ไม่ต้องรอน้ำลดจนตอผุด ก็เห็นได้ว่าจำนวนกระทงมหาศาลในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อคืนนี้ ไม่ได้หายไปไหน แต่กลายสภาพเป็นขยะทันทีที่ถูกลอยไป ที่สำคัญยอดกระทงปีนี้ยังมีมากถึง 572,602 ใบ เนื่องจากคนอัดอั้นไม่ได้ลอยกระทงกันนานในช่วงโควิด-19 โดยตัวเลขเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42% เลยทีเดียว
แม้ว่าปีนี้คนส่วนใหญ่จะหันมาใช้กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายเกิน 90% แต่น่าแปลกใจที่ยอดกระทงโฟมกลับเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีแค่ 3.5% เท่านั้น ทั้งที่หลายหน่วยงานและผู้คนต่างก็รณรงค์เรื่องนี้มาสักพักใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้น ‘ขยะ’ เหล่านี้ต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยทรัพยากร กำลังคน และอุปกรณ์มากมาย
SPACEBAR จะพาไปสำรวจดาต้าจากคืนลอยกระทง และหาคำตอบว่าอะไรคือสิ่งที่คนไทยควรเรียนรู้กันเสียที
แม้ว่าปีนี้คนส่วนใหญ่จะหันมาใช้กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายเกิน 90% แต่น่าแปลกใจที่ยอดกระทงโฟมกลับเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีแค่ 3.5% เท่านั้น ทั้งที่หลายหน่วยงานและผู้คนต่างก็รณรงค์เรื่องนี้มาสักพักใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้น ‘ขยะ’ เหล่านี้ต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยทรัพยากร กำลังคน และอุปกรณ์มากมาย
SPACEBAR จะพาไปสำรวจดาต้าจากคืนลอยกระทง และหาคำตอบว่าอะไรคือสิ่งที่คนไทยควรเรียนรู้กันเสียที

หากมองในแง่ความก้าวหน้า ถือเป็นเรื่องดีที่คนส่วนใหญ่ตื่นตัวกับการใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติเพื่อช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แต่ตราบใดที่ยังมีกระทงโฟมอยู่ จึงเป็นภารกิจ (และภาระ) ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องหาวิธีจำกัดขยะอันตรายอย่างถูกวิธีต่อไป
แต่ถ้ามองในแง่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะประเภทโฟมมักจบที่หลุมฝังกลบ ยากที่จะนำกลับไปใช้ประโยชน์โดยไม่ส่งผลเสีย อีกทั้งต้องใช้งบประมาณเช่นกัน
ลองขยับออกมายืนห่างๆ อีกนิด เราอาจเห็นภาพรวมที่ชัดขึ้นว่า งานประเพณีรื่นเริงนี้ยังคงก่อให้เกิดปริมาณขยะมากมาย ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก
การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นพอจะช่วยบรรเทาผลกระทบไปบ้าง แต่ในระยะยาวสิ่งนี้คุ้มค่าหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการคิดไตร่ตรองของแต่ละคน
อย่างน้อย ลองคิดทบทวนกันดูว่า “บุญจะส่งให้เราสุขใจ” ตามเนื้อเพลงจริงๆ หรือเปล่า
แต่ถ้ามองในแง่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะประเภทโฟมมักจบที่หลุมฝังกลบ ยากที่จะนำกลับไปใช้ประโยชน์โดยไม่ส่งผลเสีย อีกทั้งต้องใช้งบประมาณเช่นกัน
ลองขยับออกมายืนห่างๆ อีกนิด เราอาจเห็นภาพรวมที่ชัดขึ้นว่า งานประเพณีรื่นเริงนี้ยังคงก่อให้เกิดปริมาณขยะมากมาย ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก
การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นพอจะช่วยบรรเทาผลกระทบไปบ้าง แต่ในระยะยาวสิ่งนี้คุ้มค่าหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการคิดไตร่ตรองของแต่ละคน
อย่างน้อย ลองคิดทบทวนกันดูว่า “บุญจะส่งให้เราสุขใจ” ตามเนื้อเพลงจริงๆ หรือเปล่า