ผ่านพ้นเข้าสู่เดือนที่ 3 หลังการเลือกตั้งและภาวะอลเวงทางการเมือง ก็เข้าสู่ห้วงฟอร์มทีม ‘รัฐบาลชุดใหม่’ ที่นำโดย ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ดูภายนอกทุกอย่างเป็นไปได้สวย แต่หากวิเคราะห์กันลึกๆ มีคลื่นใต้น้ำก่อตัวมาตลอดระหว่างมวลชน และพรรคเพื่อไทย
ไม่ว่าจะเป็นวังวนทางการเมืองตามแบบฉบับไทยๆ หรือวาระการเปลี่ยนผ่านจาก ‘ครม.เศรษฐา’ ที่กำลังเริ่มตั้งไข่ ผ่านการผสมขั้วมั่วทีม ภายใต้แนวคิด ‘รัฐบาลพิเศษ’ สร้างความไม่พอใจกับกลุ่มบุคคลกรทางการเมือง ทั้งฟากฝั่ง ‘สีส้ม’ ที่บูชาหลักนิยมประชาธิปไตยบริสุทธิ์ และ ‘สีแดง’ ที่เชิดชูอุดมการณ์ต่อต้านรัฐประหารแบบเข้มข้น เกิดการพลิกขั้ว เปลี่ยนข้าง และถอยฉากจากความไม่ลงรอยทางความคิดเกิดขึ้น
SPACEBAR POLITICS ประมวลภาพ ‘คีย์แมนเสื้อแดง’ คนสำคัญที่เคยเป็นกำลังหลักให้ ‘เพื่อไทย’ กับสถานะปัจจุบันหลังเกิด ‘รัฐบาลสลายขั้ว’ เพื่อถอดบทบาทตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้ขอหยิบยกเรื่องราวที่แทรกซ้อน ผ่านตัวบุคคลตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ให้ผู้อ่านได้เสพพอประติดประต่อเหตุการณ์ อย่างมีอรรถรส
‘จตุพร พรหมพันธุ์’ ตามรายงานข่าวเชื่อว่า เป็นผู้มีบทบาทตั้งแต่วัยแรกแย้มของพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยหาเสียง’ ไปจนถึง ‘รองโฆษกพรรค’ จนให้หลังการรัฐประหารปี 2549 เขาได้เป็น 1 ใน 8 แกนนำ นปก. ต่อต้านกลุ่มผู้ก่อการ จนเวลาต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง กับพรรคพลังประชาชน ก่อนจะได้เป็น สส. ครั้งแรกในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จนได้รับเลือกตั้งเป็น สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในปี 2554 ก่อนเข้าสู่ห้วงปฏิวัติ 2557 หลังได้อิสรภาพคืนมาจากเรือนจำ จตุพรได้ร่วมงานกับพรรคเพื่อชาติ ก่อนจะยุติบทบาทในฐานะนักการเมือง และกลับคืนสู่สถานะนักเคลื่อนไหวดั้งเดิม
‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ หนึ่งในแกนนำต่อต้านรัฐประหารปี 2549 ที่มีบทบาทสำคัญร่วมขับเคลื่อนกับคนเสื้อแดงพร้อมๆ กับจตุพร เขาโลดแล่นทั้งบนถนนและอาคารหินอ่อน ตามหน้าที่ของนักกิจกรรมผู้มีวาทะศิลป์เป็นเครื่องมือ ทั้ง ‘โฆษกพรรคไทยรักไทย - รัฐบาลสมชาย’ และสส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ก่อนจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ 2 กระทรวงได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารปี 2557 ก่อนกลับออกมาสู่สนามการเมืองอีกครั้งในฐานะ ผู้สมัคร สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักษาชาติ ตำแหน่งทางการเมืองสุดท้ายของเขา คือ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย และได้ลาออกไปหมาดๆ กลับไปใช้ชีวิตเยี่ยงพ่อค้า ณ ร้านอาหารใต้
‘เหวง โตจิราการ’ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาเป็นฟันเฟืองคนสำคัญของกลุ่ม นปช. ในการออกมาต่อต้านรัฐประหารปี 2549 และร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนได้รับเลือกตั้งเป็น สส.แบบบัญชีรายชื่อ ปี 2554 ก่อนที่จะลาออกไปร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติ ในปี 2561 ปัจจุบันยุติบทบาททางการเมืองแล้ว
‘ก่อแก้ว พิกุลทอง’ แกนนำคนเสื้อแดงคนสำคัญ เริ่มต้นความสัมพันธ์ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการพรรค ขับเคลื่อนต่อต้านรัฐประหารปี 2549 ร่วมกับมวลชนเสื้อแดง ก่อนจะร่วมงานทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และได้เป็น สส.บัญชีรายชื่อ เมื่อปี 2554 ในปี 2562 เขาได้ย้ายไปร่วมงานกลับพรรคไทยรักษาชาติ ก่อนจะย้ายกลับมาเป็นผู้สมัคร สส. พรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2566
‘วีระกานต์ มุกสิกพงศ์’ เจ้าของฉายา ‘ไข่มุกดำ’ อดีตนักเคลื่อนไหวและนักการเมือง ที่อยู่คูในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เขาคลุกคลีกับการเมืองไทยมาแล้วทุกฝั่ง มีตำแหน่งทางการเมืองหลายรัฐบาล และเจอมรสุมชีวิตหลายครั้ง เคยเป็น สส. แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย สำหรับบทบาทห้วงหลังการรัฐประหารปี 2549 วีระ (ชื่อเดิม) เป็นแนวหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดง ก่อนจะเข้าสู่พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันจากรายงานเบื้องต้น คาดว่าจะยุติบทบาททางการเมือง และอยู่รักษาตัวสู้กับโรควัยชราภาพ
‘เสกสกล อัตถาวงศ์’ หรือชื่อเดิม สุภรณ์ เคยเป็น สส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ก่อนจะมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในช่วงหลัง ซึ่งระหว่างนั้น เขาได้รับฉายา ‘แรมโบ้อีสาน’ จากการขึ้นเวทีคนเสื้อแดง จุดพลิกผัน คือการย้ายสังกัดเข้าสู่พรรคพลังประชารัฐ ในปี 2561 จนได้มีโอกาสรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 และเข้าสู่การร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการเลือกตั้ง 2566
‘วรชัย เหมะ’ อดีต สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำแนวหน้าของคนเสื้อแดง ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมสุดซอย เข้ารัฐสภาเป็นคนแรก ถือเป็นจุดเริ่มต้นความวุ่นวายและการรัฐประหารปี 2557 ปัจจุบันคาดว่ายุติบทบาททางการเมืองแล้ว แต่ยังคงแสดงความเห็นอยู่บ้างตามโอกาส
ไม่ว่าจะเป็นวังวนทางการเมืองตามแบบฉบับไทยๆ หรือวาระการเปลี่ยนผ่านจาก ‘ครม.เศรษฐา’ ที่กำลังเริ่มตั้งไข่ ผ่านการผสมขั้วมั่วทีม ภายใต้แนวคิด ‘รัฐบาลพิเศษ’ สร้างความไม่พอใจกับกลุ่มบุคคลกรทางการเมือง ทั้งฟากฝั่ง ‘สีส้ม’ ที่บูชาหลักนิยมประชาธิปไตยบริสุทธิ์ และ ‘สีแดง’ ที่เชิดชูอุดมการณ์ต่อต้านรัฐประหารแบบเข้มข้น เกิดการพลิกขั้ว เปลี่ยนข้าง และถอยฉากจากความไม่ลงรอยทางความคิดเกิดขึ้น
SPACEBAR POLITICS ประมวลภาพ ‘คีย์แมนเสื้อแดง’ คนสำคัญที่เคยเป็นกำลังหลักให้ ‘เพื่อไทย’ กับสถานะปัจจุบันหลังเกิด ‘รัฐบาลสลายขั้ว’ เพื่อถอดบทบาทตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้ขอหยิบยกเรื่องราวที่แทรกซ้อน ผ่านตัวบุคคลตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ให้ผู้อ่านได้เสพพอประติดประต่อเหตุการณ์ อย่างมีอรรถรส
ปูมหลังและปัจจุบันกาลของ 7 คีย์แมน ‘เพื่อไทย’
หากนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 เป็นต้นมา จนถึงคราวกำเนิด ‘กลุ่มคนเสื้อแดง’ ที่เข้ามามีบทบาทต่อต้านรัฐประหาร ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองให้กับพรรคตระกูลชินวัตรอย่างกลมกลืน ให้มองผ่านแว่นปัจจุบัน พอไล่เรียงได้หลายคน และต่างคนต่างมีความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน‘จตุพร พรหมพันธุ์’ ตามรายงานข่าวเชื่อว่า เป็นผู้มีบทบาทตั้งแต่วัยแรกแย้มของพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยหาเสียง’ ไปจนถึง ‘รองโฆษกพรรค’ จนให้หลังการรัฐประหารปี 2549 เขาได้เป็น 1 ใน 8 แกนนำ นปก. ต่อต้านกลุ่มผู้ก่อการ จนเวลาต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง กับพรรคพลังประชาชน ก่อนจะได้เป็น สส. ครั้งแรกในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จนได้รับเลือกตั้งเป็น สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในปี 2554 ก่อนเข้าสู่ห้วงปฏิวัติ 2557 หลังได้อิสรภาพคืนมาจากเรือนจำ จตุพรได้ร่วมงานกับพรรคเพื่อชาติ ก่อนจะยุติบทบาทในฐานะนักการเมือง และกลับคืนสู่สถานะนักเคลื่อนไหวดั้งเดิม
‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ หนึ่งในแกนนำต่อต้านรัฐประหารปี 2549 ที่มีบทบาทสำคัญร่วมขับเคลื่อนกับคนเสื้อแดงพร้อมๆ กับจตุพร เขาโลดแล่นทั้งบนถนนและอาคารหินอ่อน ตามหน้าที่ของนักกิจกรรมผู้มีวาทะศิลป์เป็นเครื่องมือ ทั้ง ‘โฆษกพรรคไทยรักไทย - รัฐบาลสมชาย’ และสส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ก่อนจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ 2 กระทรวงได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารปี 2557 ก่อนกลับออกมาสู่สนามการเมืองอีกครั้งในฐานะ ผู้สมัคร สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักษาชาติ ตำแหน่งทางการเมืองสุดท้ายของเขา คือ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย และได้ลาออกไปหมาดๆ กลับไปใช้ชีวิตเยี่ยงพ่อค้า ณ ร้านอาหารใต้
‘เหวง โตจิราการ’ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาเป็นฟันเฟืองคนสำคัญของกลุ่ม นปช. ในการออกมาต่อต้านรัฐประหารปี 2549 และร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนได้รับเลือกตั้งเป็น สส.แบบบัญชีรายชื่อ ปี 2554 ก่อนที่จะลาออกไปร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติ ในปี 2561 ปัจจุบันยุติบทบาททางการเมืองแล้ว
‘ก่อแก้ว พิกุลทอง’ แกนนำคนเสื้อแดงคนสำคัญ เริ่มต้นความสัมพันธ์ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการพรรค ขับเคลื่อนต่อต้านรัฐประหารปี 2549 ร่วมกับมวลชนเสื้อแดง ก่อนจะร่วมงานทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และได้เป็น สส.บัญชีรายชื่อ เมื่อปี 2554 ในปี 2562 เขาได้ย้ายไปร่วมงานกลับพรรคไทยรักษาชาติ ก่อนจะย้ายกลับมาเป็นผู้สมัคร สส. พรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2566
‘วีระกานต์ มุกสิกพงศ์’ เจ้าของฉายา ‘ไข่มุกดำ’ อดีตนักเคลื่อนไหวและนักการเมือง ที่อยู่คูในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เขาคลุกคลีกับการเมืองไทยมาแล้วทุกฝั่ง มีตำแหน่งทางการเมืองหลายรัฐบาล และเจอมรสุมชีวิตหลายครั้ง เคยเป็น สส. แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย สำหรับบทบาทห้วงหลังการรัฐประหารปี 2549 วีระ (ชื่อเดิม) เป็นแนวหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดง ก่อนจะเข้าสู่พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันจากรายงานเบื้องต้น คาดว่าจะยุติบทบาททางการเมือง และอยู่รักษาตัวสู้กับโรควัยชราภาพ
‘เสกสกล อัตถาวงศ์’ หรือชื่อเดิม สุภรณ์ เคยเป็น สส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ก่อนจะมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในช่วงหลัง ซึ่งระหว่างนั้น เขาได้รับฉายา ‘แรมโบ้อีสาน’ จากการขึ้นเวทีคนเสื้อแดง จุดพลิกผัน คือการย้ายสังกัดเข้าสู่พรรคพลังประชารัฐ ในปี 2561 จนได้มีโอกาสรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 และเข้าสู่การร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการเลือกตั้ง 2566
‘วรชัย เหมะ’ อดีต สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำแนวหน้าของคนเสื้อแดง ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมสุดซอย เข้ารัฐสภาเป็นคนแรก ถือเป็นจุดเริ่มต้นความวุ่นวายและการรัฐประหารปี 2557 ปัจจุบันคาดว่ายุติบทบาททางการเมืองแล้ว แต่ยังคงแสดงความเห็นอยู่บ้างตามโอกาส

สังเคราะห์เหตุการณ์ ‘แตกกระสานซ่านเซ็น’
จาก 7 บุคคลที่ทีมข่าว SPACEBAR POLITICS ได้หยิบยกขึ้นมาโดยสังเขป จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘แกนนำคนเสื้อแดง’ และ ‘พรรคเพื่อไทย’ (รวมถึงพรรคตระกูลชินวัตรที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้) มีความแน่นแฟ้นแนบชิดมาโดยตลอด แต่หากอ่านสถานการณ์ช่วงหลังจะพบว่า เกิดการ ‘แตกกระสานซ่านเซ็น’ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ ช่วงหลังการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ในปี 2557 ที่ ‘กลุ่มนปช.’ มีบทบาททางการเมืองลดน้อยลง เนื่องจากการใช้อำนาจควมคุมดูแลความสงบเรียบร้อยของ คสช. และเกิดความแตกแยกกันภายใน ตามลักษณะ ‘พลิกขั้วเปลี่ยนข้าง’ ตามธรรมชาติของการเมืองไทย กรณีที่เห็นชัดคือ ‘จตุพร พรหมพันธุ์’ ที่ถึงขั้นความแตกหักกับพรรคเพื่อไทย จากเหตุการณ์ช่วยหาเสียงการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เมื่อปลายปี 2563 นำมาสู่ ‘ปฏิบัติการแฉทักษิณ’ และ ‘ถลกหนังเพื่อไทย’ ที่มีให้เห็นกันอยู่ร่ำไป
อีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่สร้างความขุ่นหมองให้กับคนเสื้อแดงและแฟนคลับเพื่อไทย คือกรณีของ ‘เสกสกล อัตถาวงศ์’ เจ้าของบทเพลง ‘กตัญญูทักษิณ’ ที่ภายหลังกลับลำ สู่อ้อมแขนของพรรคพลังประชารัฐ - รวมไทยสร้างชาติ กลายเป็นขุนพลข้างกายของ ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ และมีท่าทีกลับตาลปัตร ปกป้องปฏิปักษ์ โจมตีต้นสังกัดเดิมอย่างเจ็บแสบ
ในส่วนปัจจัยอีกประการ ที่ทำให้เห็นรอยปริของแกนนำ นปช. ช่วงปี 2562 เมื่อจตุพรตัดสินผลักดัน ‘พรรคเพื่อชาติ’ ลงสนามเลือกตั้ง และ ‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ ก้าวย่างไปช่วย ‘พรรคไทยรักษาชาติ’ ตามทฤษฎีแตกแบงค์พันของพรรคเพื่อไทย กลายเป็นการแยกกันเดิน ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะท้ายที่สุดพรรคเพื่อชาติ ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง และพรรคไทยรักษาชาติ ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ก่อนการคูหาจะเกิดขึ้นเสียอีก เคยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การแยกกันเดินของ นปช. 2 สาย อาจป็นความขัดแย้งภายใน ระหว่าง ‘ตู่’ กับ ‘เต้น’ ที่อดีตเคยเคียงบ่าเคียงไหล่บนท้องถนนมาด้วยกัน
ขณะที่แกนนำหลายคนยุติบทบาททางการเมือง เพราะสังขารวัยชรา อาทิ ‘เหวง โตจิราการ’ และ ‘วีระกานต์ มุกสิกพงศ์’ แต่หลายคนก็ยังหวนกลับคืนสู่พรรคอันเป็นที่รัก อย่าง ‘ก่อแก้ว พิกุลทอง’ ที่กลับมาช่วยผลักดันในการเลือกตั้ง ปี 2566 และ ‘วรชัย เหมะ’ ที่ถึงแม้จะไม่ได้หวนคืนสนามการเมือง แต่ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เพื่อโต้แย้งกรณีที่จตุพร กล่าวอ้างว่า ‘ทักษิณ’ รู้เห็นกับการรัฐประหาร ‘ยิ่งลักษณ์’ เมื่อปี 2557
กระนั้น มีพบเจอย่อมมีจากลา ในจังหวะการรวมเสียงโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี (ที่เกิดขึ้นวันที่ 22 สิงหาคม 2566) ณัฐวุฒิ (ใสยเกื้อ) ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย เนื่องจากพรรคมีแนวโน้มจับมือร่วมรัฐบาลกับ ‘พรรคสองลุง’ คู่แค้นทางการเมืองตลอดการของ ‘พี่น้องเสื้อแดง’
โดยแนวโน้มที่เกิดขึ้น หลายคนเชื่อว่า เป็นคืนวันที่ร่วงโรยของกลุ่ม นปช. ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีงามนับทศวรรษ กับ ‘พรรคเพื่อไทย’ ที่เกิดขึ้นในช่วง ‘รัฐบาลข้ามขั้ว’ ตั้งไข่