ผมอยากบันทึกไว้ว่า สถานการณ์การเมืองในวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ปนเปื้อนไปด้วยอารมณ์ที่หลากรส นับตั้งแต่การแถลงข่าวฉีกเอ็มโอยู 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดย ‘พรรคเพื่อไทย’ ที่ถีบส่งให้ ‘พรรคก้าวไกล’ ไปเป็น ‘ฝ่ายค้าน’ สมใจปรารถนากลุ่มอนุรักษนิยม - ทุนจารีตที่พยายามบีบคั้น ท่ามกลางสภาวะขุ่นเคืองของฝ่ายประชาธิปไตย ที่แม้จะจับสัญญาณมาได้สักระยะก็มิอาจยับยั้งได้
เรื่องนี้ผู้เขียนมิได้อุปโลกน์ขึ้นเอาเอง แต่สัมผัสได้จากกระแสโซเชียลมีเดีย และงานข่าวภาคสนามที่ได้ลงไปคลุกคลีด้วยตัวเอง เท้าความสักเล็กน้อย ก่อนข่าวจะสะพัดข้าพเจ้าเพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจติดตาม ‘คาร์ม็อบ’ แยกอโศกและกำลังจะเดินทางกลับบ้าน
แต่อนิจจัง มีรายงานจากเพื่อนนักข่าวที่ทราบความจากวงประชุม สส. ก้าวไกล ว่า ‘เพื่อไทยฉีกทะเบียนสมรส’ พร้อม ‘เซ็นใบหย่าร้าง’ ข้าพเจ้าจำต้องรีบเดินทางต่อไปยังที่ทำการพรรคเพื่อไทย อันเป็นหมุดหมายเดียวกับมวลชนทันที ทว่าเมื่อไปถึงที่หมายในเวลาประมาณบ่าย 2 โมงครึ่ง การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของ ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ ก็เริ่มไปเสียแล้ว
ด้านมวลชนที่นำโดย ‘กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม’ ขึ้นรถโห่สามลาในตามธีมงาน ‘ยกขันหมาก’ มาตั้งแต่ถนนสุขุมวิท เพื่อมอบมาลัยวิวาห์กับพรรคเพื่อไทย ก็มิทันการได้ยื่นรายชื่อประชาชน (ที่อยากให้ 8 พรรคร่วมฯ จับมือกันอย่างเหนียวแน่น) ตามตั้งใจไว้ รายละเอียดของคำแถลงคงไม่ขอสาธยายอีกแล้ว เพราะเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงรับทราบอย่างถี่ถ้วน แต่อยากชวนวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นภาคประชาชน
เรื่องนี้ผู้เขียนมิได้อุปโลกน์ขึ้นเอาเอง แต่สัมผัสได้จากกระแสโซเชียลมีเดีย และงานข่าวภาคสนามที่ได้ลงไปคลุกคลีด้วยตัวเอง เท้าความสักเล็กน้อย ก่อนข่าวจะสะพัดข้าพเจ้าเพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจติดตาม ‘คาร์ม็อบ’ แยกอโศกและกำลังจะเดินทางกลับบ้าน
แต่อนิจจัง มีรายงานจากเพื่อนนักข่าวที่ทราบความจากวงประชุม สส. ก้าวไกล ว่า ‘เพื่อไทยฉีกทะเบียนสมรส’ พร้อม ‘เซ็นใบหย่าร้าง’ ข้าพเจ้าจำต้องรีบเดินทางต่อไปยังที่ทำการพรรคเพื่อไทย อันเป็นหมุดหมายเดียวกับมวลชนทันที ทว่าเมื่อไปถึงที่หมายในเวลาประมาณบ่าย 2 โมงครึ่ง การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของ ‘ชลน่าน ศรีแก้ว’ ก็เริ่มไปเสียแล้ว
ด้านมวลชนที่นำโดย ‘กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม’ ขึ้นรถโห่สามลาในตามธีมงาน ‘ยกขันหมาก’ มาตั้งแต่ถนนสุขุมวิท เพื่อมอบมาลัยวิวาห์กับพรรคเพื่อไทย ก็มิทันการได้ยื่นรายชื่อประชาชน (ที่อยากให้ 8 พรรคร่วมฯ จับมือกันอย่างเหนียวแน่น) ตามตั้งใจไว้ รายละเอียดของคำแถลงคงไม่ขอสาธยายอีกแล้ว เพราะเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงรับทราบอย่างถี่ถ้วน แต่อยากชวนวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นภาคประชาชน

ขออธิบายภาพที่อยู่เบื้องหน้าในวันนั้นพอสังเขป องค์ประกอบหลักความเคลื่อนไหวของประชาชนอยู่ที่ ‘กลุ่มมวลชน’ สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย 1) กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ แกนนำของมหรสพครั้งนี้ 2) กลุ่มมวลชนอิสระ ที่บางส่วนไม่ได้ร่วมขบวนขันหมาก แต่มาสมทบที่พรรคเพื่อไทย และ 3) กลุ่มมวลชนเสื้อแดง ที่บางส่วนเดินทางมาพร้อมกับคาร์ม็อบแยกอโศก และบางส่วนรวมตัวอยู่ก่อนหน้าแล้ว ในสถานที่แห่งนี้อย่างคุ้นเคย
ขั้นตอนการแห่ขันหมากดำเนินต่อไป แม้หลายคนในคณะจะพอทราบถึงความเคลื่อนไหวในห้องแถลงข่าวแล้วบ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงใช้ไมโครโฟน ประกาศเจตจำนงอย่างต่อเนื่อง ขอให้ ‘เพื่อไทย’ ร่วมหัวจมท้ายกับ ‘ก้าวไกล’ อย่าได้หวั่นไหวกับ ‘สว.’ ที่ใกล้ถึงคราวหมดอายุ
“เกือบ 9 ปีกว่า ๆ ที่พวกเราอยู่ในระบอบเผด็จการจากการทำรัฐประหาร ขอให้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เชื่อมั่นในกลไกเสียงข้างมากและประชาธิปไตย อีกไม่นานสมาชิกวุฒิสภาก็จะหมดวาระแล้วตามรัฐธรรมนูญ และการกดดันจากภาคประชาชน ผนวกกับความเหนียวแน่นของพรรคร่วม อาจทำให้ สว. เปลี่ยนใจ เกิดรัฐบาลประชาชน ที่เป็นของประชาชน”
ขั้นตอนการแห่ขันหมากดำเนินต่อไป แม้หลายคนในคณะจะพอทราบถึงความเคลื่อนไหวในห้องแถลงข่าวแล้วบ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงใช้ไมโครโฟน ประกาศเจตจำนงอย่างต่อเนื่อง ขอให้ ‘เพื่อไทย’ ร่วมหัวจมท้ายกับ ‘ก้าวไกล’ อย่าได้หวั่นไหวกับ ‘สว.’ ที่ใกล้ถึงคราวหมดอายุ
“เกือบ 9 ปีกว่า ๆ ที่พวกเราอยู่ในระบอบเผด็จการจากการทำรัฐประหาร ขอให้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เชื่อมั่นในกลไกเสียงข้างมากและประชาธิปไตย อีกไม่นานสมาชิกวุฒิสภาก็จะหมดวาระแล้วตามรัฐธรรมนูญ และการกดดันจากภาคประชาชน ผนวกกับความเหนียวแน่นของพรรคร่วม อาจทำให้ สว. เปลี่ยนใจ เกิดรัฐบาลประชาชน ที่เป็นของประชาชน”

กลุ่มแนวร่วมฯ ใช้เวลาจัดขบวนขันหมากไม่นานนัก ก็ตบเท้าเลี้ยวเข้าไปยังพรรคเพื่อไทย เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ ‘รังสิมันต์ โรม’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เดินลงมาจากที่ประชุม สส. ตึกไทยซัมมิท
เขารับหนังสือจากมือตัวแทนผู้ชุมนุมด้วยท่าทีเต็มใจ ก่อนจะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ที่มีจำนวนมากพอๆ กับม็อบ (ในเวลานั้น) ว่า เข้าใจโดยตลอดว่าเราแต่งงานกันแล้ว เอ็มโอยูเปรียบเสมือนการจดทะเบียน แต่วันนี้ไม่ใช่เจ้าสาวรอเก้อ แต่กำลังจะมีการหย่ากันมากกว่า อย่างไรเสียต้องขอบคุณประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลประชาธิปไตย ซึ่งมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พวกเขาล้วนอยากเห็น 8 พรรคร่วมทำงานด้วยกัน แต่วันนี้ไม่ใช่การตัดสินใจจากพรรคก้าวไกล
“ข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดที่สุด คงเป็นเรื่องของพี่น้องประชาชนที่เขาฝัน มันน่าเศร้า มันอีกนิดเดียว คุณเคยรู้สึกมั้ยว่ามันอีกนิดเดียวจริง ๆ” รังสิมันต์ กล่าว
ในช่วงระหว่างที่กิจกรรมมอบหนังสือกำลังดำเนินอยู่จวนใกล้เสร็จพิธี บริเวณประตูทางเข้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งห่างจากจุดรับหนังสือของรังสิมันต์ โรม ไม่ถึง 50 เมตร ก็เกิดเหตุการชุลมุน เพราะกลุ่มมวลชนอิสระ (ซึ่งต่อมาทราบจากการสอบถามว่าเป็นกลุ่มทะลุวัง) พยายามแสดงเชิงสัญลักษณ์ ‘เผาหุ่นจำลอง’ และ ‘สาดน้ำสีแดง’ (ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นเลือดหมู) ไปทั่วบริเวณด้านหน้าและกำแพงตึกที่ทำการพรรค
เขารับหนังสือจากมือตัวแทนผู้ชุมนุมด้วยท่าทีเต็มใจ ก่อนจะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ที่มีจำนวนมากพอๆ กับม็อบ (ในเวลานั้น) ว่า เข้าใจโดยตลอดว่าเราแต่งงานกันแล้ว เอ็มโอยูเปรียบเสมือนการจดทะเบียน แต่วันนี้ไม่ใช่เจ้าสาวรอเก้อ แต่กำลังจะมีการหย่ากันมากกว่า อย่างไรเสียต้องขอบคุณประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลประชาธิปไตย ซึ่งมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พวกเขาล้วนอยากเห็น 8 พรรคร่วมทำงานด้วยกัน แต่วันนี้ไม่ใช่การตัดสินใจจากพรรคก้าวไกล
“ข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดที่สุด คงเป็นเรื่องของพี่น้องประชาชนที่เขาฝัน มันน่าเศร้า มันอีกนิดเดียว คุณเคยรู้สึกมั้ยว่ามันอีกนิดเดียวจริง ๆ” รังสิมันต์ กล่าว
ในช่วงระหว่างที่กิจกรรมมอบหนังสือกำลังดำเนินอยู่จวนใกล้เสร็จพิธี บริเวณประตูทางเข้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งห่างจากจุดรับหนังสือของรังสิมันต์ โรม ไม่ถึง 50 เมตร ก็เกิดเหตุการชุลมุน เพราะกลุ่มมวลชนอิสระ (ซึ่งต่อมาทราบจากการสอบถามว่าเป็นกลุ่มทะลุวัง) พยายามแสดงเชิงสัญลักษณ์ ‘เผาหุ่นจำลอง’ และ ‘สาดน้ำสีแดง’ (ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นเลือดหมู) ไปทั่วบริเวณด้านหน้าและกำแพงตึกที่ทำการพรรค


จังหวะนั้นผู้เขียนไม่สามารถทราบได้เลยว่า ‘ใครเป็นใคร’ เนื่องจากมวลชนที่อยู่ด้านหน้าต่างทยอยกรูเข้าเชิงบันใดประตูทางเข้า ผู้สื่อข่าวในสนามหลายคนพาดหัวตรงกันว่า ‘ม็อบบุกเพื่อไทย’ นักข่าวเหล่านี้ (ซึ่งรวมถึงข้าพเจ้าด้วย) ตีความจากภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้า บางคนมีทีท่าจะพยายามเข้าไปด้านใน บางคนใช้วาจาตะโกนผรุสวาทเป็นคำศัพท์โบราณ ใจความพุ่งเป้าไปที่ “เพื่อไทยทรยศประชาชน”
ท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมวัยรุ่น ที่มักถูกครหาว่า ‘ก้าวร้าว’ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่สำหรับชายหญิงสูงวัยหลายท่านที่ ‘สวมเสื้อสีแดง’ พวกเขาและเธอต่างมีอากัปกิริยามิต่างอะไรจากคนรอบข้าง ต่างสบถถ้อยคำ และพยายามเรียกร้องด้วยวาจา ในถ้อยคำที่ดูเป็นทิศทางเดียวกัน แตกต่างกันที่สถานะของพวกเขา คือผู้ร่วมหัวจมท้ายมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย “พรรคเพื่อไทยหลอกลวงประชาชน กูเลือกพวกมึงมา แต่พวกมึงกลับหักหลัง จะเข้าร่วมฝ่ายเผด็จการทหาร”
เมื่อทุกอย่างสงบลง จากการระงับเหตุโดยเจ้าหน้าที่ และ ‘ธัชพงศ์ แกดำ’ แกนนำเจ้าภาพได้ปราศรัยให้ทุกคนอยู่ในความสงบ และส่งตัวแทนเข้าไปมอบรายชื่อให้กับแกนนำพรรค ‘คนเสื้อแดง’ หลายคนจึงถือโอกาสเปิดอกระบุปูมหลังกับนักข่าวว่า การออกมาครั้งนี้เพราะความเสียใจ ที่ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยเป็นแกนนำในการต่อต้านรัฐประหาร แตวันนี้กลับฉีกเอ็มโอยู ส่อเป็นสัญญาณอาจมีการจับมือกับจัดตั้งรัฐบาลแบบ ‘ข้ามขั้ว’ ซึ่งบางท่านเปรียบเปรยว่า มิต่างอะไรกับ ‘การร่วมสังวาสของสุนัข’ และกำลังมีทีท่ากลายเป็น ‘สุนัขพันธุ์ผสม’
ท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมวัยรุ่น ที่มักถูกครหาว่า ‘ก้าวร้าว’ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่สำหรับชายหญิงสูงวัยหลายท่านที่ ‘สวมเสื้อสีแดง’ พวกเขาและเธอต่างมีอากัปกิริยามิต่างอะไรจากคนรอบข้าง ต่างสบถถ้อยคำ และพยายามเรียกร้องด้วยวาจา ในถ้อยคำที่ดูเป็นทิศทางเดียวกัน แตกต่างกันที่สถานะของพวกเขา คือผู้ร่วมหัวจมท้ายมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย “พรรคเพื่อไทยหลอกลวงประชาชน กูเลือกพวกมึงมา แต่พวกมึงกลับหักหลัง จะเข้าร่วมฝ่ายเผด็จการทหาร”
เมื่อทุกอย่างสงบลง จากการระงับเหตุโดยเจ้าหน้าที่ และ ‘ธัชพงศ์ แกดำ’ แกนนำเจ้าภาพได้ปราศรัยให้ทุกคนอยู่ในความสงบ และส่งตัวแทนเข้าไปมอบรายชื่อให้กับแกนนำพรรค ‘คนเสื้อแดง’ หลายคนจึงถือโอกาสเปิดอกระบุปูมหลังกับนักข่าวว่า การออกมาครั้งนี้เพราะความเสียใจ ที่ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยเป็นแกนนำในการต่อต้านรัฐประหาร แตวันนี้กลับฉีกเอ็มโอยู ส่อเป็นสัญญาณอาจมีการจับมือกับจัดตั้งรัฐบาลแบบ ‘ข้ามขั้ว’ ซึ่งบางท่านเปรียบเปรยว่า มิต่างอะไรกับ ‘การร่วมสังวาสของสุนัข’ และกำลังมีทีท่ากลายเป็น ‘สุนัขพันธุ์ผสม’

จริงๆ เรื่องนี้ข้าพเจ้าเคยตั้งข้อสังเกตไว้ คราวการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ว่าวันดังกล่าวมีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง เข้ามาสบทบกับขบวนการนักศึกษา เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ซึ่งเป็นมิติที่ไม่เห็นได้ไม่บ่อยนัก ที่แฟนคลับพรรคการเมืองจะสนับสนุนคนนอกพรรค (อ่านต่อได้ในรายงานพิเศษ สายธารความคิด จากสภาสู่ราชดำเนิน - SPACEBAR | Binding Culture)
กระนั้น ก็ไม่คิดว่าคนเสื้อแดงจะระเบิดโทสะได้รุนแรงถึงเพียงนี้ ยิ่งได้สนทนายิ่งทราบว่าแต่ละคนมิต่างอะไรกับ ‘นักรบเจนสนาม’ ผ่านสมรภูมิเคียงคู่กับพรรคเพื่อไทยมาแล้ว ไม่ว่าจะที่แยกราชประสงค์ หรือถนนอักษะ
“ท่าทีของคนเสื้อแดงบางส่วน ในวันนี้เขาไม่ค่อยแฮปปี้กับการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย ที่ผลักพรรคก้าวไกลออกไปเป็นฝ่ายค้าน ลึกๆ เขากังวลว่าสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นสัญญาณการจับมือกับขั้วอำนาจนิยม ที่เขาเคยต่อสู้มาโดยตลอด อย่างกรณีป้าเป้าหรือมวลชนด่านหน้าหลายคนก็ผิดหวัง แต่เสื้อแดงคงไม่ใช่ทั้งหมดหรอกครับ เพราะจริงๆ แบ่งออกได้หลายเฉด”
‘เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์’ แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวหลังข้าพเจ้าถามถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะนักศึกษาที่เห็นภาพจากบนเวทีไฮปาร์ค เขาระบุเพื่อความเข้าใจว่า เฉดสีที่กล่าวหมายถึง กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีหลากความเชื่อ บางคนสู้เพื่อประชาธิปไตย บางคนสู้เพื่อแก้หรือยกเลิก ม.112 บางคนสู้เพราะนิยมบูชา ‘ทักษิณ ชินวัตร’
ดังนั้นปรากฏการณ์จึงสอดคล้องกับแนวคิดสถานการณ์ทางการเมือง ที่ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับ เพราะในอนาคตอาจไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่าง ‘ประชาธิปไตย’ หรือ ‘อนุรักษนิยม’ แต่จะเป็น ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่ขับเคลื่อนโดยพรรคเพื่อไทย ฉะนั้นคนเสื้อแดงแต่ละคนที่มีหมุดหมายในใจแตกต่างกัน ก็จะตัดสินใจเลือกแนวทางของตนเอง
กระนั้น ก็ไม่คิดว่าคนเสื้อแดงจะระเบิดโทสะได้รุนแรงถึงเพียงนี้ ยิ่งได้สนทนายิ่งทราบว่าแต่ละคนมิต่างอะไรกับ ‘นักรบเจนสนาม’ ผ่านสมรภูมิเคียงคู่กับพรรคเพื่อไทยมาแล้ว ไม่ว่าจะที่แยกราชประสงค์ หรือถนนอักษะ
“ท่าทีของคนเสื้อแดงบางส่วน ในวันนี้เขาไม่ค่อยแฮปปี้กับการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย ที่ผลักพรรคก้าวไกลออกไปเป็นฝ่ายค้าน ลึกๆ เขากังวลว่าสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นสัญญาณการจับมือกับขั้วอำนาจนิยม ที่เขาเคยต่อสู้มาโดยตลอด อย่างกรณีป้าเป้าหรือมวลชนด่านหน้าหลายคนก็ผิดหวัง แต่เสื้อแดงคงไม่ใช่ทั้งหมดหรอกครับ เพราะจริงๆ แบ่งออกได้หลายเฉด”
‘เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์’ แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวหลังข้าพเจ้าถามถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะนักศึกษาที่เห็นภาพจากบนเวทีไฮปาร์ค เขาระบุเพื่อความเข้าใจว่า เฉดสีที่กล่าวหมายถึง กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีหลากความเชื่อ บางคนสู้เพื่อประชาธิปไตย บางคนสู้เพื่อแก้หรือยกเลิก ม.112 บางคนสู้เพราะนิยมบูชา ‘ทักษิณ ชินวัตร’
ดังนั้นปรากฏการณ์จึงสอดคล้องกับแนวคิดสถานการณ์ทางการเมือง ที่ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับ เพราะในอนาคตอาจไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่าง ‘ประชาธิปไตย’ หรือ ‘อนุรักษนิยม’ แต่จะเป็น ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่ขับเคลื่อนโดยพรรคเพื่อไทย ฉะนั้นคนเสื้อแดงแต่ละคนที่มีหมุดหมายในใจแตกต่างกัน ก็จะตัดสินใจเลือกแนวทางของตนเอง

การที่คนเสื้อแดง เข้ามาขับเคลื่อนร่วมกับกลุ่มวัยรุ่น ถือเป็นข้อดีหลายประการ ทั้งด้านประสบการณ์ที่เคยต่อสู้กับรัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 ไปจนถึงเป็นการสืบทอดความคิด และส่งต่อจิตวิญญาณให้กับคนรุ่นหลังแบบไม่ให้ขาดช่วง ซึ่งส่งผลให้กลไกประชาชนเจริญงอกงามต่อไปเรื่อยๆ
ประเด็นที่ได้เห็นและได้พูดคุย ล้วนสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องฉากทัศน์ทางการเมือง ว่าหากวันใดพรรคเพื่อไทยส่อสัญญาณ ‘ผิดสัจจะ’ อ่อนโอนไปร่วมกับพรรคการเมืองอำนาจนิยม จะเกิดปรากฏการณ์ ‘ผลิกโฉม’ โดยเฉพาะระดับมวลชนคนเสื้อแดง ผู้เปรียบดั่งผนังทองแดงกำแพงเหล็ก ที่ส่วนหนึ่งมิอาจรับได้ แม้พรรคที่ตนสนับสนุนจะได้เป็นรัฐบาลก็ตามที
ท้ายที่สุด ผมว่าสิ่งที่ต้องจับตามองต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่เกมอำนาจทางการเมืองในทำเนียบรัฐบาลหรืออาคารรัฐสภาอีกต่อไปแล้ว แต่ประเด็นที่จะทิ้งช่วงไม่ได้ คือการเคลื่อนไหวบนท้องถนนของประชาชน เพราะทั้ง 2 ปัจจัย ล้วนมีส่วนเติมเต็ม และบั่นทอนซึ่งกันและกันเสมอ
การเมืองประชาธิปไตย จะสะดวกโยธินได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองฟังเสียงประชาชน ใจความสำคัญข้อนี้ลืมไม่ได้ หากหย่อนยานไป มันจะมีแต่ความ ‘ฉิบหาย’ (ประโยคเหล่านี้ผมเรียบเรียงมาจากคนเสื้อแดงในวันนั้นทั้งสิ้น)
ประเด็นที่ได้เห็นและได้พูดคุย ล้วนสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องฉากทัศน์ทางการเมือง ว่าหากวันใดพรรคเพื่อไทยส่อสัญญาณ ‘ผิดสัจจะ’ อ่อนโอนไปร่วมกับพรรคการเมืองอำนาจนิยม จะเกิดปรากฏการณ์ ‘ผลิกโฉม’ โดยเฉพาะระดับมวลชนคนเสื้อแดง ผู้เปรียบดั่งผนังทองแดงกำแพงเหล็ก ที่ส่วนหนึ่งมิอาจรับได้ แม้พรรคที่ตนสนับสนุนจะได้เป็นรัฐบาลก็ตามที
ท้ายที่สุด ผมว่าสิ่งที่ต้องจับตามองต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่เกมอำนาจทางการเมืองในทำเนียบรัฐบาลหรืออาคารรัฐสภาอีกต่อไปแล้ว แต่ประเด็นที่จะทิ้งช่วงไม่ได้ คือการเคลื่อนไหวบนท้องถนนของประชาชน เพราะทั้ง 2 ปัจจัย ล้วนมีส่วนเติมเต็ม และบั่นทอนซึ่งกันและกันเสมอ
การเมืองประชาธิปไตย จะสะดวกโยธินได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองฟังเสียงประชาชน ใจความสำคัญข้อนี้ลืมไม่ได้ หากหย่อนยานไป มันจะมีแต่ความ ‘ฉิบหาย’ (ประโยคเหล่านี้ผมเรียบเรียงมาจากคนเสื้อแดงในวันนั้นทั้งสิ้น)
