'ขสป.ห้วยขาแข้ง' แจงปฏิบัติการนำ 'นกยูงอินเดีย' ออกจากป่าอนุรักษ์

4 ก.ค. 2567 - 10:49

  • ‘เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าห้วยขาแข้ง’ แจงปฏิบัติการติดตามนำตัว ‘นกยูงอินเดีย’ ออกจากป่าอนุรักษ์ ห่วงปนเปื้อนพันธุกรรม ‘นกยูงไทย’

  • ย้ำ ‘ตัวสีขาว’ ไม่ได้ถูกจับตาย แต่ตายเพราะ ‘สัตว์ผู้ล่า’

Huai_Kha_Khaeng_explains_about_Indian_peacock_SPACEBAR_Hero_5cf4fa96f8.jpg

เพจเฟซบุ๊ก ‘เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง’ โพสต์ข้อความถึงกรณีการดำเนินการตามจับ - นำออก ‘นกยูงอินเดีย’ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยระบุความว่า เรียน เพื่อนพี่น้องมิตรสหายทุกๆ ท่าน ตามที่มีการพบเจอนกยูงพันธุ์อินเดียในพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พอสรุปได้ดังนี้  

1) ก่อนวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ที่มีการโพสหรือแชร์กันในกลุ่ม Facebook : Thai Bird Report ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2567 เขตฯได้รับแจ้งจากนักท่องเที่ยวในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ว่าพบนกยูงพันธุ์อินเดีย บริเวณกิโลเมตรที่ 10-11 ทางเข้าที่ทำการเขตฯ จำนวน 2 ตัว เป็นสีขาว 1 ตัวและ สีน้ำตาลอมเขียวอีก 1 ตัว 

2) เขตฯได้หารือกับนักวิจัยที่สำรวจและติดตามนกยูงเพื่อให้ทราบพฤติกรรมและข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อวางแผนติดตาม แล้วจึงได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ออกตรวจติดตาม รวมถึงการวางกล้องดักถ่ายจำนวน 14 จุดในแหล่งที่พบนกยูงไทยรวมฝูง เช่น บริเวณโป่ง ที่ราบริมลำห้วยทับเสลาในจุดอื่นๆ เพื่อค้นหา และหามาตรการจัดการต่อไป และมีข้อมูลจากกล้องดักถ่าย พบ นกยูงอินเดีย 2 ตัว เป็นสีขาว 1 ตัว สีน้ำตาลอมเขียว 1 ตัว วันที่ 17/6/67 บริเวณลำห้วยทับเสลาใกล้กับบริเวณโป่งช้างเผือก แสดงว่านกยูงอินเดียดังกล่าวยังอยู่และหากินในพื้นที่ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ออกติดตามแต่ก็ไม่พบ จึงทำการติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง  

3) จนวันที่ 20 มิถุนายน 2567 มีการโพสหรือแชร์กันในกลุ่ม Facebook : Thai Bird Report แสดงความห่วงใยต่อพื้นที่ โดยพบนกยูงพันธุ์อินเดีย จำนวน 2 ตัว เป็นสีขาว 1 ตัวและ สีน้ำตาลอมเขียวอีก 1 ตัว หากินรวมกับนกยูงไทยบริเวณหอดูสัตว์โป่งช้างเผือกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตฯรับทราบ จึงประกาศปิดบริการศึกษาธรรมชาติ บริเวณโป่งช้างเผือก ทั้งนี้ ได้ประสาน นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าออกเฝ้าอย่างใกล้ชิด เพื่อค้นหา ติดตาม เส้นทางที่ใช้ประจำและจุดที่พักหรือจับคอนนอน แล้วจึงค่อยจับนำออกจากพื้นที่ต่อไป  

4) วันที่ 21 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์ และออกตรวจติดตามเป็นการ ต่อเนื่อง จนช่วงบ่าย เวลาประมาณ 14.30 น. พบนกยูง พันธุ์อินเดีย จำนวน 2 ตัว เป็นสีขาว 1 ตัวและ สีน้ำตาลอมเขียวอีก 1 ตัว การกลับมาใช้พื้นที่ซ้ำในบริเวณโป่งช้างเผือก พื้นที่บริเวณด้านซ้ายมือในฝั่งตรงข้ามกับหอชมสัตว์ป่า ได้ดำเนินการเฝ้าสังเกตการณ์ ใช้อาหารล่อ เพื่อสร้างความคุ้นเคย ป้องกันการย้ายพื้นที่หากินไปยังที่อื่นๆ ซึ่งจะยากต่อการติดตามตัว และสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงก่อนที่จะวางกับดักต่อไป 

5) วันที่ 22 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตามติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวง และป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบต่อเนื่อง จนช่วงบ่าย เวลาประมาณ 16.30น. พบนกยูง พันธุ์อินเดีย จำนวน 2 ตัว เป็นสีขาว 1 ตัวและ สีน้ำตาลอมเขียวอีก 1 ตัว ออกหากินในพื้นที่บริเวณด้านซ้ายมือในฝั่งตรงข้ามกับหอชมสัตว์ป่า 

6) วันที่ 23 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวง และป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ ต่อเนื่อง จนช่วงบ่าย เวลาประมาณ 17.20 น. พบนกยูง พันธุ์อินเดีย จำนวน 1 ตัว เป็นสีขาว พื้นที่บริเวณด้านซ้ายมือในฝั่งตรงข้ามกับหอชมสัตว์ป่า ออกหากินปะปนกับนกยูงไทย ไม่พบนกยูงตัวสีน้ำตาลเขียว  

7) วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวง และป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ ต่อเนื่อง จนช่วงบ่าย เวลาประมาณ 15.25 น. พบนกยูง พันธุ์อินเดีย จำนวน 1 ตัว เป็นสีขาว ไม่พบนกยูงอินเดียสีน้ำตาลอมเขียว พื้นที่บริเวณด้านซ้ายมือในฝั่งตรงข้ามกับหอชมสัตว์ป่า โดยใช้เส้นทางเดิม ในการเข้าออก และออกมาหากินในบริเวณเดิมทุกครั้งที่พบ ทำการวางกับดักตามคำแนะนำของ นายสัตวแพทย์ให้ใช้กรงดักขนาดใหญ่ เพื่อลดความระแวงและยังคงให้ใช้อาหารหรือเหยื่อล่อต่อไป ไม่พบนกยูงตัวสีน้ำตาลเขียว 

8) วันที่ 25 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ ต่อเนื่อง แต่ไม่พบนกยูงอินเดียสีขาวและนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว  

9) วันที่ 26 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ ต่อเนื่อง แต่ไม่พบนกยูงอินเดียสีขาวและนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว  

10) วันที่ 27 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ ต่อเนื่อง จนเวลา 14.30 น. พบนกยูงอินเดียตัวสีขาว จำนวน 1 ตัว หากินร่วมกับนกยูงไทยแต่นกยูงไม่เข้ามาหากินใกล้เคียงบริเวณที่ตั้งกรงดักคาดว่ายังหวาดระแวงและตื่นกรงดัก และไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว 

11) วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อ ดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ เป็นการต่อเนื่อง และไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีขาวและไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีนกยูงไทยที่เข้ามาหากินบริเวณอื่นๆของโป่ง แต่ยังไม่เข้ามาหากินใกล้เคียงบริเวณที่ตั้งกรงดักคาดว่ายังหวาดระแวงและตื่นกรงดัก 

12) วันที่ 29 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ เป็นการต่อเนื่อง ไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีขาว และไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนนกยูงไทยหากินตามปกติแต่ยังไม่เข้ามาหากินใกล้เคียงบริเวณที่ตั้งกรงดัก คาดว่ายังหวาดระแวงและตื่นกรงดัก 

13) วันที่ 30 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ เป็นการต่อเนื่อง ไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีขาว และไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนนกยูงไทยหากินตามปกติบางตัวเข้ามาหากินใกล้เคียงบริเวณที่ตั้งกรงดักและบางตัวเข้าไปหากินอาหารที่โรยไว้ในกรงดัก 

14 วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สังเกตเหตุการณ์และออกตรวจติดตาม ได้ใช้เหยื่อล่อดึงดูดสร้างความคุ้นเคยลดความระแวงและป้องกันนกยูงเป้าหมายไม่ให้ขยับหรือหนีหายไปไกลจากจุดที่พบ เป็นการต่อเนื่อง ไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีขาว และไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ ไม่พบนกยูงอินเดียตัวสีน้ำตาลอมเขียว ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ และไม่พบนกยูงอินเดียสีขาวตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ 

15) วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เจ้าหน้าที่ได้เดินสำรวจบริเวณใกล้เคียงเพื่อค้นหานกยูงทั้ง ๒ ตัวต่อไป ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่พบเศษขนของนกยูงอินเดียสีขาวพร้อมทั้งมีรอยเลือดแต่ไม่พบซากนกยูงตัวดังกล่าว คาดว่าอาจถูกทำร้ายหรือกินโดยสัตว์ผู้ล่าไม่ทราบชนิด เนื่องจากขณะที่เจ้าหน้าที่สังเกตเห็นนกยูงอินเดียตัวสีขาวนั้นมีลักษณะไม่ค่อยระวังตัวเท่านกยูงไทยจึงอาจตกเป็นเหยื่อของสัตว์ผู้ล่าได้ง่าย และตามที่เป็นข่าวออกไปในสื่อต่างๆ  

16) สาเหตุที่ต้องนำนกยูงอินเดียและนกยูงพันธุ์ผสมออกจากพื้นที่ เพราะเกรงว่าจะมีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมทำให้นกยูงสายพันธุ์ไทยแท้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรมอาจเกิดผลกระทบในระยะยาว อีกทั้งนกยูงอินเดียไม่ใช่นกประจำถิ่นในประเทศไทยเป็นนกที่นำเข้ามาไม่ใช่นกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ จึงต้องนำออกจากพื้นที่ 

17) มาตรการ ในการดำเนินการต่อไป คือ เขตฯ จะได้ออกประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนกยูงอินเดีย และสัตว์ป่าสายพันธุ์ต่างถิ่นอื่นๆ ให้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบเพื่อขอความร่วมมือถ้ามีการเลี้ยงนกยูงอินเดียหรือสัตว์ป่าสายพันธุ์ต่างถิ่นอื่นๆ ขอให้เลี้ยงด้วยระบบปิด ไม่ควรนำมาปล่อยหรือนำเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเนื่องจากขัดต่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2562 มีโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับ 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และออกตรวจลาดตระเวนและเฝ้าระวังในพื้นที่  

หากท่านใดเข้ามาศึกษาธรรมชาติในพื้นที่แล้ว พบเห้นสัตว์ป่าต่างถิ่นในพื้นที่ ขอได้โปรดแจ้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ที่ หมายเลข 065 4862876 หรือได้ที่กล่องข้อความในเพจนี้ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้รีบดำเนินการต่อไป ขอขอบพระคุณทุกๆความห่วงใย ครับ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์