เมื่อโซเชียลมีเดีย เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตหลายคน เราจึงเห็นบรรดาพ่อแม่ ชอบแชร์ภาพ และคลิปวิดีโอ ลูกตัวเอง เพียงเพราะอยากจะบันทึกความทรงจำ ตั้งแต่ตั้งท้อง ทุกพัฒนาการ หรือทุกอิริยาบถ ให้ญาติๆ เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งคนไม่รู้จักในโลกออนไลน์ได้ชื่นชม โดยเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์ที่โพสต์ หวังเรียกยอดไลค์และผู้ติดตาม เป็นช่องทางสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
แต่รู้หรือไม่ การโพสต์ภาพและคลิปลูกจนไม่ระวัง อาจกลายเป็นการละเมิดสิทธิเด็กได้ เรื่องนี้เราได้เห็นว่าเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมไทยกันมาสักพัก อย่างกรณีโปรดิวเซอร์คนหนึ่งโพสต์ภาพตัวเองเล่นกับลูกสาว และถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม
และกรณีของคู่อินฟลูเอนเซอร์และนักร้องชื่อดัง ที่ตั้งใจไม่โพสต์ภาพลูกตัวเองตั้งแต่เกิด เพราะทั้งคู่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเด็กอย่างมาก แต่ด้วยความไม่เข้าใจของคนบางส่วน ทำให้เกิดการคอมเมนท์แซะจำนวนมาก ซึ่งล่าสุดสาวอินฟลูเอนเซอร์ได้โพสต์ภาพลูกชายในวัยขวบเศษแล้ว แต่ไม่บ่อย แล้วก็สร้างความสนใจในโลกออนไลน์อีกครั้ง
ประเด็นดราม่าเหล่านี้ ก็ทำให้คนในสังคมได้กลับมาตระหนักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเคารพสิทธิเด็กมากขึ้นในต่างประเทศ พ่อแม่หลายคนก็ชอบโพสต์ภาพและคลิปลูกไม่แพ้กัน มีข้อมูล ระบุว่า พ่อแม่ในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 50% แชร์ภาพหรือคลิปวิดีโอของลูกๆ ลงในโซเชียลมีเดีย
ขณะที่การวิจัยโดย Observatory for Parenthood and Digital Education พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ปกครองในฝรั่งเศส แชร์ภาพลูกๆ ในโลกออนไลน์ และ 91% แชร์ภาพก่อนที่ลูกของตัวเองจะอายุครบ 5 ปี
ล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็กโดยพ่อแม่อาจถูกแบนไม่ให้แชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
ผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในสิทธิต่อภาพของลูกๆ และการตัดสินใจในการโพสต์ภาพทางออนไลน์เด็กจะต้องให้ความยินยอมด้วย ตาม ‘อายุและวุฒิภาวะ’ ของเด็ก
หากพ่อและแม่เห็นไม่ตรงกัน ศาลฯ อาจสั่งห้ามคนใดคนหนึ่งโพสต์ภาพลูกได้ ถ้าการโพสต์นั้น ‘ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีของเด็ก’ หรือในกรณีร้ายแรงพ่อแม่อาจเสียสิทธิในการจัดการรูปของลูกไปเลย โดยผู้พิพากษาสามารถมอบความไว้วางใจให้บุคคลที่สามใช้สิทธิในภาพของเด็กแทน
บรูโน สตัดเดอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสที่เสนอร่างกฎหมายนี้เผยว่า จุดมุ่งหมายของกฎหมายนี้คือ การให้อำนาจพ่อแม่ และแสดงให้เด็กๆ เห็นว่าพ่อแม่ไม่ได้มีสิทธิเด็ดขาดในรูปภาพของพวกเขา
เขายังบอกว่า เด็กอายุ 13 ปีคนหนึ่ง มีรูปถ่ายอยู่ในโลกออนไลน์เฉลี่ย 1,300 รูป ซึ่งรูปถ่ายเหล่านั้น อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นไปอยู่ในเว็บไซต์อนาจารเด็ก หรือนำไปสู่การบูลลี่ในโรงเรียนได้ โดย 50% ของรูปถ่ายที่แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มสื่อลามกเด็ก เป็นรูปที่มาจากพ่อแม่โพสต์ในโซเชียลมีเดียของเขาเอง
แต่เดิม ‘ฝรั่งเศส’ มีกฎหมายที่ระบุโทษพ่อแม่ ที่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือรูปถ่ายของลูกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องรับโทษทั้งจำและปรับ ฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลในโลกออนไลน์ ลูกสามารถฟ้องได้
ไม่เพียงแต่ฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในสหภาพยุโรปมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation : GDPR) โดยรูปภาพนับเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนบุคคลที่ใครนำมาเผยแพร่โดยไม่ขออนุญาตไม่ได้
ส่วนสหรัฐอเมริกา ก็มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน (The Children’s Online Privacy Protection Act of 1998) หรือ ‘COPPA’ ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
กลับมาดูที่ประเทศไทย ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กอยู่หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็น ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ’ ที่ให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น
‘พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546’ มาตรา 27 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ”
รวมไปถึง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA’ ว่าด้วยมาตรา 4 (1) ที่หากรูปภาพที่เผยแพร่สร้างความเดือดร้อน ความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพหรือผู้อื่น อาจถูกฟ้องร้องได้
แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและการคุ้มครองเด็กอยู่บ้าง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะฝรั่งเศสจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีการลงโทษหรือบังคับใช้อย่างจริงจังมากนัก และมีการตั้งคำถามว่า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ล้าสมัยไปหรือไม่
แต่รู้หรือไม่ การโพสต์ภาพและคลิปลูกจนไม่ระวัง อาจกลายเป็นการละเมิดสิทธิเด็กได้ เรื่องนี้เราได้เห็นว่าเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมไทยกันมาสักพัก อย่างกรณีโปรดิวเซอร์คนหนึ่งโพสต์ภาพตัวเองเล่นกับลูกสาว และถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม
และกรณีของคู่อินฟลูเอนเซอร์และนักร้องชื่อดัง ที่ตั้งใจไม่โพสต์ภาพลูกตัวเองตั้งแต่เกิด เพราะทั้งคู่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเด็กอย่างมาก แต่ด้วยความไม่เข้าใจของคนบางส่วน ทำให้เกิดการคอมเมนท์แซะจำนวนมาก ซึ่งล่าสุดสาวอินฟลูเอนเซอร์ได้โพสต์ภาพลูกชายในวัยขวบเศษแล้ว แต่ไม่บ่อย แล้วก็สร้างความสนใจในโลกออนไลน์อีกครั้ง
ประเด็นดราม่าเหล่านี้ ก็ทำให้คนในสังคมได้กลับมาตระหนักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเคารพสิทธิเด็กมากขึ้นในต่างประเทศ พ่อแม่หลายคนก็ชอบโพสต์ภาพและคลิปลูกไม่แพ้กัน มีข้อมูล ระบุว่า พ่อแม่ในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 50% แชร์ภาพหรือคลิปวิดีโอของลูกๆ ลงในโซเชียลมีเดีย
ขณะที่การวิจัยโดย Observatory for Parenthood and Digital Education พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ปกครองในฝรั่งเศส แชร์ภาพลูกๆ ในโลกออนไลน์ และ 91% แชร์ภาพก่อนที่ลูกของตัวเองจะอายุครบ 5 ปี
ล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็กโดยพ่อแม่อาจถูกแบนไม่ให้แชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
ผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในสิทธิต่อภาพของลูกๆ และการตัดสินใจในการโพสต์ภาพทางออนไลน์เด็กจะต้องให้ความยินยอมด้วย ตาม ‘อายุและวุฒิภาวะ’ ของเด็ก
หากพ่อและแม่เห็นไม่ตรงกัน ศาลฯ อาจสั่งห้ามคนใดคนหนึ่งโพสต์ภาพลูกได้ ถ้าการโพสต์นั้น ‘ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีของเด็ก’ หรือในกรณีร้ายแรงพ่อแม่อาจเสียสิทธิในการจัดการรูปของลูกไปเลย โดยผู้พิพากษาสามารถมอบความไว้วางใจให้บุคคลที่สามใช้สิทธิในภาพของเด็กแทน
บรูโน สตัดเดอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสที่เสนอร่างกฎหมายนี้เผยว่า จุดมุ่งหมายของกฎหมายนี้คือ การให้อำนาจพ่อแม่ และแสดงให้เด็กๆ เห็นว่าพ่อแม่ไม่ได้มีสิทธิเด็ดขาดในรูปภาพของพวกเขา
เขายังบอกว่า เด็กอายุ 13 ปีคนหนึ่ง มีรูปถ่ายอยู่ในโลกออนไลน์เฉลี่ย 1,300 รูป ซึ่งรูปถ่ายเหล่านั้น อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นไปอยู่ในเว็บไซต์อนาจารเด็ก หรือนำไปสู่การบูลลี่ในโรงเรียนได้ โดย 50% ของรูปถ่ายที่แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มสื่อลามกเด็ก เป็นรูปที่มาจากพ่อแม่โพสต์ในโซเชียลมีเดียของเขาเอง
แต่เดิม ‘ฝรั่งเศส’ มีกฎหมายที่ระบุโทษพ่อแม่ ที่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือรูปถ่ายของลูกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องรับโทษทั้งจำและปรับ ฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลในโลกออนไลน์ ลูกสามารถฟ้องได้
ไม่เพียงแต่ฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในสหภาพยุโรปมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation : GDPR) โดยรูปภาพนับเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนบุคคลที่ใครนำมาเผยแพร่โดยไม่ขออนุญาตไม่ได้
ส่วนสหรัฐอเมริกา ก็มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน (The Children’s Online Privacy Protection Act of 1998) หรือ ‘COPPA’ ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
กลับมาดูที่ประเทศไทย ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กอยู่หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็น ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ’ ที่ให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น
‘พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546’ มาตรา 27 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ”
รวมไปถึง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA’ ว่าด้วยมาตรา 4 (1) ที่หากรูปภาพที่เผยแพร่สร้างความเดือดร้อน ความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพหรือผู้อื่น อาจถูกฟ้องร้องได้
แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและการคุ้มครองเด็กอยู่บ้าง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะฝรั่งเศสจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีการลงโทษหรือบังคับใช้อย่างจริงจังมากนัก และมีการตั้งคำถามว่า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ล้าสมัยไปหรือไม่