าในการเจรจาและแนวทางการตัดสินใจเพื่อเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย” ผบ.ทร. กล่าว
พล.ร.อ.เชิงชาย ยังกล่าวถึงแผนรองรับ ว่า ทร. ได้ชะลอโครงการเรือดำน้ำ ลำที่ 2-3 ออกไปอยู่แล้ว โดยนำโครงการเรือฟริเกต ลำที่ 2 มาทดแทน ในช่วงที่เรามีปัญหาเรือดำน้ำลำที่ 1 ได้ข้อสรุปว่าเราจะต่อในประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับส่วนต่อเรือในประเทศไทย
“เราอยู่ระหว่างการตัดสินใจระหว่างเดินหน้าต่อไปหรือยกเลิกสัญญาเรือดำน้ำ และยังไม่ได้ข้อสรุปซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับจีนทั้งเรื่องการจ่ายค่าชดเชยหลังจากที่โครงการล่าช้าไป ไม่ว่าจะเป็นการให้รับประกันการใช้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวหรืออะไหล่ชดเชย สิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะมาชดเชยให้ ทร. ไทย” ผบ.ทร. กล่าว
ผบ.ทร. ย้ำว่า กำหนดการที่จะได้ข้อสรุปทั้งหมดยังเป็นช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.2566 เหมือนเดิม ที่ทางการจีนจะรวบรวมข้อมูลมาให้เรา เพื่อจะได้ตรวจสอบขั้นสุดท้ายแล้วนำเสนอรัฐบาลต่อไป จะเปลี่ยนแปลงจากที่เสนอหรือไม่ขึ้นอยู่อยู่กับ ครม. พิจารณาเพราะเป็นอำนาจของ ครม. ส่วนถ้ายกเลิกแล้วทางการจีนจะคืนเงินให้เราหรือไม่นั้น ผบ.ทร. ระบุว่า ในส่วนนี้เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนที่ต้องพูดจากัน
อย่างไรก็ตามขณะที่ รล.ช้าง แล่นออกไปยังอ่าวสัตหีบ ได้แล่นสวนกับเรือ Qi Jiguang - Hull 83 ของจีน ที่กำลังแล่นเข้าจอดท่าเรือจุกเสม็ดเพื่อแวะเยือนไทยร่วมกิจกรรมสานความสัมพันธ์ระหว่าง ทร. ไทย กับ ทร. จีน โดยระหว่างเดินเรือสวนทางกันกลางทะเล เรือได้ส่งอาณัติสัญญาณในการทักทายโดยมี นอ.ธีรสาร มั่นคง ผู้บังคับการ รล.ช้าง ได้มายืนแสดงสัญลักษณ์ต้อนรับตามธรรมเนียมปฏิบัติชาวเรือ
สำหรับ เรือ Qi Jiguang - Hull 83 ของจีนได้นำ 476 นักเรียนนายเรือจีนออกฝึกทางทะเลนาน 40 วัน แวะ เวียดนาม-ไทย-บรูไน-ฟิลิปปินส์ และจะมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-1 มิ.ย. 2566 โดยจะส่ง 6 นักเรียนนายเรือจีน มาแลกเปลี่ยนการอบรมและฝึกที่โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ
ปัจจุบันกองทัพเรือไทยยังมีการฝึกร่วม ระดับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) ภายใต้รหัส ‘บลู สไตรค์’ ตามห้วงเวลาที่กำหนด ขณะที่ ทอ.ไทย- จีน เตรียมการฝึกภายใต้รหัส ‘ฟัลคอน สไตร์ค’ ซึ่งจะจัดการฝึกในเดือน ส.ค.นี้
ทั้งหมดนี้สะท้อนสัมพันธ์ระหว่าง ‘ทร.ไทย-จีน’ ที่แนบแน่น ในอีกแง่ก็สะท้อนภาพ ‘อำนาจทางทะเล’ ของประเทศจีน ที่แผ่อิทธิพลลงมาถึง ‘ทะเลจีนใต้’ มากขึ้น เพราะได้ชื่อว่าเป็น ‘หลังบ้านจีน’ ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่าภูมิภาค ‘อินโด-แปซิฟิก’ ที่กินอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียไปถึงฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ซึ่งในพื้นที่ภาคพื้น-ภาคทะเลนั้น ประเทศไทยมี ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ อยู่ใจกลาง 2 ฝั่งมหาสมุทร
โดยเมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. 2566 เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ CVN 68 ของสหรัฐฯ สังกัดกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 ได้มาเยือนไทย จอดที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ 190 ปี หลังได้ล่องเข้ามายังภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จากเมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไป ตั้งแต่ พ.ย. 2565 ล่าสุดก่อนเยือนไทย คือ การฝึกร่วมทางทะเลไตรภาคี กับเรือรบของ Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) และเกาหลีใต้ จากนั้นได้ล่องมาทางใต้ เข้าสู่พื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยมีปลายทางคือประเทศไทย