กระแสความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังองค์กรขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Kebangsaan Patani) จัดงานเสวนาหัวข้อพิเศษ ‘สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง (Self-Determination) กับสันติภาพปาตานี’ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. พร้อมจัดกิจกรรม ‘ทำประชามติจำลอง’ สำรวจความเห็นให้ ‘ปาตานี’ (ปัตตานี) แยกตัวเป็น ‘เอกราช’ ได้อย่างถูกกฎหมาย จนเกิดปุจฉาคลาสสิคว่อนไปทั่วว่า ‘เหมาะสมหรือไม่’
SPACEBAR ชวน ‘ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม’ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางศึกษา เจ้าของตำราวิชาการ (ทาง) โลกมุสลิมสำคัญหลายชิ้น และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ‘พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร’ ในฐานะคณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำคัญด้วย (เคย) ทำหน้าที่คณะกรรมการไตร่สวนอิสระ กรณีเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ณ ‘กรือเซะ - ตากใบ’ เมื่อหลายปีก่อน ช่วยการันตีข้อมูลความหลากหลายที่นุ่มลึก ถึงประเด็นการแสวงหาสันติภาพปลายด้ามขวานไทยอย่างมีเหตุผล อาจมีประเด็นทางประวัติศาสตร์เพื่อปูฐานคิด และพูดการเมืองสอดแทรกบ้างพอหอมปากหอมคอ
ส่วนเรื่อง ‘สิทธิการกำหนดอนาคตตนเอง’ เกิดขึ้นพูดคุยมาแล้วหลายหน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา โดยก่อนหน้านี้ก็จัดทำอย่างเปิดเผย ผมเองก็เคยถูกรับเชิญร่วมเสวนาบ่อยครั้ง บางคราวก็มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าร่วมด้วย เพื่อดูความเป็นไปของงาน ซึ่งไม่เคยะบว่าจะมีปัญหา แต่ล่าสุด (7 มิ.ย.) ถูกนำไปเชื่อมโยงประเด็นทางการเมือง เพราะเป็นช่วงหลังเลือกตั้ง พอกลายเป็นประเด็นทางการเมือง ก็ส่งผลให้ถูกขยายถึงความเรื่องความมั่นคงที่หลีกเลี่ยงมิได้
บทสรุปก็ออกมาคล้ายกันว่า สามารถทำได้ในบางพื้นที่ แต่บางจุดองค์ประกอบยังไม่ครบ็ต้องมีการถกเถียงต่อไป แต่ที่นำมาสู่การแบ่งแยกดินแดนจริง ๆ ยังไม่เคยมีใครทำ แต่เป็นเพียงการจำลองตามรูปแบบของประชาธิปไตย ในการตั้งคำถามเชิงรัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะทุกคนทราบกฎหมายดี ว่าในความเป็นจริง รัฐไทยเป็นรัฐที่แบ่งแยกไม่ได้
SPACEBAR ชวน ‘ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม’ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางศึกษา เจ้าของตำราวิชาการ (ทาง) โลกมุสลิมสำคัญหลายชิ้น และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ‘พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร’ ในฐานะคณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำคัญด้วย (เคย) ทำหน้าที่คณะกรรมการไตร่สวนอิสระ กรณีเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ณ ‘กรือเซะ - ตากใบ’ เมื่อหลายปีก่อน ช่วยการันตีข้อมูลความหลากหลายที่นุ่มลึก ถึงประเด็นการแสวงหาสันติภาพปลายด้ามขวานไทยอย่างมีเหตุผล อาจมีประเด็นทางประวัติศาสตร์เพื่อปูฐานคิด และพูดการเมืองสอดแทรกบ้างพอหอมปากหอมคอ
มองอย่างไรกับปรากฏการณ์ ‘ประชามติจำลอง’
ความเห็นส่วนตัวของผม สำหรับงานเสวนาที่ ม.อ.ปัตตานี กรณีการรวมตัวของเด็กๆ นักศึกษาที่เรียกร้องผ่านการปาฐกถาพิเศษ หรือถ้าพูดตรงประเด็นคือ ‘การจำลองทำประชามติคืนเอกราชปาตานี’ เป็นการใช้กระบวนการประชาธิปไตยเข้ามาสอดแทรกกรอบแนวคิดทางด้านรัฐศาสตร์ ไม่ได้มีเจตนา ‘แบ่งแยกดินแดน’ แต่อย่างใดส่วนเรื่อง ‘สิทธิการกำหนดอนาคตตนเอง’ เกิดขึ้นพูดคุยมาแล้วหลายหน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา โดยก่อนหน้านี้ก็จัดทำอย่างเปิดเผย ผมเองก็เคยถูกรับเชิญร่วมเสวนาบ่อยครั้ง บางคราวก็มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าร่วมด้วย เพื่อดูความเป็นไปของงาน ซึ่งไม่เคยะบว่าจะมีปัญหา แต่ล่าสุด (7 มิ.ย.) ถูกนำไปเชื่อมโยงประเด็นทางการเมือง เพราะเป็นช่วงหลังเลือกตั้ง พอกลายเป็นประเด็นทางการเมือง ก็ส่งผลให้ถูกขยายถึงความเรื่องความมั่นคงที่หลีกเลี่ยงมิได้
‘สิทธิการกำหนดอนาคตตนเอง’ คืออะไร
สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง (Self-Determination Right) คือ สิทธิของประชาชนในการมีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง อย่างที่ผมบอกเคยเกิดขึ้นมาแล้ว 2 – 3 ครัั้งภายใต้กรอบแนวคิดการจำลองทางรัฐศาสตร์ มีหลายพื้นที่ถูกสังเคราะห์และเป็นข้อถกเถียงจนออกมาเป็นเอกสารทางวิชาการบทสรุปก็ออกมาคล้ายกันว่า สามารถทำได้ในบางพื้นที่ แต่บางจุดองค์ประกอบยังไม่ครบ็ต้องมีการถกเถียงต่อไป แต่ที่นำมาสู่การแบ่งแยกดินแดนจริง ๆ ยังไม่เคยมีใครทำ แต่เป็นเพียงการจำลองตามรูปแบบของประชาธิปไตย ในการตั้งคำถามเชิงรัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะทุกคนทราบกฎหมายดี ว่าในความเป็นจริง รัฐไทยเป็นรัฐที่แบ่งแยกไม่ได้

รบกวนอธิบายแนวคิดแบ่งแยกดินแดนให้ฟังหน่อยว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
‘ปาตานี’ ถูกผนวกเข้ากับ ‘สยาม’ อย่างชัดเจน เมื่อคราวรัชสมัย ร.5 จากการทำข้อตกลงร่วมระหว่างทางการสยามกับ ‘อังกฤษ’ ซึ่งคนพื้นเมืองล้วนเป็นมุสลิมที่มีรากเหง้าอาณาจักรโบราณอย่าง ‘ลังกาสุกะ’ ดังนั้นจะบอกว่าคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ‘ไทย - มุสลิม’ คงไม่ถูกทั้งหมด แต่ต้องเรียกว่า ‘ไทย - มุสลิม (มาเลเซีย)’ เพราะพวกเขามีพื้นฐานทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ ‘มลายู’ส่วนปัญหาแนวคิดที่พยายามก่อให้เกิดการปกครองกันเองในพื้นที่ ถูกพูดถึงมาโดยตลอด หลังการแบ่งอาณาเขตระหว่างรัฐไทยกับอังกฤษ เนื่องจากระบบการปกครองที่รวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง ผนวกกับแนวทางปฏิบัติที่ทางราชการสยามบังคับใช้ บางอย่างมีแนวางที่ขัดแย้งกับรากฐานทางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม
กระทั่งเหตุการณ์ในปี 2547 ที่มีการ ‘ปล้นปืนค่ายปิเหล็ง’ จำนวน 413 กระบอก ในจังหวัดนราธิวาส เหตุปะทะกันอย่างรุนแรงที่ ‘มัสยิดกรือเซะ’ และการปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐและควบคุมตัว ‘ชาวตากใบ’ จนเกิดความสูญเสียหลายชีวิต ตอนนั้นกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก เพราะเป็นที่สนใจขององค์การร่วมมืออิสลาม ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่เขาให้ความสำคัญกับชาวมุสลิม โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในประเทศต่าง ๆ
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วกลายเป็นชนวนให้แรกเริ่มในความไม่สงบต่อเนื่อง

พื้นเพของผู้ก่อเหตุในพื้นที่คือใคร
กรณีชายแดนภาคใต้มีกลุ่มก้อนที่มีความคิดอยากเป็นอิสระมายาวนาน เช่น ‘องค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี’ หรือ กลุ่ม PULO (Patani United Liberation Organization) ซึ่งไม่ได้ขับเคลื่อนมานานแล้ว แต่อาจจะมีกลุ่มที่ใช้ชื่อเดียวกัน (เป็นกลุ่มใหม่) เรามักได้ยินในข่าวบ่อยครั้ง และ ‘ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี’ หรือ กลุ่ม เบอร์ซาตู (BERSATU) ที่มีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า Barisan Bersatu Kemerdekaan Patani นอกจากนี้ยังมี ‘ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี’ หรือ กลุ่ม BRN ที่จัดตั้งมาเพื่อปฏิวัติให้คนในพื้นที่มีสิทธิมากขึ้นซึ่งภายหลังเวลามีวงพูดคุยรัฐจะพยายามเชิญเข้า แต่ในบรรดากลุ่มทั้งหลาย ก็มีบางคนที่ไม่อยากคุยกับรัฐ แล้วเลือกดำเนินตามทางของตนเอง หรือเวลาพูดคุยไปกันไม่ครบ ดังนั้นแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วที่ดูเหมือนจะก้าวหน้า แต่ก็ยังไม่ไกลเท่าไหร่ จากหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น รวมถึงมี ‘อัลกออิดะฮ์’ หรือนักรบชาวมุสลิมนิกายซุนนี ที่อาจเข้าร่วมปละปลาย
ผมมีข้อข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ยุทธวิธีในการต่อสู้ในพื้นที่เป็นรูปแบบ ‘โจมตีแล้วหนี’ (Kick and Run) มากกว่าการต่อสู้แบบสงครามเต็มระบบ แต่จะบอกว่ากลุ่มก่อความไม่สงบได้รับอิทธิพลจากที่อื่นอาจจะมีอยู่บ้าง แต่คงไม่ได้มีคนภายนอกเข้ามาร่วม อย่างกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่เป็นความต้องการจากคนบางกลุ่มที่ยังมีแนวคิดแบบอิสระอยู่
มองอย่างไรกับแนวคิดว่า จริง ๆ แล้วปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการเมืองของนิกายแยกย่อยของศาสนา
สิ่งที่ทุกคนทราบ ในกรณีของภาคใต้แทบจะไม่มีความขัดแย้งระหว่าง นิกายชีอะห์ - ซุนนีเลย แต่จะเป็นความขัดแย้งกันเองของซุนนี (คนพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี) หนึ่งคือผู้นิยมแนวทางแบบซาอุดีอาระเบียที่เคร่งคัดเรียกว่า ‘วะฮาบีย์’ กับสอง กลุ่มที่นิยมสาย ‘ชาฟีอี’ ซึ่งเป็นสำนักใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาทั่วไปส่วนชีอะห์ที่เข้มแข็งจริงๆ แต่ก่อนจะอยู่ที่กรุงเทพ (ย่านเจริญพาศน์) ซึ่งภายหลังการปฏิวัติอิสลาม (Arab Spring ) เมื่อปี 1979 ที่ประเทศอิหร่าน ทำให้คนรุ่นใหม่เชื่อแนวทางที่เข้มแข็ง แต่ว่าอิทธิพลต่อชีอะห์ - ซุนนี ในประเทศไทยตอนนี้ลดน้อยลงไปแล้ว สมัยตอนปฏิวัติใหม่ๆ ก็มักจะมีการถกเถียงเรื่องอุดมการณ์ แต่ระยะหลังที่อิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีกับซาอุดิอาระเบีย ก็เห็นได้ว่าความขัดแย้งระหว่างสองนิกายก็เบาบางลง และไม่เคยมีความขัดแย้งรุนแรงในประเทศไทย
โดยเฉพาะหากเจาะลึกไปที่มุสลิมภาคใต้ เขาเป็นคนที่ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ดี ปัญาหาหลักๆ คือความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ มีเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อเรื่องดินแดนทางประวัติศาสตร์ (มีจำนวนไม่มาก) ส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยากให้เกิดความสงบในพื้นที่มากกว่าการต่อสู้ จึงไม่เกี่ยวข้องเรื่องอิทธิพลของนิกายที่ขัดแย้ง

วงจรของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีกี่รูปแบบ
วงจรสรุปออกมาได้ 3 รูปแบบ 1) มีความรุนแรงแต่ไม่มาก 2) มีความรุนแรงน้อยแต่มีความถี่มากขี้น 3) มีความรุนแรงถี่และเกิดความไม่สงบ ทั้งหมดนี้สลับกันไปมาตลอดในห้วง 20 ปี แต่ 4 - 5 ปี หลัง ความรุนแรงลดน้องลง แต่การสังหารเจ้าหน้าที่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่ปละปลาย เรื่องนี้ต้องคุยหาวิธีการอย่างถ่องแท้ แต่ทางที่ดีคือการส่งเสริมให้คนเห็นต่างมีสิทธิเข้ามามีส่วนร่วมในการหาข้อตกลงร่วมกันได้แล้วใครได้ผลประโยชน์จากความไม่สงบที่ยืดเยื้อยาวนาน
ปัญหาภาคใต้มันสลับซับซ้อน ทั้งเหตุด้านความมั่นคง และจำนวนงบประมาณมหาศาลที่ต้องเพิ่มเข้าไป จนมีหลายคนมักตั้งคำถามว่าจริงๆ รัฐต้องการให้เหตุการณ์สงบจริงหรือเปล่า? แล้วใครได้ผลประโยชน์จากความไม่สงบนี้ แต่เราไม่สามารถลงความเห็นได้ ว่าเป็นฝีมือการกระทำของใคร เราก็ได้แต่พูดว่าเป็นกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ สำหรับสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่กี่แห่งนะในเอเชียมีไม่กี่ที่ ที่มีด่านกวดขันจนทำให้ประชาชนต้องพบกับความยากลำบาก มีการตรวจรถเต็มไปหมด นับตั้งแต่อำเภอจะนะ ไปจนถึงชายแดน ครั้งหนึ่งองค์การความร่วมมืออิสลาม ที่อยากเห็นความสงบของชนชาวมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัด ถึงกับต้องขอให้นำด่านตรวจออกไปจากพื้นที่พิพาทด้วยซ้ำ
ส่วนตัวผมคิดว่าคนที่ตั้งใจกระทำจริงๆ ยังไงก็สามารถหาหลบหลีกได้ แต่ประชาชนในพื้นที่ต้องยากลำบาก ต้องเผชิญกับชีวิตที่ไม่สงบสุข กลายเป็นปัญหาเชิงพื้นที่ เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาความไม่ปรกติในชีวิตด้วย

ย้อนกลับไปประเด็นตั้งต้นถึงกรณีการออกมาขอทำแบบจำลองประชามติที่ ม.อ.ปัตตานี ปรากฏการณ์นี้กำลังสะท้อนอะไรอยู่
การที่นักศึกษามีความตื่นตัวแล้วออกมาเคลื่อนไหวไม่ใช่ครั้งแรก แต่ครั้งล่าสุดที่รวมตัวกัน มีการจับประเด็นนี้มาพูดถึงเพื่อโยงการเมือง แม้ประเด็นการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการรัฐศาสตร์ ก็ถูกนำไปเลยเถิดไปไกลถึงประเด็นรัฐอิสระ จริงๆ พวกเขาพยายามพูดนะ ว่าเป็นเพียงการจำลอง เพื่อรับฟังความเห็นตามกระบวนการประชาธิปไตยแต่จากที่เห็นหลังเหตุการณ์วันนั้นจบลง ไม่มีนักวิชาการคนไหนออกมาต่อว่าเลย เพราะพวกเขาเป็นนักศึกษาที่มีความสำนึกในพื้นที่ ซึ่งจากการฟังคำให้สัมภาษณ์ทุกคนก็บอกเสียงตรงกันว่า การเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งอันชอบธรรมผมว่าการเปิดช่องทางให้ได้เขาพูดดีกว่าจะปิดกั้น ส่วนรัฐจะมีมุมมองอย่างไร ส่วนตัวเชื่อว่านักศึกษาก็จะรับฟัง
แต่หลายคนตีความไปแล้วว่าเขาเป็นกบฎ คล้ายๆ กับเครือข่าย ‘นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้’ หรือ กลุ่ม PNYS. ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มักถูกหน่วยงานความมั่นคงเฝ้าระวัง ทั้งๆ ที่ประเด็นนำเสนอส่วนใหญ่ คือเรื่องวัฒนธรรมในพื้นที่ของเขา ไม่ได้มีประเด็นแตกแยกอะไรเลย
อาจารย์มองอย่างไรถึงกรณีที่ (ว่าที่) พรรคร่วมรัฐบาล มีการตั้งกลุ่มพูดคุยย่อย หารือประเด็นยกเลิกกฎหมายพิเศษในท้องที่
จากอำนาจพิเศษของรัฐ ทำให้สามจังหวัดถูกแบ่งออกเป็นสีต่างๆ มีด่านเต็มเมืองไปหมด ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้อง แม้จะยังมีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอยู่บ้าง ซึ่งระยะหลังก็มีการพูดคุยร่วมในเรื่องสิทธิเป็นหลัก การนำเฉดสีมากำหนดทำให้ชาวบ้านเขาเปรียบเหมือนคนที่อยู่ในคุกไม่ต่างกับ ‘เวสต์แบงก์’ (พื้นที่พิพาทในตะวันออกกลาง) นำกฎหมายด้านความมั่นคงไปใช้จนปิดกั้นสิทธิบางอย่าง จนกระทบต่อพลเมืองส่วนใหญ่ถ้าเรามองในแง่ของอาจารย์วันนอร์ (วันมูหะมัดนอร์ มะทา) พรรคประชาชาติ เขาก็ตั้งปณิธานสร้างความสงบสุขในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้ชาวมุสลิมเลือกเข้ามาเป็น ส.ส. ดังนั้นหากจะเปลี่ยนประเด็นความมั่นคง ให้เป็นความไว้วางใจคนในพื้นที่ ก็เป็นทิศทางที่ดีในการให้อิสระ หรือให้สิทธิบางอย่างที่เขาถูกลดท้อนด้านความเท่าเทียม
ถ้าพรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมปกป้องตนเองจะเป็นการดีมาก เพราะที่ผ่านมาเขาเหมือนตกอยู่ในวงล้อม (ปราบ) โดยกฎหมายพิเศษจากรัฐที่ไม่เข้าใจวิถีชีวิต ถ้ามันหายไปก็จะไม่มีพื้นที่สีแดงหรือการตรวจค้นชาวบ้านถี่ๆ
หนทางสู่สันติภาพ ‘ปลายด้ามขวาน’
ผมว่าการเกิดปรากฏการณ์ (จำลองประชามติของนักศึกษา) เป็นการกระตุ้นให้รัฐไทยสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคใต้ มากกว่าที่ผ่านมา หรืออย่างน้อยได้รับรู้ความคิดเห็นด้านการศึกษาที่พวกเขารับรู้จากพื้นที่ โดยเฉพาะการตั้งคำถามในอดีต ซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้คำตอบที่สอดรับกับวาระการเมืองใหม่ โดยเฉพาะพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงในพื้นที่ 3 จังหวัดก็ถือเป็นมิติใหม่ ที่พวกเขาไว้วางใจให้คุณได้ทำงานแก้ปัญหาผมคิดว่า ต่อไปนี้การหารือเรื่องนี้จะถูกพูดดมากขึ้น เพื่อให้สามจังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีความคิดหนึ่งเดียว (แม้ศาสนาจะต่างกัน) ส่วนตัวคิดว่าทุกคนต้องการเห็นการใช้ชีวิตอย่างปรกติสุขเยี่ยงคนธรรมดาสามัญทั่วไป
ทั้งนี้ก็ทราบว่า หน่วยงานรัฐเขาก็พยายามทำความเข้าใจ และหากเกิดการปรับแก้โครงสร้างการปกครองภาคใต้โดยผ่านกระบวนการประชาธิปไตย จะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ไม่มากก็น้อย ส่วนประเด็นความมั่นคงต้องยืดหยุ่นเลือกที่จัดการกับคนก่อเหตุไม่สงบ ไม่ควรตกกระทบกับคนส่วนใหญที่ไร้ซึ่งความผิด... ผมก็หวัง ไม่ว่าใครจะได้เข้ามาบริหารประเทศต่อจากนี้ ต้องคำนึกถึงเรื่องนี้ให้มากที่สุด ไม่ใช่ประเด็นทางการทหารอย่างที่ผ่านมา
