‘ฮีทสโตรก’ ความตายกลางแสงแดด โลกยิ่งร้อน ยิ่งอันตราย ใครคือกลุ่มเสี่ยง

31 มี.ค. 2566 - 10:52

  • ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เพราะโรคลมแดด (Heat Stroke) ขณะซ้อมแข่งรถ อุณหภูมิสูงสุดวันนั้น คือ 37 องศาเซลเซียส

  • พ.ศ.2559 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตเพราะโรคลมแดดสูงที่สุด 60 ราย เนื่องจากอุณหภูมิในปีนั้นสูงกว่าทุกปี

  • คนอายุ 65 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคหัวใจ - หลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับความร้อนมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า

TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Thumbnail
ความตายของ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เพราะโรคลมแดด (Heat Stroke) ขณะซ้อมแข่งรถ ทำให้โรคที่จับมือมาพร้อมอากาศร้อนอย่าง ‘ลมแดด’ กลายเป็นที่สนใจ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/18fCXjIr7qTMceKeBurFmG/bb6602829e536b8dcd1065d89d5a26f5/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo01
Photo: คำว่า ‘ฮีทสโตรก’ มีการค้นหาเพิ่มสูงขึ้น หลังข่าวการเสียชีวิตของ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
ความร้อนในระดับอันตรายถึงชีวิต คงไม่ต้องถึงขั้น ‘แสงแดดเป็นไข้’ ตามสำนวนของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์’ นักเขียนชั้นครู เพราะอุณหภูมิสูงสุดเมื่อวาน (30 มีนาคม) ที่จังหวัดบุรีรัมย์--ที่เกิดเหตุ ตามรายงานของ accuweather.com อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2oWoy0jimU38rMnQCGCKd5/09e8023bf80fd751603d385c80e52563/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo02
Photo: จ.บุรีรัมย์ อุณหภูมิสูงสุด 37 องศาเซลเซียส (วันที่ 30 มีนาคม 2566)
อ.นพ.กานต์ สุทธาพานิช มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส จะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจมีภาวะชัก หรือหมดสติเพราะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

ความต่างระหว่างลมแดดกับเป็นลมปกติ เมื่อสืบย้อนจากประวัติจะพบว่า ผู้ป่วยเป็นลมปกติไม่ได้อยู่กลางแดด 

ข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พ.ศ.2560 บันทึกว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด 21 ราย จากค่าเฉลี่ย 32 รายต่อปี 

โดยใน พ.ศ.2559 เป็นปีที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุด 60 ราย เนื่องจากอุณหภูมิในปีนั้นสูงกว่าทุกปี 

องค์กรอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ระบุในบทความ Heat and Health ที่เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2561 ว่า ภัยจากความร้อนจะดำเนินต่อไปท่ามกลางภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/38nMHTWYLKh48TRxUDwsfB/2bd7c5191ed7abe9917c9ebe94fa6940/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo03
Photo: อุณหภูมิในประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นทุกปีหลังทศวรรษ 90s
“นึกถึงไข่” ผศ.นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา ผู้เขียนหนังสือ ‘หมอปากหมา’ เปรียบเทียบโรคที่เกิดจากความร้อนให้เห็นภาพกับนักข่าว Bangkok Post เมื่อ พ.ศ.2562 

เมื่อต้มด้วยความร้อนที่สูงขึ้น “ไข่จะถูกความร้อนทำลาย และไม่สามารถฟักเป็นตัวได้อีกต่อไป” 

เช่นเดียวกับอวัยวะในร่างกายที่ประกอบด้วยโปรตีน เมื่อโปรตีนสัมผัสกับความร้อน พวกมันจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม 

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA - United States Environmental Protection Agency) ระบุในรายงาน Climate Change Indicators: Heat-Related Deaths ว่ากลุ่มเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากความร้อนมากที่สุดคือ ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) 

โดยอ้างอิงข้อมูลผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ - หลอดเลือด และการสัมผัสความร้อน ในช่วงฤดูร้อนในสหรัฐอเมริกา (พฤษภาคม - กันยายน) ช่วงปี พ.ศ.2542-2561
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/34QP2SsG4rw55ru088RwwP/cc26736055fbe7233bd3fc8f80b94f49/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo04
Photo: แผนภาพอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุโรคหัวใจ - หลอดเลือด และสัมผัสกับความร้อน ช่วงฤดูร้อนในสหรัฐอเมริกา
ในรายงานดังกล่าว มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 
  • ตั้งแต่ พ.ศ.2522 (ปี 1979) คนอเมริกันเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับความร้อน 11,000 คน โดยในช่วงหลังระหว่างตั้งแต่ พ.ศ.2542 (ปี 1999) เป็นต้นมา การเสียชีวิตที่มีความร้อนเป็นปัจจัยร่วมสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าในบางปี 
  • อัตราการตายที่สูงมากใน พ.ศ.2549 (ปี 2006) สัมพันธ์กับคลื่นความร้อนที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งปีนั้นเป็นปีที่รัฐในสหรัฐฯ มากถึง 48 รัฐ มีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 
  • ตั้งแต่ พ.ศ.2542 (ปี 1999) เป็นต้นมา คนอายุ 65 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคหัวใจ - หลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับความร้อนมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า 

ความตายของ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นอกจากจะเป็นข่าวที่ไม่คาดฝัน ความสูญเสียของวงการการเมืองไทย รวมถึงครอบครัวญาติมิตรและคนที่ใกล้ชิดแล้ว ยังชวนให้ระลึกถึงภัยจากโรคลมแดด 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6No3PphZCDn1d4sx84aCJu/9e1f6a8fe7c025e8bf41a6e0d56742c2/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo05
Photo: แดดช่วงฤดูร้อน ณ แยกราชประสงค์ พ.ศ.2566
ฤดูร้อนในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นแล้ว อากาศในแต่ละวันบอกกับเราทุกวัน หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีคนใกล้ตัวอยู่ในกลุ่มนี้ (คนสูงอาย รวมถึงเด็กต่ำกว่า 5 ปี) โดยเฉพาะถ้ามีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โปรดระวังและดูแลตัวเอง 

“อย่ามาเล่นกับไฟ ร้อนๆ จะไม่ดี ฉันกลัวจะไม่ปลอดภัย, just stay away from me” PP Krit เค้าเตือนแล้ว แม้เนื้อหาในเพลง Fire Boy จะไม่ได้พูดถึงความร้อนของแดด 

แต่ใครล่ะจะปฏิเสธว่า แดดเมืองไทยไม่ร้อนดั่งไฟ!
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1V1ZdWN4JyJJ58wnVoUXyE/dc37efe5dde4602d68bbd0c6fb95ac84/TAGCLOUD-heat-stroke-chonsawat-case-SPACEBAR-Photo06
Photo: ร้อนจนต้องยืมเงาป้ายเป็นที่หลบแดด

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์