





‘อนันต์ สาครเจริญ’ เหรัญญิกพรรคไทยภักดี พร้อมสมาชิกพรรค เดินทางยื่นหนังสือต่อ ‘อายุตม์ สินธพพันธุ์’ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ เนื่องจากมีข่าวผ่านสื่อมวลชนหลายสำนักอันเป็นที่เชื่อถือได้ว่า ทักษิณ จะทำเรื่องขอพระราชทานอภัย โทษเป็นการพิเศษเฉพาะราย โดยมี ‘สมภพ สังคุตแก้ว’ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ เป็นผู้มารับเรื่อง
อนันต์ กล่าวว่า พรรคไทยภักดีมาขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษของ ทักษิณ ชินวัตร ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ทักษิณ ต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีทุจริตคอรัปชั่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศมากถึง 4 คดี เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม หลายวาระ เป็นการทำลายหลักธรรมาภิบาลของประเทศอย่างย่อยยับ สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ ซ้ำร้ายยังมีพฤติกรรมหลบหนีการลงโทษไปต่างประเทศ ไม่เคารพยอมรับคำพิพากษาของศาล พร้อมทั้งกล่าวให้ร้ายกระบวนยุติธรรมของประเทศตลอดมา นอกจากนี้ การขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของ ทักษิณ จะเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการผลักภาระความรับผิดชอบจากการกระทำความผิดของตนเองไปเป็นภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง
2. จะเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมของประเทศอย่างร้ายแรง เป็นการสร้างความอยุติธรรมขึ้นมาในประเทศ เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันทางกฎหมายของประชาชนทำให้วาทกรรมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งกรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จะต้องธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ยึดมั่นในหลักนิติรัฐนิติธรรม อย่างเคร่งครัด
3. ในสมัยที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ยึดนโยบายที่จะไม่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษในคดีทุจริตคอรัปชั่น เพื่อที่จะธำรงรักษาหลักธรรมาภิบาลแห่งรัฐไว้อย่างหนักแน่นมั่นคง ซึ่งควรเป็นนโยบายที่หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมจะต้องยึดถือสืบทอดเอาไว้ การดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายให้ ทักษิณ จะเป็นแบบอย่างที่เลวร้ายต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะทำลายหลักธรรมาภิบาลแห่งรัฐซ้ำซ้อนซ้ำซาก
“แม้การพระราชอภัยโทษ ผู้ต้องขังทุกรายสามารถขอได้แต่เนื่องจาก ทักษิณ ต้องโทษคดีทุจริต ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และต้องเป็นแบบอย่าง โดยคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นการประพฤติร้ายแรงและมิบังควร พรรคไทยภักดีจะเดินหน้าคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษให้ถึงที่สุด” อนันต์ กล่าว
ด้าน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า กรมราชทัณฑ์จะรับเรื่องไว้ดำเนินการและมีขั้นตอนระเบียบปฏิบัติเรื่องการพระราชอภัยโทษอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนี้ ‘ธนเดช ตุลยลักษณะ’ รองเลขาธิการพรรคไทยภักดี เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.หญิง ณัฐชยา วงศ์รุจิไพโรจน์ รอง สว.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เพื่อยื่นหนังสือขอให้ตำรวจ บก.ปอท. ช่วยเร่งรัดติดตามความคืบหน้าคดี ที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยถูกแจ้งเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ
ธนเดช กล่าวว่า สำหรับคดีดังกล่าวเป็นคดีเก่า เมื่อปี 2558 ที่ทางกองทัพบกได้เคยแจ้งความเพื่อดำเนินการเอาผิดกับ ทักษิณ ไว้ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีให้สัมภาษณ์ที่ประเทศเกาหลีใต้ ในลักษณะมีการพาดพิงสถาบัน ซึ่งมีการออกหมายจับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ คดีดังกล่าวก็ยังไม่หมดอายุความ ประกอบกับปัจจุบัน ทักษิณ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยปรากฏตัวเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้ว จึงอยากให้ทางตำรวจช่วยเร่งรัดนำตัว ทักษิณ ส่งมอบให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีโดยเร็วที่สุด
เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้รับหนังสือเพื่อส่งผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป
นอกจากนี้ ‘ทศพล พรหมเกตุ’ รองหัวหน้าพรรคไทยภักดี พร้อมคณะ เข้ายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อขอให้เร่งรัดพิจารณาคดีที่กองทัพบกแจ้งความดำเนินคดี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไว้เมื่อปี 2558 โดยตัวแทนพรรคไทยภักดีจึงมายื่นหนังสือเพื่อขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ เร่งรัดนำตัวทักษิณ ส่งฟ้องศาลตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม
โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด รับหนังสือดังกล่าวไว้ เพื่อเสนออัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป
อนันต์ กล่าวว่า พรรคไทยภักดีมาขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษของ ทักษิณ ชินวัตร ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ทักษิณ ต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีทุจริตคอรัปชั่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศมากถึง 4 คดี เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม หลายวาระ เป็นการทำลายหลักธรรมาภิบาลของประเทศอย่างย่อยยับ สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ ซ้ำร้ายยังมีพฤติกรรมหลบหนีการลงโทษไปต่างประเทศ ไม่เคารพยอมรับคำพิพากษาของศาล พร้อมทั้งกล่าวให้ร้ายกระบวนยุติธรรมของประเทศตลอดมา นอกจากนี้ การขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของ ทักษิณ จะเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการผลักภาระความรับผิดชอบจากการกระทำความผิดของตนเองไปเป็นภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง
2. จะเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมของประเทศอย่างร้ายแรง เป็นการสร้างความอยุติธรรมขึ้นมาในประเทศ เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันทางกฎหมายของประชาชนทำให้วาทกรรมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งกรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จะต้องธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ยึดมั่นในหลักนิติรัฐนิติธรรม อย่างเคร่งครัด
3. ในสมัยที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ยึดนโยบายที่จะไม่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษในคดีทุจริตคอรัปชั่น เพื่อที่จะธำรงรักษาหลักธรรมาภิบาลแห่งรัฐไว้อย่างหนักแน่นมั่นคง ซึ่งควรเป็นนโยบายที่หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมจะต้องยึดถือสืบทอดเอาไว้ การดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายให้ ทักษิณ จะเป็นแบบอย่างที่เลวร้ายต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะทำลายหลักธรรมาภิบาลแห่งรัฐซ้ำซ้อนซ้ำซาก
“แม้การพระราชอภัยโทษ ผู้ต้องขังทุกรายสามารถขอได้แต่เนื่องจาก ทักษิณ ต้องโทษคดีทุจริต ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และต้องเป็นแบบอย่าง โดยคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นการประพฤติร้ายแรงและมิบังควร พรรคไทยภักดีจะเดินหน้าคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษให้ถึงที่สุด” อนันต์ กล่าว
ด้าน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า กรมราชทัณฑ์จะรับเรื่องไว้ดำเนินการและมีขั้นตอนระเบียบปฏิบัติเรื่องการพระราชอภัยโทษอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนี้ ‘ธนเดช ตุลยลักษณะ’ รองเลขาธิการพรรคไทยภักดี เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.หญิง ณัฐชยา วงศ์รุจิไพโรจน์ รอง สว.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เพื่อยื่นหนังสือขอให้ตำรวจ บก.ปอท. ช่วยเร่งรัดติดตามความคืบหน้าคดี ที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยถูกแจ้งเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ
ธนเดช กล่าวว่า สำหรับคดีดังกล่าวเป็นคดีเก่า เมื่อปี 2558 ที่ทางกองทัพบกได้เคยแจ้งความเพื่อดำเนินการเอาผิดกับ ทักษิณ ไว้ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีให้สัมภาษณ์ที่ประเทศเกาหลีใต้ ในลักษณะมีการพาดพิงสถาบัน ซึ่งมีการออกหมายจับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ คดีดังกล่าวก็ยังไม่หมดอายุความ ประกอบกับปัจจุบัน ทักษิณ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยปรากฏตัวเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้ว จึงอยากให้ทางตำรวจช่วยเร่งรัดนำตัว ทักษิณ ส่งมอบให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีโดยเร็วที่สุด
เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้รับหนังสือเพื่อส่งผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป
นอกจากนี้ ‘ทศพล พรหมเกตุ’ รองหัวหน้าพรรคไทยภักดี พร้อมคณะ เข้ายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อขอให้เร่งรัดพิจารณาคดีที่กองทัพบกแจ้งความดำเนินคดี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไว้เมื่อปี 2558 โดยตัวแทนพรรคไทยภักดีจึงมายื่นหนังสือเพื่อขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ เร่งรัดนำตัวทักษิณ ส่งฟ้องศาลตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม
โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด รับหนังสือดังกล่าวไว้ เพื่อเสนออัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป