20 ปีที่ผ่านมา ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ถูกยกย่องเป็นไอคอลการต่อสู้ฝ่ายประชาธิปไตย บนทางเดินเส้นขนานกับรัฐบาลเผด็จการ และกลุ่มชนชั้นในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง จนฝ่ายอนุรักษ์นิยมเกิดความเกรงกลัว เสมือน ‘ผี’ ที่มักหลอกหลอนทุกช่วงฤดูกาลเลือกตั้ง
แต่ ณ วันนี้ตัวละครสำคัญของการเมืองไทย ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ฝากฝั่งอำนาจนิยม เปลี่ยนหมุดหมายในการกวาดล้าง สอดคล้องกับการประกาศกลับบ้านของ ‘นายห้างดูไบ’ ที่ชัดเจนว่าคงรอการจัดตั้งรัฐบาลให้เสร็จสิ้นก่อน ถึงจะซื้อตั๋วแลนดิ้งลงสนามบินดอนเมือง สอดรับกับการพยายามจัดตั้งรัฐบาลนำโดย ‘เพื่อไทย’ ที่วันนี้มีแนวโน้มสูงยิ่งในการ ‘พลิกขั้วผสมพันธุ์’ กับกลุ่มอำนาจเก่า เห็นชัดได้จากสารตั้งต้นแรก ในการร่วมวงษ์ไพบูลย์กับ ‘นั่งร้านเผด็จการ’ อย่าง ‘ภูมิใจไทย’ และมีแนวโน้มสูงว่าการจับมือกับ ‘พรรค 2 ลุง’ จะเกิดขึ้น
ผมเชื่อว่าหลายท่าน ตั้งปุจฉากับตำนาน ‘ผีทักษิณ’ ที่อาจกำลังเข้าสู่ปัจฉิมบท นำไปสู่บทบาทของ ‘ปีศาจ’ ตัวใหม่ที่จะเข้ามาจองจำความกังวลของชนชั้นนำไปอีกนานแสนนาน
ย้อนกลับไปในยุคที่ประเทศ ยังไม่สามารถแบ่งขั้วการเมืองออกเป็นฝ่ายซ้ายฝั่งขวา เยี่ยงชาติตะวันตกได้ชัดเจน (นับตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้ง ปี 2544) ‘ทักษิณ’ คือกัปตันคนสำคัญ ที่พา ‘ไทยรักไทย’ สร้างสถิติคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ติดต่อถึง 2 รอบ จนเกิดรัฐประหารปี 2549 จากกลุ่มทหารฝ่ายชนชั้นนำ โดยหยิบยกประเด็นจากไฮต์ปาร์คของฝากฝั่งที่ไม่สนับสนุนไทยรักไทย เข้ามาสอดแทรกประเด็นทุจริต เป็นผลให้ ‘นายกฯ แม้ว’ ต้องบินลัดฟ้าไปอยู่ต่างแดนหลายขวบปี
เรื่องนี้สอดคล้องกับมุมวิเคราะห์ของ ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า สังคายนาให้ฟังว่า การเมืองไทยในปี 2549 ตัวละครสำคัญอย่างทักษิณ ได้รับชัยชนะในศึกการเลือกตั้งด้วยแบรนด์นิยมตัวบุคคล และนโยบายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของพรรค ยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างขั้ว ‘เสรีนิยม’ กับ ‘อนุรักษนิยม’ แต่ทางคู่ขนานของไทยรักไทย มีกลุ่มคนไม่พึงพอใจในตัวนายกฯ คนที่ 21 อันประกอบไปด้วยกลุ่มมวลชนนำโดย ม็อบพันธมิตรฯ และแนวร่วมชนชั้นนำทั้งภาคธุรกิจฝ่ายความมั่นคง จากการที่ได้คะแนนเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2544 และ 2548
ความขัดแย้งในวันนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บุคคลที่ชอบทักษิณ จากนโยบายการบริหารประเทศที่โดดเด่น และ 2) กลุ่มคนที่เกลียดคุณทักษิณ โดยใช้ปัจจัยทางจริยธรรมและการครอบครองผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นมูลเหตุ ตีความเชิงอุดมการณ์สามารถเปรียบได้ว่า เสมือนเป็นการต่อสู้ของประชาธิปไตย 2 ระบบได้แก่ ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ที่มีแกนหลักคือกลุ่มบุคคลชนชั้นกระดูกสันหลัง และประชาธิปไตยคุณธรรม อันมีกลุ่มชนชั้นกลาง และกลุ่มชนชั้นนำผนวกเครือข่ายผลักดัน
หลังการรัฐประหาร ปี 2549 การเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามความคิดระหว่าง ‘เหลือง - แดง’ สมรภูมิการเลือกตั้ง ถูกต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ความขัดแย้ง ‘กลุ่มเชียร์ทักษิณ’ และ ‘กลุ่มไม่เอาทักษิณ’ จนเกิดการอำนวยให้กลุ่มทหารเข้าก่อการยึดอำนาจอีกระลอกในปี 2557
ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า แนวทางระลอกนี้ถือเป็นปฐมบทของปรากฏการณ์ความเชื่อทางการเมืองในมติสากล สอดคล้องกับการพยายามสกัดกั้นผีทักษิณ จากการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อสกัดกั้น ‘พรรคตระกูลชินวัตร’ หลังฝ่ายจารีตถอดบทเรียน ‘รัฐประหารเสียของ’ จนเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งนำมาสู่ความยุ่งเหยิงในปัจจุบัน
สติธร ขยายภาพสะท้อนไว้อย่างชัดเจนที่สุด จากผลการเลือกตั้งปี 2562 ที่ ‘อนาคตใหม่’ กลายเป็นตัวละครสำคัญ ที่กระโดดเข้ามาในวงจรการเมือง ส่งผลให้เกิดการมองมิติทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะการต่อต้านระบบ ‘สืบทอดอำนาจ’ ของรัฐบาลคสช. แปรเปลี่ยนสภาพจาก ‘เหลือง - แดง’ เป็น ‘เอาประยุทธ์ไม่เอาประยุทธ์’ สืบเนื่องมาจนถึงสมรภูมิการเลือกตั้งปี 2566 การเมืองถูกแบ่งโดยการใช้แนวคิด ‘มีเราไม่มีลุง’ และ ‘มีลุงไม่มีมึง’
จนเกิดกระแสตอบรับจากภาคประชาชน ผลักดัน ‘ก้าวไกล’ สู่การสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งท่วมท้น กลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพรรคตระกูลชินวัตรในอดีต ‘ปีศาจตัวใหม่’ จึงเกิดขึ้น สร้างความกลัวเก่าๆ จนผีทักษิณกลายเป็นเรื่องเล็กทันที
“ผีตัวใหม่เกิดขึ้นมานานแล้ว เมื่อก่อนเขาเคยบอกว่า มีผีทักษิณ และปีศาจธนาธร แต่ว่ามรดกที่ธนาธรทิ้งไว้คือพรรคก้าวไกล มันจึงกลายเป็นปัจจัยให้ฝั่งขั้วอำนาจเก่า ต้องชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างว่า 2 สิ่งนี้อะไรน่ากลัวมากกว่ากัน พอผลการเลือกตั้งปี 2566 ออกมา กลายเป็นว่า ผีสีแดงน่ากลัวน้อยกว่าปีศาจสีส้มโดยปริยาย จึงไม่แปลกที่เขาจะลืมผีตัวเก่าและสร้างปีศาจตัวใหม่เข้ามา เพื่อกวาดล้าง” สติธร กล่าว
ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่า ‘การเมืองแบบไทยๆ’ ที่กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมและธุรกิจ ยังมีผลต่อการ ‘ชี้เป็นชี้ตาย’ การพลิกขั้วทางการเมืองของเพื่อไทย จึงอาจเป็นเรื่องธรรมดาในเชิงอำนาจ และการหวนคืนแผ่นดินแม่ของทักษิณอาจกลายเป็นภาพสะท้อนการความขัดแย้งในอนาคตระหว่าง ‘ส้ม - แดง’ ที่ต่างฝ่าย อาจเชื่อในระบอบการเมืองที่มีทั้งจุดร่วมและจุดต่าง อย่าง ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่สนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย
ถึงจังหวะนั้นเชื่อว่า ‘ผีทักษิณ’ จะกลายเป็นเพียงตำนาน และบทบาทใหม่ของ ‘ปีศาจกาลเวลา’ จะชัดเจนขึ้น
บทความหน้าผมขอจะสังเคราะห์ประเด็นเชิงมวลชน เพื่อประมวลภาพให้เห็นชัดขึ้นว่า ฉากทัศน์การเมืองภาคประชาชนต่อจากนี้จะเป็นทิศทางอย่างไร…
แต่ ณ วันนี้ตัวละครสำคัญของการเมืองไทย ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ฝากฝั่งอำนาจนิยม เปลี่ยนหมุดหมายในการกวาดล้าง สอดคล้องกับการประกาศกลับบ้านของ ‘นายห้างดูไบ’ ที่ชัดเจนว่าคงรอการจัดตั้งรัฐบาลให้เสร็จสิ้นก่อน ถึงจะซื้อตั๋วแลนดิ้งลงสนามบินดอนเมือง สอดรับกับการพยายามจัดตั้งรัฐบาลนำโดย ‘เพื่อไทย’ ที่วันนี้มีแนวโน้มสูงยิ่งในการ ‘พลิกขั้วผสมพันธุ์’ กับกลุ่มอำนาจเก่า เห็นชัดได้จากสารตั้งต้นแรก ในการร่วมวงษ์ไพบูลย์กับ ‘นั่งร้านเผด็จการ’ อย่าง ‘ภูมิใจไทย’ และมีแนวโน้มสูงว่าการจับมือกับ ‘พรรค 2 ลุง’ จะเกิดขึ้น
ผมเชื่อว่าหลายท่าน ตั้งปุจฉากับตำนาน ‘ผีทักษิณ’ ที่อาจกำลังเข้าสู่ปัจฉิมบท นำไปสู่บทบาทของ ‘ปีศาจ’ ตัวใหม่ที่จะเข้ามาจองจำความกังวลของชนชั้นนำไปอีกนานแสนนาน
ย้อนกลับไปในยุคที่ประเทศ ยังไม่สามารถแบ่งขั้วการเมืองออกเป็นฝ่ายซ้ายฝั่งขวา เยี่ยงชาติตะวันตกได้ชัดเจน (นับตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้ง ปี 2544) ‘ทักษิณ’ คือกัปตันคนสำคัญ ที่พา ‘ไทยรักไทย’ สร้างสถิติคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ติดต่อถึง 2 รอบ จนเกิดรัฐประหารปี 2549 จากกลุ่มทหารฝ่ายชนชั้นนำ โดยหยิบยกประเด็นจากไฮต์ปาร์คของฝากฝั่งที่ไม่สนับสนุนไทยรักไทย เข้ามาสอดแทรกประเด็นทุจริต เป็นผลให้ ‘นายกฯ แม้ว’ ต้องบินลัดฟ้าไปอยู่ต่างแดนหลายขวบปี
เรื่องนี้สอดคล้องกับมุมวิเคราะห์ของ ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า สังคายนาให้ฟังว่า การเมืองไทยในปี 2549 ตัวละครสำคัญอย่างทักษิณ ได้รับชัยชนะในศึกการเลือกตั้งด้วยแบรนด์นิยมตัวบุคคล และนโยบายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของพรรค ยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างขั้ว ‘เสรีนิยม’ กับ ‘อนุรักษนิยม’ แต่ทางคู่ขนานของไทยรักไทย มีกลุ่มคนไม่พึงพอใจในตัวนายกฯ คนที่ 21 อันประกอบไปด้วยกลุ่มมวลชนนำโดย ม็อบพันธมิตรฯ และแนวร่วมชนชั้นนำทั้งภาคธุรกิจฝ่ายความมั่นคง จากการที่ได้คะแนนเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2544 และ 2548
ความขัดแย้งในวันนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บุคคลที่ชอบทักษิณ จากนโยบายการบริหารประเทศที่โดดเด่น และ 2) กลุ่มคนที่เกลียดคุณทักษิณ โดยใช้ปัจจัยทางจริยธรรมและการครอบครองผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นมูลเหตุ ตีความเชิงอุดมการณ์สามารถเปรียบได้ว่า เสมือนเป็นการต่อสู้ของประชาธิปไตย 2 ระบบได้แก่ ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ที่มีแกนหลักคือกลุ่มบุคคลชนชั้นกระดูกสันหลัง และประชาธิปไตยคุณธรรม อันมีกลุ่มชนชั้นกลาง และกลุ่มชนชั้นนำผนวกเครือข่ายผลักดัน
หลังการรัฐประหาร ปี 2549 การเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามความคิดระหว่าง ‘เหลือง - แดง’ สมรภูมิการเลือกตั้ง ถูกต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ความขัดแย้ง ‘กลุ่มเชียร์ทักษิณ’ และ ‘กลุ่มไม่เอาทักษิณ’ จนเกิดการอำนวยให้กลุ่มทหารเข้าก่อการยึดอำนาจอีกระลอกในปี 2557
ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า แนวทางระลอกนี้ถือเป็นปฐมบทของปรากฏการณ์ความเชื่อทางการเมืองในมติสากล สอดคล้องกับการพยายามสกัดกั้นผีทักษิณ จากการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อสกัดกั้น ‘พรรคตระกูลชินวัตร’ หลังฝ่ายจารีตถอดบทเรียน ‘รัฐประหารเสียของ’ จนเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งนำมาสู่ความยุ่งเหยิงในปัจจุบัน
สติธร ขยายภาพสะท้อนไว้อย่างชัดเจนที่สุด จากผลการเลือกตั้งปี 2562 ที่ ‘อนาคตใหม่’ กลายเป็นตัวละครสำคัญ ที่กระโดดเข้ามาในวงจรการเมือง ส่งผลให้เกิดการมองมิติทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะการต่อต้านระบบ ‘สืบทอดอำนาจ’ ของรัฐบาลคสช. แปรเปลี่ยนสภาพจาก ‘เหลือง - แดง’ เป็น ‘เอาประยุทธ์ไม่เอาประยุทธ์’ สืบเนื่องมาจนถึงสมรภูมิการเลือกตั้งปี 2566 การเมืองถูกแบ่งโดยการใช้แนวคิด ‘มีเราไม่มีลุง’ และ ‘มีลุงไม่มีมึง’
จนเกิดกระแสตอบรับจากภาคประชาชน ผลักดัน ‘ก้าวไกล’ สู่การสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งท่วมท้น กลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพรรคตระกูลชินวัตรในอดีต ‘ปีศาจตัวใหม่’ จึงเกิดขึ้น สร้างความกลัวเก่าๆ จนผีทักษิณกลายเป็นเรื่องเล็กทันที
“ผีตัวใหม่เกิดขึ้นมานานแล้ว เมื่อก่อนเขาเคยบอกว่า มีผีทักษิณ และปีศาจธนาธร แต่ว่ามรดกที่ธนาธรทิ้งไว้คือพรรคก้าวไกล มันจึงกลายเป็นปัจจัยให้ฝั่งขั้วอำนาจเก่า ต้องชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างว่า 2 สิ่งนี้อะไรน่ากลัวมากกว่ากัน พอผลการเลือกตั้งปี 2566 ออกมา กลายเป็นว่า ผีสีแดงน่ากลัวน้อยกว่าปีศาจสีส้มโดยปริยาย จึงไม่แปลกที่เขาจะลืมผีตัวเก่าและสร้างปีศาจตัวใหม่เข้ามา เพื่อกวาดล้าง” สติธร กล่าว
ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่า ‘การเมืองแบบไทยๆ’ ที่กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมและธุรกิจ ยังมีผลต่อการ ‘ชี้เป็นชี้ตาย’ การพลิกขั้วทางการเมืองของเพื่อไทย จึงอาจเป็นเรื่องธรรมดาในเชิงอำนาจ และการหวนคืนแผ่นดินแม่ของทักษิณอาจกลายเป็นภาพสะท้อนการความขัดแย้งในอนาคตระหว่าง ‘ส้ม - แดง’ ที่ต่างฝ่าย อาจเชื่อในระบอบการเมืองที่มีทั้งจุดร่วมและจุดต่าง อย่าง ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่สนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย
ถึงจังหวะนั้นเชื่อว่า ‘ผีทักษิณ’ จะกลายเป็นเพียงตำนาน และบทบาทใหม่ของ ‘ปีศาจกาลเวลา’ จะชัดเจนขึ้น
บทความหน้าผมขอจะสังเคราะห์ประเด็นเชิงมวลชน เพื่อประมวลภาพให้เห็นชัดขึ้นว่า ฉากทัศน์การเมืองภาคประชาชนต่อจากนี้จะเป็นทิศทางอย่างไร…