หากท่านได้อ่านเรื่องราวต่อจากนี้ คงสงสัยว่าทำไมผมถึงไม่เขียนสังเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ‘ก้าวไกล’ หรือ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ทั้งๆ ที่จวนจะถึงศึกใหญ่ ‘โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30’ แล้วในไม่อีกกี่วันข้างหน้า
แต่เชื่อเถิด (หรือท่านจะไม่เชื่อก็ได้) ‘ประชาธิปัตย์ สาแหรกขาด’ เป็นประเด็นต่อเนื่อง หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้เขียนบทความวิเคราะห์ ‘ประชาธิปัตย์อัสดง’ จึงใคร่ต่อยอดให้ครบถ้วน และผสมผสานกับข่าวสารร่วมสมัยกรณี ‘โหวตนายกฯ’ เพราะประเด็น 2 ขั้วอำนาจชิงเก้าอี้ ‘หัวหน้าพรรค’ อาจเป็นจิ๊กซอร์ตัวหนึ่งที่เติมเต็มกระบวนการในสภา ในวันที่ 13 ก.ค. ที่จะถึงนี้
สาแหรกแบ่งออกเป็น ‘สองขั้ว’
เป็นธรรมดาของพรรคการเมืองเก่าแก่ ที่ภายในจะเต็มไปด้วย ‘มุ้งการเมือง’ อย่างกรณี ‘ประชาธิปัตย์’ ในศึกชิงหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นสงครามระหว่าง 2 ก๊วน สำคัญ
ขั้วที่หนึ่ง กลุ่มอำนาจเก่าของพรรคนำโดย ‘นายหัว’ ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้า และประธานสภาชุดที่ 25 สาวกพระแม่ธรณีรุ่นอาวุโส ที่ให้การสนับสนุน ‘เดอะมาร์ค’ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคลำดับที่ 7 หวนคัมแบ็กกลับมาคุมบังเหียน ใน ปชป. วันที่ตกต่ำขีดสุด
ในฐานะแบนแอมบัสเดอร์หน้าหยก ครองใจมวลมหาประชาชน (ชนชั้นกลาง) มาเมื่อ 10 ปีก่อน อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ในค่ายทหาร) ก่อนจะพาพรรคพ่ายยับในศึกเลือกตั้ง 2562 ได้ ‘ส.ส. ต่ำร้อย’ จำต้องไขก๊อกลาออกตามธรรมเนียม
ทีม ‘ชวน - มาร์ค’ ถือเป็น ‘หนุ่มใหญ่ - วัยชราภาพ’ คุมเสียงคนเก่าแก่ - และสมาชิกพรรค ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.
ขั้วที่สอง นำโดย ‘เสี่ยต่อ’ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค ที่มี ‘นายกฯ ชาย’ เดชอิศม์ ขาวทอง ส.ส.สงขลา และกลุ่ม ส.ส.ปักษ์ใต้เป็นแรงหนุน ส่ง ‘นราพัฒน์ แก้วทอง’ และ (ทาบทาม) ‘พี่เอ้’ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เข้าดวดมัดกับ ‘หล่อใหญ่’
ก๊วนนี้เป็นม้าเต็ง เพราะคลุมทัพหลักของประชาธิปัตย์แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งภาคใต้และหัวเมืองอย่างประจวบฯ รวมได้ 20 ส.ส. (จาก ส.ส. 25 คนที่ได้รับเลือก) เป็นลมใต้ปีกคอยเกื้อหนุน ‘ล้มอำนาจเก่า’
ล้มไม่เป็นท่า ‘เลือกหัวหน้าพรรค’
ในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนใหม่ ร้อนระอุตั้งแต่ระฆังยังเคาะ จากกรณี ‘เฮียจ้อน’ อลงกรณ์ พลบุตร คนเก๋าที่ประกาศชิงตำแหน่งเบอร์ 1 ปชป. เป็นคนแรก ประเดิมถอนตัวกลางกรุ๊ปไลน์นักข่าว ตามมาด้วย ‘พี่เอ้’ ที่ก่อนหน้านี้ถูก ‘เฉลิมชัย’ ทาบทามก็ยอมแพ้ตั้งแต่เกมยังไม่เริ่ม
ชื่อของ ‘นราพัฒน์ แก้วทอง’ บุตรชายของ ‘ไพฑูรย์ แก้วทอง’ คนเก่าแก่ค่ายสีฟ้าน้ำทะเลจึงกลายเป็นเต็งหนึ่งของ ‘ทีมเสี่ยต่อ’ โดยมี ‘นายกฯ ชาย’ เต็งตำแหน่ง ‘แม่บ้านปชป.’ ตั้งเป็นฉายาเชิงยุทธ์ศาสตร์ ‘สิงห์เหนือ - เสือใต้’
เกมชิงดำเริ่มขึ้น ภายใต้กฎหมายที่ระบุว่าการเลือกหัวหน้าพรรคการเมือง ต้องมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่า 250 คน ซึ่งครั้งนี้องค์ประชุมมีจำนวน 299 คน โดย คิดคะแนนรายหัวแบ่งออกเป็นร้อยละ 70 ต่อ 30
70 เปอร์เซ็นต์ มาจาก ส.ส. ที่ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งใหญ่ จำนวน 25 คน ขณะที่ 30 เปอร์เซ็นต์ มาจาก 18 กลุ่มย่อย อันประกอบไปด้วย อดีตกรรมการบริหาร หรือสมาชิกอื่น ๆ ทั่วไป
ดังนั้นเมื่อสัดส่วนการโหวต ดูเทน้ำหนักมาที่ ก๊วน ‘เสี่ยต่อ - นายกฯ ชาย’ คุมเสียงร้อยละ 70 ได้เกือบทั้งหมด จึงเกิดการเสนอของดใช้ข้อบังคับพรรคที่ 87 ที่ระบุถึงสูตร 70 : 30 โดย ‘เสี่ยตี๋’ สาธิต ปิตุเตชะ เจ้าพ่อเมืองระยอง ที่ลุกขึ้นชี้แจงเหตุผล เพื่อให้องค์ประชุมมี 1 สิทธิ์ 1 เสียงเท่ากัน ทำให้ประชุม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ลุกเป็นไฟ
‘องอาจ คล้ามไพบูลย์’ จึงไกล่เกลี่ยเจรจา หวั่นเปลวไฟจะร้อนไปถึงผิวกายนักข่าวที่รออยู่ด้านนอก จึงเสนอยกเลิกข้อบังคับที่ 37 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคชุดเก่า พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคฯ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ออกไปก่อน อย่างไรเสียก็ถูกตีตกเพราะเสียงรองรับไม่ถึง 3 ใน 5 ของที่ประชุม
ต่อมาได้เสนอพักการประชุม ก่อนจะกลับมานับยอดทั้งหมด 2 ครั้ง ปรากฎทีมงาน ‘เพื่อนมาร์ค’ ทำการวอร์กเอาต์ออกจากองค์ประชุม จึงล้มระเนระนาด ไม่ครบ 250 เสียง การโหวตเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคครั้งนี้ จึงต้องยุติลงแบบ ‘เละเทะ’
เรื่องน่าขันมีอยู่ว่า สมาชิกบางคนบอกต้องรีบกลับบ้านเพราะจองตั๋วเครื่องบินไว้แล้ว
นี่มัน ‘เกมการเมือง’ ชัด ๆ
หัวหน้าพรรคสู่การจัดตั้ง ‘รัฐบาล’
อย่างที่กล่าวในย่อหน้าแรกว่า บทความนี้จะพูดถึงการเมืองภาพใหญ่ เพื่อให้ผู้อ่านได้เสพพอหอมปากหอมคอด้วย โดยขอยกกรณีสมมติ หาก ‘ปชป.’ ได้ ‘หัวหน้าพรรค’ และ กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จะมีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล
ก่อนหน้านี้ ‘อลงกรณ์’ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนแล้วว่า หากเขาได้เป็นหัวหน้าพรรค จะนำเสียง ส.ส. ทั้ง 25 คน ช่วยโหวตหนุน ‘หัวหน้าพรรคก้าวไกล’ ขึ้นเป็น ‘สร. 1’ แต่เรื่องนี้คงเป็นแค่ความฝันของ ‘ด้อมส้ม’ เพราะท้ายที่สุด ‘เฮียจ้อน’ ประกาศถอนตัวจากการชิงตำแหน่งเบอร์ 1 ปชป. ในโค้งสุดท้าย
ขณะที่รายงานอีกชิ้นยังระบุว่า หาก ‘ก๊วนเฉลิม’ ได้เข้าคุมแผงวงจรส่ง ‘นราพัฒน์’ เป็นหัวหน้าพรรค ปชป. จะมีโอกาสสูงที่ ‘ประชาธิปัตย์’ จะไปจับมือกับ ‘เพื่อไทย’ โดยรออาศัยจังหวะ ‘พิธา’ ไม่สามารถรั้งตำแหน่ง ‘นายกฯ’ ได้
จนเกิดฉากทัศน์ ‘พลิกขั้ว’ ที่ทำนายกันมาตลอดหลายเดือน ‘เพื่อไทย’ ไปจับมือกับอดีตพรรครัฐบาล ซึ่งตามรายงานระบุว่า แนวคิดดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจให้ ‘ก๊วนนายหัว’ อย่างมากจึงพยายามส่ง ‘เดอะมาร์ค’ ลงชิงตำแหน่งหัวเรือ แม้รู้ทั้งรู้ว่า บารมีของ ‘นายหัวชวน’ สิ้นความขลังค์ไปแล้ว แต่จะให้ร่วมกับอดีตคู่ปรับอย่างง่าย ๆ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ไม่มีทาง
แต่เชื่อเหลือเกินว่า ผลการโหวตเลือกหัวหน้าพรรคครั้งต่อไปจะ ‘ไม่พลิก’ เพราะหากยึดตามหมากบนกระดานอำนาจ ‘เสี่ยต่อ’ เป็นต่อหลายขุม ‘เดอะมาร์ค’ อาจต้องกลับไปเลี้ยงแมว หรือถ้ากระดานคว่ำจริง ๆ ‘เจ๊ติ่ง - มัลลิกา’ อาจกลายเป็น ‘นารีขี่ม้าขาว’ กอบกู้ปชป. ต่อไป
อันนี้ผู้เขียนทิ้งท้ายเพื่อความบันเทิงนะ (ฮา)
แต่เชื่อเถิด (หรือท่านจะไม่เชื่อก็ได้) ‘ประชาธิปัตย์ สาแหรกขาด’ เป็นประเด็นต่อเนื่อง หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้เขียนบทความวิเคราะห์ ‘ประชาธิปัตย์อัสดง’ จึงใคร่ต่อยอดให้ครบถ้วน และผสมผสานกับข่าวสารร่วมสมัยกรณี ‘โหวตนายกฯ’ เพราะประเด็น 2 ขั้วอำนาจชิงเก้าอี้ ‘หัวหน้าพรรค’ อาจเป็นจิ๊กซอร์ตัวหนึ่งที่เติมเต็มกระบวนการในสภา ในวันที่ 13 ก.ค. ที่จะถึงนี้
สาแหรกแบ่งออกเป็น ‘สองขั้ว’
เป็นธรรมดาของพรรคการเมืองเก่าแก่ ที่ภายในจะเต็มไปด้วย ‘มุ้งการเมือง’ อย่างกรณี ‘ประชาธิปัตย์’ ในศึกชิงหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นสงครามระหว่าง 2 ก๊วน สำคัญ
ขั้วที่หนึ่ง กลุ่มอำนาจเก่าของพรรคนำโดย ‘นายหัว’ ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้า และประธานสภาชุดที่ 25 สาวกพระแม่ธรณีรุ่นอาวุโส ที่ให้การสนับสนุน ‘เดอะมาร์ค’ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคลำดับที่ 7 หวนคัมแบ็กกลับมาคุมบังเหียน ใน ปชป. วันที่ตกต่ำขีดสุด
ในฐานะแบนแอมบัสเดอร์หน้าหยก ครองใจมวลมหาประชาชน (ชนชั้นกลาง) มาเมื่อ 10 ปีก่อน อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ในค่ายทหาร) ก่อนจะพาพรรคพ่ายยับในศึกเลือกตั้ง 2562 ได้ ‘ส.ส. ต่ำร้อย’ จำต้องไขก๊อกลาออกตามธรรมเนียม
ทีม ‘ชวน - มาร์ค’ ถือเป็น ‘หนุ่มใหญ่ - วัยชราภาพ’ คุมเสียงคนเก่าแก่ - และสมาชิกพรรค ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.
ขั้วที่สอง นำโดย ‘เสี่ยต่อ’ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค ที่มี ‘นายกฯ ชาย’ เดชอิศม์ ขาวทอง ส.ส.สงขลา และกลุ่ม ส.ส.ปักษ์ใต้เป็นแรงหนุน ส่ง ‘นราพัฒน์ แก้วทอง’ และ (ทาบทาม) ‘พี่เอ้’ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เข้าดวดมัดกับ ‘หล่อใหญ่’
ก๊วนนี้เป็นม้าเต็ง เพราะคลุมทัพหลักของประชาธิปัตย์แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งภาคใต้และหัวเมืองอย่างประจวบฯ รวมได้ 20 ส.ส. (จาก ส.ส. 25 คนที่ได้รับเลือก) เป็นลมใต้ปีกคอยเกื้อหนุน ‘ล้มอำนาจเก่า’
ล้มไม่เป็นท่า ‘เลือกหัวหน้าพรรค’
ในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนใหม่ ร้อนระอุตั้งแต่ระฆังยังเคาะ จากกรณี ‘เฮียจ้อน’ อลงกรณ์ พลบุตร คนเก๋าที่ประกาศชิงตำแหน่งเบอร์ 1 ปชป. เป็นคนแรก ประเดิมถอนตัวกลางกรุ๊ปไลน์นักข่าว ตามมาด้วย ‘พี่เอ้’ ที่ก่อนหน้านี้ถูก ‘เฉลิมชัย’ ทาบทามก็ยอมแพ้ตั้งแต่เกมยังไม่เริ่ม
ชื่อของ ‘นราพัฒน์ แก้วทอง’ บุตรชายของ ‘ไพฑูรย์ แก้วทอง’ คนเก่าแก่ค่ายสีฟ้าน้ำทะเลจึงกลายเป็นเต็งหนึ่งของ ‘ทีมเสี่ยต่อ’ โดยมี ‘นายกฯ ชาย’ เต็งตำแหน่ง ‘แม่บ้านปชป.’ ตั้งเป็นฉายาเชิงยุทธ์ศาสตร์ ‘สิงห์เหนือ - เสือใต้’
เกมชิงดำเริ่มขึ้น ภายใต้กฎหมายที่ระบุว่าการเลือกหัวหน้าพรรคการเมือง ต้องมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่า 250 คน ซึ่งครั้งนี้องค์ประชุมมีจำนวน 299 คน โดย คิดคะแนนรายหัวแบ่งออกเป็นร้อยละ 70 ต่อ 30
70 เปอร์เซ็นต์ มาจาก ส.ส. ที่ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งใหญ่ จำนวน 25 คน ขณะที่ 30 เปอร์เซ็นต์ มาจาก 18 กลุ่มย่อย อันประกอบไปด้วย อดีตกรรมการบริหาร หรือสมาชิกอื่น ๆ ทั่วไป
ดังนั้นเมื่อสัดส่วนการโหวต ดูเทน้ำหนักมาที่ ก๊วน ‘เสี่ยต่อ - นายกฯ ชาย’ คุมเสียงร้อยละ 70 ได้เกือบทั้งหมด จึงเกิดการเสนอของดใช้ข้อบังคับพรรคที่ 87 ที่ระบุถึงสูตร 70 : 30 โดย ‘เสี่ยตี๋’ สาธิต ปิตุเตชะ เจ้าพ่อเมืองระยอง ที่ลุกขึ้นชี้แจงเหตุผล เพื่อให้องค์ประชุมมี 1 สิทธิ์ 1 เสียงเท่ากัน ทำให้ประชุม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ลุกเป็นไฟ
‘องอาจ คล้ามไพบูลย์’ จึงไกล่เกลี่ยเจรจา หวั่นเปลวไฟจะร้อนไปถึงผิวกายนักข่าวที่รออยู่ด้านนอก จึงเสนอยกเลิกข้อบังคับที่ 37 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคชุดเก่า พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคฯ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ออกไปก่อน อย่างไรเสียก็ถูกตีตกเพราะเสียงรองรับไม่ถึง 3 ใน 5 ของที่ประชุม
ต่อมาได้เสนอพักการประชุม ก่อนจะกลับมานับยอดทั้งหมด 2 ครั้ง ปรากฎทีมงาน ‘เพื่อนมาร์ค’ ทำการวอร์กเอาต์ออกจากองค์ประชุม จึงล้มระเนระนาด ไม่ครบ 250 เสียง การโหวตเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคครั้งนี้ จึงต้องยุติลงแบบ ‘เละเทะ’
เรื่องน่าขันมีอยู่ว่า สมาชิกบางคนบอกต้องรีบกลับบ้านเพราะจองตั๋วเครื่องบินไว้แล้ว
นี่มัน ‘เกมการเมือง’ ชัด ๆ
หัวหน้าพรรคสู่การจัดตั้ง ‘รัฐบาล’
อย่างที่กล่าวในย่อหน้าแรกว่า บทความนี้จะพูดถึงการเมืองภาพใหญ่ เพื่อให้ผู้อ่านได้เสพพอหอมปากหอมคอด้วย โดยขอยกกรณีสมมติ หาก ‘ปชป.’ ได้ ‘หัวหน้าพรรค’ และ กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จะมีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล
ก่อนหน้านี้ ‘อลงกรณ์’ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนแล้วว่า หากเขาได้เป็นหัวหน้าพรรค จะนำเสียง ส.ส. ทั้ง 25 คน ช่วยโหวตหนุน ‘หัวหน้าพรรคก้าวไกล’ ขึ้นเป็น ‘สร. 1’ แต่เรื่องนี้คงเป็นแค่ความฝันของ ‘ด้อมส้ม’ เพราะท้ายที่สุด ‘เฮียจ้อน’ ประกาศถอนตัวจากการชิงตำแหน่งเบอร์ 1 ปชป. ในโค้งสุดท้าย
ขณะที่รายงานอีกชิ้นยังระบุว่า หาก ‘ก๊วนเฉลิม’ ได้เข้าคุมแผงวงจรส่ง ‘นราพัฒน์’ เป็นหัวหน้าพรรค ปชป. จะมีโอกาสสูงที่ ‘ประชาธิปัตย์’ จะไปจับมือกับ ‘เพื่อไทย’ โดยรออาศัยจังหวะ ‘พิธา’ ไม่สามารถรั้งตำแหน่ง ‘นายกฯ’ ได้
จนเกิดฉากทัศน์ ‘พลิกขั้ว’ ที่ทำนายกันมาตลอดหลายเดือน ‘เพื่อไทย’ ไปจับมือกับอดีตพรรครัฐบาล ซึ่งตามรายงานระบุว่า แนวคิดดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจให้ ‘ก๊วนนายหัว’ อย่างมากจึงพยายามส่ง ‘เดอะมาร์ค’ ลงชิงตำแหน่งหัวเรือ แม้รู้ทั้งรู้ว่า บารมีของ ‘นายหัวชวน’ สิ้นความขลังค์ไปแล้ว แต่จะให้ร่วมกับอดีตคู่ปรับอย่างง่าย ๆ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ไม่มีทาง
แต่เชื่อเหลือเกินว่า ผลการโหวตเลือกหัวหน้าพรรคครั้งต่อไปจะ ‘ไม่พลิก’ เพราะหากยึดตามหมากบนกระดานอำนาจ ‘เสี่ยต่อ’ เป็นต่อหลายขุม ‘เดอะมาร์ค’ อาจต้องกลับไปเลี้ยงแมว หรือถ้ากระดานคว่ำจริง ๆ ‘เจ๊ติ่ง - มัลลิกา’ อาจกลายเป็น ‘นารีขี่ม้าขาว’ กอบกู้ปชป. ต่อไป
อันนี้ผู้เขียนทิ้งท้ายเพื่อความบันเทิงนะ (ฮา)