ประธานาธิบดี โจ ไบเดน และประธานาธิบดี ยุน ซอกยอล ของเกาหลีใต้ ได้ประกาศข้อตกลงใหม่ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันพุธ (26 เม.ย.) ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการรุกรานของเกาหลีเหนือ รวมถึงความมุ่งมั่นใหม่ของสหรัฐฯ ในการติดตั้งเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980
ในการแถลงข่าวร่วมกันที่ทำเนียบขาว ไบเดนยกย่องสิ่งที่เขาเรียกว่าพันธมิตร ‘ที่แข็งแกร่งไม่แตกสลาย’ ระหว่างทั้งสองประเทศ
“พันธมิตรก่อตัวขึ้นในสงครามและเติบโตอย่างสันติ สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันของเราเป็นเกราะเหล็ก ซึ่งนั่นรวมถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะขยายการป้องปรามภัยคุกคามนิวเคลียร์ และการยับยั้งนิวเคลียร์”
“สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของเกาหลีเหนือ (DPRK) และการละเมิดการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ อย่างโจ่งแจ้ง” ไบเดนกล่าวในทำเนียบขาว
ทั้งนี้ ผลจากการหารือที่ยาวนานหลายเดือนระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองประเทศ ก็ได้ข้อตกลงใหม่ระบุว่า “สหรัฐฯ (ตั้งใจ) จะดำเนินการเพื่อให้การป้องปรามของเราชัดเจนยิ่งขึ้นผ่านการติดตั้งยุทธโธปกรณ์เชิงกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่ส่งไปเยือนเกาหลีใต้ด้วย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเลยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980” เจ้าหน้าที่กล่าว
เจ้าหน้าที่ระบุชัดเจนว่ายุทโธปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ประจำการอย่างถาวร และไม่มีแผนที่จะติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีใดๆ ไปยังคาบสมุทรเกาหลี
“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือการปรึกษาหารือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเราจะไม่ส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการบนคาบสมุทร แต่เราจะไปเยี่ยมท่าเรือ เยี่ยมชมเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และอะไรทำนองนั้น” ไบเดนกล่าว ขณะที่เขาประกาศข้อตกลงซึ่งเรียกว่า “กระบวนการที่รอบคอบ” เพื่อเสริมสร้างการป้องปรามที่ขยายออกไป
ขณะเดียวกันที่เกาหลีเหนือเองก็ยกระดับการทดสอบขีปนาวุธและเตรียมทดสอบนิวเคลียร์อีกครั้งด้วย
ในการแถลงข่าวร่วมกันที่ทำเนียบขาว ไบเดนยกย่องสิ่งที่เขาเรียกว่าพันธมิตร ‘ที่แข็งแกร่งไม่แตกสลาย’ ระหว่างทั้งสองประเทศ
“พันธมิตรก่อตัวขึ้นในสงครามและเติบโตอย่างสันติ สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันของเราเป็นเกราะเหล็ก ซึ่งนั่นรวมถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะขยายการป้องปรามภัยคุกคามนิวเคลียร์ และการยับยั้งนิวเคลียร์”
“สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของเกาหลีเหนือ (DPRK) และการละเมิดการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ อย่างโจ่งแจ้ง” ไบเดนกล่าวในทำเนียบขาว
ทั้งนี้ ผลจากการหารือที่ยาวนานหลายเดือนระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองประเทศ ก็ได้ข้อตกลงใหม่ระบุว่า “สหรัฐฯ (ตั้งใจ) จะดำเนินการเพื่อให้การป้องปรามของเราชัดเจนยิ่งขึ้นผ่านการติดตั้งยุทธโธปกรณ์เชิงกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่ส่งไปเยือนเกาหลีใต้ด้วย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเลยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980” เจ้าหน้าที่กล่าว
เจ้าหน้าที่ระบุชัดเจนว่ายุทโธปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ประจำการอย่างถาวร และไม่มีแผนที่จะติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีใดๆ ไปยังคาบสมุทรเกาหลี
“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือการปรึกษาหารือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเราจะไม่ส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการบนคาบสมุทร แต่เราจะไปเยี่ยมท่าเรือ เยี่ยมชมเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และอะไรทำนองนั้น” ไบเดนกล่าว ขณะที่เขาประกาศข้อตกลงซึ่งเรียกว่า “กระบวนการที่รอบคอบ” เพื่อเสริมสร้างการป้องปรามที่ขยายออกไป
ขณะเดียวกันที่เกาหลีเหนือเองก็ยกระดับการทดสอบขีปนาวุธและเตรียมทดสอบนิวเคลียร์อีกครั้งด้วย
คำเตือนจาก ‘ไบเดน’ ถึง ‘คิม จองอึน’!

ไบเดนเตือนผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ คิม จองอึน ในงานแถลงข่าวว่า “การโจมตีด้วยนิวเคลียร์โดยเกาหลีเหนือต่อสหรัฐฯ หรือพันธมิตรและหุ้นส่วนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และจะส่งผลให้รัฐบาลใดก็ตามต้องยุติการกระทำดังกล่าว” ซึ่งเป็นการแจ้งสารโดยตรงไปยังผู้นำเผด็จการเกาหลีเหนือว่าสหรัฐฯ จะปกป้องพันธมิตรตามสนธิสัญญาของเขา
“สันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เราได้ตัดสินใจที่จะเสริมสร้างการป้องปรามอย่างยาวนานต่อประเทศของเราทั้งสองต่อภัยคุกคามนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เพื่อให้เราสามารถบรรลุสันติภาพผ่านกองกำลังที่เหนือกว่า และไม่ใช่สันติภาพจอมปลอมตามความปรารถนาดีของอีกฝ่ายหนึ่ง” ยุนกล่าว
อย่างไรก็ดีไบเดนเรียกพันธมิตรของเขาอย่างเกาหลีใต้ว่าเป็น ‘แกนหลักแห่งความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคในอินโด-แปซิฟิก’ โดยการเยือนครั้งนี้ยังส่งสัญญาณถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ มีต่อความสัมพันธ์กับพันธมิตรในอินโด-แปซิฟิกอีกด้วย
“สันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เราได้ตัดสินใจที่จะเสริมสร้างการป้องปรามอย่างยาวนานต่อประเทศของเราทั้งสองต่อภัยคุกคามนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เพื่อให้เราสามารถบรรลุสันติภาพผ่านกองกำลังที่เหนือกว่า และไม่ใช่สันติภาพจอมปลอมตามความปรารถนาดีของอีกฝ่ายหนึ่ง” ยุนกล่าว
อย่างไรก็ดีไบเดนเรียกพันธมิตรของเขาอย่างเกาหลีใต้ว่าเป็น ‘แกนหลักแห่งความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคในอินโด-แปซิฟิก’ โดยการเยือนครั้งนี้ยังส่งสัญญาณถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ มีต่อความสัมพันธ์กับพันธมิตรในอินโด-แปซิฟิกอีกด้วย
‘ปฏิญญาวอชิงตัน (The Washington Declaration)’

ไบเดนและยุนได้เปิดเผย ‘ปฏิญญาวอชิงตัน’ ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ด้านการฝึกทางทหาร การแบ่งปันข้อมูล และการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินเชิงยุทธศาสตร์ ท่ามกลางการยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดจากเกาหลีเหนือ
“สิ่งที่สหรัฐฯ และเกาหลีใต้วางแผนจะทำในทุกระดับคือ การเสริมสร้างแนวปฏิบัติของเรา การปรับใช้ของเรา ความสามารถของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความยับยั้งนั้นไม่มีข้อกังขาอย่างแน่นอน และยังทำให้ชัดเจนว่าหากเราได้รับการทดสอบด้วยวิธีใดๆ เราก็เตรียมพร้อมที่จะตอบสนองโดยรวมและอย่างท่วมท้น”
“ปฏิญญาดังกล่าวรวมถึงการติดตั้งเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ สหรัฐฯ และเกาหลีจะเสริมสร้างการฝึกซ้อม และกิจกรรมจำลองสถานการณ์ของเราเพื่อปรับปรุงแนวทางของพันธมิตรสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ในการยับยั้งและป้องกันจากภัยคุกคามของเกาหลีเหนือ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของไบเดนกล่าว
“ชาวเกาหลีใต้ไม่มีประสบการณ์ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ นี่คือเหตุผลที่เราต้องฝึกซ้อมแผนการกับพวกเขา ชาวเกาหลีจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ การกำหนดเป้าหมาย และผลกระทบ…จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อสหรัฐฯ ที่ควบคุมการกำหนดเป้าหมายดังกล่าว เราหวังว่าสิ่งนี้จะทำให้พวกเขาพึงพอใจและปรับปรุงความพร้อม” เดวิด แมกซ์เวลล์ จากมูลนิธิเพื่อการปกป้องประชาธิปไตยกล่าว
“สิ่งที่สหรัฐฯ และเกาหลีใต้วางแผนจะทำในทุกระดับคือ การเสริมสร้างแนวปฏิบัติของเรา การปรับใช้ของเรา ความสามารถของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความยับยั้งนั้นไม่มีข้อกังขาอย่างแน่นอน และยังทำให้ชัดเจนว่าหากเราได้รับการทดสอบด้วยวิธีใดๆ เราก็เตรียมพร้อมที่จะตอบสนองโดยรวมและอย่างท่วมท้น”
“ปฏิญญาดังกล่าวรวมถึงการติดตั้งเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ สหรัฐฯ และเกาหลีจะเสริมสร้างการฝึกซ้อม และกิจกรรมจำลองสถานการณ์ของเราเพื่อปรับปรุงแนวทางของพันธมิตรสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ในการยับยั้งและป้องกันจากภัยคุกคามของเกาหลีเหนือ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของไบเดนกล่าว
“ชาวเกาหลีใต้ไม่มีประสบการณ์ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ นี่คือเหตุผลที่เราต้องฝึกซ้อมแผนการกับพวกเขา ชาวเกาหลีจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ การกำหนดเป้าหมาย และผลกระทบ…จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อสหรัฐฯ ที่ควบคุมการกำหนดเป้าหมายดังกล่าว เราหวังว่าสิ่งนี้จะทำให้พวกเขาพึงพอใจและปรับปรุงความพร้อม” เดวิด แมกซ์เวลล์ จากมูลนิธิเพื่อการปกป้องประชาธิปไตยกล่าว
ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว?

นอกเหนือจากการพบปะกับไบเดน ยุนยังได้เข้าไปพูดคุยกับ อีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla เมื่อวันพุธที่ผ่านมาและขอให้เขาลงทุนในโรงงานขนาดใหญ่ที่เกาหลีใต้อีกด้วย
ทั้งนี้ การพบกันเกิดขึ้นตามคำร้องขอของมัสก์เอง โดยยุนกล่าวว่า “เกาหลีใต้มีหุ่นยนต์ที่ผลิตระดับโลกและกำลังแรงงานขั้นสูง ทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ หาก Tesla ตัดสินใจลงทุน เราจะให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในแง่ของสถานที่ พนักงาน และภาษี”
ขณะที่มัสก์ตอบว่าเขาคาดว่าจะไปเยือนเกาหลีใต้ โดยกล่าวว่าประเทศนี้ยังคงเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจและเป็นผู้นำในการเป็นเจ้าภาพโรงงานขนาดใหญ่
ขณะเดียวกันยุนก็ยังแสดงความหวังว่าจะมีความร่วมมือมากขึ้นระหว่างธุรกิจของเกาหลีใต้และ SpaceX บริษัทยานอวกาศของสหรัฐฯ ที่นำโดยมัสก์ เพื่อช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมอวกาศของเกาหลีใต้ด้วย
ทั้งนี้ การพบกันเกิดขึ้นตามคำร้องขอของมัสก์เอง โดยยุนกล่าวว่า “เกาหลีใต้มีหุ่นยนต์ที่ผลิตระดับโลกและกำลังแรงงานขั้นสูง ทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ หาก Tesla ตัดสินใจลงทุน เราจะให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในแง่ของสถานที่ พนักงาน และภาษี”
ขณะที่มัสก์ตอบว่าเขาคาดว่าจะไปเยือนเกาหลีใต้ โดยกล่าวว่าประเทศนี้ยังคงเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจและเป็นผู้นำในการเป็นเจ้าภาพโรงงานขนาดใหญ่
ขณะเดียวกันยุนก็ยังแสดงความหวังว่าจะมีความร่วมมือมากขึ้นระหว่างธุรกิจของเกาหลีใต้และ SpaceX บริษัทยานอวกาศของสหรัฐฯ ที่นำโดยมัสก์ เพื่อช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมอวกาศของเกาหลีใต้ด้วย