ในหนังสือ ‘ทักษิณ ชินวัตร ตาดูดาว เท้าติดดิน’ เล่าย้อนกลับไปถึงยุคที่บรรพบุรุษตระกูลชินวัตร คือ ทวดของทักษิณ ชินวัตร ที่ชื่อ คูชุนเส็ง (บางแห่งเขียนว่า คูซุ่นเส็ง) เดินทางจากจีนมาแสวงหาโอกาสใหม่ในชีวิตที่ประเทศสยาม และอาชีพที่ คูชุนเส็ง ทำในเวลานั้น คือ ‘นายอากรบ่อนเบี้ย’ ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อปี 2451 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ต่อมา คูชุนเส็ง หรือ ‘นายอากรเส็ง’ แต่งงานกับหญิงไทยที่ชื่อ ทองดี และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ เชียง ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของทักษิณ ชินวัตร ในเวลานั้น คูชุนเส็ง มองหาลู่ทางใหม่ๆ ในชีวิตโดยนั่งเรือทวนกระแสน้ำขึ้นมาถึงเชียงใหม่ และเมื่อถึงเชียงใหม่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนจีนด้วยกันที่เป็นข้าราชการในท้องถิ่น คือ หลวงนิกรจีนกิจ ให้ไปประมูลอากรบ่อนเบี้ย ที่อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอดอยสะเก็ด
แต่เกิดเหตุพลิกผันในชีวิตเมื่อทวดหญิงของทักษิณ คือ ทองดี ถูกลอบยิง (บางข้อมูลบอกว่าไม่ได้ถูกยิง แต่หัวใจวายขณะถูกปล้น) ขณะไปเก็บอากรจนเสียชีวิตไป ทวดชาย คือ คูชุนเส็ง จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพไปทำอาชีพค้าขายแทน
นี่คือจุดเริ่มต้นของตระกูลชินวัตร (ซึ่งในเวลานั้นยังไม่ได้ใช้นามสกุลชินวัตร) ที่เริ่มจากอาชีพนายอากรบ่อนเบี้ย ต่อมาประสบกับการถูกคุกคามจึงต้องเปลี่ยนอาชีพ จนกระทั่งพบว่าการค้าผ้าไหมสร้างความเจริญรุ่งเรืองที่สุด คนบ้านชินวัตรจึงทำผ้าไหมจนมีชื่อเสียงโด่งดังและร่ำรวยในเวลาต่อมา
ที่มาที่ไปของบ้านชินวัตรนั้นเป็นตำนานบทหนึ่งของชนชั้นนายทุนจีนในล้านนา ผู้ทรงอิทธิพลทั้งในด้านการค้า (เป็นคนกลางซื้อขายระหว่างเมืองเหนือและบางกอก) และการคลัง (คือการทำบ่อนแล้วส่งเงินเข้ารัฐในรูปภาษี) เรื่องราวของนายอากรเส็งมีละเอียดลออว่านี้ในหนังสือ ‘เพ็ชร์ล้านนา’ งานเขียนว่าด้วยเรื่องราวคนและเมืองเชียงใหม่อันทรงคุณค่าของ ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ซึ่งตีพิมพ์ก่อนหน้า ‘ทักษิณ ชินวัตร ตาดูดาว เท้าติดดิน’ นานหลายสิบปี คือ 2507 และยังมีเรื่องราวของนายอากรเส็งอยู่ในหนังสือของผู้เขียนเดียวกัน ชื่อ ‘ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่’ ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2523
นั่นหมายความว่าต้นตระกูลชินวัตรผู้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก่อนหน้าเหลนที่ชื่อ ทักษิณ นานมากแล้ว
แต่สิ่งที่เราจะพูดถึงในบทความนี้คือจุดเริ่มต้นของบ้านชินวัตรในฐานะนายอากรบ่อนเบี้ย เพราะมันเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมลึกๆ ของคนไทยมากที่สุด นั่นคือ ‘ความเป็นนักพนันอยู่ในสายเลือด’
นี่ไม่ใช่การพูดเกินจริง เพราะ ‘มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์’ (Monsieur De La Loubere) ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ปี พ.ศ.2230 ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความหมกมุ่นในการพนันของชาวสยามเอาไว้ว่า
“ชาวสยามอยู่ข้างค่อนรักเล่นการพนันเสียเหลือเกิน จนถึงจะยอมผลาญตัวเองให้ฉิบหายได้ ทั้งเสียอิสรภาพความชอบธรรมของตัวหรือลูกเต้าของตัว ด้วยในเมืองนี้ใครไม่มีเงินพอจะใช้เจ้าหนี้ได้ก็ต้องขายลูกเต้าของตัวเองลงใช้หนี้สิน และถ้าแม้ถึงเช่นนี้แล้วก็ยังมิพอเพียง ตัวของตัวเองก็ต้องกลายตกเป็นทาส การละเล่นพนันที่ไทยรักเป็นที่สุดนั้นก็คือ ติกแตก ชาวสยามเรียกว่า สะกา...”
ความหมกมุ่นในการพนันของประชาชนชาวสยามเป็นเรื่องหนักใจของรัฐบาลมาทุกยุค แต่ในเวลาเดียวกันรัฐบาลก็ต้องยอมรับว่าการพนันคือแหล่งหาเงินเข้ารัฐได้อย่างดี วิธีการหาเงินเข้ารัฐก็คือให้คนทั่วไปมาประมูลแข่งกัน ใครเสนอราคาประมูลว่าจะเก็บภาษีอากรส่งให้รัฐได้มากที่สุดก็ชนะประมูลไป ถามว่าประมูลอะไร? ตอบว่า คือการประมูลการเป็นผู้จัดการบ่อนนั่นเอง พูดภาษาชาวบ้านคือเป็นเจ้ามือบ่อน
ในหนังสือ ‘ตำนานการเลิกอากรบ่อนเบี้ยและหวย’ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าว่าตอนแรกรับเฉพาะคนจีนเข้าบ่อน แต่ “ปรากฏว่าห้ามไทยไว้ไม่อยู่” จึง “ยอมให้ไทยเข้าเล่นเบี้ยในบ่อนได้ไม่ห้ามปราม” เงินจากการทำบ่อนจึงไหลบ่าเข้ารัฐอย่างมากมายมหาศาล จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รายได้จากการประมูลทำบ่อนหรือเก็บภาษีจากบ่อนสูงถึง 900,000 บาทต่อไป
เงิน 900,000 บาทในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อลองบวกลบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงในสมัยนี้ จะมีมูลค่าประมาณ 34 ล้านบาท
คำว่า ‘นายอากร’ หมายถึงผู้ที่เก็บภาษี ส่วนคำว่า ‘บ่อนเบี้ย’ ก็คือบ่อนการพนัน รวมแล้วคำๆ นี้หมายถึงเจ้าของบ่อนที่เปิดบริการการพนัน มีรายได้จากการเป็นเจ้ามือ รายได้นั้นจะแบ่งให้รัฐในรูปของภาษีตามที่เสนอราคาประมูลเปิดบ่อน เช่น นายอากรบ่อนเบี้ย A เสนอประมูลว่าจะส่งเงินให้รัฐปีละ 1,000 บาท แล้วชนะประมูลเพราะคนอื่นเสนอราคาต่ำกว่า เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ย A เป็นเจ้ามือบ่อนทำเงินได้ 2,000 บาท ก็จะส่งให้รัฐ 1,000 บาท ที่เหลือเป็นกำไรของตัวเอง นี่คือวิธีการหาเงินของนายอากรบ่อนเบี้ยและรัฐบาลสยาม
ถามอีกครั้งว่าทำไมถึงต้องเก็บภาษีด้วยวิธีนี้? นั่นก็เพราะมันเป็นการเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ปกติคนสยามจะเสีบยภาษีอากรรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษีที่ดินไปจนถึงภาษีผลิตจากไร่นา ไปจนถึงส่วยที่จ่ายแทนการถูกเกณฑ์แรงงานโดยรัฐ แต่รายได้พวกนี้มีมูลค่าต่ำมากและยังขึ้นกับการผลิตในสังคมกสิกรรม เพราะสังคมสยามยังไม่พัฒนากลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่ประชาชนมีรายได้ประจำและทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อย และบางครั้งประชาชนยังเก็บเงินเอาไว้ในตุ่มในไหฝังดินซ่อนไว้ไม่ยอมใช้จ่าย ทำให้เงินในระบบขาดแคลน เศรษฐกิจของประเทศก็ฝืดเคือง
รัฐจึงต้องหาวิธีในการ ‘รีดเงิน’ จากประชาชนโดยไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐรังแก วิธีการที่ดีที่สุดคือดึงเงินจากการพนันที่คนสยามหลงไหล เมื่อคนสยามเข้าบ่อนที่ดำเนินการโดยนายภาษี พวกเขาก็เท่ากัจ่ายภาษีเข้ารัฐโดยไม่รู้ตัว ด้วยวิธีนี้ รัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงสามารถแก้ปัญหาเงินฝืดได้ โดยใช้การพนันล่อให้ประชาชนนำเงินที่แอบฝังไว้ออกมาแทงในบ่อนนั่นเอง
อีกประเด็นก็คือ นายอากรบ่อนเบี้ยที่เป็นคนจีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้นเพราะผูกขาดการเก็บภาษีและการทำบ่อน อิทธิพลนี้ทำให้รัฐบาลเริ่มกังวล จึงต้องทำการปฏิรูปภาษีให้ทันสมัย ในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดเก็บภาษีแบบตะวันตกแล้ว (จัดตั้งกรมสรรพากร) จำนวนบ่อนในประเทศสยามก็ลดลงเรื่อยๆ
กลับไปที่อิทธิพลของนายอากรชาวจีนที่เพิ่มขึ้นเพราะผลจากการเปิดบ่อน นอกจากจะสร้างความระแวงให้กับรัฐบาลสยามแล้ว มันยังเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อชีวิตอยู่เหมือนกัน เพราะนายอากรบ่อนเบี้ยต้องทำงานกับพวก ‘ผีพนัน’ รัฐบาลจึงให้นายอากรมีอำนาจจับผู้ที่ก่อเหตุวุ่นวายในบริเวณโรงบ่อนกักขังไว้ได้เมื่อก่อนส่งตัวต่อเจ้าพนักงาน และยังมีอำนาจจับกุมตัวคนที่ลักลอบเปิดบ่อนในพื้นที่ที่นายอาภรได้รับสัมปทานได้ด้วย (เช่น ถ้าได้สัมปทานหมู่บ้าน A ในหมู่บ้าน A ห้ามใครเล่นการพนันกันเอง เว้นแต่จะเสียเงินให้นายอากร) อำนาจเหล่านี้ เสียงที่จะทำให้นายอากรสร้างศัตรูได้พอสมควรเลย
นอกจากจะสร้างศัตรูได้ง่ายแล้ว นายอากรยังเป็นเป้าหมายของพวกโจรเอาง่ายๆ อีกด้วย มีบางครั้งที่นายอากรถูกปล้นจนหมดตัว ทรัพย์สินของตัวเองก็หมด แถมไม่มีเงินจะจ่ายภาษีให้รัฐ ถึงขั้นต้องสิ้นเนื้อประดาตัว
ด้วยความช่วยเหลือจากหลวงนิกรจีนกิจ (หมา นิกรพันธุ์) ช่วยประสานงานให้ คูชุนเส็ง กับภรรยาได้ทำงานเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยที่เชียงใหม่ ดูแลบ่อนและเก็บเงินส่งเป็นภาษีเข้ารัฐในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ริม และอำเภอสันทราย โดยผู้ที่ทำหน้าที่คอยเก็บภาษีก็คือ คุณนายทองดี ผู้เป็นภรรยา ซึ่งคุ้นเคยกับงานนี้มาแล้วตั้งแต่ที่จันทบุรี
แต่วันหนึ่ง คุณนายทองดีนั่งเกวียนไปพร้อมกับลูกน้องเดินทางไปเก็บภาษีที่อำเภอแม่ริม มีกลุ่มคนร้ายบุกเข้ามาปล้นเงินค่าบ่อนเบี้ยจำนวนไม่น้อยจากคุณนายไป ด้วยความตกใจทำให้คุณนายทองดีเกิดอาการหัวใจวายจนเสียชีวิต โดยที่คนร้ายไม่ได้ลงมือทำร้ายแต่อย่างใด ส่วนลูกน้องของคุณนายทองดีได้หลบหนีไปจากที่เกิดเหตุจึงไม่ได้รับอันตราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้น คูชุนเส็ง ก็วางมือจากการเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย และอพยพครอบครัวจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตั้งรกรากที่อำเภอสันกำแพง แต่ถึง คูชุนเส็ง ไม่วางมือจากอาชีพนี้ ในท้ายที่สุดก็ต้องถูกยุคสมัยบีบให้วางมืออยู่ดี เพราะรัฐบาลสยามปฏิรูปการเก็บภาษีไปเรื่อยๆ และอีกไม่กี่ปีต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ความระแวงอิทธิพลคนจีนจะเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อยุติการเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยแล้วไปตั้งรกรากที่สันกำแพง ที่นี่เองที่คนในบ้านชินวัตรสร้างชื่อขึ้นในในฐานะเจ้าของธุรกิจผ้าไหม ‘ชินวัตรไหมไทย’ เริ่มตั้งแต่ยุคของ เชียงและแสง ชินวัตร บุตรชายและสะใภ้ของ คูชุนเส็งกับคุณนายทองดี
ในบรรดาลูกๆ ของเชียงและแสง ชินวัตร มีคนหนึ่งชื่อว่า บุญเลิศ ชินวัตร ลูกชายคนนี้ต่อมาจะได้เป็น ส.ส. เชียงใหม่
และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร ที่ต่อมาจะได้เป็นถึงนายกรัฐมนตรี
ต่อมา คูชุนเส็ง หรือ ‘นายอากรเส็ง’ แต่งงานกับหญิงไทยที่ชื่อ ทองดี และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ เชียง ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของทักษิณ ชินวัตร ในเวลานั้น คูชุนเส็ง มองหาลู่ทางใหม่ๆ ในชีวิตโดยนั่งเรือทวนกระแสน้ำขึ้นมาถึงเชียงใหม่ และเมื่อถึงเชียงใหม่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนจีนด้วยกันที่เป็นข้าราชการในท้องถิ่น คือ หลวงนิกรจีนกิจ ให้ไปประมูลอากรบ่อนเบี้ย ที่อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอดอยสะเก็ด
แต่เกิดเหตุพลิกผันในชีวิตเมื่อทวดหญิงของทักษิณ คือ ทองดี ถูกลอบยิง (บางข้อมูลบอกว่าไม่ได้ถูกยิง แต่หัวใจวายขณะถูกปล้น) ขณะไปเก็บอากรจนเสียชีวิตไป ทวดชาย คือ คูชุนเส็ง จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพไปทำอาชีพค้าขายแทน
นี่คือจุดเริ่มต้นของตระกูลชินวัตร (ซึ่งในเวลานั้นยังไม่ได้ใช้นามสกุลชินวัตร) ที่เริ่มจากอาชีพนายอากรบ่อนเบี้ย ต่อมาประสบกับการถูกคุกคามจึงต้องเปลี่ยนอาชีพ จนกระทั่งพบว่าการค้าผ้าไหมสร้างความเจริญรุ่งเรืองที่สุด คนบ้านชินวัตรจึงทำผ้าไหมจนมีชื่อเสียงโด่งดังและร่ำรวยในเวลาต่อมา
ที่มาที่ไปของบ้านชินวัตรนั้นเป็นตำนานบทหนึ่งของชนชั้นนายทุนจีนในล้านนา ผู้ทรงอิทธิพลทั้งในด้านการค้า (เป็นคนกลางซื้อขายระหว่างเมืองเหนือและบางกอก) และการคลัง (คือการทำบ่อนแล้วส่งเงินเข้ารัฐในรูปภาษี) เรื่องราวของนายอากรเส็งมีละเอียดลออว่านี้ในหนังสือ ‘เพ็ชร์ล้านนา’ งานเขียนว่าด้วยเรื่องราวคนและเมืองเชียงใหม่อันทรงคุณค่าของ ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ซึ่งตีพิมพ์ก่อนหน้า ‘ทักษิณ ชินวัตร ตาดูดาว เท้าติดดิน’ นานหลายสิบปี คือ 2507 และยังมีเรื่องราวของนายอากรเส็งอยู่ในหนังสือของผู้เขียนเดียวกัน ชื่อ ‘ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่’ ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2523
นั่นหมายความว่าต้นตระกูลชินวัตรผู้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก่อนหน้าเหลนที่ชื่อ ทักษิณ นานมากแล้ว
คนไทยเสพติดการพนัน
เรื่องของบ้านชินวัตรกับเส้นทางการสร้างตัวยังมีอะไรให้พูดถึงอีกมาก โดยเฉพาะในสายของ บุญเลิศ ชินวัตร พ่อของทักษิณ ชินวัตร ที่ตัดสินใจกระโจนเข้าสู่เวทีการเมืองจนได้เป็น สส. เชียงใหม่ กลายเป็นการปูทางชีวิตการเมืองให้กับลูกชายของเขาโดยไม่ตั้งใจใจเวลาต่อมาแต่สิ่งที่เราจะพูดถึงในบทความนี้คือจุดเริ่มต้นของบ้านชินวัตรในฐานะนายอากรบ่อนเบี้ย เพราะมันเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมลึกๆ ของคนไทยมากที่สุด นั่นคือ ‘ความเป็นนักพนันอยู่ในสายเลือด’
นี่ไม่ใช่การพูดเกินจริง เพราะ ‘มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์’ (Monsieur De La Loubere) ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ปี พ.ศ.2230 ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความหมกมุ่นในการพนันของชาวสยามเอาไว้ว่า
“ชาวสยามอยู่ข้างค่อนรักเล่นการพนันเสียเหลือเกิน จนถึงจะยอมผลาญตัวเองให้ฉิบหายได้ ทั้งเสียอิสรภาพความชอบธรรมของตัวหรือลูกเต้าของตัว ด้วยในเมืองนี้ใครไม่มีเงินพอจะใช้เจ้าหนี้ได้ก็ต้องขายลูกเต้าของตัวเองลงใช้หนี้สิน และถ้าแม้ถึงเช่นนี้แล้วก็ยังมิพอเพียง ตัวของตัวเองก็ต้องกลายตกเป็นทาส การละเล่นพนันที่ไทยรักเป็นที่สุดนั้นก็คือ ติกแตก ชาวสยามเรียกว่า สะกา...”
ความหมกมุ่นในการพนันของประชาชนชาวสยามเป็นเรื่องหนักใจของรัฐบาลมาทุกยุค แต่ในเวลาเดียวกันรัฐบาลก็ต้องยอมรับว่าการพนันคือแหล่งหาเงินเข้ารัฐได้อย่างดี วิธีการหาเงินเข้ารัฐก็คือให้คนทั่วไปมาประมูลแข่งกัน ใครเสนอราคาประมูลว่าจะเก็บภาษีอากรส่งให้รัฐได้มากที่สุดก็ชนะประมูลไป ถามว่าประมูลอะไร? ตอบว่า คือการประมูลการเป็นผู้จัดการบ่อนนั่นเอง พูดภาษาชาวบ้านคือเป็นเจ้ามือบ่อน
คนเก็บภาษีผู้เปิดบ่อน
ในตอนแรกนั้น รัฐกลัวคนไทยจะเสพติดการพนันจนไม่เป็นอันทำอะไร จึงอนุญาตให้เปิดบ่อนเฉพาะคนจีนในประเทศสยามเท่านั้น เพราะคนจีนที่มาทำมาหากินที่สยามเวลาว่างๆ ก็มักจะเปิดบ่อนเดิมพันเหมือนคนไทย ทางการเห็นโอกาสจะหาเงินเข้ารัฐจึงเปิดประมูลทำบ่อน คนที่ประมูลได้เรียกว่า ‘นายอากรบ่อนเบี้ย’ในหนังสือ ‘ตำนานการเลิกอากรบ่อนเบี้ยและหวย’ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าว่าตอนแรกรับเฉพาะคนจีนเข้าบ่อน แต่ “ปรากฏว่าห้ามไทยไว้ไม่อยู่” จึง “ยอมให้ไทยเข้าเล่นเบี้ยในบ่อนได้ไม่ห้ามปราม” เงินจากการทำบ่อนจึงไหลบ่าเข้ารัฐอย่างมากมายมหาศาล จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รายได้จากการประมูลทำบ่อนหรือเก็บภาษีจากบ่อนสูงถึง 900,000 บาทต่อไป
เงิน 900,000 บาทในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อลองบวกลบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงในสมัยนี้ จะมีมูลค่าประมาณ 34 ล้านบาท
คำว่า ‘นายอากร’ หมายถึงผู้ที่เก็บภาษี ส่วนคำว่า ‘บ่อนเบี้ย’ ก็คือบ่อนการพนัน รวมแล้วคำๆ นี้หมายถึงเจ้าของบ่อนที่เปิดบริการการพนัน มีรายได้จากการเป็นเจ้ามือ รายได้นั้นจะแบ่งให้รัฐในรูปของภาษีตามที่เสนอราคาประมูลเปิดบ่อน เช่น นายอากรบ่อนเบี้ย A เสนอประมูลว่าจะส่งเงินให้รัฐปีละ 1,000 บาท แล้วชนะประมูลเพราะคนอื่นเสนอราคาต่ำกว่า เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ย A เป็นเจ้ามือบ่อนทำเงินได้ 2,000 บาท ก็จะส่งให้รัฐ 1,000 บาท ที่เหลือเป็นกำไรของตัวเอง นี่คือวิธีการหาเงินของนายอากรบ่อนเบี้ยและรัฐบาลสยาม
ถามอีกครั้งว่าทำไมถึงต้องเก็บภาษีด้วยวิธีนี้? นั่นก็เพราะมันเป็นการเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ปกติคนสยามจะเสีบยภาษีอากรรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษีที่ดินไปจนถึงภาษีผลิตจากไร่นา ไปจนถึงส่วยที่จ่ายแทนการถูกเกณฑ์แรงงานโดยรัฐ แต่รายได้พวกนี้มีมูลค่าต่ำมากและยังขึ้นกับการผลิตในสังคมกสิกรรม เพราะสังคมสยามยังไม่พัฒนากลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่ประชาชนมีรายได้ประจำและทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อย และบางครั้งประชาชนยังเก็บเงินเอาไว้ในตุ่มในไหฝังดินซ่อนไว้ไม่ยอมใช้จ่าย ทำให้เงินในระบบขาดแคลน เศรษฐกิจของประเทศก็ฝืดเคือง
รัฐจึงต้องหาวิธีในการ ‘รีดเงิน’ จากประชาชนโดยไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐรังแก วิธีการที่ดีที่สุดคือดึงเงินจากการพนันที่คนสยามหลงไหล เมื่อคนสยามเข้าบ่อนที่ดำเนินการโดยนายภาษี พวกเขาก็เท่ากัจ่ายภาษีเข้ารัฐโดยไม่รู้ตัว ด้วยวิธีนี้ รัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงสามารถแก้ปัญหาเงินฝืดได้ โดยใช้การพนันล่อให้ประชาชนนำเงินที่แอบฝังไว้ออกมาแทงในบ่อนนั่นเอง
รัฐรวย จีนรวย คนสยามซวย
แต่รัฐบาลตระหนักดีว่าการเก็บภาษีแบบนี้เป็นการบ่อยทำลายประชาชนตัวเอง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยอมรับว่า การเปิดบ่อนเบี้ยเป็นวิธีเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพก็จริง แต่มันทำลายคุณภาพชีวิตประชาชนและทำให้ประชาชนยากจนลง อย่างเช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จไปประพาสต่างจังหวัดแล้วทรงสังเกตเห็นราษฎรพากันยากจนลงไป จึงโปรดให้เลิกหวยที่เมืองเพชรบุรี และที่พระนครศรีอยุธยาเสียอีกประเด็นก็คือ นายอากรบ่อนเบี้ยที่เป็นคนจีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้นเพราะผูกขาดการเก็บภาษีและการทำบ่อน อิทธิพลนี้ทำให้รัฐบาลเริ่มกังวล จึงต้องทำการปฏิรูปภาษีให้ทันสมัย ในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดเก็บภาษีแบบตะวันตกแล้ว (จัดตั้งกรมสรรพากร) จำนวนบ่อนในประเทศสยามก็ลดลงเรื่อยๆ
กลับไปที่อิทธิพลของนายอากรชาวจีนที่เพิ่มขึ้นเพราะผลจากการเปิดบ่อน นอกจากจะสร้างความระแวงให้กับรัฐบาลสยามแล้ว มันยังเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อชีวิตอยู่เหมือนกัน เพราะนายอากรบ่อนเบี้ยต้องทำงานกับพวก ‘ผีพนัน’ รัฐบาลจึงให้นายอากรมีอำนาจจับผู้ที่ก่อเหตุวุ่นวายในบริเวณโรงบ่อนกักขังไว้ได้เมื่อก่อนส่งตัวต่อเจ้าพนักงาน และยังมีอำนาจจับกุมตัวคนที่ลักลอบเปิดบ่อนในพื้นที่ที่นายอาภรได้รับสัมปทานได้ด้วย (เช่น ถ้าได้สัมปทานหมู่บ้าน A ในหมู่บ้าน A ห้ามใครเล่นการพนันกันเอง เว้นแต่จะเสียเงินให้นายอากร) อำนาจเหล่านี้ เสียงที่จะทำให้นายอากรสร้างศัตรูได้พอสมควรเลย
นอกจากจะสร้างศัตรูได้ง่ายแล้ว นายอากรยังเป็นเป้าหมายของพวกโจรเอาง่ายๆ อีกด้วย มีบางครั้งที่นายอากรถูกปล้นจนหมดตัว ทรัพย์สินของตัวเองก็หมด แถมไม่มีเงินจะจ่ายภาษีให้รัฐ ถึงขั้นต้องสิ้นเนื้อประดาตัว
ชีวิตของนายอากรเส็ง
คูชุนเส็ง หรือนายอากรเส็ง บรรพบุรุษของ ทักษิณ ชินวัตร เดิมตั้งรกรากอยู่ที่จันทบุรีมีอาชีพเป็นนายอากรคอยเก็บภาษีจากการเปิดบ่อนในพื้นที่ ต่อมาได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ตลาดน้อย กรุงเทพฯ แล้วทำอาชีพค้าขายตามคำแนะนำของญาติพี่น้อง แต่ต่อมาก็เป็นญาติในกรุงเทพฯ นี่เองที่แนะนำให้ คูชุนเส็ง ไปทำงานเป็นนายอากรผูกขาดการเก็บภาษีบ่อนเบี้ยอีกครั้ง คราวนี้อพยพกันไปอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยความช่วยเหลือจากหลวงนิกรจีนกิจ (หมา นิกรพันธุ์) ช่วยประสานงานให้ คูชุนเส็ง กับภรรยาได้ทำงานเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยที่เชียงใหม่ ดูแลบ่อนและเก็บเงินส่งเป็นภาษีเข้ารัฐในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ริม และอำเภอสันทราย โดยผู้ที่ทำหน้าที่คอยเก็บภาษีก็คือ คุณนายทองดี ผู้เป็นภรรยา ซึ่งคุ้นเคยกับงานนี้มาแล้วตั้งแต่ที่จันทบุรี
แต่วันหนึ่ง คุณนายทองดีนั่งเกวียนไปพร้อมกับลูกน้องเดินทางไปเก็บภาษีที่อำเภอแม่ริม มีกลุ่มคนร้ายบุกเข้ามาปล้นเงินค่าบ่อนเบี้ยจำนวนไม่น้อยจากคุณนายไป ด้วยความตกใจทำให้คุณนายทองดีเกิดอาการหัวใจวายจนเสียชีวิต โดยที่คนร้ายไม่ได้ลงมือทำร้ายแต่อย่างใด ส่วนลูกน้องของคุณนายทองดีได้หลบหนีไปจากที่เกิดเหตุจึงไม่ได้รับอันตราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้น คูชุนเส็ง ก็วางมือจากการเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย และอพยพครอบครัวจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตั้งรกรากที่อำเภอสันกำแพง แต่ถึง คูชุนเส็ง ไม่วางมือจากอาชีพนี้ ในท้ายที่สุดก็ต้องถูกยุคสมัยบีบให้วางมืออยู่ดี เพราะรัฐบาลสยามปฏิรูปการเก็บภาษีไปเรื่อยๆ และอีกไม่กี่ปีต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ความระแวงอิทธิพลคนจีนจะเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อยุติการเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยแล้วไปตั้งรกรากที่สันกำแพง ที่นี่เองที่คนในบ้านชินวัตรสร้างชื่อขึ้นในในฐานะเจ้าของธุรกิจผ้าไหม ‘ชินวัตรไหมไทย’ เริ่มตั้งแต่ยุคของ เชียงและแสง ชินวัตร บุตรชายและสะใภ้ของ คูชุนเส็งกับคุณนายทองดี
ในบรรดาลูกๆ ของเชียงและแสง ชินวัตร มีคนหนึ่งชื่อว่า บุญเลิศ ชินวัตร ลูกชายคนนี้ต่อมาจะได้เป็น ส.ส. เชียงใหม่
และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร ที่ต่อมาจะได้เป็นถึงนายกรัฐมนตรี