คำว่า ‘ส่วย’ มีหลายความหมาย แต่ส่วยที่คนนึกถึงช่วงนี้คงไม่พ้นส่วยในความหมาย ‘ค่ารีดไถ-สินบน’ อย่าง ‘ส่วยรถบรรทุก’ ที่กำลังเป็นเรื่องร้อน
หลังวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล ออกมาจุดประเด็น (26 พฤษภาคม) สติกเกอร์ Easy Pass แบบใหม่ พร้อมตั้งคำถาม “ทำไมรถบรรทุกหลายคันถึงติดสติกเกอร์นี้?” ผ่านเฟซบุ๊ก
ไม่นานต่อมา ประเด็นที่วิโรจน์ทิ้งไว้ (และตัวเขาก็ขยี้และขยายต่อ) ก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ หลังสื่อมวลชนและผู้คนหยิบไปพูดถึง
หลังวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล ออกมาจุดประเด็น (26 พฤษภาคม) สติกเกอร์ Easy Pass แบบใหม่ พร้อมตั้งคำถาม “ทำไมรถบรรทุกหลายคันถึงติดสติกเกอร์นี้?” ผ่านเฟซบุ๊ก
ไม่นานต่อมา ประเด็นที่วิโรจน์ทิ้งไว้ (และตัวเขาก็ขยี้และขยายต่อ) ก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ หลังสื่อมวลชนและผู้คนหยิบไปพูดถึง

เรื่อง ‘ส่วยรถบรรทุก’ กลายเป็นที่สนใจ ส่งผลกระเทือนจนต้องย้ายผู้การทางหลวง (พล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ) ขณะที่ (1 มิถุนายน) ตัวแทนกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอย่างสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ก็ยื่นหนังสือร้องเรียนพร้อมเอกสารหลักฐานให้วิโรจน์รับไม้ต่อ
“ปัญหาส่วยมีมานาน (ตั้งแต่ปี 2539) แล้ว” อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งฯ บอกว่า ตอนนี้ (29 พฤษภาคม) มีรถบรรทุกจ่ายค่าสติกเกอร์อยู่ 150,000-200,000 คัน หรือราว 20% จากจำนวนรถบรรทุกทั้งหมด
ขณะที่ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เคยเขียนในบทความ ‘ส่วยรถบรรทุก หายนะจากกติกาที่ไม่เป็นธรรม’ เมื่อ พ.ศ.2561 ว่า ประเมินว่าครึ่งหนึ่งของรถบรรทุกที่วิ่งอยู่ตามถนน ราว 5 แสนคัน เลือกบรรทุกนำ้หนักเกินแลกกับการจ่ายส่วย
จากข้อมูลข้างต้น ตัวเลขประเมินจำนวนรถบรรทุกที่จ่ายส่วยระหว่างประธานสหพันธ์การขนส่งฯ (20%) และดร.มานะ (50%) ต่างกัน
คำถามคือ ถ้านำข้อมูลทั้ง 2 ชุดมาตั้งสมมติฐาน โดยวัดจากตัวเลขรถบรรทุกที่จดทะเบียนกับกรมขนส่ง ปี 2565 น่าสนใจว่า ‘ส่วยรถบรรทุก’ จะมีมูลค่าเท่าไหร่?
“ปัญหาส่วยมีมานาน (ตั้งแต่ปี 2539) แล้ว” อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งฯ บอกว่า ตอนนี้ (29 พฤษภาคม) มีรถบรรทุกจ่ายค่าสติกเกอร์อยู่ 150,000-200,000 คัน หรือราว 20% จากจำนวนรถบรรทุกทั้งหมด
ขณะที่ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เคยเขียนในบทความ ‘ส่วยรถบรรทุก หายนะจากกติกาที่ไม่เป็นธรรม’ เมื่อ พ.ศ.2561 ว่า ประเมินว่าครึ่งหนึ่งของรถบรรทุกที่วิ่งอยู่ตามถนน ราว 5 แสนคัน เลือกบรรทุกนำ้หนักเกินแลกกับการจ่ายส่วย
จากข้อมูลข้างต้น ตัวเลขประเมินจำนวนรถบรรทุกที่จ่ายส่วยระหว่างประธานสหพันธ์การขนส่งฯ (20%) และดร.มานะ (50%) ต่างกัน
คำถามคือ ถ้านำข้อมูลทั้ง 2 ชุดมาตั้งสมมติฐาน โดยวัดจากตัวเลขรถบรรทุกที่จดทะเบียนกับกรมขนส่ง ปี 2565 น่าสนใจว่า ‘ส่วยรถบรรทุก’ จะมีมูลค่าเท่าไหร่?
ค่าส่วยต่อปี มีมูลค่าเท่าไหร่?
ผู้เขียนเข้าไปดูข้อมูล จำนวนรถบรรทุกในประเทศไทย จาก รายงานสถิติการขนส่ง ปี 2565 กรมการขนส่งทางบก พบว่า ‘รถบรรทุก’ เป็นประเภทรถที่จดทะเบียน รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก มากที่สุด แบ่งเป็น รถบรรทุกส่วนบุคคล 823,817 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทาง 401,732 คัน- คิดเป็นรถบรรทุกทั้งหมด 1,225,549 คัน

ทีนี้มาดู ตัวแปรอื่นๆ ที่จะนำมาคิด
- จำนวนรถบรรทุกที่จ่ายส่วย 20% (ประธานสหพันธ์การขนส่งฯ) หรือ 50% (เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน)
- ค่าส่วยสติกเกอร์ที่จ่าย 3,000-5,000 บาทต่อเดือน (อ้างอิงจากคำให้สัมภาษณ์ประธานสหพันธ์การขนส่ง) คิดเป็นค่ามัธยฐาน (Median) 4,000 บาทต่อเดือน

จากผลลัพธ์จะเห็นว่า ไม่ว่าจะมีจำนวนรถบรรทุกที่ยินดีจ่ายส่วย 20% หรือ 50% ค่าส่วยต่อปีล้วนมีมูลค่ามหาศาล นับหมื่นล้านบาทต่อปี เทียบกับงบประมาณ ปี 66 ของรัฐบาล จะเห็นว่ามากกว่างบหลายกระทรวง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม 6,748 ล้านบาท หรือแม้แต่กระทรวงยุติธรรม 24,693 ล้านบาท ก็ยังได้น้อยกว่า
เพียงแต่ผลประโยชน์ของส่วยนั้นวนเวียนอยู่ในวงแคบๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและคนทำผิดกฎหมาย
นี่นับแค่ส่วยรถบรรทุก ถ้าหากมีการแฉทุกส่วย แล้วมัดรวมกัน ผลประโยชน์จะมหาศาลขนาดไหน!?
เพียงแต่ผลประโยชน์ของส่วยนั้นวนเวียนอยู่ในวงแคบๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและคนทำผิดกฎหมาย
นี่นับแค่ส่วยรถบรรทุก ถ้าหากมีการแฉทุกส่วย แล้วมัดรวมกัน ผลประโยชน์จะมหาศาลขนาดไหน!?