ประชาชนมากกว่า 2 หมื่นรายเสียชีวิตหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตุรกีและซีเรียเมื่อวันจันทร์ (6 ก.พ.) ที่ผ่านมา ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยกำลังดำเนินการ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญมาจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยบางส่วนกล่าวว่า ความพยายามในการช่วยเหลือดำเนินไปอย่างเชื่องช้า บางคนต้องขุดเศษซากปรักหักพังด้วยมือเปล่าเพื่อค้นหาญาติของตัวเอง
เมื่อหน่วยกู้ภัยไปถึงที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเป็นครั้งแรก พวกเขาจะประเมินว่าอาคารใดที่พังถล่มลงมาน่าจะมีผู้ติดอยู่ หน่วยกู้ภัยจะมองหา ‘ช่องว่าง’ ใต้คานคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือบันได ที่จะสามารถพบผู้รอดชีวิต รวมถึงความเป็นไปได้ที่อาคารจะถล่มลงมาอีก เช่นเดียวกันกับการรั่วไหลของก๊าซ น้ำท่วม และวัตถุอันตราย เช่น ใยหินในหลังคา ซึ่งหน่วยกูภัยเองนอกจากจะต้องพยายามเข้าถึงผู้รอดชีวิตแล้ว ยังต้องสังเกตความเคลื่อนไหวในอาคาร และคอยฟังเสียงแปลกๆ อีกด้วย
จะเริ่มปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยได้อย่างไร?
การสำรวจเบื้องต้นของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมักดำเนินการโดยทีมฉุกเฉินในพื้นที่ ในขณะที่รอความช่วยเหลือเพิ่มเติมมาถึง โครงสร้างต่างๆ ที่ถูกทำลายอาจมีเพียงเมืองเดียว หรืออาจครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีเมืองต่างๆ มากกว่าหนึ่งประเทศ เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อหน่วยกู้ภัยไปถึงที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเป็นครั้งแรก พวกเขาจะประเมินว่าอาคารใดที่พังถล่มลงมาน่าจะมีผู้ติดอยู่ หน่วยกู้ภัยจะมองหา ‘ช่องว่าง’ ใต้คานคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือบันได ที่จะสามารถพบผู้รอดชีวิต รวมถึงความเป็นไปได้ที่อาคารจะถล่มลงมาอีก เช่นเดียวกันกับการรั่วไหลของก๊าซ น้ำท่วม และวัตถุอันตราย เช่น ใยหินในหลังคา ซึ่งหน่วยกูภัยเองนอกจากจะต้องพยายามเข้าถึงผู้รอดชีวิตแล้ว ยังต้องสังเกตความเคลื่อนไหวในอาคาร และคอยฟังเสียงแปลกๆ อีกด้วย
อาคารที่พังทลายลงทั้งหมดมักเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะได้รับการค้นหา เนื่องจากโอกาสที่จะพบผู้รอดชีวิตมีน้อยมาก
การทำงานของทีมกู้ภัยได้รับการประสานงานโดยหน่วยงาน ซึ่งโดยปกติคือองค์การสหประชาชาติ (UN) และประเทศที่ประสบเหตุเอง หน่วยกู้ภัยได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษและทำงานเป็นคู่หรือทีมที่ใหญ่ ขณะที่คนในท้องถิ่นเองก็มักจะมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
ต้องใช้อุปกรณ์กู้ภัยอะไรบ้าง?
-
เครื่องจักร รถขุด และแม่แรงไฮดรอลิก
ในการเคลื่อนย้ายเศษหิน ทีมกู้ภัยใช้เครื่องจักรหนัก รวมถึงรถขุดและแม่แรงไฮดรอลิก แผ่นพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ด้านนอกอาคารสามารถดึงออกได้โดยใช้รถขุด ทำให้หน่วยกู้ภัยสามารถมองเห็นผู้ที่ติดอยู่ภายในได้ -
กล้องบันทึกวิดีโอ
กล้องถ่ายวิดีโอที่ติดอยู่กับปลายเสาแบบยืดหยุ่นสามารถสอดผ่านช่องว่างเพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตได้ -
อุปกรณ์ตรวจจับเสียง
อุปกรณ์ตรวจจับเสียงสามารถตรวจจับเสียงที่แผ่วเบาที่สุดได้ในระยะไม่กี่เมตร ซึ่งทีมกู้ภัยจะทำการเคาะเพื่อให้เกิดเสียงเป็นเวลา 3 ครั้ง และรอการตอบกลับ

-
เครื่องตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เครื่องนี้สามารถใช้เพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตที่หมดสติได้ เครื่องมือนี้ทำงานได้ดีที่สุดในพื้นที่จำกัด โดยตรวจจับความเข้มข้นของ CO2 ที่สูงกว่าในอากาศที่หายใจออกโดยผู้ที่ยังหายใจอยู่ -
อุปกรณ์จับความร้อน
สามารถใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุตำแหน่งบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในแนวสายตาของผู้ช่วยชีวิตโดยตรง เนื่องจากความร้อนจากร่างกายสามารถทำให้เศษหินที่อยู่รอบๆ ตัวอุ่นขึ้นได้
บทบาทของสุนัขกู้ภัย
สุนัขที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่น เพื่อจับสัญญาณชีวิตที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ สุนัขยังสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งกระบวนการค้นหาและช่วยเหลือคนต้องช่วยชีวิตด้วยมือเปล่า?
เมื่อถอดแผ่นคอนกรีตและโครงสร้างขนาดใหญ่ออกแล้ว ทีมกู้ภัยจะใช้มือและเครื่องมือขนาดเล็ก เช่น ค้อน พลั่ว ตลอดจนเลื่อยโซ่ยนต์ เครื่องตัดแผ่น และเครื่องตัดเหล็กเส้น ซึ่งสามารถใช้จัดการกับเหล็กเส้นในคอนกรีตเสริมเหล็กได้หน่วยกู้ภัยจะมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน็อคและถุงมือเพื่อป้องกันมือของพวกเขาขณะที่พวกเขาเอาเศษหินที่แหลมคมออก อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ของตุรกี ความพยายามในการกู้ภัยดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ผู้คนในท้องถิ่นต่างพากันขุดคุ้ยซากปรักหักพังที่เย็นยะเยือกด้วยมือเปล่า

เบเดีย กูคุม เจ้าของร้านอาหารในเมือง Adana ทางตอนใต้ของตุรกี กล่าวกับ BBC ว่า เราต้องการถุงมือที่แข็งแรงเพื่อเคลื่อนย้ายเศษหินนั้นด้วยมือ เพราะทันทีที่พวกเขาได้ยินเสียงใครบางคนมีชีวิตอยู่ในนั้น เครื่องจักรหนักทั้งหมดจะหยุดทำงาน และพวกเขาต้องช่วยกันขุดลงไปด้วยมือ ซึ่งนั่นก็เกินความสามารถของมนุษย์
“นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่เข้าประจำที่แล้ว คุณต้องมีถุงมือสำหรับพวกเขาด้วย” กูคุมกล่าว
ความพยายามในการค้นหาและช่วยเหลือมักจะหยุดลงระหว่าง 5 – 7 วัน หลังจากเกิดภัยพิบัติ เมื่อไม่พบใครรอดชีวิตเป็นเวลา 1 หรือ 2 วัน
อย่างไรก็ดี ในปี 2010 มีคนพบชายคนหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากมีรายงานว่าติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังนาน 27 วัน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเฮติ เช่นเดียวกับในปี 2013 ผู้หญิงคนหนึ่งถูกดึงออกมาจากซากปรักหักพังของอาคารโรงงานในบังกลาเทศ 17 วันหลังจากที่มันถล่มลงมา
“นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่เข้าประจำที่แล้ว คุณต้องมีถุงมือสำหรับพวกเขาด้วย” กูคุมกล่าว
สิ้นสุดการค้นหาเมื่อใด?
การตัดสินใจนี้ดำเนินการระหว่างหน่วยงานประสานงานของสหประชาชาติและรัฐบาลกลางและท้องถิ่นของประเทศที่เกิดเหตุความพยายามในการค้นหาและช่วยเหลือมักจะหยุดลงระหว่าง 5 – 7 วัน หลังจากเกิดภัยพิบัติ เมื่อไม่พบใครรอดชีวิตเป็นเวลา 1 หรือ 2 วัน
อย่างไรก็ดี ในปี 2010 มีคนพบชายคนหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากมีรายงานว่าติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังนาน 27 วัน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเฮติ เช่นเดียวกับในปี 2013 ผู้หญิงคนหนึ่งถูกดึงออกมาจากซากปรักหักพังของอาคารโรงงานในบังกลาเทศ 17 วันหลังจากที่มันถล่มลงมา