ถ้า ‘ส่วยรถบรรทุก’ มีอยู่จริง และเป็นไปตามคำกล่าวของคนที่ออกมาให้ข้อมูล มูลค่าส่วยจะมากถึง 2 หมื่นล้านบาทต่อปี
ตัวเลขข้างมาจากการคำนวณจากตัวแปรต่างๆ และคิดตามจำนวนรถบรรทุกที่มีการจดทะเบียนใน พ.ศ.2565 (อ้างอิง: คณิตคิดคำนวณ ค่า 'ส่วยรถบรรทุก’ ปี 65 มีมูลค่าเท่าไหร่?)
โดยอิงจากความเห็นจำนวนรถบรรทุกที่จ่ายส่วยที่มีอยู่ราว 20% (อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งฯ) และ 50% (ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)) แล้วนำค่าส่วยที่คำนวณได้ มาหาค่าเฉลี่ย [(11,765,280,000 + 29,413,200,000) / 2]
ค่าส่วยรถบรรทุกในปี 65 จะมีมูลค่า = 20,589,240,000 บาท
สมมติปี 65 มีเม็ดเงินที่จ่ายเป็น ‘ส่วยรถบรรทุก’ เท่ากับมูลค่าที่คำนวณได้ มาลองดูกันว่า ค่าส่วยที่มีธรรมชาติเป็นการทุจริต ‘วงจรยาว’ คือจากผู้ให้สู่ผู้รับ จากผู้รับสู่การส่งต่อให้เจ้านายตามลำดับชั้น (และอาจรวมถึงหน่วยงานอื่นที่แชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน) จะมีมากขนาดไหน
ลองเอาค่าส่วยรถบรรทุก ปี 65 มูลค่า 20,589,240,000 บาท เป็นตัวตั้ง มาดูกันว่า เงินจำนวนนี้ ทำอะไรได้บ้าง?
หลังจากเอา ค่าส่วยรถบรรทุก ปี 65 มาคิดเป็นมูลค่าที่จะทำประโยชน์ต่างๆ พบว่า เงินจำนวนสองหมื่นกว่าล้านบาทนั้น ไม่น้อยและมากพอที่จะนำไปสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อีกมาก
ตัวอย่างที่ยกมาเทียบเป็นแค่ภาพจำลองที่ต้องการฉายให้เห็น ‘มูลค่าส่วย’ ที่เกิดขึ้น
น่าเสียดายที่เงินจำนวนนี้ ซึ่งควรถูกใช้เพื่อคนกลุ่มใหญ่ในสังคม กลับถูกมุบมิบ อยู่ในกระเป๋าคนไม่กี่คน...
ตัวเลขข้างมาจากการคำนวณจากตัวแปรต่างๆ และคิดตามจำนวนรถบรรทุกที่มีการจดทะเบียนใน พ.ศ.2565 (อ้างอิง: คณิตคิดคำนวณ ค่า 'ส่วยรถบรรทุก’ ปี 65 มีมูลค่าเท่าไหร่?)
โดยอิงจากความเห็นจำนวนรถบรรทุกที่จ่ายส่วยที่มีอยู่ราว 20% (อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งฯ) และ 50% (ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)) แล้วนำค่าส่วยที่คำนวณได้ มาหาค่าเฉลี่ย [(11,765,280,000 + 29,413,200,000) / 2]
ค่าส่วยรถบรรทุกในปี 65 จะมีมูลค่า = 20,589,240,000 บาท
สมมติปี 65 มีเม็ดเงินที่จ่ายเป็น ‘ส่วยรถบรรทุก’ เท่ากับมูลค่าที่คำนวณได้ มาลองดูกันว่า ค่าส่วยที่มีธรรมชาติเป็นการทุจริต ‘วงจรยาว’ คือจากผู้ให้สู่ผู้รับ จากผู้รับสู่การส่งต่อให้เจ้านายตามลำดับชั้น (และอาจรวมถึงหน่วยงานอื่นที่แชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน) จะมีมากขนาดไหน
ลองเอาค่าส่วยรถบรรทุก ปี 65 มูลค่า 20,589,240,000 บาท เป็นตัวตั้ง มาดูกันว่า เงินจำนวนนี้ ทำอะไรได้บ้าง?
ส่วยรถบรรทุก ใช้อุดหนุนงบประมาณ ปี 66 ครอบคลุม ‘5 งบกระทรวง’ รวมกัน
- กระทรวงดิจิทัลฯ 6,822,100,000 บาท
- กระทรวงวัฒนธรรม 6,748,000,000 บาท
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 5,330,800,000 บาท
- กระทรวงอุตสาหกรรม 4,490,800,000 บาท
- กระทรวงพลังงาน 2,707,400,000 บาท
ส่วยรถบรรทุก จ่าย ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ คนงาน 170,419 คนได้ตลอดทั้งปี
- ค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทต่อวัน
- คนงานหนึ่งคนทำงานทุกวัน จะได้รับค่าจ้าง 120,815 บาท
- คำนวณแล้ว จ่ายค่าจ้างให้คนงานได้ 170,419 คน
- คิดเป็นค่าจ้างทั้งหมด 20,589,171,485 บาท
ส่วยรถบรรทุก ซื้อ ‘เครื่องมือแพทย์’ เซ็ตใหญ่ให้โรงพยาบาลได้ 1,367 เซ็ต
- เครื่องอัลตราซาวนด์ (6.8 ล้านบาทต่อเครื่อง)
- โคมไฟผ่าตัด (2.8 ล้านบาทต่อโคม)
- เตียงผ่าตัด (1.7 ล้านบาทต่อเตียง)
- เครื่องไตเทียม (1.6 ล้านบาทต่อเครื่อง)
- เครื่องช่วยหายใจ (1.2 ล้านบาทต่อเครื่อง)
- เครื่องควบคุมอุณหภูมิกายสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ (9 แสนบาทต่อเครื่อง)
- เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า (6 หมื่นบาทต่อเตียง)
- ราคาเซ็ตเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด มูลค่า 15,060,000 บาท (ราคาเครื่องมือแพทย์ อ้างอิง: มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี)
ส่วยรถบรรทุก เป็นทุนสร้าง Soft Power ผ่าน ‘หนังไทย’ ได้ 411 เรื่อง
- หนังไทยหนึ่งเรื่องใช้ทุนสร้างราว 45-50 ล้านบาท (อ้างอิง: ทุนสร้างหนังของ GDH)
- ตลาดหนังไทยปี 62 (ก่อนโควิด) มีจำนวนหนังเข้าฉาย 45 เรื่อง (ก่อนจะซบเซาในช่วง 3-4 ปีให้หลัง)
- หากนำส่วยรถบรรทุกเป็นทุนสร้างหนัง จะสร้างหนังฉายได้ราว 9 ปี
- หรือใช้เงินทั้งสิ้น 20,550,000,000 บาท
ส่วยรถบรรทุก สร้าง ‘สวนสาธารณะ’ ขนาดยักษ์ได้ 21 แห่ง
- คิดจากงบประมาณสร้างสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี 980 ล้านบาท
- เงินส่วยรถบรรทุกสร้างสวนแบบนี้ได้ 21 แห่ง
- ใช้เงินสร้างทั้งหมด 20,580,000,000 บาท
ส่วยรถบรรทุก เท่ากับ 1 ใน 4 ส่วนของงบฯ กทม. ปี 66
- งบประมาณรายจ่ายกรุงเทพมหานคร ปี 66 เท่ากับ 79,825,132,600 บาท
- เงินส่วยรถบรรทุก คิดเป็น 25.8% หรือมากถึง 1 ใน 4 ของงบ กทม. ปี 66
- งบจำนวนเท่านี้ นำไปพัฒนาและสร้างสาธารณะประโยชน์ได้อีกมาก
หลังจากเอา ค่าส่วยรถบรรทุก ปี 65 มาคิดเป็นมูลค่าที่จะทำประโยชน์ต่างๆ พบว่า เงินจำนวนสองหมื่นกว่าล้านบาทนั้น ไม่น้อยและมากพอที่จะนำไปสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อีกมาก
ตัวอย่างที่ยกมาเทียบเป็นแค่ภาพจำลองที่ต้องการฉายให้เห็น ‘มูลค่าส่วย’ ที่เกิดขึ้น
น่าเสียดายที่เงินจำนวนนี้ ซึ่งควรถูกใช้เพื่อคนกลุ่มใหญ่ในสังคม กลับถูกมุบมิบ อยู่ในกระเป๋าคนไม่กี่คน...






