ทิศทางลมทางการเมืองค่อนข้างแน่ชัดว่า ‘บิ๊กตู่’ - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะใช้อำนาจในฐานะแกนนำรัฐบาล ออกประกาศิต ‘ยุบสภาฯ’ ก่อนจะครบเทอม ในวันที่ 23 มีนาคมนี้ ต่อจากนี้ทุกอย่างจะเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งเต็มตัว
นโยบายต่างๆ จากพรรคการเมือง จะพุดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะ ‘การเอาใจประชาชน’ ด้วยนโยบายเงินๆ ทองๆ ลด-แลก-แจก-แถม ตามธรรมเนียมการหาเสียงคร่ำครึ ซึ่งอาจเข้าเบียดบังปัญหาที่ยังมีช่องโหว่ด้านอื่นๆ ที่ประชาชนคาดหวังให้เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอัตราการเกิดอาชณาชญากรรมที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
แม้ข้อมูลจากเว็บไซต์ world population review ที่จัดให้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอาชญากรรมอยู่ในอันดับที่ 89 จาก 137 ประเทศทั่วโลก ค่อนข้างดูห่างไกลจากหัวตารางมากพอสมควร แต่่ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 ที่ผ่านมา เมืองไทยต่างเผชิญกับความสูญเสียจากปัญหาอาชญากรรมไม่น้อย
ผู้เขียนขอหยิบยกโศกนาฏกรรมเหตุการกราดยิงที่เกิดขึ้นตั้งแต่กรณี จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา สังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ก่อเหตุกราดยิงผู้บริสุทธิ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 2563 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 33 ราย บาดเจ็บอีก 57 ราย ให้หลังถัดมาเกิดเหตุการณ์ ส.ต.อ.ปัญญา คำราบ ก่อเหตุบุกเข้าไปในศูนย์เด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย เป็นเด็กบริสุทธิ์ไปกว่า 24 คน และอีกหลายๆ กรณีทั้งเล็ก-ใหญ่ตามหน้าหนึ่งข่าวรายวัน แสดงให้เห็นว่า เรื่องความเป็นอยู่อย่างปลอดภัยสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ที่ผ่านมาในทางการเมืองแทบไม่เห็นการขับเคลื่อนเรื่องนี้เท่าที่ควร
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต สะท้อนความเห็นเรื่องนี้กับผู้เขียนว่า กรณีเหตุใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัย ในสถานที่เปราะบางอย่างสถานศึกษา ประเด็นสุขภาพจิตและกระบวนการตรวจสอบที่เป็นธรรมของหน่วยงานรัฐ รวมถึงการทบทวนสิทธิถือครองอาวุธ ซึ่งสิ่งเหล่าถูกหยิบยกมาพูดบ่อยครั้งหลังเกิดเหตุการณ์ความสูญเสีย
อย่างไรเสียกระบวนการต่างๆ ในการเข้ามาควบคุมดูแลอาจชะลอตัวลง เพราะเป็นช่วงเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง ภาคการเมืองจะเน้นไปที่การหาเสียงและการวางเกมยุทธ์ศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะในสนามเลือกตั้ง ผ่านการนำนโยบายปากท้องที่ออกรูป ‘ประชานิยม’ ชูเป็นธงนำหน้าทัพเรียกคะแนนเสียง
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ ขยายความต่อว่า ในประเทศไทยและระดับสากลโลกมีปัญหาหลากหลายมิติ ซึ่งการที่พรรคการเมืองพยายามนำเสนอประเด็นเรื่องเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่ยังมีอีกหลายด้านถูกมองข้าม ไม่ถูกนำเสนอเป็นนโยบายหาเสียง และประเด็นการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยก็ประเด็นที่ถูกทอดทิ้งด้วย
เมื่อถามว่า แล้วการชูนโยบายด้านความมั่งคงและปลอดภัยจะมีผลต่อการเพิ่มคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองได้หรือไม่ นักอาชญากรรมวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและความคิดส่วนตัวของผู้ใช้สิทธิ แต่ก็อยากให้พรรคการเมืองเปิดนโยบายด้านความปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนได้มีตัวเลือกในการตัดสินใจมากขึ้น
“ที่ผมเห็นอยู่ก็มีแต่การชูนโยบายจะแจกเงินเท่านี้ อีกฝ่ายก็เกทับว่าจะแจกมากกว่านี้ พูดง่ายๆ เป็นการแบบประชานิยมเพื่อหวังคะแนนเสียง ซึ่งปัญหาที่ยังแก้ไม่ขาดอย่างประเด็นความมั่นคง-ปลอดภัยของประชาชน ก็ที่ยังไม่ถูกหยิบยกมาชัดเจน ดังนั้นจึงอยากฝากเรื่องที่นี้ไว้ เพราะเชื่อว่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในวันลงคะแนนเสียง” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล กล่าว
ในส่วนประเด็นที่จะได้รับความนิยมจากประชาชนหรือไม่นั้น นักอาชญากรรมวิทยา ให้ความเห็นว่า คงได้รับความสนใจจากประชาชนพอสมควร เพราะที่ผ่านมามีเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้น กระทบให้มีความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล
อย่างไรก็ดีเมื่อพูดถึง การทำหน้าที่ของนักการเมืองในช่วงที่ผ่านมา รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ มองว่า ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวมาก แต่ก็เห็นแนวทางแนวทางปฏิรูปหน่วยงานที่มีส่วนในการป้องกันปัญหาดังกล่าวโดยตรง อย่างพรรคฝ่ายค้านที่เสนอให้มีการปฏิรูปตำรวจ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีความคืบหน้าได้มากน้อยแค่ไหน ในขณะฝากฝั่งที่รัฐบาลยังไม่ค่อยเห็นภาพการพูดถึงเรื่องนี้เท่าที่ควร ดังนั้นจึงขอให้บุคคลทางการเมืองซึ่งมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคมช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของผู้เขียนก็ยังเห็นว่าประเด็นความมั่งคง-ปลอดภัยของประชาชนยังคงต้องเดินไปข้างหน้า ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ไปจนถึงภาครัฐที่บริหารงานภาพใหญ่ อย่างไรก็ดีเมื่อวานนี้ มีภาพนายกฯ ลงพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ติดตามโครงการหนองบัวลำภูต้นแบบสีขาวปลอดยาเสพติด หวังให้จังหวัดที่เคยประสบเหตุสลดไร้ซึ่งปัญหายานรกและอาชญากรรมซ้ำรอย ก็ขอให้โครงการดำเนินคืบหน้าตามเจตนารมณ์ไปจนสุดปลายทาง อย่าให้ใครมาพูดได้ว่า แค่ไปหาเสียงแล้วกลับบ้าน...
นโยบายต่างๆ จากพรรคการเมือง จะพุดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะ ‘การเอาใจประชาชน’ ด้วยนโยบายเงินๆ ทองๆ ลด-แลก-แจก-แถม ตามธรรมเนียมการหาเสียงคร่ำครึ ซึ่งอาจเข้าเบียดบังปัญหาที่ยังมีช่องโหว่ด้านอื่นๆ ที่ประชาชนคาดหวังให้เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอัตราการเกิดอาชณาชญากรรมที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
แม้ข้อมูลจากเว็บไซต์ world population review ที่จัดให้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอาชญากรรมอยู่ในอันดับที่ 89 จาก 137 ประเทศทั่วโลก ค่อนข้างดูห่างไกลจากหัวตารางมากพอสมควร แต่่ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 ที่ผ่านมา เมืองไทยต่างเผชิญกับความสูญเสียจากปัญหาอาชญากรรมไม่น้อย
ผู้เขียนขอหยิบยกโศกนาฏกรรมเหตุการกราดยิงที่เกิดขึ้นตั้งแต่กรณี จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา สังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ก่อเหตุกราดยิงผู้บริสุทธิ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 2563 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 33 ราย บาดเจ็บอีก 57 ราย ให้หลังถัดมาเกิดเหตุการณ์ ส.ต.อ.ปัญญา คำราบ ก่อเหตุบุกเข้าไปในศูนย์เด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย เป็นเด็กบริสุทธิ์ไปกว่า 24 คน และอีกหลายๆ กรณีทั้งเล็ก-ใหญ่ตามหน้าหนึ่งข่าวรายวัน แสดงให้เห็นว่า เรื่องความเป็นอยู่อย่างปลอดภัยสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ที่ผ่านมาในทางการเมืองแทบไม่เห็นการขับเคลื่อนเรื่องนี้เท่าที่ควร
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต สะท้อนความเห็นเรื่องนี้กับผู้เขียนว่า กรณีเหตุใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัย ในสถานที่เปราะบางอย่างสถานศึกษา ประเด็นสุขภาพจิตและกระบวนการตรวจสอบที่เป็นธรรมของหน่วยงานรัฐ รวมถึงการทบทวนสิทธิถือครองอาวุธ ซึ่งสิ่งเหล่าถูกหยิบยกมาพูดบ่อยครั้งหลังเกิดเหตุการณ์ความสูญเสีย
อย่างไรเสียกระบวนการต่างๆ ในการเข้ามาควบคุมดูแลอาจชะลอตัวลง เพราะเป็นช่วงเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง ภาคการเมืองจะเน้นไปที่การหาเสียงและการวางเกมยุทธ์ศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะในสนามเลือกตั้ง ผ่านการนำนโยบายปากท้องที่ออกรูป ‘ประชานิยม’ ชูเป็นธงนำหน้าทัพเรียกคะแนนเสียง
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ ขยายความต่อว่า ในประเทศไทยและระดับสากลโลกมีปัญหาหลากหลายมิติ ซึ่งการที่พรรคการเมืองพยายามนำเสนอประเด็นเรื่องเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่ยังมีอีกหลายด้านถูกมองข้าม ไม่ถูกนำเสนอเป็นนโยบายหาเสียง และประเด็นการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยก็ประเด็นที่ถูกทอดทิ้งด้วย
เมื่อถามว่า แล้วการชูนโยบายด้านความมั่งคงและปลอดภัยจะมีผลต่อการเพิ่มคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองได้หรือไม่ นักอาชญากรรมวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและความคิดส่วนตัวของผู้ใช้สิทธิ แต่ก็อยากให้พรรคการเมืองเปิดนโยบายด้านความปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนได้มีตัวเลือกในการตัดสินใจมากขึ้น
“ที่ผมเห็นอยู่ก็มีแต่การชูนโยบายจะแจกเงินเท่านี้ อีกฝ่ายก็เกทับว่าจะแจกมากกว่านี้ พูดง่ายๆ เป็นการแบบประชานิยมเพื่อหวังคะแนนเสียง ซึ่งปัญหาที่ยังแก้ไม่ขาดอย่างประเด็นความมั่นคง-ปลอดภัยของประชาชน ก็ที่ยังไม่ถูกหยิบยกมาชัดเจน ดังนั้นจึงอยากฝากเรื่องที่นี้ไว้ เพราะเชื่อว่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในวันลงคะแนนเสียง” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล กล่าว
ในส่วนประเด็นที่จะได้รับความนิยมจากประชาชนหรือไม่นั้น นักอาชญากรรมวิทยา ให้ความเห็นว่า คงได้รับความสนใจจากประชาชนพอสมควร เพราะที่ผ่านมามีเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้น กระทบให้มีความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล
อย่างไรก็ดีเมื่อพูดถึง การทำหน้าที่ของนักการเมืองในช่วงที่ผ่านมา รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ มองว่า ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวมาก แต่ก็เห็นแนวทางแนวทางปฏิรูปหน่วยงานที่มีส่วนในการป้องกันปัญหาดังกล่าวโดยตรง อย่างพรรคฝ่ายค้านที่เสนอให้มีการปฏิรูปตำรวจ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีความคืบหน้าได้มากน้อยแค่ไหน ในขณะฝากฝั่งที่รัฐบาลยังไม่ค่อยเห็นภาพการพูดถึงเรื่องนี้เท่าที่ควร ดังนั้นจึงขอให้บุคคลทางการเมืองซึ่งมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคมช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของผู้เขียนก็ยังเห็นว่าประเด็นความมั่งคง-ปลอดภัยของประชาชนยังคงต้องเดินไปข้างหน้า ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ไปจนถึงภาครัฐที่บริหารงานภาพใหญ่ อย่างไรก็ดีเมื่อวานนี้ มีภาพนายกฯ ลงพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ติดตามโครงการหนองบัวลำภูต้นแบบสีขาวปลอดยาเสพติด หวังให้จังหวัดที่เคยประสบเหตุสลดไร้ซึ่งปัญหายานรกและอาชญากรรมซ้ำรอย ก็ขอให้โครงการดำเนินคืบหน้าตามเจตนารมณ์ไปจนสุดปลายทาง อย่าให้ใครมาพูดได้ว่า แค่ไปหาเสียงแล้วกลับบ้าน...