แม้ว่าดวงอาทิตย์จะอยู่ห่างจากโลกออกไป 93 ล้านไมล์ (ราว 150 ล้านกิโลเมตร) แต่ดูเหมือนว่ารูยักษ์บนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่มีภาพเผยแพร่ออกมาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาอาจสร้างความเสียหายให้กับโลกในปลายสัปดาห์นี้
กล้องโทรทัศน์อวกาศเอสดีโอ (Solar Dynamics Observatory) ของ NASA ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงรูโหว่มืดทึบรูปสามเหลี่ยมบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 20 เท่า โดยหลุมขนาดมหึมานี้เรียกว่า ‘หลุมโคโรนา’ ได้ปล่อยลมสุริยะความเร็ว 1.8 ล้านไมล์ต่อชั่วโมงมายังโลกของเรา และอาจจะส่งผลกระทบต่อโลกในวันศุกร์นี้ (31 มี.ค.)
โดยทั่วไปแล้วหลุมโคโรนาจะเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสนามแม่เหล็กเปิดที่ลมสุริยะความเร็วสูงพุ่งออกสู่อวกาศอยู่แล้ว แม้ว่าจะทำให้เกิดแสงธรรมชาติสวยงามที่เรียกว่า ‘แสงออโรราบนท้องฟ้า’ แต่ลมสุริยะยังสามารถรบกวนดาวเทียมในอวกาศ โครงข่ายไฟฟ้า และระบบนำทาง GPS ได้ด้วย
หลุมโคโรนาใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากหลุมขนาดใหญ่กว่าประมาณ 30 เท่าของโลกซึ่งถูกพบเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา โดยหลุมแรกได้ปล่อยลมสุริยะที่ก่อให้เกิดแสงออโรราสวยงามไกลออกไปทางตอนใต้ของแอริโซนา
ขณะที่ทาง SpaceWeather.com กล่าวว่า “วัสดุก๊าซกำลังไหลออกมาจากรูที่ค่อนข้างเล็กในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งตอนนี้หันหน้าเข้าหาโลกของเรา…แสงออโรร่าอาร์กติกน่าจะเกิดขึ้นเมื่อลมสุริยะมาถึง และนี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับหลุมสุริยะใหม่และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโลก”
กล้องโทรทัศน์อวกาศเอสดีโอ (Solar Dynamics Observatory) ของ NASA ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงรูโหว่มืดทึบรูปสามเหลี่ยมบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 20 เท่า โดยหลุมขนาดมหึมานี้เรียกว่า ‘หลุมโคโรนา’ ได้ปล่อยลมสุริยะความเร็ว 1.8 ล้านไมล์ต่อชั่วโมงมายังโลกของเรา และอาจจะส่งผลกระทบต่อโลกในวันศุกร์นี้ (31 มี.ค.)
โดยทั่วไปแล้วหลุมโคโรนาจะเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสนามแม่เหล็กเปิดที่ลมสุริยะความเร็วสูงพุ่งออกสู่อวกาศอยู่แล้ว แม้ว่าจะทำให้เกิดแสงธรรมชาติสวยงามที่เรียกว่า ‘แสงออโรราบนท้องฟ้า’ แต่ลมสุริยะยังสามารถรบกวนดาวเทียมในอวกาศ โครงข่ายไฟฟ้า และระบบนำทาง GPS ได้ด้วย
หลุมโคโรนาใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากหลุมขนาดใหญ่กว่าประมาณ 30 เท่าของโลกซึ่งถูกพบเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา โดยหลุมแรกได้ปล่อยลมสุริยะที่ก่อให้เกิดแสงออโรราสวยงามไกลออกไปทางตอนใต้ของแอริโซนา
ขณะที่ทาง SpaceWeather.com กล่าวว่า “วัสดุก๊าซกำลังไหลออกมาจากรูที่ค่อนข้างเล็กในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งตอนนี้หันหน้าเข้าหาโลกของเรา…แสงออโรร่าอาร์กติกน่าจะเกิดขึ้นเมื่อลมสุริยะมาถึง และนี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับหลุมสุริยะใหม่และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโลก”
‘หลุมโคโรนา’ คืออะไร?

หลุมโคโรนา (CORONAL HOLES) พื้นที่ของสนามแม่เหล็กเปิดที่ปรากฏเป็นพื้นที่มืดในโคโรนา ซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ รูโหว่บางดวงมีขนาดใหญ่มากจนกินพื้นที่ประมาณ 1 ใน 4 ของพื้นผิวดวงอาทิตย์
หลุมโคโรนาถูกค้นพบครั้งแรกโดยสถานีอวกาศสกายแล็ป (Skylab) ของ NASA ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดหลุมดังกล่าว พวกมันอาจปรากฏขึ้นในเวลาใดก็ได้ของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งเป็นวัฏจักรที่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี แต่จะพบได้บ่อยที่สุดในช่วงที่วัฏจักรเสื่อมลง
สำหรับวัฏจักรสุริยะปัจจุบันเป็นวัฎจักรที่ 25 ซึ่งเริ่มต้นในปี 2019 โดยคาดว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงประมาณปี 2030
แมกนีโตสเฟียร์เป็นเพียงพื้นที่รอบโลกที่ควบคุมโดยสนามแม่เหล็กโลกของเรา และเป็นเหมือน ‘ผู้เฝ้าประตู’ ของโลกที่ปกป้องเราจากพลังงานที่เป็นอันตรายจากอวกาศ
แต่มันไม่ใช่การป้องกันที่สมบูรณ์แบบมากนัก เนื่องจากลมสุริยะสามารถบีบและทำให้สนามแม่เหล็กโลกเสียรูปได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจมีผลกระทบหลายประการ “เมื่อใดก็ตามที่สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง มันจะขับเคลื่อนกระแสไฟฟ้าที่ไหลขึ้นไปในชั้นบรรยากาศชั้นบน” ศาสตราจารย์แมธิว โอเว่นส์ จากภาควิชาอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิงกล่าว
หลุมโคโรนาถูกค้นพบครั้งแรกโดยสถานีอวกาศสกายแล็ป (Skylab) ของ NASA ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดหลุมดังกล่าว พวกมันอาจปรากฏขึ้นในเวลาใดก็ได้ของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งเป็นวัฏจักรที่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี แต่จะพบได้บ่อยที่สุดในช่วงที่วัฏจักรเสื่อมลง
สำหรับวัฏจักรสุริยะปัจจุบันเป็นวัฎจักรที่ 25 ซึ่งเริ่มต้นในปี 2019 โดยคาดว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงประมาณปี 2030
โลกได้รับผลกระทบอย่างไร?
เมื่ออนุภาคลมสุริยะเหล่านี้มาถึงโลก ซึ่งจะใช้เวลา 2-4 วันขึ้นอยู่กับความเร็วของอนุภาคและอาจส่งผลให้เกิด ‘พายุสุริยะ’ โดยเป็นการรบกวนชั่วคราวในชั้นแมกนีโตสเฟียร์ (บริเวณที่มีแม่เหล็กกำลังสูงอยู่รอบๆ) ของโลกที่เกิดจากลมสุริยะแมกนีโตสเฟียร์เป็นเพียงพื้นที่รอบโลกที่ควบคุมโดยสนามแม่เหล็กโลกของเรา และเป็นเหมือน ‘ผู้เฝ้าประตู’ ของโลกที่ปกป้องเราจากพลังงานที่เป็นอันตรายจากอวกาศ
แต่มันไม่ใช่การป้องกันที่สมบูรณ์แบบมากนัก เนื่องจากลมสุริยะสามารถบีบและทำให้สนามแม่เหล็กโลกเสียรูปได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจมีผลกระทบหลายประการ “เมื่อใดก็ตามที่สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง มันจะขับเคลื่อนกระแสไฟฟ้าที่ไหลขึ้นไปในชั้นบรรยากาศชั้นบน” ศาสตราจารย์แมธิว โอเว่นส์ จากภาควิชาอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิงกล่าว

อย่างไรก็ดี พายุสุริยะสามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศของเรา คุกคามยานอวกาศและนักบินอวกาศ ขัดขวางระบบนำทาง และสร้างความเสียหายให้กับโครงข่ายไฟฟ้าได้
“ความเสียหายต่อดาวเทียมส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากอนุภาคพลังงานที่ปรับเปลี่ยนหรือแม้แต่ทำลายองค์ประกอบอิเล็กทรอนิกส์บนดาวเทียม…อนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับชิ้นส่วนกึ่งตัวนำในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมได้” ดร.แดเนียล เวอร์ชาเรน จากภาควิชาฟิสิกส์อวกาศและภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนกล่าว
นอกจากนี้ การรบกวนชั้นแมกนีโตสเฟียร์ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดแสงออโรร่า ซึ่งเป็นแสงธรรมชาติที่มักเห็นในบริเวณใกล้กับขั้วโลก เมื่อพายุสุริยะเข้ามาหาเรา พลังงานและอนุภาคขนาดเล็กบางส่วนจะสามารถเดินทางผ่านเส้นสนามแม่เหล็กที่ขั้วโลกเหนือและใต้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกได้ โดยจะทำปฏิกิริยากับก๊าซในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดแสงสวยงามบนท้องฟ้า
“ความเสียหายต่อดาวเทียมส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากอนุภาคพลังงานที่ปรับเปลี่ยนหรือแม้แต่ทำลายองค์ประกอบอิเล็กทรอนิกส์บนดาวเทียม…อนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับชิ้นส่วนกึ่งตัวนำในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมได้” ดร.แดเนียล เวอร์ชาเรน จากภาควิชาฟิสิกส์อวกาศและภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนกล่าว
นอกจากนี้ การรบกวนชั้นแมกนีโตสเฟียร์ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดแสงออโรร่า ซึ่งเป็นแสงธรรมชาติที่มักเห็นในบริเวณใกล้กับขั้วโลก เมื่อพายุสุริยะเข้ามาหาเรา พลังงานและอนุภาคขนาดเล็กบางส่วนจะสามารถเดินทางผ่านเส้นสนามแม่เหล็กที่ขั้วโลกเหนือและใต้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกได้ โดยจะทำปฏิกิริยากับก๊าซในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดแสงสวยงามบนท้องฟ้า
แล้วหลุมสุริยะนี้ส่งผลกระทบต่อเราอย่างไรบ้าง?

ดร.เวอร์ชาเรน กล่าวว่า “ลมสุริยะที่พัดเร็วเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นลมประเภทที่ปล่อยออกมาจากหลุมโคโรนาใหม่นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดพายุสุริยะขนาดใหญ่ได้…ผมไม่คาดคิดว่าจะเกิดพายุสุริยะขนาดใหญ่จากหลุมโคโรนานี้”
ขณะที่ศาสตราจารย์โอเว่นส์กล่าวว่า “จะไม่มีความเสียหายมากเกินไป แม้ว่าระบบ GPS อาจมีปัญหาในช่วงสุดสัปดาห์…กระแสลมสุริยะที่รวดเร็วซึ่งมาจากหลุมโคโรนา อาจทำให้เกิดสภาพอากาศในอวกาศระดับปานกลาง”
อย่างไรก็ดี ในปี 1859 ได้เกิดพายุสุริยะใต้พิภพขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ ‘เหตุการณ์แคร์ริงตัน (the Carrington event)’ ซึ่งเป็นผลพวงจากการปล่อยมวลของพลาสมาจำนวนมหาศาลออกจากโคโรนาของดวงอาทิตย์ (CMEs) มายังโลก ทำให้การสื่อสารบนภาคพื้นดินหยุดชะงัก
หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ผลกระทบจะร้ายแรงต่อระบบการสื่อสารของเรามาก โดยจากข้อมูลของนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ระบุว่า ความน่าจะเป็นของพายุสุริยะที่จะก่อให้เกิดหายนะที่อาจเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้านั้นอยู่ระหว่าง 1.6–12%
ขณะที่ศาสตราจารย์โอเว่นส์กล่าวว่า “จะไม่มีความเสียหายมากเกินไป แม้ว่าระบบ GPS อาจมีปัญหาในช่วงสุดสัปดาห์…กระแสลมสุริยะที่รวดเร็วซึ่งมาจากหลุมโคโรนา อาจทำให้เกิดสภาพอากาศในอวกาศระดับปานกลาง”
อย่างไรก็ดี ในปี 1859 ได้เกิดพายุสุริยะใต้พิภพขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ ‘เหตุการณ์แคร์ริงตัน (the Carrington event)’ ซึ่งเป็นผลพวงจากการปล่อยมวลของพลาสมาจำนวนมหาศาลออกจากโคโรนาของดวงอาทิตย์ (CMEs) มายังโลก ทำให้การสื่อสารบนภาคพื้นดินหยุดชะงัก
หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ผลกระทบจะร้ายแรงต่อระบบการสื่อสารของเรามาก โดยจากข้อมูลของนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ระบุว่า ความน่าจะเป็นของพายุสุริยะที่จะก่อให้เกิดหายนะที่อาจเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้านั้นอยู่ระหว่าง 1.6–12%