










ทีมข่าว SPACEBAR พาสำรวจพื้นที่ความเสียหายจากเหตุการณ์ ‘สะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม’ เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (10 ก.ค.) จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จากการลงพื้นที่พบว่าเจ้าหน้าที่ยังคงเร่งเคลียร์พื้นที่ ด้วยการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่รื้อซากสะพานและเศษปูนที่ถล่มลงมากีดขวางเส้นทางการจราจร
ขณะที่ ‘ณรงค์ เรืองศรี’ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าอุปสรรคสำคัญในการเคลียร์พื้นที่ คือ ตัวโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ และสภาพพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ต้องระวังไม่ให้กระทบบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมถนน และต้องระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับปั๊มน้ำมันที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะต้องวัดปริมาณแก๊สอยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย จากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน ถึงจะสามารถเคลียร์พื้นที่ได้ทั้งหมด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้อาคารถล่มตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวบข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ แต่ระหว่างนี้โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกลาดกระบังจะถูกระงับการก่อสร้างไว้อย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม
สำหรับ ‘สะพานข้ามแยกลาดกระบัง’ ที่เกิดถล่มลงมาขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง’ จากการตรวจสอบเอกสารรายละเอียดโครงการนี้ พบว่ามีเป้าหมายเพื่อให้การจราจรบริเวณถนนอ่อนนุข-ลาดกระบังมีความรวดเร็ว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของชุมชนและสนามบินสุวรรณภูมิ แก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยระยะทางโครงการรวม 3,500 เมตร
เจ้าของโครงการ คือ สำนักการโยธา กทม. และผู้ออกแบบ คือ สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธา กทม. โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ 900 วัน ส่วนผู้รับจ้าง คือ ‘กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา’ (เกิดจากการร่วมกันของ บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด กับ บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด)
เริ่มสัญญา 23 ก.พ.2564 - 11 ส.ค.2566 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) ลงวันที่ 27 ต.ค.2565 และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) ลงวันที่ 24 พ.ค.2566
ค่าก่อสร้าง 16,64,550,000 บาท (เงิน กทม. 100 เปอร์เซ็นต์)
โดยโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จ ช่วงเดือน ธ.ค.2567
นอกจากนี้ยังพบว่าสื่อหลายสำนักได้ เริ่มขุดข้อมูลเกี่ยวบริษัทที่รับจ้าง แล้วพบความผิดปกติของที่ตั้งบริษัท ไม่ตรงกับความเป็นจริง และยังพบว่า บริษัท ธาราวัญฯ มีเป็นคู่สัญญากับรัฐกว่า 60 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 6 พันล้านบาท รวมถึงยังเคยถูกบริษัทคู่เทียบที่แพ้การประมูลโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกลาดกระบัง ร้องเรียนว่าโครงการนี้ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรคงต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงอีกครั้ง
ขณะที่ ‘ณรงค์ เรืองศรี’ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าอุปสรรคสำคัญในการเคลียร์พื้นที่ คือ ตัวโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ และสภาพพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ต้องระวังไม่ให้กระทบบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมถนน และต้องระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับปั๊มน้ำมันที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะต้องวัดปริมาณแก๊สอยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย จากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน ถึงจะสามารถเคลียร์พื้นที่ได้ทั้งหมด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้อาคารถล่มตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวบข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ แต่ระหว่างนี้โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกลาดกระบังจะถูกระงับการก่อสร้างไว้อย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม
สำหรับ ‘สะพานข้ามแยกลาดกระบัง’ ที่เกิดถล่มลงมาขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง’ จากการตรวจสอบเอกสารรายละเอียดโครงการนี้ พบว่ามีเป้าหมายเพื่อให้การจราจรบริเวณถนนอ่อนนุข-ลาดกระบังมีความรวดเร็ว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของชุมชนและสนามบินสุวรรณภูมิ แก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยระยะทางโครงการรวม 3,500 เมตร
เจ้าของโครงการ คือ สำนักการโยธา กทม. และผู้ออกแบบ คือ สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธา กทม. โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ 900 วัน ส่วนผู้รับจ้าง คือ ‘กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา’ (เกิดจากการร่วมกันของ บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด กับ บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด)
เริ่มสัญญา 23 ก.พ.2564 - 11 ส.ค.2566 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) ลงวันที่ 27 ต.ค.2565 และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) ลงวันที่ 24 พ.ค.2566
ค่าก่อสร้าง 16,64,550,000 บาท (เงิน กทม. 100 เปอร์เซ็นต์)
โดยโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จ ช่วงเดือน ธ.ค.2567
นอกจากนี้ยังพบว่าสื่อหลายสำนักได้ เริ่มขุดข้อมูลเกี่ยวบริษัทที่รับจ้าง แล้วพบความผิดปกติของที่ตั้งบริษัท ไม่ตรงกับความเป็นจริง และยังพบว่า บริษัท ธาราวัญฯ มีเป็นคู่สัญญากับรัฐกว่า 60 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 6 พันล้านบาท รวมถึงยังเคยถูกบริษัทคู่เทียบที่แพ้การประมูลโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกลาดกระบัง ร้องเรียนว่าโครงการนี้ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรคงต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงอีกครั้ง