ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่จริง ไม่เคยเงียบหาย และเกิดเป็นระยะตามแรงกระเพื่อมของสถานการณ์การเมือง
สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงระดับ 'ซือแป๋' ปักหมุดเหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้ยุคปัจจุบันไว้บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์ที่ พ.ศ.2547
“นับจากเหตุการณ์ปล้นปืนในปี 2547 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าความรุนแรงของผู้ก่อความไม่สงบนั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และมีเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ชัดเจน” (จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 73, กุมภาพันธ์ 2553 - การก่อความไม่สงบในจังหวัดสามชายแดนภาคใต้ของไทย : ปัญหาและพัฒนาการ)
สุรชาติ ระบุว่า หลังการปล้นปืนที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในค่ายทหารจังหวัดนราธิวาสในคืนวันที่ 4 มกราคม 2547 สถานการณ์พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ควรจะสงบตามการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์ “ก็กลับปะทุขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งอย่างคาดไม่ถึง” (ความท้าทายในภาคใต้! - มติชนสุดสัปดาห์, 13 มิถุนายน 2566)
คำถามคือ ‘ดีกรีความรุนแรง’ สามจังหวัดชายแดนใต้หลัง พ.ศ.2547 เป็นอย่างไร?
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ พ.ศ.2547-2565 บ่งชี้ว่า ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา การก่อเหตุความรุนแรงมีแนวโน้มลดลง แต่ความรุนแรงยังคงอยู่อย่าง ‘ยืดเยื้อ’ และ ‘เรื้อรัง’
สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงระดับ 'ซือแป๋' ปักหมุดเหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้ยุคปัจจุบันไว้บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์ที่ พ.ศ.2547
“นับจากเหตุการณ์ปล้นปืนในปี 2547 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าความรุนแรงของผู้ก่อความไม่สงบนั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และมีเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ชัดเจน” (จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 73, กุมภาพันธ์ 2553 - การก่อความไม่สงบในจังหวัดสามชายแดนภาคใต้ของไทย : ปัญหาและพัฒนาการ)
สุรชาติ ระบุว่า หลังการปล้นปืนที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในค่ายทหารจังหวัดนราธิวาสในคืนวันที่ 4 มกราคม 2547 สถานการณ์พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ควรจะสงบตามการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์ “ก็กลับปะทุขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งอย่างคาดไม่ถึง” (ความท้าทายในภาคใต้! - มติชนสุดสัปดาห์, 13 มิถุนายน 2566)
คำถามคือ ‘ดีกรีความรุนแรง’ สามจังหวัดชายแดนใต้หลัง พ.ศ.2547 เป็นอย่างไร?
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ พ.ศ.2547-2565 บ่งชี้ว่า ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา การก่อเหตุความรุนแรงมีแนวโน้มลดลง แต่ความรุนแรงยังคงอยู่อย่าง ‘ยืดเยื้อ’ และ ‘เรื้อรัง’

หากมองเหตุการณ์ผ่านเส้นเวลา (Timeline) จะเห็นภาพความรุนแรงคมชัดขึ้น แม้เหตุความรุนแรงลดลง แต่ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะปัญหายังอยู่ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่เห็น
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้จัดทำรายงานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลที่เก็บมา ทิศทางที่เป็นไปได้อาจมีสองแนวทาง
หนึ่ง ความรุนแรงอาจลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ในรอบ 5 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจถือเป็นความสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ของรัฐบาล
สอง สถานการณ์จะยังคงขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรังต่อไป และรอวงรอบใหม่ของความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้จัดทำรายงานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลที่เก็บมา ทิศทางที่เป็นไปได้อาจมีสองแนวทาง
หนึ่ง ความรุนแรงอาจลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ในรอบ 5 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจถือเป็นความสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ของรัฐบาล
สอง สถานการณ์จะยังคงขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรังต่อไป และรอวงรอบใหม่ของความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต




จากข้อมูลความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนใต้ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2547-2565) จะเห็นว่า ดีกรีความรุนแรงของสถานการณ์ค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นหลังเหตุปล้นปืน พ.ศ.2547 จนเป็นชนวนจุดระเบิดความรุนแรงหลังจากนั้น
จนกระทั่งถึง พ.ศ.2556 ดีกรีความรุนแรงก็ทุเลาลง เมื่อเริ่มมีการเจรจาพูดคุยสันติภาพ และค่อยๆ ลดลงมาเป็นลำดับ เช่นเดียวกับจำนวนผู้บาดเจ็บและล้มตาย ซึ่งลดลงมาอยู่จุดที่ผ่อนคลายใน พ.ศ.2563 -- ปีนั้นโควิด-19 ระบาดทั่วประเทศ หลายพื้นที่มีมาตรการล็อกดาวน์ และขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ หรือ BRN (Barisan Revolusi Nasional) ออกแถลงการณ์หยุดกิจกรรมเคลื่อนไหว เพื่อเปิดทางให้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าถึงการช่วยเหลือ
ทว่าสถานการณ์ที่ดูจะสงบขึ้นก็แปรเปลี่ยนไปพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทุเลาลง พ.ศ.2564 ตัวเลขความรุนแรงเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้ง โดยสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่าปีก่อนหน้า (พ.ศ.2563) ถึง 9%
แต่โชคดีที่ พ.ศ.2565 ความรุนแรงไม่ได้ไต่ระดับขึ้น และดีกรีความรุนแรงลงมาอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในทุกมิติ ไม่ว่าตัวเลขเหตุไม่สงบ ผู้ประสบเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต
ส่วนใน พ.ศ.2566 สถานการณ์จะเป็นอย่างไร ถ้าดูจากสถานการณ์แวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสริมบน ‘หน้าตัก’ ของปัญหาที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเมืองที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ เรื่อง ‘การแบ่งแยกดินแดน’ ถูกหยิบมาเป็นประเด็นใหญ่บนเวทีการเมืองอีกครั้ง เพื่อเป็นอาวุธโจมตีฝั่งตรงข้าม (ในช่วงโค้งสุดท้ายของการโหวตนายกฯ และฟอร์มรัฐบาลชุดใหม่) มีความเป็นไปได้ที่ดีกรีความรุนแรงจะเพิ่มสูงขึ้น ตามเชื้อไฟที่แต่ละฝั่งฝ่ายโหมใส่กัน
“ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ จึงเสมือนหนึ่ง ‘รัฐนาวาสยาม’ ในภาคใต้เผชิญคลื่นลมแรงลูกแล้วลูกเล่าอย่างไม่ขาดสาย” สุรชาติ บำรุงสุข เปรียบเปรยปัญหาภาคใต้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (อ้างถึงบทความเดียวกัน) “แม้จะเปลี่ยน ‘กัปตันเรือ’ มาแล้วหลายคนก็ตาม แต่ความรุนแรงในพื้นที่กลับยังคงเป็นความท้าทายทุกรัฐบาล”
ขณะที่ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้จัดทำรายงานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ที่คลุกคลีอยู่กับหน้างานในระดับสายตาที่จังหวัดปัตตานี ตั้งข้อสังเกตที่ชวนขบคิดว่า ตัวเลขความรุนแรงที่ลดลงมาจากการดำเนินนโยบายของ คสช. ที่ให้ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคง เป็นเหมือนสันติภาพที่ถูกควบคุมไว้ (ศรีสมภพใช้คำว่า ‘สันติภาพเชิงลบ’)
ถามว่าดีหรือไม่ ศรีสมภพมองว่า สิ่งนี้ “ไม่ได้ทำให้การพูดคุยสันติภาพและสันติสุขมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม” เพียงแค่กดทับปัญหาไว้ แล้วรอวันที่จะกลับมาปะทุอีกครั้ง
ส่วนข้อมูลดีกรีความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ.2566 จะเป็นอย่างไร คงต้องรอการสรุปข้อมูลในภายหน้า หวังว่าตัวเลขจะดีขึ้น ไม่ ‘ยืดเยื้อ’ และ ‘เรื้อรัง’ เหมือนที่ผ่านมา
จนกระทั่งถึง พ.ศ.2556 ดีกรีความรุนแรงก็ทุเลาลง เมื่อเริ่มมีการเจรจาพูดคุยสันติภาพ และค่อยๆ ลดลงมาเป็นลำดับ เช่นเดียวกับจำนวนผู้บาดเจ็บและล้มตาย ซึ่งลดลงมาอยู่จุดที่ผ่อนคลายใน พ.ศ.2563 -- ปีนั้นโควิด-19 ระบาดทั่วประเทศ หลายพื้นที่มีมาตรการล็อกดาวน์ และขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ หรือ BRN (Barisan Revolusi Nasional) ออกแถลงการณ์หยุดกิจกรรมเคลื่อนไหว เพื่อเปิดทางให้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าถึงการช่วยเหลือ
ทว่าสถานการณ์ที่ดูจะสงบขึ้นก็แปรเปลี่ยนไปพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทุเลาลง พ.ศ.2564 ตัวเลขความรุนแรงเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้ง โดยสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่าปีก่อนหน้า (พ.ศ.2563) ถึง 9%
แต่โชคดีที่ พ.ศ.2565 ความรุนแรงไม่ได้ไต่ระดับขึ้น และดีกรีความรุนแรงลงมาอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในทุกมิติ ไม่ว่าตัวเลขเหตุไม่สงบ ผู้ประสบเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต
ส่วนใน พ.ศ.2566 สถานการณ์จะเป็นอย่างไร ถ้าดูจากสถานการณ์แวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสริมบน ‘หน้าตัก’ ของปัญหาที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเมืองที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ เรื่อง ‘การแบ่งแยกดินแดน’ ถูกหยิบมาเป็นประเด็นใหญ่บนเวทีการเมืองอีกครั้ง เพื่อเป็นอาวุธโจมตีฝั่งตรงข้าม (ในช่วงโค้งสุดท้ายของการโหวตนายกฯ และฟอร์มรัฐบาลชุดใหม่) มีความเป็นไปได้ที่ดีกรีความรุนแรงจะเพิ่มสูงขึ้น ตามเชื้อไฟที่แต่ละฝั่งฝ่ายโหมใส่กัน
“ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ จึงเสมือนหนึ่ง ‘รัฐนาวาสยาม’ ในภาคใต้เผชิญคลื่นลมแรงลูกแล้วลูกเล่าอย่างไม่ขาดสาย” สุรชาติ บำรุงสุข เปรียบเปรยปัญหาภาคใต้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (อ้างถึงบทความเดียวกัน) “แม้จะเปลี่ยน ‘กัปตันเรือ’ มาแล้วหลายคนก็ตาม แต่ความรุนแรงในพื้นที่กลับยังคงเป็นความท้าทายทุกรัฐบาล”
ขณะที่ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้จัดทำรายงานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ที่คลุกคลีอยู่กับหน้างานในระดับสายตาที่จังหวัดปัตตานี ตั้งข้อสังเกตที่ชวนขบคิดว่า ตัวเลขความรุนแรงที่ลดลงมาจากการดำเนินนโยบายของ คสช. ที่ให้ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคง เป็นเหมือนสันติภาพที่ถูกควบคุมไว้ (ศรีสมภพใช้คำว่า ‘สันติภาพเชิงลบ’)
ถามว่าดีหรือไม่ ศรีสมภพมองว่า สิ่งนี้ “ไม่ได้ทำให้การพูดคุยสันติภาพและสันติสุขมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม” เพียงแค่กดทับปัญหาไว้ แล้วรอวันที่จะกลับมาปะทุอีกครั้ง
ส่วนข้อมูลดีกรีความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ.2566 จะเป็นอย่างไร คงต้องรอการสรุปข้อมูลในภายหน้า หวังว่าตัวเลขจะดีขึ้น ไม่ ‘ยืดเยื้อ’ และ ‘เรื้อรัง’ เหมือนที่ผ่านมา