ย้อนหลังไปเมื่อประมาณอาทิตย์กว่าๆ แฟนฟุตบอลมากมาย โดยเฉพาะใครที่เป็นแฟนของทีม ‘ไก่เดือยทอง’ ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ส และ ‘จิ้งจอกสยาม’ เลสเตอร์ ซิตี้ ต่างก็พากันอกหักดังเป๊าะ หลังจากต้องอดดูทีมรักของตัวเองที่นานๆ ทีจะบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเล่นฟุตบอลในบ้านเราช่วงพรีซีซัน ซึ่งในวันนั้น ‘พระพิรุณ’ ก็ดันมาใจร้ายกับแฟนบอล ส่งมวลน้ำมหาศาลลงมาจากฟากฟ้า แล้วทำให้ฟลอร์หญ้าของ ราชมังคลากีฬาสถาน ‘สนามกีฬาแห่งชาติ’ ที่ดีที่สุดของไทย เจิ่งนองไปด้วยน้ำ หนักชนิดที่ว่าโยนบอลลงไปที่สนาม แล้วมันก็ติดอยู่อย่างนั้น ไม่เด้งขึ้นมาเลยแม้แต่นิดเดียว จนสุดท้ายทุกฝ่ายประเมิณสถานการณ์ออกมาแล้วว่าต้อง ‘ยกเลิก’ การแข่งขัน เพราะสภาพสนามอาจทำให้นักเตะบาดเจ็บได้ถ้าลงเล่น
ด้วยเหตุผลแบบนี้อาจจะมองได้ว่านี่เป็นเรื่อง ‘สุดวิสัย’ ที่เราหลีกเลี่ยงเรื่องสภาพอากาศที่เป็นไปตอนนั้นไม่ได้ แต่ถ้าลองย้อนมองดูฟุตบอลยุโรปที่บางทีเราเห็นว่าฝนตกหนักกว่านี้ เขาก็ยังลงเล่นกันได้ ก็ทำให้เราต้องกลับมาดู ‘สภาพ’ สนามกีฬาแห่งชาติบ้านเราว่ามันดีได้ ‘เท่านี้’ จริงหรือ ซึ่งวันนั้นตัวผู้เขียนเองก็เดินทางไปทำข่าว แล้วบังเอิญเห็นนักข่าวจากต่างประเทศนั่งงงกันเป็นไก่ตาแตก แบบที่คงจะคิดว่าบ้านเขาตกหนักกว่านี้ยังเตะกันได้ ทำไมที่นี่ตกแค่นี้ถึงกับต้องยกเลิก
หลังจากเกิดเรื่องไม่นานทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ก็ออกมาบอกว่าเตรียมที่จะปรับปรุงราชมังฯ โดยจะใช้งบมากถึง 12,000 ล้านบาท ตลอดทั้งโครงการ แยกย่อยเป็นเงินที่จะใช้ปรับปรุงส่วนของสนามอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ เพราะเราขอยกตัวอย่าง สนามกีฬาแห่งชาติของประเทศแอลเบเนีย ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2019 ใช้งบประมาณไปแค่ 3,200 ล้านบาท แต่ได้สนามที่สวยงาม ได้เกรด 4 ดาวของยูฟ่า มาพร้อมความจุ 22,500 คน และถ้าเราใช้งบเต็มๆ 5,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ก็เชื่อว่าจะได้สนามที่ดีไม่แพ้กัน แถมยังจะได้ความจุผู้ชมที่มากกว่านี้ด้วยซ้ำ รวมถึงระบบต่างๆ ที่ยังไงก็ดีขึ้นแน่ๆ
สุดท้ายแล้วการที่มานั่ง ‘โทษฟ้าโทษฝน’ ว่าทำให้น้ำท่วมสนามอาจจะไม่ใช่คำตอบ นอกจากนี้แฟนบอลยังหาคำตอบไม่ได้อีกต่างหากว่าทำไมเราถึงไม่สร้างสนามใหม่ แต่เลือกปรับปรุงสนามเดิม วันนี้เราก็เลยอยากพาทุกคนไปดูสนามกีฬาแห่งชาติที่มี ‘คุณภาพ’ และได้ ‘มาตรฐาน’ แล้วหวังกันว่าวันหนึ่งบ้านเราจะมีสนามกีฬาแห่งชาติดีๆ แบบนี้บ้างสักที ส่วนจะมีที่ไหนบ้าง ติดตามได้เลยครับ
ด้วยเหตุผลแบบนี้อาจจะมองได้ว่านี่เป็นเรื่อง ‘สุดวิสัย’ ที่เราหลีกเลี่ยงเรื่องสภาพอากาศที่เป็นไปตอนนั้นไม่ได้ แต่ถ้าลองย้อนมองดูฟุตบอลยุโรปที่บางทีเราเห็นว่าฝนตกหนักกว่านี้ เขาก็ยังลงเล่นกันได้ ก็ทำให้เราต้องกลับมาดู ‘สภาพ’ สนามกีฬาแห่งชาติบ้านเราว่ามันดีได้ ‘เท่านี้’ จริงหรือ ซึ่งวันนั้นตัวผู้เขียนเองก็เดินทางไปทำข่าว แล้วบังเอิญเห็นนักข่าวจากต่างประเทศนั่งงงกันเป็นไก่ตาแตก แบบที่คงจะคิดว่าบ้านเขาตกหนักกว่านี้ยังเตะกันได้ ทำไมที่นี่ตกแค่นี้ถึงกับต้องยกเลิก
หลังจากเกิดเรื่องไม่นานทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ก็ออกมาบอกว่าเตรียมที่จะปรับปรุงราชมังฯ โดยจะใช้งบมากถึง 12,000 ล้านบาท ตลอดทั้งโครงการ แยกย่อยเป็นเงินที่จะใช้ปรับปรุงส่วนของสนามอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ เพราะเราขอยกตัวอย่าง สนามกีฬาแห่งชาติของประเทศแอลเบเนีย ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2019 ใช้งบประมาณไปแค่ 3,200 ล้านบาท แต่ได้สนามที่สวยงาม ได้เกรด 4 ดาวของยูฟ่า มาพร้อมความจุ 22,500 คน และถ้าเราใช้งบเต็มๆ 5,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ก็เชื่อว่าจะได้สนามที่ดีไม่แพ้กัน แถมยังจะได้ความจุผู้ชมที่มากกว่านี้ด้วยซ้ำ รวมถึงระบบต่างๆ ที่ยังไงก็ดีขึ้นแน่ๆ
สุดท้ายแล้วการที่มานั่ง ‘โทษฟ้าโทษฝน’ ว่าทำให้น้ำท่วมสนามอาจจะไม่ใช่คำตอบ นอกจากนี้แฟนบอลยังหาคำตอบไม่ได้อีกต่างหากว่าทำไมเราถึงไม่สร้างสนามใหม่ แต่เลือกปรับปรุงสนามเดิม วันนี้เราก็เลยอยากพาทุกคนไปดูสนามกีฬาแห่งชาติที่มี ‘คุณภาพ’ และได้ ‘มาตรฐาน’ แล้วหวังกันว่าวันหนึ่งบ้านเราจะมีสนามกีฬาแห่งชาติดีๆ แบบนี้บ้างสักที ส่วนจะมีที่ไหนบ้าง ติดตามได้เลยครับ
แอร์ แอลเบเนีย สเตเดี้ยม


สนามแรกที่เรายกมาเป็น แอร์ แอลเบเนีย สเตเดี้ยม สนามที่เรายกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ว่าใช้งบประมาณการสร้างไปแค่ 3,200 ล้านบาท ซึ่งทีมชาติแอลเบเนียอยู่แค่อันดับ 65 ในแรงค์กิ้งฟีฟ่าปัจจุบัน แต่มีสนามกีฬาแห่งชาติเป็นสนามระดับ 4 ดาวของยูฟ่า แถมยังมีการออกแบบอย่างสวยงาม โดยมีหอคอยที่สูงที่สุดของแอลเบเนียเป็นส่วนหนึ่งของสนาม บริเวณมุมสนามด้วย
สนามกีฬาแห่งชาติไต้หวัน


สนามถัดมาเราขอกลับมาที่เอเชียกับ สนามกีฬาแห่งชาติไต้หวัน ของทีมชาติไต้หวัน ทีมอันดับ 153 ของโลก ซึ่งถึงแม้อันดับโลกจะต่ำกว่าทีมชาติไทยเรา แต่กลับมีสนามกีฬาแห่งชาติที่สวยงามมากๆ แห่งหนึ่งในเอเชีย โดยรังเหย้าของพวกเขามีความจุมากถึง 55,000 ที่นั่ง ดีไซน์ออกมาให้เหมือนกับหางมังกร บวกกับความพิเศษด้วยหลังคาโซลาร์เซลล์กว่า 14,155 ตร.ม. สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1.14 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เพียงพอกับการจ่ายไฟให้สนามรวมถึงพื้นที่รอบสนามได้แบบสบายๆ และที่สำคัญงบประมาณการก่อสร้างทั้งหมดอยู่ที่ 5,100 ล้านบาทเท่านั้นเอง
สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น


ต่อกันที่ สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น ที่สร้างเสร็จเพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการทุบสนามเดิมทิ้ง แล้วสร้างใหม่ในพื้นที่เดิมย่านชินจุกุ มีความจุผู้ชมในกีฬาฟุตบอลมากถึง 68,698 คน ใช้งบประมาณการก่อสร้างไปทั้งหมด 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาพร้อมการเดินทางไปยังสนามที่สะดวกสบายเช่นเคยตามสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินโทอิและรถไฟเจอาร์ ที่ลงปุ๊บเดินไปสนามได้ในระยะทางไม่เกิน 500 เมตร
สนามกีฬาแห่งชาติบูกิต จาลิล


สนามถัดมาเป็นของประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนทางใต้ของบ้านเราอย่าง สนามกีฬาแห่งชาติบูกิต จาลิล ของประเทศมาเลเซีย ที่เป็นสนามกีฬาแห่งชาติที่ใหญ่มากๆ แห่งหนึ่งในอาเซียน ด้วยความจุผู้ชมทั้งหมด 87,411 คน เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1998 ก่อนที่จะรีโนเวตในช่วงปี 2015-2017 และเปิดใช้งานอีกครั้งหลังจากนั้น ใช้งบก่อสร้างไปทั้งหมด 1 พันล้านริงกิต ซึ่งนอกจากจุดเด่นที่จุคนดูได้เยอะแล้ว ก็ยังเป็นอีกหนึ่งสนามที่มีการเดินทางสะดวกสบายมากๆ เพราะมีรถไฟฟ้ามาจอดถึงหน้าสนามที่สถานีบูกิต จาลิล เลย
สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์


สนามสุดท้ายเราขอปิดท้ายด้วย สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ อีกหนึ่งประเทศอาเซียน ที่หลังจากจบภารกิจที่ไทย ขุนพล ‘ไก่เดือยทอง’ ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ส ก็บินไปทำการแข่งขันต่อที่นี่ทันที โดยเป็นอีกหนึ่งสนามที่จัดงานระดับโลกมาแล้วมากมายทั้งคอนเสิร์ต และการแข่งขันฟุตบอล เนื่องด้วยคุณภาพและมาตรฐานที่สูงมากๆ จุคนดูได้ถึง 55,000 คน มีระบบขนส่งสาธารณะบริเวณสนามพร้อมด้วยรถไฟฟ้าถึง 3 สถานี และไฮไลท์คือหลังคาสนามที่สามารถเปิดปิดได้ ไม่ต้องกลัวฝนตกหนักจนน้ำท่วมให้เหนื่อยใจ!