จากโทรศัพท์มือถือขนาดเท่าก้อนอิฐซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่โบรกเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์ จนมาถึงคอมพิวเตอร์จิ๋วขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงพลังอย่างยิ่งอยู่ในกระเป๋าของเราทุกวันนี้ โทรศัพท์มือถือถือกำเนิดขึ้นมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
อันที่จริงแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย AT&T มาก่อนหน้าแล้ว โดย Bell Labs ของ AT&T ได้ริเริ่มระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถโทรหากันได้หากอยู่ในช่องสัญญาณเดียวกัน แต่ AT&T โฟกัสกับการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับโทรศัพท์ในรถ
คูเปอร์ต้องการให้ผู้คนสามารถใช้โทรศัพท์พูดคุยได้แม้จะอยู่ห่างจากรถ เขาและทีมของโมโตโรลาจึงระดมสมองพัฒนาโทรศัพท์ที่สามารถพกพาได้โดยต่อยอดจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AT&T
โมโตโรลาใช้เวลา 3 เดือนในการสร้างต้นแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถพกพาได้ก่อนที่จะปิดตัวต่อสาธารณชน ทว่าโมโตโรลาต้องใช้เวลาอีก 10 ปีจึงวางจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นแรกของโลกนั่นคือรุ่น DynaTAC 8000X ในสหรัฐฯ ในราคา 3,995 ดอลลาร์สหรัฐ
DynaTAC 8000X ได้รับฉายาว่า ‘ก้อนอิฐ’ เนื่องจากมีน้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัม สูง 33 เซนติเมตร
1973: ฮัลโหลโมโต
วันที่ 3 เมษายน 1973 มาร์ติน คูเปอร์ วิศวกรของบริษัท โมโตโรลา ทำการโทรออกครั้งแรกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ (cellular pone) ที่ชื่อว่า DynaTAC โดยเขาต่อสายไปยัง โจเอล เองเกิล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเซลลูลาร์จาก Bell Labs ของ AT&T ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน แล้วบอกว่า “โจเอล ผมโทรหาคุณด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่นะ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจริง ถือได้ด้วยมือเดียว พกพาได้ โทรศัพท์เคลื่อนที่จริงๆ”อันที่จริงแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย AT&T มาก่อนหน้าแล้ว โดย Bell Labs ของ AT&T ได้ริเริ่มระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถโทรหากันได้หากอยู่ในช่องสัญญาณเดียวกัน แต่ AT&T โฟกัสกับการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับโทรศัพท์ในรถ
คูเปอร์ต้องการให้ผู้คนสามารถใช้โทรศัพท์พูดคุยได้แม้จะอยู่ห่างจากรถ เขาและทีมของโมโตโรลาจึงระดมสมองพัฒนาโทรศัพท์ที่สามารถพกพาได้โดยต่อยอดจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AT&T
โมโตโรลาใช้เวลา 3 เดือนในการสร้างต้นแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถพกพาได้ก่อนที่จะปิดตัวต่อสาธารณชน ทว่าโมโตโรลาต้องใช้เวลาอีก 10 ปีจึงวางจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นแรกของโลกนั่นคือรุ่น DynaTAC 8000X ในสหรัฐฯ ในราคา 3,995 ดอลลาร์สหรัฐ
DynaTAC 8000X ได้รับฉายาว่า ‘ก้อนอิฐ’ เนื่องจากมีน้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัม สูง 33 เซนติเมตร
