เรียกว่า ‘ม้วนเดียวจบ’ สำหรับการเลือก ประธานสภาฯ ที่ตกเป็นของ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ จากพรรคประชาชาติ ที่ฝั่ง ‘เพื่อไทย’ ใช้เป็น ‘ไพ่ใบสุดท้าย’ ฝ่าทางตันที่สร้างขึ้นมา ระหว่าง ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ ในการชิงเก้าอี้ประธานสภาฯ นานนับเดือน โดยใช้คำว่า ‘ประธานสภาฯคนกลาง’ กับ ‘วันนอร์’ ในการฝ่ากระแสครั้งนี้ เพื่อสร้างภาพในลักษณะ ‘ประนีประนอม’ ระหว่าง ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ ที่เรียกว่าพรรคเพื่อไทยมีแต่ได้ ผิดกับ ‘ก้าวไกล’ ที่ชูชื่อ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ ที่ตกไปเป็น รองประธานสภาฯ คนที่ 1 แทน
หลัง ‘เพื่อไทย’ จรยุทธ์เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ชนิดที่ ‘วันเดียวจบ-มาเร็วเคลมเร็ว’ เช้าวันที่ 3 ก.ค. กลายเป็นมติ ‘เพื่อไทย’ เดินข้ามตึกไปเสนอ ‘ก้าวไกล’ ชนิดที่ยากจะปฏิเสธ เสมือนโดน ‘มัดมือชก’ ทางอ้อม แม้ว่า ‘ก้าวไกล’ จะได้คุยกับ ‘วันนอร์’ กลางดึก 2 ก.ค.ที่ผ่านมา แล้วก็ตาม ทำให้ ‘สุชาติ ตันเจริญ’ ถึงกับต้อง ‘กลืนเลือด’ ยอมถอยไป
ย้อนกลับไป 20 กว่าปีก่อน ‘วันนอร์’ ได้มาอยู่ในมุ้ง ‘พรรคไทยรักไทย’ ร่วมรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ภายหลังมีการยุบรวม ‘พรรคความหวังใหม่ ‘เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2545 ‘วันนอร์’ ได้เป็น รมว.คมนาคม รมว.มหาดไทย จบที่ รองนายกฯ ควบ รมว.เกษตรฯ มาถึงปี 2549 พรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทำให้ ‘วันนอร์’ ในฐานะกรรมการบริหารพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ก่อนไปสังกัดพรรคประชาราช พรรคมัชฌิมาธิปไตย และสุดท้ายมาที่ ‘พรรคเพื่อไทย’ ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2557 แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สุดท้าย ‘วันนอร์’ ได้มาก่อตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ ในปี 2561
การตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ โดยเป้าหมายแล้วก็เพื่อดึงคะแนนจาก จ.ชายแดนภาคใต้ เพราะ ‘กลุ่มวาดะห์’ ที่เป็นกลุ่มของ ‘วันนอร์’ พ่ายเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2548 ทำให้ ‘ขั้วทักษิณ-ไทยรักไทย’ ไม่มีฐานเสียงในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้ง ‘แบรนด์ทักษิณ-เพื่อไทย’ ที่ขายไม่ได้ใน จ.ชายแดนภาคใต้ ทำให้เป้าหมายตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ ขึ้นมา เพื่อมาดึงคะแนนเสริมให้กับพรรคขั้วเดียวกับ ‘พรรคเพื่อไทย’ โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ยุครัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ เป็นเลขาธิการพรรคประชาชาติ
ดังนั้น ‘พรรคประชาชาติ-เพื่อไทย’ จึงถูกมองว่าเป็น ‘พรรคพี่พรรคน้อง’
แน่นอนว่าการตั้งพรรคประชาชาติ ประสบความสำเร็จ โดยผลการเลือกตั้งปี 2562 พรรคประชาชาติได้ ส.ส. 6 ที่นั่งจาก จ.ชานแดนภาคใต้ และล่าสุดการเลือกตั้งปี 2566 พรรคประชาชาติได้ ส.ส. ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส 7 ที่นั่ง จากทั้งหมด 13 ที่นั่ง และได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง ได้แก่ วันมูหะมัดนอร์ และ พ.ต.อ.ทวี
หากย้อนประวัติของ ‘วันนอร์’ มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ ‘ทักษิณ’ ที่ตกเป็นข่าวใหญ่คือเมื่อ 26 ก.พ. 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยึดทรัพย์สิน 46,373 ล้านบาท อดีตนายกฯทักษิณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ ‘ตกเป็นของแผ่นดิน’ จากการใช้อำนาจในฐานะนายกฯ โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจครอบครัวรวม 5 กรณี หนึ่งในนั้น คือ โครงการ ‘ดาวเทียมไอพีสตาร์’ ที่เกิดขึ้นปี 2545 ที่มี ‘วันมูหะมัดนอร์’ เป็น รมว.คมนาคม ลงนามอนุมัติในขณะนั้น
ทั้งหมดนี้คือ ‘เส้นสัมพันธ์’ ระหว่าง ‘ทักษิณ-วันนอร์’ ที่กลับมาโคจรร่วมกันอีกครั้ง ผ่าน ‘ภาพตัวแทน’ นั่นคือพรรคประชาชาติ-พรรคเพื่อไทย ที่ดัน ‘วันนอร์’ ให้ได้เป็น ประธานสภาฯ สมัยที่ 2 ในช่วงเวลา ‘เปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ ที่เกือบจะเรียกว่า ‘พลิกขั้ว’ แต่อาจกลายเป็น ‘รัฐบาลข้ามขั้ว’ แทน จาก ‘สมการอำนาจ’ ที่เปลี่ยนไป หลังเกิดเหตุการณ์ ‘นอกสคริปต์-ผิดแผน’ ที่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งมาเป็นที่ 1
ท่ามกลางกระแสข่าว ‘สามประสาน’ ตั้งรัฐบาล ระหว่าง ‘เพื่อไทย-พลังประชารัฐ-ภูมิใจไทย’ ที่ชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนต่อไป ถูกโฟกัสอยู่ที่ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หน.พลังประชารัฐ ที่ตีคู่พร้อมกับการที่ ‘ทักษิณ’ เคยลั่นวาจาจะกลับไทยก่อน 26 ก.ค.นี้ ที่เป็น ‘วันเกิดทักษิณ’ ซึ่งยังถูกตั้งคำถามว่าจะทันหรือไม่ ? แต่อย่างน้อยในด่านแรก ‘เพื่อไทย’ ก็ผลักดัน ‘วันนอร์’ ที่มีภาพ ‘เป็นกลาง-อาวุโส’ พอที่จะคุยกับ ‘ก้าวไกล-พรรคอื่นๆ’ ได้ ขึ้นเป็นประธานสภาฯ เรียบร้อยแล้ว
หลัง ‘เพื่อไทย’ จรยุทธ์เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ชนิดที่ ‘วันเดียวจบ-มาเร็วเคลมเร็ว’ เช้าวันที่ 3 ก.ค. กลายเป็นมติ ‘เพื่อไทย’ เดินข้ามตึกไปเสนอ ‘ก้าวไกล’ ชนิดที่ยากจะปฏิเสธ เสมือนโดน ‘มัดมือชก’ ทางอ้อม แม้ว่า ‘ก้าวไกล’ จะได้คุยกับ ‘วันนอร์’ กลางดึก 2 ก.ค.ที่ผ่านมา แล้วก็ตาม ทำให้ ‘สุชาติ ตันเจริญ’ ถึงกับต้อง ‘กลืนเลือด’ ยอมถอยไป
ย้อนกลับไป 20 กว่าปีก่อน ‘วันนอร์’ ได้มาอยู่ในมุ้ง ‘พรรคไทยรักไทย’ ร่วมรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ภายหลังมีการยุบรวม ‘พรรคความหวังใหม่ ‘เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2545 ‘วันนอร์’ ได้เป็น รมว.คมนาคม รมว.มหาดไทย จบที่ รองนายกฯ ควบ รมว.เกษตรฯ มาถึงปี 2549 พรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทำให้ ‘วันนอร์’ ในฐานะกรรมการบริหารพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ก่อนไปสังกัดพรรคประชาราช พรรคมัชฌิมาธิปไตย และสุดท้ายมาที่ ‘พรรคเพื่อไทย’ ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2557 แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สุดท้าย ‘วันนอร์’ ได้มาก่อตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ ในปี 2561
การตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ โดยเป้าหมายแล้วก็เพื่อดึงคะแนนจาก จ.ชายแดนภาคใต้ เพราะ ‘กลุ่มวาดะห์’ ที่เป็นกลุ่มของ ‘วันนอร์’ พ่ายเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2548 ทำให้ ‘ขั้วทักษิณ-ไทยรักไทย’ ไม่มีฐานเสียงในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้ง ‘แบรนด์ทักษิณ-เพื่อไทย’ ที่ขายไม่ได้ใน จ.ชายแดนภาคใต้ ทำให้เป้าหมายตั้ง ‘พรรคประชาชาติ’ ขึ้นมา เพื่อมาดึงคะแนนเสริมให้กับพรรคขั้วเดียวกับ ‘พรรคเพื่อไทย’ โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ยุครัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ เป็นเลขาธิการพรรคประชาชาติ
ดังนั้น ‘พรรคประชาชาติ-เพื่อไทย’ จึงถูกมองว่าเป็น ‘พรรคพี่พรรคน้อง’
แน่นอนว่าการตั้งพรรคประชาชาติ ประสบความสำเร็จ โดยผลการเลือกตั้งปี 2562 พรรคประชาชาติได้ ส.ส. 6 ที่นั่งจาก จ.ชานแดนภาคใต้ และล่าสุดการเลือกตั้งปี 2566 พรรคประชาชาติได้ ส.ส. ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส 7 ที่นั่ง จากทั้งหมด 13 ที่นั่ง และได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง ได้แก่ วันมูหะมัดนอร์ และ พ.ต.อ.ทวี
หากย้อนประวัติของ ‘วันนอร์’ มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ ‘ทักษิณ’ ที่ตกเป็นข่าวใหญ่คือเมื่อ 26 ก.พ. 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยึดทรัพย์สิน 46,373 ล้านบาท อดีตนายกฯทักษิณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ ‘ตกเป็นของแผ่นดิน’ จากการใช้อำนาจในฐานะนายกฯ โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจครอบครัวรวม 5 กรณี หนึ่งในนั้น คือ โครงการ ‘ดาวเทียมไอพีสตาร์’ ที่เกิดขึ้นปี 2545 ที่มี ‘วันมูหะมัดนอร์’ เป็น รมว.คมนาคม ลงนามอนุมัติในขณะนั้น
ทั้งหมดนี้คือ ‘เส้นสัมพันธ์’ ระหว่าง ‘ทักษิณ-วันนอร์’ ที่กลับมาโคจรร่วมกันอีกครั้ง ผ่าน ‘ภาพตัวแทน’ นั่นคือพรรคประชาชาติ-พรรคเพื่อไทย ที่ดัน ‘วันนอร์’ ให้ได้เป็น ประธานสภาฯ สมัยที่ 2 ในช่วงเวลา ‘เปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ ที่เกือบจะเรียกว่า ‘พลิกขั้ว’ แต่อาจกลายเป็น ‘รัฐบาลข้ามขั้ว’ แทน จาก ‘สมการอำนาจ’ ที่เปลี่ยนไป หลังเกิดเหตุการณ์ ‘นอกสคริปต์-ผิดแผน’ ที่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งมาเป็นที่ 1
ท่ามกลางกระแสข่าว ‘สามประสาน’ ตั้งรัฐบาล ระหว่าง ‘เพื่อไทย-พลังประชารัฐ-ภูมิใจไทย’ ที่ชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนต่อไป ถูกโฟกัสอยู่ที่ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หน.พลังประชารัฐ ที่ตีคู่พร้อมกับการที่ ‘ทักษิณ’ เคยลั่นวาจาจะกลับไทยก่อน 26 ก.ค.นี้ ที่เป็น ‘วันเกิดทักษิณ’ ซึ่งยังถูกตั้งคำถามว่าจะทันหรือไม่ ? แต่อย่างน้อยในด่านแรก ‘เพื่อไทย’ ก็ผลักดัน ‘วันนอร์’ ที่มีภาพ ‘เป็นกลาง-อาวุโส’ พอที่จะคุยกับ ‘ก้าวไกล-พรรคอื่นๆ’ ได้ ขึ้นเป็นประธานสภาฯ เรียบร้อยแล้ว